ทำไม บริเวณที่มี ภูเขาไฟ ปะทุ ทั้ง บน พื้นที่ ทวีป และหมู่เกาะ จึงมีประชากรตั้งถิ่นฐาน อย่างหนาแน่น

ภูเขาไฟ : ทำไมตาอัลของฟิลิปปินส์จึงมีอันตรายสูง แม้ขนาดไม่ใหญ่

16 มกราคม 2020

ทำไม บริเวณที่มี ภูเขาไฟ ปะทุ ทั้ง บน พื้นที่ ทวีป และหมู่เกาะ จึงมีประชากรตั้งถิ่นฐาน อย่างหนาแน่น

ที่มาของภาพ, Reuters

ตาอัล คือหนึ่งในภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นที่สุดในฟิลิปปินส์

ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ภูเขาไฟลูกนี้เริ่มปะทุและพ่นลาวา ทำให้เกิดแผ่นดินไหว รวมทั้งพ่นกลุ่มเถ้าถ่านขนาดใหญ่ที่แผ่ปกคลุมไปทั่วเกาะลูซอน ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองมากที่สุดของฟิลิปปินส์ ผลกระทบนี้ยังแผ่ไปยังบริเวณอื่น ๆ ด้วย

บรรดานักวิทยาศาสตร์เกรงว่า "การปะทุที่อันตราย" ครั้งใหญ่กว่ากำลังใกล้เข้ามาทุกขณะ

  • ภูเขาไฟนิวซีแลนด์ : ชมภาพคุกรุ่นจากปล่อง บนเกาะไวท์ ไอส์แลนด์ หลังคร่า 6 ชีวิต และมีผู้สูญหายอีก 8 คน
  • ภูเขาไฟอะนัก กรากาตัว: ไขปริศนาสึนามิถล่มอินโดนีเซียครั้งล่าสุด
  • ภูเขาไฟอะนัก กรากาตัว กำลังเข้าสู่ระยะอันตรายร้ายแรงครั้งใหม่

ภูเขาไฟตาอัล ถือว่ามีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับภูเขาไฟลูกอื่น ๆ แต่เคยปะทุรุนแรงจนคร่าชีวิตผู้คนมาแล้วหลายครั้ง

นายเรนาโต โซลิดัม หัวหน้าสถาบันภูเขาไฟและแผ่นดินไหววิทยาแห่งชาติของฟิลิปปินส์ (Philvolcs) กล่าวว่า "มันเป็นภูเขาไฟขนาดเล็กมากแต่ก็อันตรายมาก"

อะไรทำให้ภูเขาไฟตาอัลสร้างความวิตกกังวลให้ผู้คนมากถึงเพียงนี้

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

ภูเขาไฟตาอัลเคยปะทุขึ้นหลายครั้งในอดีต และมีระบบภูเขาไฟใต้ดินที่ซับซ้อน

ภูเขาไฟที่ซับซ้อน

ตาอัล ถูกนิยามว่าเป็น "ภูเขาไฟที่มีความซับซ้อน" เนื่องจากมันไม่ได้มีช่องเปิดหลัก (vent) หรือปล่องรูปกรวย (cone) เพียงที่เดียว แต่มีตำแหน่งที่สามารถปะทุได้หลายจุด ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

รองศาสตราจารย์ เบน เคนเนดี ผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพวิทยาภูเขาไฟจากมหาวิทยาลัยแคนเทอร์เบอรีในนิวซีแลนด์ ระบุว่า "ภูเขาไฟตาอัลเป็นภูเขาไฟแบเบาะที่ตั้งอยู่บนแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด (caldera) ที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก"

การปะทุครั้งล่าสุดนี้เกิดขึ้นที่เกาะภูเขาไฟ (Volcano Island) ซึ่งตั้งอยู่ในทะเลสาบตาอัล ซึ่งเป็นทะเลสาบขนาด 234 ตารางกิโลเมตรที่ก่อตัวขึ้นในแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดที่เกิดจากการปะทุครั้งใหญ่ก่อนหน้านี้

โดยที่เกาะภูเขาไฟเพียงแห่งเดียวมีปากปล่องภูเขาไฟ 47 จุด และปล่องภูเขาไฟที่เรียกว่า maar ซึ่งเป็นปากปล่องภูเขาไฟที่ก่อตัวเมื่อหินหนืด (magma) สัมผัสกับแหล่งน้ำบาดาลตื้น ๆ อีก 4 จุด ซึ่งทำให้บริเวณนี้มีไอร้อนพวยพุ่งขึ้นอย่างรุนแรง

นอกจากนี้ก็ยังมีช่องเปิดและจุดปะทุอื่น ๆ อยู่ใต้ทะเลสาบตาอัลด้วย

ด้วยเหตุนี้ Philvolcs จึงกำหนดให้เกาะภูเขาไฟเป็นเขตอันตรายถาวร

ที่มาของภาพ, EPA

คำบรรยายภาพ,

ภูเขาไฟตาอัลพ่นเถ้าถ่านและไอร้อนสีเทาเข้มขึ้นสู่ท้องฟ้า

ไม่สามารถคาดการณ์ได้

ในช่วงไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมามีการปะทุที่นี่อย่างน้อย 35 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดคือในปี 1977

เว็บไซต์ข่าว Rappler ของฟิลิปปินส์ระบุว่า การปะทุครั้งใหญ่ที่ปากปล่องหลักของภูเขาไฟในปี 1911 ได้พ่นเอาก้อนหินและเศษชิ้นส่วนต่าง ๆ ออกจากภูเขาไฟ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,300 คน

เจสส์ ฟีนิกซ์ นักภูเขาไฟวิทยาของสหรัฐฯ บอกว่า ภูเขาไฟตาอัลมี "ประวัติการระเบิดหลายรูปแบบ" ดังนั้นมีภัยคุกคามต่อผู้คนเบื้องล่าง ทั้งจากลาวา และเถ้าถ่านที่พ่นขึ้นสู่อากาศ

นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิด "คลื่นสึนามิจากภูเขาไฟ" ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดเศษซากต่าง ๆ จากการระเบิดของภูเขาไฟได้ตกลงไปในทะเลและทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ขึ้น

"ภัยคุกคามเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้คนที่อยู่ใกล้เคียง" น.ส.ฟีนิกซ์ กล่าว

ขณะเดียวกัน ทะเลสาบตาอัลก็อาจมีอันตราย เพราะน้ำอาจไปทำปฏิกิริยากับหินหนืด ซึ่งจะกระตุ้นให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดการระเบิดได้มากขึ้น รองศาสตราจารย์เคนเนดี กล่าว

ที่มาของภาพ, Reuters

คำบรรยายภาพ,

หมู่บ้านใกล้เคียงถูกปกคลุมไปด้วยเถ้าถ่านที่ภูเขาไฟตาอัลพ่นออกมา

อยู่ใกล้ผู้คนจำนวนมาก

หนึ่งในสาเหตุที่หลายฝ่ายวิตกกังวลเกี่ยวกับภูเขาไฟตาอัล ก็คือการที่ภูเขาไฟลูกนี้ตั้งอยู่ใกล้กับเขตที่อยู่อาศัยของประชากรหลายล้านคน

นายเจมส์ ไวต์ หัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยามหาวิทยาลัยโอทาโกในนิวซีแลนด์ ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีว่า ภูเขาไฟลูกนี้อยู่ห่างจากมหานครมะนิลา (Metro Manila) ซึ่งเป็นเขตกรุงมะนิลาและปริมณฑล ที่มีประชากรอาศัยอยู่กว่า 10 ล้านคน ออกไปเพียงไม่กี่สิบกิโลเมตร อีกทั้งยังอยู่ภายในรัศมี 30 กิโลเมตรจากเมืองอื่น ๆ ที่มีประชากรในเมืองกว่า 100,000 คน และยังไม่นับรวมเมืองขนาดเล็กอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงด้วย

เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (UN OCHA) ประเมินว่า ขณะนี้น่าจะมีประชาชนกว่า 450,000 คนที่ยังเหลืออยู่ในพื้นที่ "เขตอันตราย" ภายในรัศมี 14 กิโลเมตรจากภูเขาไฟที่ประธานาธิบดีโรดริโก ดูแตร์เต ของฟิลิปปินส์ประกาศห้ามสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์อาศัยและเข้าใกล้จนกว่าสถานการณ์จะกลับคืนสู่ภาวะปกติ

ทางการฟิลิปปินส์ระบุว่าขณะนี้มีประชาชนอพยพออกจากพื้นที่แล้วประมาณ 40,000 คน

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า สาเหตุที่ยังมีผู้คนเลือกตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่บริเวณนี้แม้จะเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยนั้นมีหลายสาเหตุด้วยกัน หนึ่งในนั้นก็เพราะพื้นที่แถบนี้มีดินภูเขาไฟที่มีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์สำหรับการเพาะปลูกนั่นเอง

คำบรรยายภาพ,

แผนภาพแสดงตำแหน่งภูเขาไฟตาอัลกับเขตที่อยู่อาศัยของประชาชนนับล้าน

สถานการณ์ปัจจุบันเป็นเช่นไร

Philvolcs ระบุเมื่อวันที่ 14 ม.ค.ว่า ภูเขาไฟตาอัล ได้พ่นลาวาสูง 500 เมตร พร้อมกับมีไอร้อนสีเทาเข้มพวยพุ่งขึ้นสูงราว 2 กิโลเมตร

น.ส.ฟีนิกซ์ บอกกับทีมข่าวบีบีซีว่า น้ำพุลาวา (lava fountain) ขนาดนั้นถือว่ามีขนาดใหญ่พอสมควร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีพลังและความรุนแรงมากกว่าปกติ

ขณะที่นายไวต์ ชี้ว่า น้ำพุลาวาสูง 500 เมตรนั้นหมายความว่าจะมีหินหนืดพวยพุ่งออกมาเป็นจำนวนมาก

ที่มาของภาพ, Phivolcs

คำบรรยายภาพ,

ภาพลาวาที่กำลังพวยพุ่งออกจากภูเขาไฟตาอัล

เศษเถ้าถ่านหนาที่พวยพ่นออกมาจากภูเขาไฟตาอัลได้แผ่ปกคลุมเขตที่อยู่อาศัยของประชาชนโดยรอบหลายแห่ง อีกทั้งยังเกิดแผ่นดินไหวจากแรงปะทุของภูเขาไฟแล้วอย่างน้อย 212 ครั้ง

รองศาสตราจารย์เคนเนดี กล่าวว่า "ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวนี้ดูเหมือนจะบ่งชี้ว่ายังมีหินหนืดอยู่ใต้ภูเขาไฟอีกมาก และการปะทุอาจดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง" อย่างไรก็ตามเขาชี้ว่า ธรรมชาติของภูเขาไฟอาจมีสภาพสงบก่อนที่จะเกิดการปะทุขึ้นก็ได้

ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดไม่ใช่เรื่องผิดปกติสำหรับฟิลิปปินส์ เนื่องจากมีภูมิประเทศตั้งอยู่ในแนว "วงแหวนแห่งไฟ" (Ring of Fire) ในมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งมีรอยเลื่อนอันเกิดจากการเคลื่อนที่และการชนของแผ่นเปลือกโลก

เพราะเหตุใดบริเวณที่มีภูเขาไฟปะทุทั้งบนภาคพื้นทวีป และหมู่เกาะจึงมีประชากรตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างหนาแน่น

2. ทำไมบริเวณที่มีภูเขาไฟปะทุทั้งบนพื้นที่ทวีปและหมู่เกาะจึงมีประชากรตั้งถิ่นฐานอย่างหนาแน่น (ข้อสอบ O-NET ปี 59) เป็นแหล่งดินดีมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก เป็นแหล่งแร่อโลหะที่สำคัญ เช่น เกลือหิน โซเดียมไนเตรท เป็นแหล่งแร่เชื้อเพลิงที่สำคัญ ทั้งน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ

เพราะเหตุใดในบริเวณที่เป็นเขตภูเขาไฟจึงมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น

ต้องเข้าใจก่อนว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ตามแนวภูเขาไฟเหล่านี้อยู่เพื่อเอาตัวรอด พลังงานความร้อนจากใต้พิภพให้พลังงานที่หล่อเลี้ยงชุมชนทั้งชุมชน ทั้งดินในบริเวณภูเขาไฟก็อุดมไปด้วยแร่ธาตุอาหารสำหรับการเพาะปลูก ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาชมความยิ่งใหญ่ของภูเขาไฟมากมาย นั่นทำให้เกิดงานและรายได้จากการเปิดโรงแรม, ร้านอาหาร, ...

องค์กรเอกชนใหญ่ที่สุดที่เฝ้าระวังและดูแลทรัพยากรทั่วโลกคือองค์กรใด

WWF เน้นการทำงานในภาคสนาม เสริมสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรให้แก่กลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง ปลูกสร้างจิตสำนึกผ่านกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา รวมถึงการริเริ่มสร้างสรรค์ค้นหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระดับนโยบาย