สหเวชศาสตร์ ใช้คะแนนอะไรบ้าง 66

น้องๆ ม.4-5 น่าจะยังไม่ค่อยคุ้นชื่อ "สหเวชศาสตร์" กันเท่าไหร่ เดากันไม่ค่อยออกว่าเรียนอะไร แต่ถ้ารุ่นพี่ ม.6 คงพอคุ้นกันอยู่บ้างแล้ว เพราะเป็นอีกหนึ่งคณะสำคัญในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ และมีความสำคัญไม่แพ้วิชาชีพอื่นๆ บอกเลยว่า ถ้าโรงพยาบาลขาด "บุคคลากรที่จบจากสหเวชศาสตร์" การรักษาคนไข้ก็ไม่มีทางสมบูรณ์แบบได้ ตัวอย่างคนดังที่ทำงานด้านนี้ก็เช่น หมอแล็บแพนด้า หมอแล็บคนดังในโซเชียลนั่นเอง
         อยากรู้จักคณะสหเวชศาสตร์กันมากขึ้นแล้วใช่มั้ยคะ ไปทำความรู้จักคณะ/สาขาและเส้นทางสอบเข้ากันเลยค่ะ
 

สหเวชศาสตร์ ใช้คะแนนอะไรบ้าง 66


สหเวชศาสตร์ เรียนอะไร
         คณะสหศาสตร์ เป็นชื่อเรียกกลุ่มสาขาวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีระยะเวลาการเรียน 4 ปี (ยกเว้นทัศนมาตรศาสตร์จะเรียน 6 ปี) ประกอบด้วยหลักสูตรที่สร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ต่างๆ เช่น เทคนิคการแพทย์ รังสีเทคนิค กายภาพบำบัด โภชนาการและการกำหนดอาหาร ฯลฯ ซึ่งสำคัญอย่างมากกับระบบการรักษา เพราะจะมีหน้าที่ในการตรวจ คัดกรอง และส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชน  
         ในบางมหาวิทยาลัยอาจไม่ได้ใช้ชื่อว่า "สหเวชศาสตร์" แต่มีชื่อสาขาเป็นชื่อคณะไปเลย เช่น คณะเทคนิคการแพทย์ ม.เชียงใหม่ คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล แต่อยากให้รู้ว่า "เทคนิคการแพทย์" ที่อยู่ในคณะสหเวชศาสตร์ กับคณะเทคนิคการแพทย์ ก็คือเป็นหลักสูตรเดียวกันค่ะ แตกต่างกันแค่ชื่อของแต่ละมหาวิทยาลัย


สาขาที่เปิดสอนในประเทศไทย 
         คณะสหเวชศาสตร์ ในประเทศไทยมีเปิดสอนหลายสาขา แต่ละมหาวิทยาลัยจะมีจำนวนสาขาที่เปิดสอนไม่เท่ากัน อย่าลืมดูระเบียบการให้ละเอียดก่อนสมัครนะคะ จะได้เลือกในคณะที่ตัวเองต้องการมากที่สุดได้ จะมีสาขาอะไร และเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง อ่านต่อได้เลยค่ะ
         1.สาขาเทคนิคการแพทย์ เรียนเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยโรค โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการวินิจฉัยและส่งผลให้กับคุณหมออีกทีค่ะ เช่น การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เป็นต้น ซึ่งเราจะเลือกกันว่า "หมอแล็บ" เพราะส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในแล็บ
         2.สาขากายภาพบำบัด เรียนเกี่ยวกับการรักษาและฟื้นฟูร่างกายด้วยวิธีกายภาพบำบัดหรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น การทำกายภาพให้กับผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดที่ต้องฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาเคลื่อนไหวได้ตามปกติมากที่สุด รวมไปถึงชาวออฟฟิศก็ต้องการนักกายภาพบำบัดนะ เพราะนักกายภาพสามารถประเมินและนวดแก้อาการได้แบบตรงจุด
         3.สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร เรียนเกี่ยวกับการกำหนดอาหารในทางการแพทย์เพื่อป้องกัน รักษาคนไข้ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ การดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรคนั่นเอง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยมะเร็ง เป็นต้น รวมไปถึงการเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพต่างๆ
         4.สาขารังสีเทคนิค เรียนเกี่ยวกับการใช้รังสีในทางการแพทย์ ทั้งวินิจฉัยและรักษาโรค เช่น ผู้ป่วยต้องตรวจปอดก็ต้องไปเอ็กซเรย์ที่ห้องเอ็กซเรย์ นักรังสีเทคนิคก็จะคอยทำหน้าที่อยู่ตรงนั้น รวมไปถึงการใช้รังสีเพื่อการรักษาโรคเช่น โรคมะเร็ง เป็นต้น
         5.สาขาวิชากิจกรรมบำบัด เรียนเกี่ยวกับการใช้กิจกรรมเป็นสื่อในการรักษา ประยุกต์ใช้ได้กับคนทุกประเภท ไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้พิการ เด็กออทิสติก ฯลฯ นักกิจกรรมบำบัดจะเข้าไปช่วยเตรียมความพร้อมทางร่างกายและจิตใจ ให้สามารถดูแลตนเองได้ โดยไม่เป็นภาระคนรอบข้าง
         6.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย สาขานี้นอกจากจะอยู่ในคณะสหเวชศาสตร์แล้ว หลายๆ ที่จะไปอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยเรียนเกี่ยวกับการนำหลักวิทยาศาสตร์มาใช้และพัฒนาในการกีฬา เช่น เรียนรู้การใช้โครงสร้างกล้ามเนื้อในการเล่นกีฬา การป้องกันการบาดเจ็บจากกีฬา รวมไปถึงการฟื้นฟูร่างกาย การปฐมพยาบาล
         7.สาขาวิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก เรียนเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจ ระบบการไหลเวียนเลือด ปอด การใช้เครื่องมือในการรักษาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เรียนจบออกมาสามารถทำงานในหน่วยงานที่เกี่ยวกับโรคหัวใจ เช่น ห้องสวนหัวใจ ศูนย์โรคหัวใจ เป็นต้น
         8.สาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับการดูแล ป้องกัน แก้ไขปัญหาโรคเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น สายตาสั้น ตาเข ด้วยวิธีการทางทัศนมาตร เช่น ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตรวจคัดกรองเบื้องต้น จบสาขานี้จะได้เป็นนักทัศนมาตร แต่ไม่ใช่จักษุแพทย์ จะรักษาโรคที่เกี่ยวกับดวงตาไม่ได้
         9.สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ จะเป็นการเรียนเกี่ยวกับเซลล์ การทำงานในร่างกายมนุษย์ และฝึกทักษะงานวิจัยทางการแพทย์ เพื่อนำความรู้มาใช้วิเคราะห์โรค หาวิธีการรักษา และเป็นผู้นำในด้านการวิจัยทางการแพทย์
         10.สาขาวิชาพยาธิวิทยากายวิภาค สาขานี้อ่านว่า พะ-ยา-ทิ ไม่ใช่ พะ-ยาด คือ ความผิดปกติหรือรอยโรคต่างๆ จะเรียนเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองความผิดปกติของเซลล์และเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นการตรวจความผิดปกติระยะเริ่มต้นที่อาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง มีหน้าที่สำคัญเพื่อช่วยให้พยาธิแพทย์ตรวจวินิจฉัยโรคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
 

แต่ละมหาวิทยาลัย เปิดรับรอบไหนบ้าง
 

สหเวชศาสตร์ ใช้คะแนนอะไรบ้าง 66

 

ยกตัวอย่างโครงการที่น่าสนใจในแต่ละรอบ
รอบที่ 1 Portfolio
1.1 โครงการเด็กดีมีที่เรียน ม.ขอนแก่น
เกณฑ์คัดเลือก : GPAX > 3.50 + Portfolio ที่เกี่ยวข้องด้านคุณธรรม จริยธรรม ระดับโรงเรียนขึ้นไป
1.2 โครงการนักเรียนที่มีผลการเรียนเป็นเลิศ ม.นเรศวร
เกณฑ์คัดเลือก : ผลการเรียนเป็นลำดับที่ 1-5 ของโรงเรียน
1.3 โครงการรับรอบ Portfolio คณะกายภาพบำบัด สาขาวิชากิจกรรมบำบัด ม.มหิดล
เกณฑ์คัดเลือก : Portfolio + สัมภาษณ์


รอบที่ 2 โควตา
2.1 โควตาชนบท จุฬาฯ
เกณฑ์คัดเลือก : GPA วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ แต่ละกลุ่มวิชา > 2.75 และกลุ่มอื่นๆ > 2.00 , ใช้ GAT + PAT 1 + PAT 2
2.2 โควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ม.ขอนแก่น
เกณฑ์คัดเลือก : 9 วิชาสามัญ วิชาภาษาไทย, สังคมศึกษา, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา
2.3 โควตา 12จังหวัดภาคตะวันออก ม.บูรพา
เกณฑ์คัดเลือก : GPAX + PAT 1 (เฉพาะสาขาวิชากายภาพบำบัด) + PAT 2


รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน
3.1 รับตรงร่วมกัน จุฬาฯ
เกณฑ์คัดเลือก : GAT + PAT 1 + PAT 2
3.2 รับตรงร่วมกัน ม.เชียงใหม่
เกณฑ์คัดเลือก : วิชาสามัญ วิชาภาษาไทย, สังคมศึกษา, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา
3.3 รับตรงร่วมกัน มศว

เกณฑ์คัดเลือก : GAT + PAT 2 + วิชาสามัญ วิชาภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, ฟิสิกส์, ชีววิทยา


รอบที่ 4 แอดมิชชั่น
ทุกมหาวิทยาลัยใช้เกณฑ์เดียวกัน O-NET 30% + GPAX 20% + GAT 20% + PAT 2 30%


รอบที่ 5 รับตรงอิสระ
5.1 โครงการรับตรงอิสระ ม.ธรรมศาสตร์
เกณฑ์คัดเลือก : GAT 20% + PAT 2 40% + วิชาสามัญ 7 วิชาหลัก 40%
5.2 โครงการรับตรงอิสระ ม.วลัยลักษณ์
เกณฑ์คัดเลือก :
สมัครรูปแบบที่ 1 ใช้ GPAX + Portfolio
สมัครรูปแบบที่ 2 ใช้ O-NET + GAT + PAT 1 + PAT 2
5.3 โครงการรับตรงอิสระ สาขารังสีเทคนิค ว.วิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์
เกณฑ์คัดเลือก : ใช้ GPAX 2.75 + O-NET + GAT + PAT 2


Q&A คำถามยอดฮิต
Q. เรียนคณะนี้ต้องใช้ทุนรัฐบาลไหม
         จบจากกลุ่มคณะสหเวชศาสตร์-เทคนิคการแพทย์ ไม่ต้องใช้ทุนค่ะ   

Q. เรียน 4 หรือ 6 ปี และได้วุฒิอะไร
         สำหรับคณะสหเวชศาสตร์ทุกหลักสูตร จะเรียน 4 ปี ยกเว้นทัศนมาตรศาสตร์ จะเรียน 6 ปีเหมือนแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และเภสัชศาสตร์
         ส่วนวุฒิการศึกษา สาขาเทคนิคการแพทย์ รังสีเทคนิค โภชนาการและการกำหนดอาหาร ฯลฯ ก็จะได้วิทยาศาสตรบัณฑิต ตามด้วยชื่อสาขา แต่จะมีบ้างที่เป็นวุฒิเฉพาะของสาขานั้น เช่น กายภาพบำบัดบัณฑิต ม.แม่ฟ้าหลวง, ทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต ม.นเรศวร เป็นต้น  

เทคนิคการแพทย์ มน ใช้คะแนนอะไรบ้าง 66

⇒สาขาวิชา เทคนิคการแพทย์ ใช้ TGAT A-Level เคมี ชีววิทยา ภาษาอังกฤษ ⇒สาขาวิชา เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก ใช้ TGAT A-Level แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 30 คะแนน ฟิสิกส์ ชีววิทยา ภาษาอังกฤษ ⇒สาขาวิชา รังสีเทคนิค ใช้ TGAT A-Level แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 25 คะแนน คณิตศาสตร์1 ฟิสิกส์ ชีววิทยา

คณะสหเวชศาสตร์ มธ ใช้คะแนนอะไรบ้าง

คณะสหเวชศาสตร์.
รอบที่เปิดรับ 1 2 3/1 3/2 4..
คะแนนที่ใช้ GPAX ONET GAT PAT2. (ตรวจสอบจากข้อมูลอัพเดตล่าสุดในแต่ละรอบอีกครั้ง).
ระยะเวลาหลักสูตร 4 ปี.
ค่าเทอม 16,500 / ภาคการศึกษา.
ข้อมูลปีการศึกษา 2564..

เทคนิคการแพทย์ มีที่ไหนบ้าง 65

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะสหเวชศาสตร์/เทคนิคการแพทย์.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ม.ขอนแก่น.
ม.เชียงใหม่.
ม.ธรรมศาสตร์.
ม.นเรศวร.
ม.มหิดล.
ม.บูรพา.
ม.พะเยา.

คณะสหเวช ต้องสอบอะไรบ้าง

คณะสหเวชศาสตร์ / คณะเทคนิคการแพทย์ / คณะสาธารณสุขศาสตร์ สัดส่วนคะแนน : GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 20% และ PAT2 30% คะแนนเฉลี่ยประมาณ : 15,000 คะแนนขึ้นไป คะแนนที่น้อง ๆ ควรทำได้ : – GAT 210 ขึ้นไป