ทฤษฎี จิตวิทยาในการ ทํา งาน

จิตวิทยาการทำงานเป็นทีม 

    การทำงานเป็นทีมมีลักษณะที่แตกต่างไปจากการทำงานคนเดียวโดยลำพัง เพราะการทำงานโดยลำพังนั้น เพียงแต่ผู้ทำงานสามารถทำงานให้ตรงตามหน้าที่ที่กำหนดไว้โดยใช้ทักษะและความสามารถของตนอย่างเต็มที่ก็เพียงพอแล้ว แต่การทำงานเป็นทีมเพื่อให้ประสบความสำเร็จนั้น จะมีองค์ประกอบต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมายหลายประการที่จะต้องพิจารณากล่าวคือ ความสำเร็จของการทำงานเป็นทีมอยู่ที่การหล่อหลอมบุคคลผู้ปฏิบัติงานทั้งหมายให้เป็นคณะเดียวกันเพื่อให้สมาชิกทุกคนรู้สึกว่าตนอยู่ในกลุ่มเดียวกัน มีเป้าหมายและมาตรฐานของงาน ตลอดถึงแนวปฏิบัติเช่นเดียวกันซึ่งจะทำให้สมาชิกเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นเจ้าของทีมงาน และผลงานและมีความสุขในการทำงาน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการติดต่อซึ่งมิใช่เพียงแค่ระหว่างหัวหน้างานกับสมาชิกในทีมเท่านั้นแต่รวมตลอดถึงการติดต่อระหว่างสมาชิกด้วยกันเองภายในทีม เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ข่าวสารและรับผิดชอบร่วมกันเป็นทีม เพื่อให้การปฏิบัติงานสำเร็จลุล่วงไปสมดังเจตนารมณ์ของทีมจะเห็นได้ว่าการทำงานเป็นทีมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาทีมงาน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมาย โดยมีการเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมทั้งของตนและเพื่อนร่วมทีมที่แสดงออกในทีมงาน     เรื่องราวเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีมในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะเกี่ยวข้องกับวิชาการทางด้านจิตวิทยาเป็นอย่างมาก ซึ่งนักจิตวิทยาด้านนี้ได้ให้ความหมายไว้สอดคล้ายกันพอสรุปสาระสำคัญว่า“ทีมงาน” มีความหมายลึกซึ้งมากกว่าการที่บุคคลมาร่วมกิจกรรมกันเท่านั้น แต่ทีมงานจะต้อง     ประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ คือ         1. สมาชิกจะต้องมีวัตถุประสงค์ร่วม และวัตถุประสงค์นั้นจะต้องสนองความต้องการของสมาชิกแต่ละคน         2. ผลงานที่เกิดขึ้นจะต้องมาจากความร่วมมือของสมาชิกทุกคนในทีม         3. มีการสื่อสารทางวาจา หรือมีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกโดยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้     จากความหมายดังกล่าวนี้ ถ้าพิจารณาแล้วจะเห็นว่าสอดคล้องกับคำพังเพยของไทยที่ว่า “สองหัว ดีกว่าหัวเดียว” ซึ่งเป็นคำกล่าวของผู้ใหญ่สมัยก่อนต้องการจะอธิบายให้เห็นว่า การทำงานร่วมกันโดยมีการปรึกษาหารือกัน หรือแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ย่อมได้ผลดีกว่าการทำงานที่มีลักษณะต่างคนต่างทำ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีคำพังเพยที่กล่าวไว้อีกลักษณะหนึ่งฝากไว้เป็นข้อเตือนใจว่า “มากหมอมากความ” ซึ่งหมายถึงการร่วมงานกันในบางครั้ง ถ้ามากคน มากความคิด ก็อาจมากเรื่องและอาจทำให้เกิดความคิดเห็นขัดแย้งกัน จนในที่สุดทำอะไรไม่ได้     ดังนั้นได้กล่าวมาแล้วว่า กระบวนการกลุ่มจะเริ่มขึ้นนับตั้งแต่มีบุคคล 2 คนขึ้นไปมาทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เดียวกัน เมื่อมนุษย์เข้ามาร่วมกลุ่มกันก็จะเกิดเป็นบทบาทของกลุ่มขึ้นมา ทั้งนี้เพราะกลุ่มมีอิทธิพลอยู่ในตัวของมันเอง กลุ่มสามารถที่จะพัฒนาคนหรือยกยอปอปั้นคนให้ดีวิเศษจนเลอเลิศอย่างไรก็ได้ และในขณะเดียวกันกลุ่มก็สามารถที่จะขัดเกลาลักษณะท่าทีของสมาชิกในกลุ่มให้แปรเปลี่ยนไปได้ เราจึงได้เห็นการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงสถานภาพของกลุ่มที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นไปในทิศทางที่สร้างสรรค์พัฒนาหรือล้าหลังเลวลงก็ตาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการในกลุ่ม เช่น คุณภาพของสมาชิกในทีมความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน

ลักษณะของการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ     1. สมาชิกในทีมมีเป้าหมายร่วมเป็นหนึ่งเดียวกัน     2. มีการกำหนดบทบาท มอบหมายอำนาจ หน้าที่ ตลอดถึงความรับผิดชอบของสมาชิกไว้ชัดเจน     3. บรรยากาศในการทำงานมีลักษณะเป็นกันเอง          4. สมาชิกมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ     5. ทีมงานพยายามส่งเสริมให้สมาชิกมีความคิดสร้างสรรค์และเป็นประชาธิปไตย     6. มีการประชุมพิจารณาผลการปฏิบัติงานเป็นประจำ     7. สมาชิกมุ่งประโยชน์ของทีมเป็นหลัก     8. สมาชิกให้ความร่วมมือร่วมใจ มีความไว้วางใจ และบริสุทธิ์ใจต่อกัน     9. สมาชิกจะร่วมมือกันหาทางแก้ไขเมื่อเกิดปัญหา     10. การตัดสินใจของทีมงานถือว่าสมาชิกทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบ

ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ     1. สมาชิกมีความสามารถทัดเทียมกัน     2. มีการวางแผน การบริหาร และการจัดการที่ดี     3. สมาชิกมีความสามัคคี กลมเกลียว เมตตา เอื้ออาทรต่อกัน

คุณสมบัติของสมาชิกในทีมงาน         คนดี           +         คนเก่ง

ที่มา สำนักการบินอนุรักษ์ธรรมชาติ

จัดทำโดย นางสาวนฤมล สีติภูตะ รหัสนิสิต 54105010107