ข้อดี ของการ ทำงาน บริษัท Start Up

5 เหตุผล ที่คุณควรทำงานกับบริษัท STARTUP

ข้อดี ของการ ทำงาน บริษัท Start Up

         งานในบริษัท Startup อาจจะไม่เหมาะสำหรับคนทุกคน แต่ถ้าคุณตัดสินใจที่จะทำงานด้วยแล้ว มันอาจส่งผลกระทบที่ยั่งยืนต่อชีวิตส่วนตัวและอาชีพของคุณเลยทีเดียว บริษัท Startup กำลังเกิดขึ้นมากมายและแน่นอนว่า ย่อมมีตำแหน่งงานที่เปิดรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย หากคุณมีโอกาสได้รับข้อเสนอให้ทำงานกับ Startup เหล่านั้น และกำลังลังเลใจ ทีมงาน TechStar อยากให้ลองมาดู 5 เหตุผลที่คุณควรตอบรับงานจากบริษัท Startup ดังนี้ครับ

  1. คุณจะมีความรับผิดชอบมากขึ้น
    เมื่อคุณเข้าร่วมงานกับ Startup คุณจะมีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย เพราะว่า Startup มักจะประกอบด้วยทีมงานขนาดเล็ก คุณจะได้ “สวมหมวก” หลายใบ  นอกเหนือจากงานหลักของคุณ เช่น คนที่เป็น Software Developer อาจจะได้ทำหน้าที่ Customer Support หรือ UI Designer ไปด้วย เพื่อให้งานตรงความต้องการลูกค้ามากที่สุด รวมทั้งงานอื่นๆ ที่คุณอาจไม่คุ้นเคยหรือไม่เคยทำ การทำงานใน
    Startup จะส่งเสริมให้คุณมีทักษะหลากหลาย จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
     
  2. คุณมีโอกาสได้เรียนรู้จากคนที่มีฝีมือ
    ข้อดีของการทำงานในองค์กรใหญ่คุณอาจจะได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งในเชิงลึก แต่ข้อดีสำหรับการทำงานกับบริษัท Startup ที่มุ่งเน้นสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ คุณจะได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะ ในหลากหลายด้าน และเติบโตไปพร้อมกับบริษัท นอกจากนี้ คุณจะได้มีโอกาสทำงานกับคนเก่งมีความสามารถที่เต็มไปด้วย Passion ในการทำงาน คนเหล่านี้มักจะมีมุมมองในการทำงานและแก้ไขปัญหาที่แตกต่างจากคนทั่วไป แค่คิดว่าจะได้ร่วมงานกับบุคคลเหล่านั้นก็รู้สึกมีพลังขึ้นมาแล้ว คิดดูซิว่า คุณจะได้เรียนรู้จากพวกเขามากขนาดไหน ซึ่งมันจะส่งผลกระทบต่ออาชีพและการใช้ชีวิตของคุณในอนาคตด้วย

     
  3. มีโอกาสได้ลองเปลี่ยน Career path
    มีคนทำงานหลายคนที่เกิดอาการ “หมดไฟ” เมื่อต้องทำงานเดิมๆ ซ้ำๆ ไปนานๆ ถ้าคิดอยากเปลี่ยนหน้าที่การงานก็อาจต้องย้ายที่ทำงานใหม่ไปเลย แต่สำหรับ
    Startup แล้ว มันจะแตกต่างออกไป ถึงคุณเป็น Programmer แต่คุณสามารถลองทำการตลาด มีโอกาสทดสอบซอฟแวร์ ได้เสนอไอเดียใหม่ๆ บริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล หรืองานอื่นๆ ด้วย คุณจะได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากการนำไปใช้จริง ซึ่งถือว่า “Win-Win” ทั้งตัวคุณเองและบริษัท เพราะคุณสามารถสลับสับเปลี่ยนหน้าที่ได้โดยไม่ต้องลาออกไปทำที่อื่น ในขณะที่บริษัทเองก็ยังมีคนช่วยทำงานอยู่โดยที่ไม่ต้องจ้างพนักงานใหม่เข้ามา  
     
  4. มีความคิดเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น
    การทำงานใน Startup คุณจะเรียนรู้การดำเนินธุรกิจ ว่าอะไรที่ใช่หรือไม่ใช่ เหมาะหรือไม่เหมาะ การได้อยู่ในสถานการณ์แบบนี้ทุกวัน มันเปรียบเหมือนบริษัทนั้นเป็นของคุณเอง ซึ่งคุณจะรู้สึกท้าทายและต้องทำทุกอย่างให้ดีที่สุด ถ้าคุณทำงานในองค์กรขนาดใหญ่จะมีสักกี่ครั้งที่คุณจะได้พูดคุยกับประธานบริษัท แต่การทำงานในบริษัท Startup คุณจะมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับผู้ก่อตั้งบริษัทและได้การเรียนรู้เคล็ดลับจากพวกเขา ไม่แน่ในอนาคตคุณอาจจะมีโอกาสได้นำเคล็ดลับเหล่านั้นไปต่อยอดในวันที่คุณมีบริษัทของคุณเองก็ได้นะ 

     
  5. คุณจะได้รับประโยชน์ที่น่าทึ่ง
    คุณอาจคิดว่า มีเฉพาะบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้นที่ให้เงินเดือนและสวัสดิการดีๆ แก่พนักงาน บริษัท Startup ก็ให้ได้เช่นกัน แต่ในลักษณะที่แตกต่างออกไป เช่น บริษัทอนุญาตให้คุณ “Work from home” ได้ในบางโอกาส คุณจะได้ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยฝ่าการจราจรติดขัดทุกวัน (ซึ่งเหมาะกับสไตล์คนไอทีมาก) หรือบางทีบริษัทให้คุณบริหารจัดการงานของคุณเองตราบใดที่คุณยังทำมันได้ดี คนทำงานหลายคนอยากทำงานในบริษัทใหญ่เพราะมองเรื่องรายได้ที่มากกว่า แต่หลายอีกคนก็เห็นผลประโยชน์ของการได้ร่วมงานกับบริษัทเล็กๆ แบบ Startup มากกว่า เช่น การมีอิสระในการบริหารจัดการเวลา หรือแม้แต่การมีไลฟ์สไตล์การทำงานในแบบของตัวเอง 

         ข้อมูลข้างต้นเป็นสิ่งที่รวบรวมข้อดีของการทำงานในบริษัท Startup ให้ชาวไอทีได้เห็น แต่ไม่ได้หมายความว่า ทุกคนจะเหมาะหรือจะแฮปปี้กับบริษัท Startup มันขึ้นอยู่กับมุมมองและเป้าหมายในสายอาชีพของแต่ละคน คุณเองคือคนที่รู้ดีที่สุดว่า คุณเหมาะกับที่จะร่วมงานในบริษัท Startup หรือไม่?

ทุน ทุน ทุน เรื่องนี้แทบจะเป็นเรื่องที่สตาร์ทอัพ (Startup) แทบทุกคนรู้ซึ้งดีว่ามันสำคัญมากเพียงใด เพราะต้องยอมรับว่า การทำธุรกิจล้วนต้องมีทุนสนับสนุน คนที่กว้างขวางมีครอบครัวหรือเพื่อนฝูงพร้อมช่วยเหลือเกื้อกูลในช่วงเริ่มต้น ก็ถือว่าโชคดีไป ที่มีทุนเริ่มต้น แต่สำหรับคนที่มีไอเดีย มีแผนการทำธุรกิจ แต่ไม่มีทุนให้อุ่นใจ ตำราสตาร์ทอัพ เขาให้มองไปที่นักลงทุนทั้งหลายที่พร้อมจะสนับสนุนให้คุณเดินหน้า แต่อย่างไรก็ดี นักลงทุนก็แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มที่สำคัญ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีข้อดีข้อเสียที่คุณควรรู้ก่อนจะจับมือทำงานร่วมกัน

และนี่ก็คือนักลงทุน 4 กลุ่มที่เราว่า

  • VC (Venture Capital) บริษัทร่วมทุน

  • Lone Angel Investor นักลงทุนใจดี ให้เงินเริ่มต้นในจำนวนที่ไม่สูงมาก แต่ทำให้บริษัทมีพลังขับเคลื่อนในระยะเริ่มต้นได้ และเป็นนักลงทุนที่ควักเงินของตัวเองคนเดียว

  • Angel groups เป็นนักลงทุนใจดีเหมือนกัน แต่มาเป็นกลุ่ม

  • Syndicates คือมีเงินทุนจาก VC แต่ลงทุนครั้งเดียว ไม่ได้ลงทุนต่อเนื่องแบบ VC

ข้อดี ของการ ทำงาน บริษัท Start Up

ข้อดีและข้อเสียในแต่ละกลุ่มนักลงทุน

การวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียในแต่ละกลุ่มนั้น มีเกณฑ์ที่ใช้วัดผลทั้งหมด 11 ข้อที่เราควรศึกษาเอาไว้ นันก็คือ

1. ระยะเวลาการตัดสินใจ

2. ขนาดหรือจำนวนเงินในการลงทุน

3. ราคาและการประเมินค่าของบริษัท

4. ความต้องการควบคุม

5. การช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก

6. ประสบการณ์ในวงการสตาร์ทอัพ

7. ความสามารถในการเติมเงินลงทุน (follow-on)

8. วิธีการบริหารธุรกิจ

9. การแบ่งหุ้นตามที่ต้องการ (Liquidation Preference)

10. ปัญหาทั่วๆ ไป

11. ความสามารถในการหาทุนต่อไปในอนาคต

แต่ละเกณฑ์ก็จะมีความแตกต่างกันไปตามกลุ่มของนักลงทุน มาดูกันแบบละเอียดดีกว่าว่ามันมีความหมายอย่างไรบ้าง

1. ระยะเวลาการตัดสินใจ

Lone Angel – ตัดสินใจได้เร็วที่สุด เงินทุกก้อนเป็นของพวกเขาเอง ไม่จำเป็นต้องรอใคร

Syndicate – ตามมาด้วย syndicate ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ยิ่งดีลที่สำคัญๆ ต้องเร่งการตัดสินใจ ก็จะยิ่งปิดดีลเร็ว

VC – อาจจะต้องผ่านหลายขั้นตอนเพื่อทำการปิดดีล แต่ถ้าดีลที่น่าสนใจ เช่น เป็น สตาร์ทอัพ (Startup) สุดฮอต น่าลงทุน พวกเขาก็สามารถที่จะเร่งปิดดีลให้เร็วขึ้นได้เทียบเท่ากลุ่ม Syndicate เลย แต่ขั้นตอนบางอย่างอาจจะเยอะขึ้น เพราะ VC เป็นองค์กรที่มีระบบระเบียบพิธีการเยอะพอสมควร

Angel Groups – ช้าที่สุดในทุกประเภท เพราะกว่ากลุ่มนี้จะไป pitch ในแต่ละอีเวนท์ก็ใช้เวลา 2-3 เดือนครั้ง แล้วกว่าจะไปโน้มน้าวเพื่อนๆ นักลงทุนในกลุ่มก็ใช้เวลามากขึ้นไปอีก

2. จำนวนเงิน (Size) ในการลงทุน

VC – ถือว่าเป็นบริษัทที่เขียนเช็คมูลค่าเยอะที่สุด เพราะพวกเขามักจะต้องการได้ผลประโยชน์กลับมาคุ้มที่สุดในทุกๆ การลงทุน รวมทั้งเปอร์เซ็นต์ในการได้เป็นเจ้าของบริษัทด้วย

Syndicate และ Angel groups – ขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัทพวกเขาด้วยว่าใหญ่หรือเล็กแค่ไหน การลงทุนเฉลี่ยจะอยู่มากสุดประมาณ 1-2 ล้านเหรียญ

Lone Angels – ลงทุนในจำนวนเล็กๆ เท่านั้น

3. ราคาและการประเมินค่าของบริษัท

Lone Angels – กลุ่มนี้มักจะไม่ค่อยซีเรียสกับมูลค่ามากนัก คนที่มาลงทุนส่วนใหญ่แค่เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ตัวเอง นักลงทุนกลุ่มนี้มักจะไม่ได้มีความรู้และความเข้าใจในธุรกิจที่จะลงทุนเท่าไหร่นัก และทักษะการต่อรองก็ไม่ค่อยดีด้วยซ้ำ

Angel groups – จะอยู่ในระดับที่เหนือขึ้นมาหน่อย พวกเขาจะมีความคิดไตร่ตรองเกี่ยวกับเรื่องราคามากกว่า Lone Angels เพราะต้องการได้รับผลตอบแทนที่ดีกลับมา

Syndicates – ที่เหนือไปกว่า Angel คือกลุ่มนี้ พวกเขาสามารถเขียนเช็คได้เร็วมาก แถมยังมีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องราคาอีกด้วย

VC – แน่นอนว่าถ้าจริงจังเรื่องราคาและมูลค่าที่สุดก็ต้องเป็น VC เพราะพวกเขาจำเป็นที่จะต้องได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ามาคืนกลุ่มนักลงทุน รวมทั้งการคิดค่าบริหารจัดการต่างๆ ตามมาหลังจากนั้นด้วย

4. ความต้องการในการควบคุม

แน่นอนว่าการบริหารธุรกิจของด้วยตัวเองคือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเหล่า founders ไม่เช่นนั้นการทำงานหรือการตัดสินใจต่างๆ อาจจะไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจ

Lone Angels – กลุ่มนี้จะไม่ค่อยเข้ามามีบทบาทมาก แต่ก็สามารถให้คำแนะนำเมื่อคุณต้องการได้บ้าง

Angel Groups and Syndicates – สองกลุ่มนี้อาจจะต้องการการอัพเดตข้อมูลต่างๆ เป็นระยะๆ หรืออาจจะมีนัดประชุมบอร์ดบ้างเป็นครั้งคราว

VC – จะเป็นกลุ่มที่จริงจังมากสุด เพราะพวกเขาต้องดีลกับ LP หรือ Limited Partner ด้วย การประชุมบอร์ดก็จะเป็นไปอย่างจริงจัง

5. การช่วยเหลือจากคนนอก

VC – กลุ่ม VC จะเป็นกลุ่มที่สามารถหาเครือข่ายและติดต่อขอความช่วยเหลือให้กับ founders ได้มากที่สุด ทั้งเรื่องของงบประมาณ คำปรึกษา ไปจนถึงผู้รอบรู้ด้านเทคนิคต่างๆ ที่ founders ต้องการ

Angel Group – พนักงานหลายๆ คนมีความตั้งใจที่จะยื่นมือเข้ามาช่วย ทำให้เห็นถึงการสนับสนุนที่จะส่งผลดีในอนาคตได้

Syndicates – มีเครือข่ายที่กว้างขวาง แต่ผลลัพธ์อาจจะยังไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่ากับสองกลุ่มแรก

Lone Angels – เนื่องจากเป็นการลงทุนกับคนคนเดียว เครือข่ายหรือคอนเนคชั่นอาจจะไม่หนาแน่นมากสักเท่าไหร่

6. ประสบการณ์ในวงการสตาร์ทอัพ (Startup)

คล้ายๆ กับข้อที่ 5 ประสบการณ์ในวงการมักจะมาพร้อมกับเครือข่ายและคอนเนคชั่น

7. ความสามารถในการลงทุนต่อเนื่อง (follow-on)

VC – โปรไฟล์ของ Venture Capital จะถูกคาดเดาจากการลงทุน follow-on ซึ่งเงินทุนมักจะถูกจองไว้ประมาณ 50-75%

Syndicates – ด้วยความที่จำนวนฐานของนักลงทุนนั้นมีเยอะ และนักลงทุนก็มักจะให้จำนวนเปอร์เซ็นต์น้อย การทำ follow-on จึงเกิดขึ้นได้ง่าย

Angel Groups – ไม่ค่อยมีการทำ follow-on มากนัก เนื่องจากการจำกัดเรื่องเวลาและอาจจะไม่ค่อยโฟกัสที่ ROI สักเท่าไหร่

Lone Angels – นักลงทุนแบบเดี่ยวๆ มักจะไม่ค่อยมีเงินสนับสนุนมากนัก การทำ follow-on จึงไม่ค่อยได้อยู่ในความคิดพวกเค้านั่นเอง

8. ระบบการจัดการ (การเมืองในองค์กร)

Lone Angels – การลงทุนแบบอิสระแน่นอนว่าจะต้องชนะในหมวดนี้ พวกเค้าไม่ได้มีความเกี่ยวข้องในเรื่องของการเมืองหรือปัญหาต่างๆ สักเท่าไหร่

Syndicates – ตัวแทนของ syndicate จะต้องหาดีลแล้วนำเสนอต่อให้กับกลุ่ม เพราะฉะนั้นพวกเค้าต้องหาดีลให้ได้เป็นจำนวนมากอยู่เรื่อยๆ

Angel Groups – ด้วยความที่มีหลายขั้นตอนในการทำงาน กฏเกณฑ์ต่างๆ ในการลงทุน กลุ่ม Founders อาจจะไม่ค่อยชอบสไตล์นี้มากนัก

VC – รวมๆ แล้วเป็น firm ที่ดี แต่จะมีเรื่องของการเมืองระหว่าง GP (General Partner) อยู่บ้าง เพราะพวกเค้ามักจะโหวตในการลงทุน fund ของตัวเอง

9. Liquidation Preference

Lone Angels – นักลงทุนอิสระมักจะไม่มีความเข้าใจหรือสนใจในเรื่องนี้สักเท่าไหร่

Syndicates และ Angel Groups – สองกลุ่มนี้จะมีประสบการณ์ในการลงทุนอยู่บ้าง ทำให้พวกเค้าไตร่ตรองและตรวจสอบในเรื่องของ Preferred Shares มากหน่อย

VC – กลุ่มนี้จริงจังมากๆ ในเรื่องของ Liquidation Perference พวกเค้าต้องทำทุกอย่างเพื่อปกป้องสิทธิ์ของตัวเองให้ได้มากที่สุด

10. ปัญหาทั่วๆ ไป

11. สามารถช่วยลงทุนต่อในอนาคต

VC – กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีตัวช่วยให้ founder เยอะมากๆ และสามารถพร้อมที่จะสนับสนุนต่อในอนาคต

Syndicates และ Angel Groups – เนื่องจากมีสมาชิกและเครือข่ายที่กว้างขวาง สองกลุ่มนี้ก็สามารถช่วยเหลือคุณได้ในอนาคตเช่นกัน

Lone Angels – แทบจะไม่มีคอนเนคชั่นหรือทรัพยากรอื่นๆ สักเท่าไหร่

ถ้าจะให้สรุปเป็นคะแนนโดยรวมว่าลงทุนกับกลุ่มไหนจะเหมาะที่สุด

1. Lone Angel และ Indicate : 23 คะแนน

2. VC : 24 คะแนน

3. Angel Group : 25 คะแนน

ที่มา https://medium.com/better-marketing/startup-fundraising-101-the-pros-and-cons-of-angels-vcs-angel-groups-and-syndicates-1226fdcec828