วิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย10ข้อ

การผลิตพลังงานไฟฟ้า ต้องอาศัยพลังงานจากแหล่งต่าง ๆ เช่น พลังงานจากน้ำ น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยกันประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ไว้ให้ใช้ได้นาน ๆ โดยเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับ สภาพความเป็นอยู่ ความจำเป็นที่จะต้องใช้และจำนวนสมาชิกภายในบ้าน เพื่อจะได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์แทนหลอดไฟฟ้า ปิดสวิตซ์หรือถอดเต้าเสียบทุกครั้งเมื่อเลิกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า พร้อมทั้งตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ

6.เมื่อร่างกายเปียกชื้น ห้ามแตะต้องส่วนที่มีไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอันขาด เพราะอาจมีไฟรั่วและความต้านทานต่อไฟฟ้าของผิวหนังที่เปียกชื้นจะลดลงอย่างมาก ทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านร่างกายได้โดยสะดวก อาจทำให้เสียชีวิตได้ ข้อแนะนำในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าขณะที่ร่างกายเปียกชื้น เช่น การใช้เครื่องทำน้ำอุ่นในการอาบน้ำ นอกจากจะต้องติดตั้งสายดินแล้ว จะต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วเพื่อเสริมการทำงานของสายดินให้ปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วย

7. ในการเดินสายไฟหรือลากสายไฟไปใช้งานนอกอาคารเป็นการชั่วคราวหรือถาวร เช่น งานก่อสร้าง, ต่อเติม, ปรับปรุงนอกอาคาร นอกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟฟ้าต้องเป็นชนิดที่กันน้ำและทนทานต่อสภาวะแวด ล้อมทางกลและแสงแดดแล้ว วงจรไฟฟ้าหรือเต้ารับนั้นต้องมีเครื่องตัดไฟรั่วด้วยจึงจะปลอดภัย
8. ควรแยกวงจรไฟฟ้าที่น้ำอาจท่วมถึง เช่น บริเวณชั้นล่างของอาคาร เพื่อให้สามารถปลดไฟออกได้ทันทีเมื่อเกิดน้ำท่วมหรืออาจป้องกันวงจรที่แยก ออกนี้ด้วยเครื่องตัดไฟรั่วก็ได้
9.หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ติดตั้งทางไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

10.ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกตสิ่งผิดปกติจากสี กลิ่น เสียง และการสัมผัสอุณหภูมิ รวมทั้งการใช้เครื่องมือง่าย ๆ เช่น ไขควงลองไฟ เป็นต้น ตัวอย่างการสังเกต เช่น สีของสายไฟเปลี่ยน มีกลิ่นเหม็นไหม้ มีรอยเขม่า หรือรอยไหม้ มือจับสวิตช์ไฟหรือปลั๊กไฟแล้วรู้สึกอุ่น ๆ เหล่านี้แสดงว่ามีความร้อนผิดปกติเกิดขึ้นอาจเกิดจากจุดต่อต่าง ๆ ไม่แน่น เต้าเสียบ-เต้ารับหลวม เป็นต้น
11.อย่าพยายามใช้ไฟฟ้าหรือเปิดสวิตช์ไฟฟ้า เช่น พัดลมระบายอากาศในบริเวณที่มีไอของสารระเหยหรือก๊าซที่ไวไฟปกคลุมอยู่เต็มพื้นที่ เช่น ก๊าซหุงต้ม ทินเนอร์ หรือ ไอน้ำมันเบนซิน
12.ให้ระมัดระวังการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าราคาถูกจากบางประเทศที่ผลิตแบบไม่ได้มาตรฐาน นอกจากจะมีอายุการใช้งานสั้นแล้ว อาจไม่ปลอดภัยในการใช้งานโดยเฉพาะในเรื่องของอัคคีภัย
13.อุปกรณ์ที่มีการเสียบปลั๊กทิ้งไว้นาน ๆ โดยไม่มีผู้ดูแล เช่น หลอดไฟทางเดินหรือบันได, หม้อแปลงไฟขนาดเล็ก (ที่เรียกกันว่าอะแดปเตอร์),เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ขนาดเล็ก เป็นต้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ให้หลีกเลี่ยงการใช้ในบริเวณที่มีวัสดุที่ติดไฟได้อยู่ใกล้ ๆ
14.ทุกครั้งที่เลิกใช้เครื่องไฟฟ้า ให้ปิดสวิตช์ที่เครื่องใช้ไฟฟ้าก่อน แล้วถอดปลั๊กออกจากเต้ารับทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดง่าย

วิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย10ข้อ

15.อย่าพยายามซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตัวเองหรือโดยช่างที่มีความรู้ความชำนาญไม่เพียงพอ เครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภทจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ตรวจสอบด้านความปลอดภัย เช่น เตาไมโครเวฟ ต้องมีการตรวจสอบการรั่วของคลื่นไมโครเวฟไม่ให้มีมากเกินอัตราที่กำหนด หรือเครื่องใช้ที่มีสายดินต้องตรวจสอบความต่อเนื่องและฉนวนของสายดินกับสายศูนย์ เป็นต้น
16.หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่มีฝนตกฟ้าคะนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรทัศน์ วิดีโอ เครื่องเสียงคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร โทรศัพท์ เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ชำรุดเสียหาย เมื่อมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงให้ปิดเครื่องและถอดปลั๊กไฟ รวมทั้งสายอากาศ และสายโทรศัพท์ออกจากเครื่องทุกครั้ง
17. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ควบคุมการเปิดปิดด้วยรีโมทคอนโทรลหรือปุ่มสัมผัส อิเล็กทรอนิกส์ โทรทัศน์ วิดีโอ เครื่องเสียง หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เครื่องเหล่านี้เมื่อปิดเครื่องแล้วจะยังมีไฟเลี้ยงวงจรควบคุมภายในอยู่ตลอด เวลา จึงมักมีตัวอย่างของการเกิดอุปกรณ์ควบคุมภายในชำรุด และบางครั้งทำให้เกิดไฟลุกไหม้ทรัพย์สินเสียหายอยู่เสมอ ดังนั้นจึงควรถอดปลั๊ก หรือติดตั้งวงจรสวิตช์ตัดต่อวงจร เพื่อปลดไฟออกทุกครั้งที่เลิกใช้งาน
18.ฝึกฝนให้รู้จักวิธีแก้ไขและป้องกันรวมทั้งช่วยเหลือปฐมพยาบาล เมื่อมีอุบัติเหตุทางไฟฟ้าเกิดขึ้น

บทความจาก การไฟฟ้านครหลวง

  นอกจากหมั่นดูแลบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าให้พร้อมใช้และปลอดภัยอยู่เสมอแล้ว ช่วงฤดูร้อนเป็นช่วงที่สภาพอากาศอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ส่งผลกระทบให้มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานหนักขึ้น เป็นเหตุให้เสียค่าไฟฟ้าแพงขึ้น แล้วจะทำอย่างไรเพื่อให้ค่าไฟลดลงบ้าง ใช้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย มาดูกันเลยครับ

การใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการประหยัดพลังงาน ยึดหลัก ปิด ปลด ปรับ เปลี่ยน
 1. ปิดสวิตช์ไฟแสงสว่างดวงที่ไม่ใช้งาน
 2. ปิดประตูตู้เย็นให้สนิท ไม่กักตุนอาหารในตู้เย็นเกินความจำเป็น
 3. ปลดหรือดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อไม่ได้ใช้งาน
 4. ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ ที่ 26 องศา หมั่นล้างเครื่องปรับอากาศ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
 5. ปรับพฤติกรรม ไม่เปิดตู้เย็นบ่อยๆ พกกระติกน้ำแข็งไว้ดื่ม
 6. เปลี่ยนยางขอบตู้เย็น หากพบว่าชำรุดหรือปิดไม่สนิท
 7. เปลี่ยนใช้หลอดไฟ LED หรือเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีฉลากประหยัดไฟฟ้า
 8. เปลี่ยนไปใช้เครื่องปรับอากาศที่มีค่าประสิทธิภาพสูง (SEER)

ความปลอดภัยการใช้ไฟฟ้าฤดูร้อน
  สำคัญมากการเสียบปลั๊กหรือใช้ปลั๊กพ่วง ควรหลีกเลียงการเสียบอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายชิ้น เพราะจะทำให้ปลั๊กไฟใช้งานเกินพิกัดกระแสไฟฟ้า อุปกรณ์ป้องกัน เช่นฟิวส์ อาจไม่ตัดกระแส แต่อาจส่งผลให้ปลั๊กหรือเต้ารับเกิดความร้อน ขณะที่อุณหภูมิอากาศที่ร้อนอยู่แล้ว แล้วอาจส่งผลปฏิกิริยาเพลิงลุกไหม้ได้นะครับ
แบบนี้จะทำให้ใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัยและก็ประหยัดไฟด้วยนะ โซฮอตแค่ไหน ค่าไฟก็น้อยลง