เพราะเหตุใดจึงเกิดแนวคิดของสิทธิมนุษยชน

4)  อาชีพเกษตรกรรม  ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดประเทศหนึ่งของภูมิภาคมาช้านานแล้ว  ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชนบทและมีชีวิตความเป็นอยู่ผูกพันกับพื้นดิน  ท้องทุ่งและไร่นา  ประเพณีและวัฒนธรรมส่วนใหญ่จึงมีพื้นฐานมาจากการเกษตรและการมีชีวิตอยู่ในชนบท  อันเป็นรากฐานแห่งภูมิปัญญาทุกด้านของวิถีชีวิต  แม้ในปัจจุบันที่ประชากรบางส่วนจะอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในเมือง  และประอบอาชีพทางด้านอุตสาหกรรมและการบริการ  แต่ความผูกพันกับชนบทและอาชีพเกษตรกรรม  ซึ่งรวมไปถึงการประมงและการเลี้ยงสัตว์ยังฝังอยู่อย่างแน่นแฟ้น

สิทธิมนุษยชนไม่สามารถถูกพรากไปได้ แต่บางครั้งสิทธิมนุษยชนอาจถูกจำกัด เช่น ถ้าคุณทำผิดกฎหมาย หรือกระทำการที่อาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งนี้ สิทธิมนุษยชนนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณค่าความเป็นมนุษย์ เช่น ความมีศักดิ์ศรี ความยุติธรรม ความเท่าเทียม ความเคารพ และความเป็นอิสระ นอกจากนี้สิทธิมนุษยชนนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่แนวคิดที่เป็นนามธรรมเท่านั้น เพราะสิทธิมนุษยชนคือแนวคิดที่ได้รับการนิยาม และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

 

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights)

ในปี 2491 หลังเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง องค์การสหประชาชาติได้กำหนดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขึ้นเพื่อเป็นกรอบในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน

 

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้แบ่งสิทธิและเสรีภาพออกเป็น 30 หมวด เช่น สิทธิในการแสวงหาที่ลี้ภัย สิทธิในการมีเสรีภาพจากการทรมาน สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิในการศึกษา

 

ไม่มีใครสามารถพรากสิทธิและเสรีภาพนี้ไปจากเราได้ เพราะสิทธิและเสรีภาพนี้เป็นของพวกเราทุกคน

 

นับตั้งแต่มีการกำหนดปฏิญญานี้ขึ้นเมื่อเจ็ดสิบปีที่แล้ว ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ถูกใช้เป็นรากฐานของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศทุกฉบับ

 

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

 

 

 

สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

สิทธิมนุษยชนมีคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งได้รับการยอมรับโดยประชาคมโลก ดังนี้

 

มีความเป็นสากล: สิทธิมนุษยชนเป็นของมนุษย์ทุกคน

 

พรากไปไม่ได้: สิทธิมนุษยชนไม่สามารถถูกพรากไปจากเราได้

 

ไม่สามารถแบ่งแยกได้ เพราะสิทธิทุกสิทธิล้วนเกี่ยวข้องกัน: รัฐบาลไม่สามารถเลือกที่จะเคารพสิทธิใดสิทธิหนึ่งได้ สิทธิทุกสิทธิต้องได้รับการเคารพอย่างเท่าเทียมกัน

 

ทำไมคุณต้องสนใจสิทธิมนุษยชน?

สิทธิมนุษยชนไม่ได้เป็นเพียงแค่กฎหมาย แต่สิทธิมนุษยชนคือการตัดสินใจ และสิ่งที่เราประสบพบเจอในแต่ละวัน

 

ถ้าเรารู้สึกไม่ชอบใจในสิ่งที่รัฐบาลทำ ส่วนใหญ่แล้วพวกเราคงไม่รีรอที่จะเอาไปพูดกับเพื่อนไม่ว่าจะในอินเตอร์เน็ต หรือในร้านเหล้า การกระทำนี้อาจดูไม่มีความหมาย แต่มันคือสิทธิมนุษยชน คือ สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก

 

โดยส่วนใหญ่แล้วคนจะไม่ให้ความสำคัญมื่อมีการเคารพสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น เด็กๆ หลายคนไม่ยอมตื่นนอนไปโรงเรียนทั้งๆ ที่พวกเขาได้รับสิทธิในการศึกษา แต่เด็กๆ ที่ต้องอพยพออกจากประเทศตัวเอง และถูกปฏิเสธไม่ให้ได้รับการศึกษาคงมีความสุขที่ได้ไปโรงเรียนทุกวัน


สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนแล้ว จำนวน 7 ฉบับ จากทั้งหมด 9 ฉบับ ทําให้ประเทศไทยมีพันธะผูกพันในการปฏิบัติตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมไปถึงข้อตกลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการประชุมระดับโลก โดยองค์กรของรัฐที่มีหน้าที่หลักในการทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย คือ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) ได้ระบุถึงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไว้หลายมาตราด้วยกัน เช่น ในมาตรา 4 นั้นระบุว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" และ ในหมวดที่ 3 ซึ่งเป็นหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตราที่ 25 ถึง 49 ยังได้บรรยายขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ในหลายด้านด้วยกัน เช่น ความยุติธรรมทางอาญา การศึกษา การไม่เลือกปฏิบัติ เสรีภาพในการแสดงออก การไม่ก้าวก่ายชีวิตส่วนตัว และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว เป็นต้น


นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้จัดทำ แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งจัดทำฉบับแรกในปี 2551 ในขณะที่ฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 3 พ.ศ.2557-2561 โดยรัฐบาลได้จัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้นเพื่อให้ทุกภาคส่วนนําไปใช้ในการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิของประชาชนในประเทศต่อไป

 

การต่อสู้กับการละเมิดสิทธิมนุษยชน

พวกเรามักละเลยความสำคัญของสิทธิมนุษยชน เพราะสิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการเรื่องความมีศักดิ์ศรี ความยุติธรรม ความเท่าเทียม ความเคารพ และความเป็นอิสระ หลายครั้งเราจะลุกขึ้นมาต่อสู้และให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนก็ต่อเมื่อสิทธิของเราถูกละเมิด

 

ในความเป็นจริง สิทธิมนุษยชนนั้นถูกละเมิดตลอดเวลา ยังมีคนนับพันทั่วโลกที่ไม่ได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม และถูกจำคุกเพียงเพราะความคิดหรือความเชื่อบางอย่างของพวกเขา อีกทั้ง พลเมืองยังตกเป็นเป้าโจมตีในสงคราม เด็กๆถูกบังคับให้ออกไปรบ การข่มขืนถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำร้ายคน นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงไม่ควรละเลยความสำคัญของสิทธิมนุษยชน และทำไมสิทธิมนุษยชนจึงควรถูกคุ้มครองตามกฎหมาย เพื่อที่เราจะได้เอาผิดและดำรงความยุติธรรมเมื่อรัฐหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งละเมิดสิทธิมนุษยชน

แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนมีจุดเริ่มต้นมาจากอะไร

สิทธิมนุษยชน (Human Rights) มีพัฒนาการมาจากความพยายามของมนุษย์ที่จะทําให้ศักดิ์ศรี ของ มนุษยชนได้รับการเคารพ ได้การริเริ่มใส่ใจดูแลจากมวลหมู่ประชาชนด้วยการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความ เสมอภาคให้เกิดขึ้นในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก โดยจุดเริ่มต้นของแนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนเกิดจาก บรรดานักคิดที่มาจากหลากหลายประเพณีและศาสนา ต่อ ...

เพราะเหตุใดจึงต้องมีสิทธิมนุษยชน

2. สาเหตุที่มนุษย์ต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเกิดจาก 2.1. มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิในตัวเอง 2.2. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม 2.3. มนุษย์มีเกียรติภูมิที่เกิดมาเป็นมนุษย์ 2.4. มนุษย์ทุกคนเกิดมามีฐานะไม่เท่าเทียมกัน

หลัก สิทธิ มนุษย ชน มี ความ สําคัญ อย่างไร

๓. หลักการสําคัญที่สุดของสิทธิมนุษยชน คือ มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความ เป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้รับรองศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ไว้ และกําหนดให้รัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐดำาเนินการปฏิบัติงาน ตามอำนาจหน้าที่โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน

เพราะเหตุใดจึงต้องมีการกําหนดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติขึ้น

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษชนแห่งสหประชาชาติเป็นข้อตกลงของสหประชาชาติได้กำหนดขึ้น เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้ใช้เป็นแนวทางในการคุ้มครองดูแลสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองประเทศของตน