บทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ลูก แสดงถึงคุณค่าในด้านใด

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

แนวทางในการพิจารณาวรรณกรรม

 เนื้อเรื่อง

   บทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ลูก แสดงถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูกผ่านพฤติกรรมของตัวละครแต่ละตัว โดยพระยาภักดีนฤนาถ เป็นตัวแทนของบิดาเลี้ยงที่ทำหน้าที่พ่อด้วยความเต็มใจ ส่วนนายล้ำ เป็นตัวแทนของบิดาผู้ให้กำเนิดซึ่งสามารถเปลี่ยนความเห็นแก่ตัวไปเป็นความเห็นแก่ลูกได้ในที่สุด

ศิลปะการประพันธ์

   1. ใช้ภาษาโบราณ แต่ทำความเข้าใจได้ไม่ยาก เช่น “ไม่รับประทาน” (ไม่รับประทาน คือ ไม่เอา)

   2. ใช้คำพูดที่สั้น แต่แฝงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวละครไว้กระชับ

   3. ใช้บทสนทนาแสดงบรรยากาศ เหตุการณ์ และอารมณ์ของตัวละคร

ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ

   1. การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังจะเห็นได้จากผลทุจริตของนายล้ำที่ต้องรับโทษจำคุกเป็นเวลา ๑๐ปี

   2. ความรักระหว่างพ่อลูกเป็นความรักบริสุทธิ์ไม่หวังผล ดังที่นายล้ำล้มเลิกความเห็นแก่ตัวของตนเอง เมื่อได้รับรู้ว่าแม่ลออมีความภาคภูมิใจในตัวบิดาผู้ให้กำเนิดอย่างไร

   3. ความรักบริสุทธิ์สามารถเผื่อแผ่ไปถึงบุคคลอื่นได้ ตัวอย่างเช่นความรักของพระยาภักดีนฤนาถที่มีต่อแม่ลออ ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เลือดเนื้อเชื้อไขของตนเอง

การนำไปใช้ในชีวิตจริง

   1. การหลงในอบายและการทำกรรมชั่วทั้งปวงล้วนนำมาซึ่งปัญหาครอบครัวและปัญหาสังคม

   2. การรู้ผิดชอบชั่วดีในการกระทำของตนจะช่วยให้ครอบครัวปกติสุขไร้ซึ่งปัญหา

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. อธิบายข้อคิด เนื้อหาจากวรรณกรรม  วรรณคดีได้
  2. สรุปข้อคิดจากวรรณกรรม วรรณคดีไปใช้

            โครงเรื่อง : บทละครพูดมีความยาว 1 องก์ เริ่มเรื่องด้วยเหตุการณ์ที่นายล้ำได้เคยทุจริตต่อหน้าที่จนไปติดคุก กลับมาหาพระยาภักดีนฤนาถเพื่อทวงสิทธิ์ความเป็นบิดาของแม่ลออ ซึ่งปัจจุบันพระยาภักดีนฤนาถได้ชับเลี้ยงเหมือนบุตรีและกำลังจะแต่งงาน พระยาภักดีเกรงว่าแม่ลออจะเสื่อมเสียและต้องทุกข์ใจจึงพยายามกีดกัน เมื่อนายล้ำได้พบแม่ลออ ความดีและภาพพ่อที่แสนดีในใจของแม่ลอทำให้นายล้ำสำนึกได้ และยอมจากไปโดยไม่เปิดเผยตัวตน

            ตัวละครหลัก ตัวละครหลักในเรื่องมี 3 ตัว ได้แก่ นายล้ำ พระยาภักดีนฤนาถ และแม่ลออ

                นายล้ำ ชายวัยประมาณ 40 ปี หน้าตาเหี่ยวย่น ผมหงอก แลดูเป็นคนดื่มเหล้าจัด มีอุปนิสัยเห็นแก่ตัว รักความสบาย มักประพฤติตนในทางทุจริต ดังจะเห็นจากประวัติที่เคยต้องทาติดคุกมาก่อน แต่ในตอนท้ายเรื่องด้วยสำนึกในความเป็นพ่อและความดีของแม่ลออ นายล้ำจึงยอมเปลี่ยนใจ

                    พระยาภักดีนฤนาถ ชายอายุรุ่นราวคราวเดียวนายล้ำ หรืสูงอายุกว่านายล้ำเล็กน้อย การแต่งกายภูมิฐาน เป็นผู้มีอำนาจราชศักดิ์ และคุณธรรม แม้แม่ลออจะเป็นเพียงลุกเลี้ยง แต่พระยาภักดีก็เลี้ยงดูแม่ลออย่างดี และเป็นห่วงเป็นใยอนาคตของแม่ลออประหนึ่งลูกในไส้

                      แม่ลออ หญิงสาวอายุ 17 ปี ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ดี จึงดูงดงามทั้งรูปกาย กิริยามารยาทและจิตใจ เป็นคนมองดลกในแง่ดี ดังจะเห็นได้จากบทสนทนาของแม่ลออที่กล่าวถึงบิดาว่า

            ฉาก : เหตุการณ์ตามเนื้อเรื่องอยู่ในช่วงยุคสมัยรัชกาลที่ 6 ยศถาบรรดาศักดิ์ของข้าราชการ จึงยังเรียกขานตามยุคสมัยนั้น สตรีผู้ดีไม่จำเป็นต้องทำงานนอกบ้านและแต่งงานเมื่ออายุยังน้อย สถานที่คือห้องหนังสือภายในบ้านของพระยาภักดีนฤนาถ

                แก่นเรื่อง : สำนึกของความเป็นพ่อ และความเสียสละของพ่อที่มีต่อลูก ไม่ว่าคนผู้นั้นจะเป็นพ่อแท้ ๆ หรือเป็นเพียงพ่อเลี้ยง ก็มีสำนึกของความเป็นพ่อ และความเสียสละต่อลูกได้เช่นเดียวกัน ดังจะเห็นจากพ่อแบบพระยาภักดีนฤนาถและพ่อแบบนายล้ำที่แม้จะเลวร้ายปานใด แต่เพื่อลูกแล้วก็สามารถสละความเห็นแก่ตัวได้

ขอขอบคุณที่มารูปภาพจาก

//www.google.com/search?q=%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81&sxsrf=ALeKk024uI-RgIcGUgVr4SnXVD0MgPB8DA:1589697744462&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=2ahUKEwj_je_KpbrpAhWXbn0KHXl6DggQ_AUoAXoECAwQAw&biw=1366&bih=625#imgrc=2p0rTSdkndpKbM

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก