เหตุใดบทละครเรื่อง อิเหนา จึงได้รับการ ยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดแห่งกลอนบทละครรำ

จุดประสงค์ของการแต่งเรื่องอิเหนา

            1.เพื่อใช้เล่นละครใน ละครในเป็นละครที่เล่นกันในวัง ใช้ผู้หญิงแสดงล้วนๆ

ท่าทางร่ายรำงดงาม อ่อนช้อย เครื่องแต่งกายประดับตกแต่งอย่างสวยงาม

คำร้องและทำนองเพลงไพเราะ

            เดิมมีแต่ละครพื้นเมืองของชาวบ้านที่เล่นกันอยู่นอกพระราชฐาน เรียกว่า ละครนอก

ใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน

            ครั้นมีละครภายในพระราชฐานขึ้นมาจึงเรียกชื่อเป็นคู่กันว่าละครนอกและละครใน

โดยละครในกำหนดให้เล่นเพียง 3 เรื่อง คือ รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา

            มีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาจารีตประเพณีของราชสำนัก ศิลปะการร่ายรำและท่าทาง

เพลงที่ใช้ประกอบและบทเจรจามีจังหวะนิ่มนวลไพเราะ เพื่อให้สมกับเป็นละครแบบฉบับ

            ส่วนละครนอก เป็นละครที่สามัญชนเล่นกันเพื่อความสนุกสนาน ท่ารำและคำร้องเป็นแบบง่ายๆไม่ประณีต เน้นความสนุกสนานเป็นสำคัญ 

            2. เพื่อป้องกันการสูญหาย และรักษาไว้เป็นมรดกของชาติสืบไป ดังปรากฏในบทนำว่า

“อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง   /  สำหรับงานการฉลองกองกุศล

 ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์  /  แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป

 หากพระองค์ทรงพิภพปรารภเล่น  / ให้รำเต้นเล่นละครคิดกลอนใหม่

 เติมแต้มต่อติดประดิษฐ์ไว้   / บำรุงใจไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน”

สมัยรัตนโกสินทร์

            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาขึ้น

            โดยทรงพระราชนิพนธ์ซ่อมแซมแปลงบทครั้งกรุงเก่าที่ยังเหลืออยู่เฉพาะตรงตอนที่ขาดหายไป

            จนมาในสมัยต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาขึ้นใหม่ทั้งหมด 

            ด้วยมีพระราชดำริดังปรากฏในคำกลอนดังกรากฏ

            บทละครรำเรื่องอิเหนาได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ให้เป็นยอดของกลอนบทละคร เพราะมีเนื้อเรื่องสนุกครบทุกรส ทั้งบทรัก กล้าหาญ หึงหวง

            บทบาทของตัวละครมีความเหมาะสม ทั้งยังให้ความรู้เกี่ยวกับคนไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น การป้องกันบ้านเมือง

            การแต่งกาย ชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนความเชื่อของคนสมัยนั้น ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบัน

            มีการสอดแทรกคติธรรมและข้อคิดต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจชีวิตของมนุษย์ขึ้นว่า

ผลต่างๆที่เกิดขึ้นกับตัวละครนั้นล้วนมาจากเหตุอันเป็นการกระทำของตัวละครนั้นเองทั้งสิ้น

นอกจากนี้ คุณค่าในด้านนาฏการของบทละครเรื่องอิเหนา คือ

            งามทั้งท่ารำและเครื่องแต่งกายของตัวละคร ไพเราะทั้งคำร้องและทำนองเพลง

วงดนตรีไทยหรือวงมโหรี

            นิยมนำเนื้อความจากวรรณคดีเรื่องอิเหนาไปขับร้องด้วยทำนองเพลงต่างๆ 

            หลายเพลง ซึ่งได้รับความนิยมและเป็นที่ชื่นชอบของนักดนตรี นักร้องและนักดนตรีไทยเป็นอย่างมาก 

            จึงกล่าวได้ว่า บทระครรำเรื่องอิเหนาเป็นมรดกของชาติด้านวรรณคดี

เหตุใดบทละครเรื่อง อิเหนา จึงได้รับการ ยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดแห่งกลอนบทละครรำ

สวัสดีเพื่อนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทุกคน หลังจากผ่านมรสุมความยากของบทเรียนเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิงกันไปแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราต้องมาทำข้อสอบวัดระดับความเข้าใจกันสักหน่อย สูดหายใจลึก ๆ แล้วไปทำพร้อมกันเลย

เพื่อน ๆ สามารถดูวิดีโอการสอนเรื่องอิเหนาแบบจัดเต็มได้ที่แอปพลิเคชัน StartDee ดาวน์โหลดที่แบนเนอร์ด้านล่างได้เลย

เหตุใดบทละครเรื่อง อิเหนา จึงได้รับการ ยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดแห่งกลอนบทละครรำ

1. จุดประสงค์ในการแต่งเรื่องอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง  คืออะไร
  1.   เพื่อใช้สำหรับแสดงละครนอก
  2.   เพื่อใช้สำหรับแสดงละครใน
  3.   เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางภาษา
  4.   เพื่อให้ความรู้กับประชาชนในการสู้รบ
  5.   เพื่อเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่  ๒

ตอบ  2. เพื่อใช้สำหรับแสดงละครใน เพราะใช้ในการแสดงในวัง และผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน

2. ลักษณะคำประพันธ์ในเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง  คือข้อใด

  1. กลอนนิทาน
  2. กลอนสุภาพ
  3. กลอนเสภา
  4. กลอนบทละคร
  5. กลอนดอกสร้อย

ตอบ  4. กลอนบทละคร  เพราะใช้สำหรับการแสดงละครใน  ขึ้นวรรคแรกด้วยคำว่า  เมื่อนั้น บัดนั้น   มาจะกล่าวบทไป

3. ตัวละครตัวใดไม่ได้อยู่ในราชวงศ์อสัญแดหวา

  1.   ท้าวกุเรปัน
  2.   ท้าวดาหา
  3.   ท้าวกะหมังกุหนิง
  4.   อิเหนา
  5.   บุษบา

ตอบ  3. ท้าวกะหมังกุหนิง เพราะเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์กะหมังกุหนิง

     “...แต่การศึกครั้งนี้ไม่ควรเป็น       เกิดเข็ญเพราะลูกอัปลักษณ์

  จะมีคู่ผู้ชายก็ไม่รัก                     จึงหักให้สาสมใจ...”

4. บทร้อยกรองนี้ผู้กล่าวมีความประสงค์ใด
  1. ระบายความน้อยใจ
  2. อ้อนวอนขอความเห็นใจ
  3. ตัดพ้อต่อว่าให้เห็นว่าแค้นใจ
  4. ประชดประชันด้วยความเจ็บปวด
  5. เยาะเย้ยอีกฝ่ายให้เจ็บใจ

ตอบ  4. ประชดประชันด้วยความเจ็บปวด เป็นคำพูดของท้าวดาหาที่ประชดอิเหนาที่ไม่มาแต่งงานกับบุษบา

5. ข้อใดเป็นทรรศนะเกี่ยวกับผู้หญิงที่ไม่ได้สะท้อนจากเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

  1. ผู้หญิงงามเป็นชนวนของสงคราม
  2. ผู้หญิงที่แย่งสามีผู้อื่นเป็นที่น่ารังเกียจ
  3. ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วเป็นสมบัติของสามี
  4. ผู้หญิงที่เป็นม่ายขันหมากย่อมได้รับความอับอาย
  5. ผู้หญิงที่ดีต้องเชื่อฟังคำสั่งของพ่อแม่

ตอบ  3. ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วเป็นสมบัติของสามี ไม่ปรากฏในตอนดังกล่าว

6. เหตุใดบทละครเรื่อง อิเหนา จึงได้รับการ ยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดแห่งกลอนบทละครรำ

  1. ใช้ภาษาสละสลวย เสริมจินตนาการ
  2. แฝงคุณค่าด้านคุณธรรมและจริยธรรม
  3. เนื้อหาสอดคล้องกับการแสดงนาฏศิลป์
  4. การดำเนินเรื่องดีเด่น
  5. ถูกทุกข้อ

ตอบ  5. ถูกทุกข้อ ด้วยเหตุผลหลายข้อประกอบกัน

7. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับละครใน

  1. ผู้แสดงล้วนเป็นผู้หญิง
  2. ผู้แสดงมีทั้งนางใน และชาวบ้าน
  3. ผู้แสดงเป็นชายและหญิงที่อยู่ในพระราชวัง
  4. เป็นการแสดงที่ให้ประชาชนเข้ามาชมภายในพระราชวัง
  5. เป็นละครที่แสดงในวงจำกัดเท่านั้น

ตอบ  1. ผู้แสดงล้วนเป็นผู้หญิง  เป็นนิยามที่สำคัญของละครใน

8. “...ถึงว่ากษัตริย์ทั้งสี่กรุง       จะมาช่วยรบพุ่งเป็นศึกใหญ่...” 

ข้อใดไม่ตรงความหมายกับคำที่พิมพ์ ตัวหนา

  1. ดาหา           
  2. มะเดหวี
  3. กาหลัง        
  4. สิงหัดส่าหรี
  5. กุเรปัน

ตอบ  2. มะเดวี เป็นชื่อตำแหน่งตามลำดับ มเหสีลำดับที่ 2 ของกษัตริย์ชวา

นอกจากข้อสอบเรื่องอิเหนาแล้ว StartDee ยังมีข้อสอบภาษาไทยอีกเยอะในบล็อกของเรา อย่างเช่น ข้อสอบภาษาไทย เรื่อง การใช้คำราชาศัพท์ นอกจากนั้น เพื่อน ๆ ยังอ่านวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ ได้อีกนะ คลิกเลือกที่ลิสต์ด้านล่างได้เลย

  • ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
  • หัวใจชายหนุ่ม
  • คำนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ
  • มงคลสูตรคำฉันท์

บทละครในเรื่องอิเหนาได้รับความยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นยอดในเรื่องใด

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชนิพนธ์บทละครไว้จำนวนมาก ทั้งบทละครนอก เรื่องสังข์ทอง ไชยเชษฐ์ไกรทอง มณีพิชัย คาวี สังข์ศิลป์ชัย และบทละครเรื่องรามเกียรติ์เพื่อให้ละครหลวง เล่นรวมถึงพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา ซึ่งได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของกลอน บทละครร้อง (รื่นฤทัย สัจจพันธุ์,2553, น.6)

เรื่องอิเหนาฉบับที่วรรณคดีสโมสรยกย่องว่าเป็นยอดของบทละครรำแต่งด้วยคำประเภทใด

อิเหนาเป็นวรรณคดีที่ส าคัญของไทย เป็นบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย แต่งด้วยค าประพันธ์ประเภทกลอนบทละคร มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แสดงละครใน ในสมัยรัชกาล ที่ ๒ เค้าโครงเรื่องได้มาจากพงศาวดารของชวา เผยแพร่เข้ามาในประเทศในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโดย นางก านัลชาวมลายูนามาเล่าถวายเจ้าฟ้าหญิงกุณฑล และ ...

กลอนบทละครรำ เรื่องอิเหนา ได้รับการยกย่องว่าอย่างไร

บทละครเรื่องอิเหนามีดีอย่างไร จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของบทละครรำ ดีทั้งความ ดีทั้งกระบวน ดีทั้งกระบวนสำหรับการเล่นละคร แทรกความรู้เกี่ยวกับพีธีประเพณีต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน