เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 7 จึงทรงยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร

วันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นวันสำคัญสำหรับการสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทย เพราะเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ 

ในวันนั้นคณะราษฎรได้นำกำลังทหารและพลเรือนเข้ายึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ในขณะนั้นรัชกาลที่ 7 ได้เสด็จแปรพระราชฐานประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คณะผู้ยึดอำนาจที่มี พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้า ได้ตั้งคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารที่มีนายทหารระดับนายพันเอก 3 คน คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช และพระยาฤทธิอัคเนย์ 

เมื่อสามารถระดมกำลังทหารมาชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้าได้เป็นจำนวนมากจากหลายกองพันในกรุงเทพฯ จึงประกาศแถลงการณ์ของคณะราษฎรถึงเหตุและความตั้งใจในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตลอดจนกุมตัวพระบรมวงศานุวงศ์และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของรัฐบาลมาไว้ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมแล้ว คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารก็ได้มีหนังสือ และส่ง นาวาตรี หลวงศุภชลาศัย ไปยังพระราชวังไกลกังวล กราบบังคมทูลอัญเชิญรัชกาลที่ 7 เสด็จกลับพระนคร ดังมีความสำคัญว่า

“คณะราษฎรไม่ประสงค์จะแย่งราชสมบัติแต่อย่างใด ความประสงค์อันยิ่งใหญ่ก็เพื่อที่จะมีธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จึงขอเชิญใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทกลับคืนสู่พระนคร ทรงเป็นกษัตริย์ต่อไปโดยอยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน”

วันรุ่งขึ้น 25 มิถุนายน 2475 รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร มีความตอนหนึ่งว่า

“…คณะทหารมีความปรารถนาจะเชิญให้ข้าพเจ้ากลับพระนครเป็นกษัตริย์อยู่ใต้พระธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ข้าพเจ้าเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร์ ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อกัน ทั้งเพื่อจัดการโดยละม่อม ไม่ให้ขึ้นชื่อว่าได้จลาจลเสียหายแก่บ้านเมือง และความจริงข้าพเจ้าได้คิดอยู่แล้วที่จะเปลี่ยนแปลงทำนองนี้ คือมีพระเจ้าแผ่นดินปกครองตามพระธรรมนูญ จึงยอมรับที่จะช่วยเป็นตัวเชิดเพื่อให้คุมโครงการตั้งรัฐบาลให้เป็นรูปวิธีเปลี่ยนแปลงตั้งพระธรรมนูญโดยสะดวก”

ในคืนวันที่ 25 มิถุนายน 2475 รัชกาลที่ 7 เสด็จกลับพระนครโดยรถไฟพระที่นั่งที่ทางคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารส่งไปรับ และในวันที่ 26 มิถุนายน 2475 ให้บุคคลสำคัญของคณะราษฎรเข้าเฝ้าฯ และพระองค์ได้ทรงลงพระปรมาธิปไธยพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่คณะผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน

ต่อมาในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่งเดิมทีคณะผู้ก่อการตั้งใจจะใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับถาวร

ต่อมาในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 จึงมีการพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร


อ้างอิง: 

  • wiki.kpi.ac.th/index.php

TAGS:  


เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 7 จึงทรงยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร

พระราชประวัติรัชกาลที่ 7

พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๗ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ต่อมาในพ.ศ. ๒๔๔๘ พระบรมชนกนาถโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา เมื่อทรงพระเยาว์ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นอันสมควรแก่ขัตติยบรมราชกุมารแล้ว เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษาหลังจากโสกันต์แล้วได้ทรงเสด็จไปศึกษาวิชาการ ณ ประเทศอังกฤษ ที่วิทยาลัยอีตัน และต่อมาในพ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาทหารปืนใหญ่ม้าจากโรงเรียนนายร้อยเมืองวูลิช ประเทศอังกฤษ แล้วเสด็จไปประจำกรมทหารปืนใหญ่ม้าอังกฤษ ณ เมืองออลเดอชอต เพื่อทรงศึกษาหน้าที่นายทหาร แต่เนื่องจากภาวะสงครามโลกครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๕๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ จึงโปรดเกล้าฯให้เสด็จนิวัตประเทศไทย

        พศ. ๒๔๕๘ โปรดเกล้าฯให้ทรงรับราชการตำแหน่งนายทหารคนสนิทของจอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบกและทรงเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการตามลำดับ

       พ.ศ. ๒๔๖๐ ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเสด็จไปประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศเป็นเวลา ๑ พรรษา

       พ.ศ. ๒๔๖๑ พระองค์ทรงขอพระราชทานพระบรมราชาอนุญาตอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์

และในระหว่างปีพ.ศ. ๒๔๖๓-๒๔๖๗ ได้เสด็จไปศึกษาวิชาทหารบกที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกของประเทศฝรั่งเศส ต่อมาในปี๒๔๖๘ ทรงได้รับการสถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาได้ไม่ถึงเดือน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่และเหล่าเสนาบดีพร้อมกันกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๗ พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงอภิเษกสมรส

เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 7 จึงทรงยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร

ทรงอภิเษกสมรส กับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พุทธศักราช 2461 ณ พระที่นั่งวโรภาสพิมาน พระราชวังบางประอิน ในวโรกาสนี้ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชชนนี โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังสุโขทัย พระราชทานเป็นเรือนหอ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอภิเษกสมรส กับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี พระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิ- วัดนวิสิษฐ์ ณ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวัง บางปะอิน เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๑

ทรงครองราชย์

เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 7 จึงทรงยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร

มื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2468 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นเป็น " พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ "ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว "

ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ต่อ ประเทศชาตินานับประการ อาทิ โปรดเกล้าฯ อุปถัมภ์บำรุงกิจการหอสมุดจัดตั้ง พิพิธภัณฑสถาน สำหรับพระนคร และสร้างสะพาน ปฐมบรม ราชานุสรณ์พระนคร (สะพานพระพุทธ ยอดฟ้าฯ) เพื่อเชื่อมฝั่งพระนคร และธนบุรี และ ทรงส่งเสริมการศึกษาของ ชาติหลายประการ คือ ให้ยกเลิกการเก็บเงินศึกษาพลีเร่งรัดการประกาศ พระราชบัญญัติ ประถมศึกษา ทรงเป็นพระมหา กษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่เสด็จพระราชดำเนินไป พระราชทานปริญญา บัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ในระดับอุดมศึกษา ในครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2473 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ในวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบรมวงศ์ชั้น ผู้ใหญ่และคณะเสนาบดี ได้กราบบังคมทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเสวยราช พระบรมราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๘

พระราชทานรัฐธรรมนูญ

         เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะบุคคลที่เรียกตนเองว่า "คณะราษฎร" ได้ทำการปฎิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นแก่ความสงบของบ้านเมืองมากกว่าสิ่งอื่นใดทรงยอมรับเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยพระองค์แรก และต่อมาได้มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามเป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรก เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475

ทรงสละราชสมบัติ

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พุทธศักราช 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ หลังจากทรงครองราชย์ เป็นเวลา 9 ปี 3 เดือน 4 วัน ขณะประทับอยู่ที่บ้าน โนลแครนลี ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้เนื่องด้วยความ คิดเห็นที่ขัดแย้งทางการเมืองบางประการ หลังจากนั้นได้ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษจนกระทั่งสวรรคตเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พุทธศักราช 2484 ขณะมีพระชนมายุ 48 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพเป็นการส่วนพระองค์อย่างเรียบง่าย ปราศจากพิธีการใด ๆ ที่สุสานโกลเดอร์ส กรีน (Golders Green)


Share :

เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 7 จึงทรงยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร
เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 7 จึงทรงยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร