แบบบันทึกสั้นเชิงวิเคราะห์ เรื่อง หน้าที่ของเงิน

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

ในระบบเศรษฐกิจเงินเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยทีเงินมีราคาแน่นอนเป็นเงินตราและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในการซื้อขายและชำระหนี้ คุณลักษณะดังกล่าวจึงทำให้เงินสามารถทำหน้าที่ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ 4 ประการ

1.เป็นสื่อกลางใรการแลกเปลี่ยน

2.เป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่า

3.เป็นเครื่องรักษามูลค่า

4.เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ภายหน้า

แบบบันทึกสั้นเชิงวิเคราะห์ เรื่อง หน้าที่ของเงิน
แบบบันทึกสั้นเชิงวิเคราะห์ เรื่อง หน้าที่ของเงิน

 

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

มฐ ส3.2 ป.4/2 อธิบายหน้าที่เบื้องต้นของเงิน

จุดประสงค์

1 บอกหน้าที่เบื้องต้นของเงินในระบบเศรษฐกิจได้

2 วิเคราะห์หน้าที่เบื้องต้นของเงินในระบบเศรษฐกิจได้

3 ตระหนักและเห็นความสำคัญต่อหน้าที่เบื้องต้นของเงินในระบบเศรษฐกิจ      

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

ความหมายและบทบาทหน้าที่ของเงิน

           เงินคือสิ่งที่คนในสังคมได้สมมุติขึ้น และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปของสังคมขณะนั้น เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการใช้ในการชำระหนี้ และอื่นๆ ตามต้องการ

           ค่าของเงินนั้นก็คือ ควาสามารถ หรืออำนาจซื้อถ้าเงินมีอำนาจซื้อสูงก็จะทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าและบริการได้มาก แต่ถ้ามีอำนาจซื้อต่ำผลก็จะตรงข้างกัน โดยเราสามารถที่จะแบ่งค่าของเงินได้เป็นสองชนิดคือ ค่าของเงินภายใน ซึ่งหมายถึงอำนาจในการซื้อของเงินที่มีต่อสินค้าและบริการภายในประเทศ เช่น ค่าภายในของเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา หรือค่าภายในของเงินบาท เป็นต้นซึ่งในการวัดค่าของเงินภายในนี้เราจะต้องเปรียบเทียบกับระดับราคาสินค้าโดยทั่วไป ทั้งนี้จะเลือกเอาอย่างได้อย่างหนึ่งไม่ได้เพราะว่าสินค้ามีหลายชนิด และที่สำคัญระดับราคานั้นเปลี่ยนแปลงไม่พร้อมกัน สำหรับค่าของเงินอย่างที่สองคือ ค่าของเงินภายนอก คือ อำนาจการซื้อของเงินในการซื้อสินค้า และบริการจากต่างประเทศ ดังนั้นค่าของเงินภายนอกจึงมักจะถูกกำหนดไปด้วยอัตราการแลกเปลี่ยน  ซึ่งจะเห็นภาพได้ง่ายจากปรากฎการณ์ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ที่ทางรัฐบาลไทยได้ประการปรับปรุงจากอัตราแลกเปลี่ยนในระบบคงที่แบบที่เรียกว่าตะกร้าเงินมาเป็นแบบลอยตัว ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินบาทของไทยนั้นลดลงเป็นอย่างมาก

          ความหมายของระบบตะกร้าเงิน ก็คือ การเปรียบเทียบค่าเงินของประเทศนั้นๆ กับเงินสกุลต่างๆ เช่นค่าเงินบาท กับ ค่าเงินเยน โดยทั่วไปแล้วจะเห็นได้ตามสถานที่ที่รับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเช่นธนาคารพาณิชย์เป็นต้น สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวนั้นจะขออธิบายไว้คร่าวๆ คือ การปล่อยให้ค่าของเงินนั้นมีการเคลื่อนไหวไปตามกลไกของตลาดที่กำหนด โดยจะถูกกำหนดโดยความต้องการถือเงิน คือ Demand for Money และ Supply for Money โดยที่ธนาคารกลางนั้นจะไม่มีการประการอัตรากลาง  ในตอนเช้าของทุกๆวัน

         หากกล่าวว่าเงินนั้นมีหน้าที่อะไรบ้างคงจะมีคำตอบที่คล้ายๆ กันก็คือ เงินนั้นทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งเราสามารถที่จะจำแนกหน้าที่ของเงินออกได้หลักๆ ดังนี้

1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน  ผู้บริโภคมีอิสระเลือกซื้อสินค้าชนิดใดๆ ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเวลาใด หรือ ณ ที่ใด

 2. เป็นเครื่องวัดมูลค่า เป็นมาตรฐานที่ใช้วัดมูลค่าของสินค้า และบริการ สามารถเปรียบเทียบมูลค่าของสินค้า และบริการทุกชนิดได้โดยสะดวก โดยเงินต้องมีมูลค่าหรือมีอำนาจซื้อค่อนข้างลงตัว ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพเศรษฐกิจ แต่ต้องไม่มากนัก มิเช่นนั้นจะเป็นการลดความน่าเชื่อถือ

3. เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ในอนาคต  เนื่องจากการขยายตัวในระบบเศรษฐกิจ มีการผลัดเวลาการชำระเงินทุน ดอกเบี้ย และหนี้สินต่างๆ เงินจึงเข้ามาเป็นเครื่องมื่อที่ใช้เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต โดยมีข้อจำกัดที่ว่ามูลค่าของเงินจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงไปมากเกินไป

4. เป็นเครื่องรักษามูลค่า สินทรัพย์บางชนิดไม่ถาวร ดังนั้นการเลือกเก็บสินทรัพย์ต้องเลือกเก็บให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น ที่ดิน บ้านเรือน หุ้น พันธบัตร เมล็ดพืช ฯลฯ แต่สิ่งดังกล่าวย่อมมีการเปลี่ยนแปลงการแลกสิ่งดังกล่าวมาเก็บไว้เป็นตัวเงิน ด้วยเหตุที่ว่าเงินที่ดีย่อมมีมูลค่าคงตัว และเป็นของที่มีอำนาจซื้อทั่วไป การเก็บเงินไว้ในสถาบันการเงินก็ยังสามารถก่อให้เกิดดอกผลได้อีกทาง