นัก ดนตรี ใน ยุค กลาง ส่วน มาก คือ ใคร

1. สมัยกลาง ( The Middle Ages ค.ศ. 850 – 1450 ) พ.ศ. 1393 – 1993 ก่อนสมัยนี้ราวศตวรรษที่ 6 ดนตรีขึ้นอยู่กับศาสนา Pope Gregorian เป็นผู้รวบรวมบทสวด เป็นทำนองเดียว ( Monophony ) โดยได้ต้นฉบับจากกรีก เป็นภาษาละติน ต่อมาจึงมี 2 ทำนอง( Polyphony ) ศตวรรษที่ 11 การศึกษาเริ่มในโบสถ์ในสมัยกลางนี้เองได้เริ่มมีการบันทึกตัวโน้ต โดยมีพระองค์หนึ่งเป็นชาวอิตาเลียนชื่อ Guido D’Arezzo ( พ.ศ. 1538 – 1593 ) ได้สังเกตเพลงสวดเก่าแก่เป็นภาษาละตินเพลงหนึ่งแต่ละประโยคจะมีเสียงค่อย ๆ สูงขึ้น จึงนำเอาเฉพาะตัวแรกของบทสวดมาเรียงกัน จึงออกเป็น Do Re Mi Fa Sol La Te Do( เว้นตัว Te เอาตัวที่ 2 ) ต่อมา ค.ศ. 1300 ( พ.ศ. 1843 ) ดนตรีก็เริ่มเกี่ยวกับศาสนาอย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

2. สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ( The Renaissance Period ค.ศ. 1450 – 1600 ) ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1993 – 2143 ตรงกับสมัยโคลัมบัส และเชคสเปียร์ ดนตรีในยุคนี้มักจะเป็นการเริ่มร้องหมู่เล็ก ๆ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการร้องเพื่อสรรเสริญพระเจ้า ร้องกันในโบสถ์มี 4 แนว คือ โซปราโน อัลโต เทเนอร์ และเบส การร้องจะมีออร์แกนหรือขลุ่ยคลอ ดนตรีในสมัยนี้ยังไม่มีโน้ตอ่าน และมักเล่นตามเสียงร้อง 

3. สมัยบาโรค ( BaroQue ค.ศ. 1650 – 1750 ) ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2143 – 2293 และนักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ได้แก่ บาค ไฮเดิล ในยุคต้นของสมัยบาโรค ( พ.ศ. 2143 – 2218 ) มีเครื่องดนตรีประมาณ 20 – 30 ชิ้นสลับกันเล่น เพื่อให้มีรสชาติในการฟังเครื่องดนตรีในการคลอเสียงร้อง เช่น ลิ้วท์ ขลุ่ย ต่อมาได้วิวัฒนาการใช้เครื่องสายมากขึ้นเพื่อประกอบการเต้นรำ รวมทั้งเครื่องลมไม้ด้วย ในสมัยนี้ผู้อำนวยเพลงจะเล่นฮาร์พซิคอร์ด

4. สมัยคลาสสิค ( Classical Period ค.ศ. 1750 – 1825 ) ตั้งแต่ พ.ศ. 2273 – 2368 สมัยนี้ตรงกับการปฏิวัติและการปฏิรูปในอเมริกา ไฮเดิลเป็นผู้ริเริ่มในการแต่งเพลงและคลาสสิค การแต่งเพลงในยุคนี้เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการของคีตกวีที่จะเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับลีลา และโอกาสตามอารมณ์ของดนตรี เช่น ดนตรีลักษณะหวานก็ใช้ไวโอลิน ถ้าแสดงความองอาจกล้าหาญ ก็ใช้แตรทรัมเปต มีการเดี่ยวเครื่องดนตรี นักดนตรีต้องศึกษาและเล่นให้ถูกต้องตามแบบแผน เพราะดนตรีในยุคนี้เริ่มเข้าร่องเข้ารอย คีตกวีในยุคที่มีไฮเดิล โมสาร์ท กลุ๊ก บีโธเฟน โดยเฉพาะบีโธเฟน เป็นคีตกวีในสมัยโรแมนติกด้วย

5. สมัยโรแมนติก ( Romantic Period ค.ศ. 1825 – 1900 ) พ.ศ. 2368 – 2443 สมัยนี้ตรงกับสมัยนโปเลียนแห่งฝรั่งเศส เพลงในสมัยนี้ ผิดไปจากเพลงในสมัยก่อน ๆ คือเมื่อก่อนเริ่มแรกเกี่ยวกับศาสนา ต่อมามีการเลือกใช้เครื่องดนตรีและในสมัยนี้ จะแต่งตามจุดประสงค์ตามความคิดฝันของคีตกวี เน้นอารมณ์เป็นสำคัญนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมี ชูเบิร์ต เสตร้าส์ เมนโดโซน โชแปง ชูมานน์ บราหมส์ ไชคอฟสกี้ โดยเฉพาะในยุคนี้ แต่ละประเทศในยุโรปจะมีความนิยมไม่เหมือนกัน เช่น ลักษณะของเพลงร้อง เพลงประกอบละคร เพลงเต้นรำแบบวอลท์ เป็นไปตามคีตกวีและความนิยมส่วนใหญ่

6. สมัยอิมเพรสชั่นนิสซึม ( Impressionism ค.ศ. 1850 – 1930 ) ประมาณ พ.ศ. 2393 – 2473 เป็นสมัยแห่งการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ดัดแปลงดั้งเดิมจากสมัยโรแมนติกให้แปลกออกไปตามจินตนาการของผู้แต่ง เปรียบเทียบได้กับการใช้สีสันในการเขียนรูปให้ฉูดฉาด ในด้านดนตรีผู้ประพันธ์มักสรรหาเครื่องดนตรีแปลก ๆ จากต่างประเทศ เช่น จากอินเดียมาผสมให้มีรสชาติดีขึ้น การประสานเสียงบางครั้งแปร่ง ๆ ไม่รื่นหูเหมือนสมัยก่อน ทำนองเพลงอาจนำมาจากทางเอเชียหรือประเทศใกล้เคียง แล้วมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับดุริยางค์ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมี คลาวด์อบุชชี อิกอร์ สตราวินสกี่ อาร์โนลด์ โชนเบิร์ล           

7. สมัยคอนเทมพอลารี ( Contempolary ค.ศ. 1930 – ปัจจุบัน ) หรือ Modern Music – Eletronics ตั้งแต่ พ.ศ. 2473 จนถึงปัจจุบัน ชีวิตของคนในปัจจุบันอยู่กับความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ได้รู้ได้เห็นสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ เช่น ไอพ่น ยานอวกาศโทรทัศน์ นักแต่งเพลงปัจจุบัน จึงเปลี่ยนวิธีการของการประพันธ์เพลงให้เป็นไปในแบบปัจจุบัน

ในยุคสมัยบาโรค คีตกวีส่วนมากนิยมประพันธ์เลิกนิมยมการประพันธ์สไตล์ Polyphony และหันมาสนใจแบบ Monody คือในบทเพลงที่มีแนวทำนองขับร้องแนวเดียว ดำเนินทำนองและมีแนวสำคัญที่เรียกเป็นภาษาอิตาเลี่ยนว่า Basso continuo ทำหน้าที่คลอเคลื่อนที่ตลอดเวลาประกอบจึงทำให้เกิดคอร์ดขึ้นมา

แต่ในยุคสมัยนี้ก็ยังไม่ได้เลิกประพันธ์เพลงแบบ polyphony ซะทีเดียว การประพันธ์แบบpolyphony ยังปรากฏอยู่ใน Fugue ,organ corale ,cantata 


เพลงแบบ Homophony ได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบ ผู้ที่มีชื่อเสียงในฐานะผู้บุกเบิกการประพันธ์เพลงแบบบรรเลงในยุคนี้คือ Vivaldi ส่วนโครงสร้างเพลงอื่นๆก็มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น มีสีสันเสียงมากขึ้น


ลักษณะของเพลงยุคบาโรค


1. การทำให้เกิดความขัดกัน (Contrast) ดัง-เบา เร็ว-ช้า บรรเลงเดี่ยว-บรรเลงร่วมกัน พบได้ใน Trio sonata ,Concerto grosso 

2. คีตกวีส่วนใหญ่ไม่ได้เขียนเพลงบรรเลงอย่างครบสมบูรณ์เพราะว่าต้องการให้ผู้บรรเลงได้แสดงศักยภาพในการเล่นโดยใช้ไหวพริบปฏิภานหรือการ Improvisation ในแนวของตนเอง



คีตกวีในยุคบาโรค


1. Johann Sebastian Bach (J.S Bach)


นัก ดนตรี ใน ยุค กลาง ส่วน มาก คือ ใคร



2.George Federic Handel

นัก ดนตรี ใน ยุค กลาง ส่วน มาก คือ ใคร


3. Antonio Vivaldi

นัก ดนตรี ใน ยุค กลาง ส่วน มาก คือ ใคร


4.Johann Pachebel

นัก ดนตรี ใน ยุค กลาง ส่วน มาก คือ ใคร


Four seasons (winter) -Vivaldi




4. ยุคสมัยคลาสสิค (1750-1820)


ในสมัยนี้ดนตรีเริ่มแพร่หลายสู่ประชาชนมากขึ้น สถาบันศาสนาจึงไม่ใช่ศูนย์กลางของดนตรีอีกต่อไป ยุคนี้ถือเป็นยุคของดนตรีบริสุทธิ์ เพลงในสมัยนี้จึงเป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อการฟังโดยเฉพาะ ไม่ใช่การประพันธ์เพื่อประกอบพิธีทางศาสนา ส่วนใหญ่มักเป็นเพลงบรรเลง ใช้Polophony น้อยลง ใช้ Homophony มากขึ้น มีกฏเกณฑ์ในการแต่งเพลงที่เคร่งครัด มีการกำหนดจังหวะที่สม่ำเสมอกัน การเขียนทำนองเพลงมีการพัฒนาให้มีหลักเกณฑ์และความสมดุล

 เพลงที่นิยมมากที่สุดคือ Symphony 


ลักษณะของเพลงในยุคคลาสสิค


1.ลักษณะเปลี่ยนไปจากยุคบาโรคโดยสิ้นเชิงคอืไม่นิยมการประสานเสียง และหันมานิยมการเน้นทำนองหลักโดยมีแนวเสียงอื่นประสานเพื่อความไพเราะมากยิ่งขึ้น


2. มีการประสานเสียงแบบ Basso continuo 


3. ผู้ประพันธ์นิยมเขียนโน้ตทุกแนวไว้ ไม่มีการเว้นว่างเพื่อการ improvisation  


4. ศูนย์การของดนตรียุคคลาสสิคตอนนั้นคือเมือง แมนฮีม และกรุงเวียนนา 



คีตกวีในยุคคลาสสิค



1. Wolfgang Amadeus Mozart 

นัก ดนตรี ใน ยุค กลาง ส่วน มาก คือ ใคร


2. Ludwig Van Beethoven

นัก ดนตรี ใน ยุค กลาง ส่วน มาก คือ ใคร


3. Franz Joseph Haydn 

นัก ดนตรี ใน ยุค กลาง ส่วน มาก คือ ใคร



Fur elise - Mozart





5. ยุคสมัยโรแมนติก (1820-1900)


ยุคนี้ถือเป็นยุคทองของดนตรี มีการแสดงคอนเสิร์ตต่อสาธารณชนอย่างเปิดเผย นักดนตรีมีโอกาสแสดงอารมณ์ในการบรรเลงมากขึ้น ดนตรีในยุคนี้จึงไม่ค่อยได้คำนึงถึงรูปแบบและความสมดุลแต่จะเน้นเรื่องการถ่ายทอดอารมณ์ ความรัก ความโกรธ ความเศร้า หรือความกลัว นอกจากนี้ยังนิยมเขียนเพลงเพื่อบรรยายธรรมชาติ เรื่องความฝันของตนเอง เพลงที่มีการเขียนเพื่อบรรยายธรรมชาติเรียกว่าดนตรีพรรณา (Descriptive music)  


ความแตกต่างระหว่างดนตรีคลาสสิคและดนตรีโรแมนติก


คลาสสิค                                                 โรแมนติก


เน้นรูปแบบที่แน่นอน                               เน้นเนื้อหา

เน้นความมีเหตุผลเกี่ยวข้องกัน                เน้นอารมณ์

มีแนวความคิดแบบ ภววิสัย                      มีแนวความคิดแบบอัตวิสัย


ลักษณะของดนตรียุคโรแมนติก


1. คีตกวีมีีแนวความคิดเป็นของตัวเอง แสดงออกถึงความรู้สึกอย่างมีอิสระ ไม่จำเป็นต้องทำตามแบบแผน

2. อารมณ์และจินตนาการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน

3. ลักษณะภายในองค์ประกอบของดนตรี

  •    ทำนองเน้นความรู้สึกและอารมณ์ ความยาวของประโยคเปลี่ยนแปลงได้ไม่จำกัด
  •    การประสานเสียงใช้คอร์ด 7,9 
  •    Chromatic chord มีบทบาทสำคัญ
  •    ความดังเบาชัดเจน



คีตกวีในยุคโรแมนติก


1. Federic Chopin



2.Robert Schumann

นัก ดนตรี ใน ยุค กลาง ส่วน มาก คือ ใคร


3. Johannes Brahms


นัก ดนตรี ใน ยุค กลาง ส่วน มาก คือ ใคร


4. Felix Mandelssohn


นัก ดนตรี ใน ยุค กลาง ส่วน มาก คือ ใคร


5. Piotr Ilyich Tchaikovsky

นัก ดนตรี ใน ยุค กลาง ส่วน มาก คือ ใคร



Polonaise in A flat major - Chopin






6. ยุคศตวรรษที่ 20 (หลังจาก1900)


ในยุคสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนาหลายๆด้าน ทำให้รูปแบบของดนตรีเปลี่ยนไป คีตกวีก็พยายามหาสิ่งใหม่ๆและทฤษฎีใหม่ๆทำให้เกิดดนตรีหลายรูปแบบ 


ลักษณะของดนตรียุคศตวรรษที่ 20


1. เนื่องจากมีการพัมนาและเเปลี่ยนแปลง และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่วนประกอบของดนตรีจึงซับซ้อนมากขึ้น แต่ยังยึดรูปแบบของดนตรีคลาสสิคอยู่ 


2. เพลงในยุคสมัยนี้ประพันธ์ขึ้นมาเพื่อบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี Electronic ที่มีเสียงต่างออกไปจากเตรื่องดนตรี Acoustic