มิตรพาลอย่าคบให้ สนิทนัก ตรงกับสำนวนใด

มิตรแท้ ๔ มิตรเทียม ๔
โพสต์เมื่อวันที่ : 21 ก.พ. 2552 เปิดอ่าน : 215,919 ครั้ง

☰แชร์เลย >  

Advertisement


Advertisement

       คำว่า มิตร มีรากศัพท์คำเดียวกับคำว่า เมตตา ซึ่งมีความหมายว่า ความรักใคร่ห่วงใยปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข เพราะฉะนั้นคำว่า มิตรจึงหมายถึง ผู้ที่รักใคร่ชอบพอกัน ปรารถนาดีต่อกัน กล่าวคือมีความเมตตาทั้ง ทางกาย วาจา ใจ ต่อกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง
มิตรแท้ ๔
    มิตรแท้มี ๔ ประเภท คือ
๑.มิตรมีอุปการะ ได้แก่ เพื่อนที่มีบุญคุณ มีลักษณะเป็นผู้ใหญ่คอยคุ้มครองป้องกันเพื่อนของตน ทั้งเป็นที่พึ่งของเพื่อนได้ มีลักษณะ โดยสรุป ๔ ประการ ดังนี้คือ
   - ป้องกันเพื่อนผู้ประมาท หมายถึง มิตรที่ช่วยป้องกันชีวิตชื่อเสียงและเกียรติยศของเพื่อน
   - ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาท หมายถึง มิตรที่คอยแนะนำห้ามปรามเพื่อนเมื่อเห็นเพื่อนใช้จ่ายทรัพย์สมบัติไปในทางอบายมุขหรือลงทุนที่มีการเสี่ยงเกินไป
   - เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ หมายถึง มิตรที่คอยอุปการะช่วยเหลือเมื่อเพื่อนตกทุกข์ เมื่อเพื่อนมีภัยก็ให้การคุ้มครองป้องกัน
   - เมื่อมีธุระช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก หมายถึง มิตรที่ช่วยเหลือเพื่อน เมื่อเพื่อนมีความจำเป็นต้องใช้เงิน ออกปากขอยืมเงิน ก็ตอบสนองด้วยดี เสนอให้ยืมเกินกว่าที่ขอยืม ไม่แสดงความโลภออกมา
๒.มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ได้แก่ เพื่อนสนิทเหมือนญาติ ไว้วางใจกัน คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีลักษณะโดยสรุป ๔ ประการ
- ขยายความลับของตนแก่เพื่อน หมายถึง ต่างฝ่ายต่างเผยความลับของตนแก่เพื่อน ถ้าความลับนั้นมีจุดอ่อนหรือปมด้อยก็ช่วยกันแก่ไข และ
เป็นการให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
- ปิดความลับของเพื่อนมิให้แพร่หลาย หมายถึง มิตรที่มีความจริงใจต่อเพื่อนรักษาน้ำใจซึ่งกันและเอาไว้โดยการไม่เปิดเผยความลับของเพื่อน
ไม่ให้ผู้อื่นรู้
- ไม่ละทิ้งยามวิบัติหมายถึง เมื่อเวลาที่เพื่อนตกทุกข์ได้ยากก็คอยช่วยเหลือไม่ละทิ้ง
- แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้ หมายถึง เมื่อเวลาที่เพื่อนตกอยู่ในอันตราย ก็เข้าช่วยเหลือถึงแม้ตัวเองจะต้องเสี่ยงชีวิตก็ตาม
๓.มิตรแนะนำประโยชน์ ได้แก่ เพื่อนที่คอยแนะนำแต่ในทางที่ดี มีลักษณะเหมือนครู ลักษณะของเพื่อนเช่นนี้มีอยู่ ๔ ประการ คือ
   -ห้ามไม่ให้ทำชั่ว หมายถึง เห็นเพื่อนทำความชั่ว เพราะความไม่รู้ หรือความประมาทคึกคะนองก็เข้าห้ามปรามแสดงถึงเหตุผล ให้เพื่อนมี หิริ คือ ความรังเกียจต่อความชั่ว และ โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผลของความชั่ว
   -แนะนำให้ทำแต่ความดี หมายถึง นอกจากห้ามไม่ให้เพื่อนทำชั่วแล้ว ยังสอนเพื่อนให้รู้จักคุณความดีสอนให้ประพฤติดี
   -ให้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยทำ หมายถึง ถ้าเพื่อนยังไม่มีความรู้ในทางหลักธรรมคุณความดีกฎแห่งกรรมมากนักก็เล่าให้เพื่อนฟัง
   -บอกทางสวรรค์ให้ ทางสวรรค์ หมายถึง ทางไปสู่อนาคตอันสดใส ด้วยการแสวงหาความรู้หรือปัญญา
๔.มิตรมีความรักใคร่ ได้แก่ เพื่อนประเภทสหาย มีลักษณะสำคัญ ๔ ประการคือ
   -ทุกข์ ทุกข์ ด้วย หมายถึง เมื่อเห็นเพื่อนมีความทุกข์ไม่ว่าทางใด ทางกายใจ ก็ให้ความช่วยเหลือในทุกด้าน ปลอบโยน แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจ
   -สุข สุข ด้วย หมายถึง มิตรที่เห็นเพื่อนมีความสุขไม่ว่าทางกายหรือทางใจก็พลอยยินดีกับเพื่อนด้วย เข้าไปแสดงความยินดีด้วย
   -โต้เถียงผู้ที่ติเตียนเพื่อน หมายถึง เมื่อเห็นคนอื่นติเตียนเพื่อนของเรา ไม่ว่าต่อหน้าและลับหลัง ก็ช่วยพูดจาชี้แจงให้เข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อนไม่ให้เพื่อนเสียหาย
   -รับรองคนพูดสรรญเสริญเพื่อน หมายถึง เมื่อเห็นคนพูดจาชมเชยเพื่อนก็พูดจาสนับสนุน

มิตรเทียม ๔ มิตรเทียม มาจากคำว่า มิตรปฏิรูป ซึ่งอาจมีความหมายว่า คนเทียมเป็นมิตรหรือคนปลอมเป็นมิตร ซึ่งมี ๔ ปรเภทคือ
๑.คนปอกลอก คนประเภทนี้ไม่ใช่มิตรแต่แสดงตัวว่าเป็นมิตร ซึ่งหวังผลประโยชน์จากคนที่คบด้วย ซึ่งมี ๔ ประเภทคือ
   -คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว คือ คนที่เอาเปรียบ
   -เสียน้อย คิดเอาให้มาก คือ เมื่อในกรณีที่ทีการลงทุนจะเสียน้อยแต่พอได้รับประโยชน์หรือผลตอบแทนแล้ว จะรับเอาแต่มาก
   -เมื่อมีภัยแก่ตัว จึงรับทำกิจของเพื่อน คือ ตามปกติคนประเภทนี้จะไม่ยอมข่วยเหลือใคร แต่เมื่อตนประสบปัญญาแล้วจึงมาแกล้งแสดงตัวเป็นมิตร
   -คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว คือ คนประเภทนี้เป็นคนเห็นแก่ตัวเมื่อคบเพื่อนคนใดแล้วก็จะเห็นแต่ประโยชน์ส่วนเท่านั้น
๒.คนดีแต่พูด คนดีแต่พูดไม่ถึงกับใช่คนหลอกลวง แต่เป็นกะล่อน ขอให้ได้พูดพูดในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนมากเป็นเรื่องไร้สาระมี ๔ ประเภทคือ
   -เก็บของล่วงแล้วมาปราศรัย คือ พววกที่คอยเรียกร้องความสนใจ ส่วนใหญ่แล้วจะเอาเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตมาพูด
   -อ้างเอาของที่ยังไม่มีมาปราศรัย คือ พวกที่ชอบพูดในเรื่องของอนาคต พูดในทำนองการพยากรณ์ ทำตัวเป็นผู้รอบรู้
   -สงเคราะด้วยสิ่งที่หาประโยชน์มิได้ คือ ถ้าช่วยเหลือคนที่คบกันอยู่ก็จะช่วยเหลือแบบเล่น ให้สิ่งที่ไม่มีประโยชน์
   -ออกปากพึ่งมิได้ คืด เมื่อเพื่อนต้องการพึ่งเพราะมีความเดือดร้อนบางอย่าง ก็บ่ายเบี่ยงแบ่งรับแบ่งสู้
๓.คนหัวประจบ คนหัวประจบเป็นคนที่คอยตามใจเพื่อน ให้เพื่อนเป็นผู้นำส่วนตนนั้นทำตัวเป็นผู้ตาม เพราะหวังผลประโยชน์ไม่ว่าสิ่งใดก็สิ่งหนึ่งคนจำพวกนี้มีอยู่ ๔ ประเภทคือ
   -จะทำชั่วก็คล้อยตาม คือ เมื่อเห็นเพื่อนทำชั่วก็ไม่ห้ามปราม กลับช่วยสนับสนุน
   -จะทำดีก็คลอยตาม คือ เมื่อเพื่อนทำดีก็เห็นด้วยคอยสนับสนุนเอาใจเพื่อน
   -ต่อหน้าว่าสรรญเสริญ คือ คอยยกย่องเพื่อนต่อหน้าเพื่อเอาใจเพื่อน
   -ลับหลังนินทาเพื่อน คือ เมื่อเพื่อนไม่เห็น ไม่ได้ยิน กลับนินทาว่าร้ายต่างๆ
๔.คนชักชวนในทางฉิบหาย คนชักชวนในทางฉิบหาย คบเพื่อนเพื่ออาศัยเพื่อนเป็นเครื่องมือหาความสนุกเพลิดเพลินของตน มีลักษณะ ๔ ประการคือ
   -ชักชวนดื่มน้ำเมา คือ ชักชวนให้เพื่อนดื่มสุราเมรัยซึ่งเป็นโทษทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
   -ชักชวนเที่ยวกลางคืน เช่น เที่ยวตามสถานบริการบันเทิงต่างๆ
   -ชักชวนให้มัวเมาในการเล่น คือ เล่นกีฬาหรือเล่นเกมต่างๆที่มีการพนันอยู่ด้วย
   -ชักชวนเล่นการพนัน หมายถึง การเล่นการพนันล้วนๆ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡


กรมอุตุฯเตือนภัยพายุฤดูร้อนในประเทศไทย
เปิดอ่าน 11,732 ครั้ง


กินผักตามฤดู 12 เดือน
เปิดอ่าน 11,264 ครั้ง


หน้ากากอนามัยใส่ให้เป็น
เปิดอ่าน 8,686 ครั้ง


บุหรี่มวน (Cigarette) ผลกระทบต่อสุขภาพ
เปิดอ่าน 784 ครั้ง


สัญญาณไฟจากรถบรรทุก
เปิดอ่าน 11,324 ครั้ง


ภูมิปัญญา "การแพทย์แผนไทย" สู้ภัยร้อนจัดของประเทศ
เปิดอ่าน 9,695 ครั้ง


ปลา สัตว์มงคลนำโชคลาภ
เปิดอ่าน 19,705 ครั้ง


ไข่ดิบมีประโยชน์จริงหรือ
เปิดอ่าน 9,128 ครั้ง


ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2552
เปิดอ่าน 8,485 ครั้ง


1 ธันวา..วันเอดส์โลก
เปิดอ่าน 10,606 ครั้ง


มากกว่า Like! เฟซบุ๊กเตรียมเปิดตัวปุ่ม "Want" เร็ว ๆ นี้
เปิดอ่าน 8,060 ครั้ง


กินพริกแล้วจะช่วยให้ลดความอ้วนได้หรอ?
เปิดอ่าน 16,566 ครั้ง


10 โรคเรื้อรังของคนวัย 40 อัพ
เปิดอ่าน 14,252 ครั้ง


ส่ง"เอสเอ็มเอส"บ่อยไม่ดี
เปิดอ่าน 8,021 ครั้ง


ประเทศไทยเคยเกิด "ฮีทเวฟ" หรือไม่ ?
เปิดอ่าน 11,976 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก