การ ทํา งาน เชิง รุก หมาย ถึง

การ ทํา งาน เชิง รุก หมาย ถึง

คุณภาพคือความอยู่รอด : เชิงรุก กับ เชิงรับ : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำแบบ “Agile Leader” หรือ ผู้นำแบบไหนๆ ต่างก็หนีไม่พ้นเรื่องของการต้องพิสูจน์ฝีมือในการบริหารจัดการที่ได้ “ผลสัมฤทธิ์” ซึ่งเป็นรูปธรรมที่มีทั้งประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพ

ที่สำคัญก็คือ ความสามารถในการทำงานร่วมกับ “ทีมงาน” ในโครงการต่างๆ อย่างได้ผลด้วย

หนึ่งในคุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำหรือผู้บริหารในวันนี้ จึงเป็นเรื่องของความสามารถใน “การทำงาน เชิงรุก” (Proactive) รวมทั้งการบริหารจัดการเชิงรุกด้วย

ยิ่งโลกมีความผันผวนมากเท่าใด เรายิ่งจะต้องทำงาน “เชิงรุก” กันมากขึ้น ผู้บริหารจึงต้องการผู้ร่วมงาน (ทีมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา) ที่มีความสามารถในการทำงานเชิงรุกมากขึ้นด้วย

“การทำงานเชิงรุก” ที่ว่านี้ คือการทำงานที่บรรลุเป้าหมายโดยไม่มีปัญหาเกิดขึ้น เพราะให้ความสำคัญกับการทำงานที่สามารถป้องกันการเกิดปัญหาหรือเรื่องที่สร้างความเสียหายได้ล่วงหน้า เน้น “ป้องกันไว้ก่อน” เป็นการทำงานรุกไปข้างหน้า โดยไม่คอยให้มีการสั่งงานทุกขั้นตอน ซึ่งต่างจาก “การทำงานเชิงรับ” ซึ่งตั้งอยู่ในที่มั่นตลอดเวลา ทำงานตามสั่ง ทำงานไปเรื่อย เมื่อเกิดปัญหาแล้วค่อยคิดวิธีแก้ไขปรับปรุง

การทำงานเชิงรุก (Proactive) เป็นการทำงานที่มุ่งเน้นที่ผลงาน โดยมี “เป้าหมาย” ที่ชัดเจน อาศัยข้อมูลข่าวสารหรือประสบการณ์ในอดีต และที่กำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน การทำงานเชิงรุกจะเน้น “เป้าหมาย” ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เน้น “วิธีการ” ที่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว คุ้มค่าและมีคุณภาพ

การทำงานเชิงรุก จึงเป็นการทำงานที่มีการวางแผนงานล่วงหน้าด้วยการคิดอย่างละเอียดรอบคอบครบวงจร โดยสามารถที่จะเลือกตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ จากภายนอก ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยความรับผิดชอบต่อตนเอง

แต่ “การทำงานเชิงรับ” (Reactive) คือ ทำงานตามสั่ง (โดยปล่อยให้ความรับผิดชอบเป็นของผู้บังคับบัญชา) ทำงานโดยยึด “กระบวนการ” หรือ วิธีการเป็นสำคัญ จึงตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่บีบบังคับให้ตอบสนอง ทำให้ต้องคอยแก้ปัญหาเป็นระยะๆ เมื่อเกิดข้อผิดพลาดก็จะโทษคำสั่งหรือเงื่อนไขต่างๆ รอบข้างตลอด

ผู้ที่มีนิสัยในการทำงานเชิงรุก จึงเป็นคนที่มีการวางแผนล่วงหน้า มีความสามารถด้วยความคิดเชิงวิจารณญาณ สามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ด้วยข้อมูลที่มีอยู่ สามารถตอบสนองความต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นการทำงานในลักษณะ “กันไว้ดีกว่าแก้”

องค์กรที่เน้น “การทำงานเชิงรุก” จะเล็งเห็นทั้งวิกฤตและโอกาส ทำให้ป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ และสามารถเตรียมเรื่องต่างๆ ไว้รองรับล่วงหน้า เป็นการช่วยลดต้นทุนและลดความสูญเสียอย่างทันท่วงที และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ เป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีวิธีคิดและวิธีทำงานอย่างเป็นระบบ

การทำงานเชิงรุก จึงเกี่ยวข้องกับ “ทัศนคติ” หรือ “วิธีคิดวิธีทำรวมทั้งวิธีมองโลก” ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ “การมองโลกในแง่บวก” ด้วยความเชื่อที่ว่า “วันพรุ่งนี้ย่อมดีกว่าวันนี้” และ “ทุกอย่างเป็นไปได้” ครับผม !

การ ทํา งาน เชิง รุก หมาย ถึง

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่

การ ทํา งาน เชิง รุก หมาย ถึง

General & Advanced Soft Skills - การทำงานเชิงรุกเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ

การทำงานเชิงรุกเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ

(Proactive)

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

หลักการและเหตุผล

ด้วยสภาพการแข่งขันในธุรกิจที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น องค์กรต่างๆ นั้นต้องเร่งสร้างจุดแข็งและขจัดจุดอ่อนของตนเองเพื่อก้าวนำคู่แข่งขันทางธุรกิจอยู่เสมอ ดังนั้นแนวคิดและทักษะการทำงานเชิงรุกของผู้บริหารและพนักงานทุกคนในองค์กรจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หลักสูตรการทำงานเชิงรุกอย่างมืออาชีพจึงได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ความหมายและความสำคัญของการทำงานเชิงรุก เข้าใจความแตกต่างระหว่างการทำงานเชิงรุกและการทำงานเชิงรับ เรียนรู้การขจัดอุปนิสัยของการทำงานเชิงรับ ปรับทัศนคติของการทำงานเชิงรุกให้มากยิ่งขึ้นสามารถคาดการณ์สถานการณ์ มองไปข้างหน้าเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาก่อน สามารถกำหนดเป้าหมายและวางแผนปฏิบัติการเพื่อบรรลุเป้าหมาย

วัตถุประสงค์

  • รู้ความหมายและความสำคัญของการทำงานเชิงรุก
  • เข้าใจความแตกต่างระหว่างการทำงานเชิงรุกและเชิงรับ
  • ลดทอนอุปนิสัยของการทำงานเชิงรับ
  • พัฒนาทัศนคติของการทำงานเชิงรุกอย่างมืออาชีพ
  • สามารถพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารเชิงรุก
  • สามารถคาดการณ์สถานการณ์ มองไปข้างหน้าเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาก่อน
  • สามารถกำหนดเป้าหมายและวางแผนปฏิบัติการเพื่อบรรลุเป้าหมาย

เนื้อหา

  1. ความหมายและความสำคัญของทำงานเชิงรุก
  2. ความหมายของการทำงานเชิงรุก P-R-O-A-C-T-I-V-E
  3. ความแตกต่างและผลลัพธ์ของการทำงานเชิงรุกและการทำงานเชิงรับ
  4. พฤติกรรมของคนทำงานเชิงรับ
  5. คุณสมบัติคนที่ทำงานเชิงรุก
  6. ทัศนคติของคนที่ทำงานเชิงรุก
  7. การสร้างอุปนิสัยของการทำงานเชิงรุก
  8. การคิดเชิงรุก (Proactive Thinking)
  9. การคิดแบบ Can Do
  10. การคาดการณ์สถานการณ์ มองไปข้างหน้าเพื่อหาทางป้องกัน
  11. และแก้ไขปัญหาก่อน
  12. การวางแผนเชิงรุก (Proactive Planning)
  13. การกำหนดเป้าหมายเชิงรุก
  14. การวางแผนงานเชิงรุก
  15. การปฏิบัติงานเชิงรุก (Proactive Working)
  16. พลังของการลงมือทำ
  17. อุปสรรคของการปฏิบัติงาน
  18. เทคนิคการจัดการอุปสรรคต่างๆ

การประเมินผล

  • การทดสอบความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม (Pre test - Post test)
  • มีระบบการประเมินผลในการฝึกอบรม และนำมาวิเคราะห์เพื่อชี้วัดความสำเร็จ

รูปแบบการฝึกอบรม

บรรยาย และ Workshop กรณีศึกษา ฝึกปฏิบัติ

ระยะเวลา

1 วัน

วิทยากร

วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ


31 มีนาคม 2563

ผู้ชม 680 ครั้ง

งานเชิงรับคืออะไร

การทำงานเชิงรับ (Reactive) เป็นการกระทำเมื่อสถานการณ์บีบบังคับให้ตอบสนอง ในบางครั้งอาจมีความรู้สึกเข้าเกี่ยวข้องด้วย เมื่อเกิดข้อผิดพลาดจะโทษสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ โดยไม่พิจารณาตนเองเป็นหลัก

Reactive กับ Proactive ต่างกันอย่างไร

จะเห็นว่าวิธีการตอบสนองของคน Reactive คือปล่อยให้ชีวิตถูกกำหนดและเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เข้ามา ไม่ต่างอะไรจากการยื่นรีโมตคอนโทรลที่ใช้ควบคุมชีวิตตัวเองให้กับคนอื่น แต่คน Proactive คือคนที่ถือรีโมตเอาไว้เอง มีอิสระที่จะ 'เลือกเอง' ไม่ใช่ 'เหยื่อ' ของสถานการณ์

การที่บุคลากรจะได้รับการดูแลแบบ Proactive คือข้อใด

การทำงานแบบ Proactive นั้นเป็นลักษณะการทำงานของคนที่ชอบคิดวางแผนไว้ล่วงหน้าเสมอ รวมถึงสามารถคาดการณ์ปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ต้องรอให้ปัญหานั้นเกิดขึ้นจริงเสียก่อน ตรงกันข้ามกับการทำงานแบบ Reactive ที่เป็นการทำงานเชิงรับ หรือการทำงานแบบเช้าชามเย็นชามที่เราคุ้นเคยกันดีนั่นเอง การทำงานเชิงรุกเน้นความมุ่งมั่นใน ...