ผู้ที่ประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงคือใคร *

����ͻ� �.�. 2126 �������ѧ���繡�� ���ͧ�ҡ����㨷ҧ��ا˧��Ǵ��������»�С�� �֧�����ͧ ������Ѻ����¡����������˭��ա�������ͧ��������ͧ���� ������˧��Ǵչѹ����ç�֧¡�Ѿ��ǧ任�Һ 㹡�ó�����������������ͧ�� ������ͧ�ͧ�� ���������ͧ��§���� �����駷ҧ��ا�����ظ�Ҵ��� ���¡�Ѿ仪��� �ҧ�� ���稾����Ҹ����Ҫ��ô������稾�й�����¡�Ѿ�᷹ ���稾�й�����¡�Ѿ�͡�ҡ���ͧ��ɳ��š ������ѹ��� 6 ��� ��͹ 3 ������ �.�. 2126 ���ͧ��¡�Ѿ��仪�� � ��������û�Һ��������ѧ���������仡�͹ ����������˧��Ǵչѹ����ç�ŧ���� �ҧ�¤��ж١�������ѧ�Ъѡ�ǹ�����Ҵ��� �֧������������ػ�Ҫ� ����Ѿ�ѡ�ҡ�ا˧��Ǵ���� ��ҷѾ��¡�Ҷ֧������͹�Ѻ ����ҷҧ�ӨѴ���� ��о��ͧ���������������ͭ�ͧ�� ��� ��������õ���о������� �������Ѥþ�ä�ǡ���������ͧ�ç�ҡ ��зӹͧ���繼�����¡Ѻ���稾�й����������͹ ŧ�Ҥ�µ�͹�Ѻ�Ѿ�·�����ͧ�ç �ѹ�繪��ᴹ�Դ��͡Ѻ�� �������ػ�Ҫ����������繤����Ѻ��� ��������稾�й�����¡�ͧ�Ѿ���� ��Ҿ������ػ�Ҫ�¡��ҵմ�ҹ˹�������� ����������õ���о������� ������ѧ��ҵա��˹Һ�ҧ��ҹ��ѧ ���¡ѹ�ӨѴ���稾�й�����������騧�� ��������õԡѺ�������� �����件֧���ͧ�ç���� ����¤����Ѻ�����������äѹ��ͧ ������Ҩ����ͧ�� �ء�����������繴մ��¡ѺἹ��âͧ�����ҡ�ا˧��Ǵ� ��������äѹ��ͧ�Ѻ���稾�й����� �����ѡ�ͺ�͡ѹ�ҡ�͹

          หลังจากเสร็จสิ้นสงคราม  พระมหาธรรมราชาได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา  มีพระนามว่า  สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช  ปกครองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อมา
          ต่อมาพระเจ้าบุเรงนองได้ส่งพระนเรศวรกลับคืนกรุงศรีอยุธยาหลังจากที่พระองค์ได้อยู่ที่กรุงหงสาวดีเป็นเวลา 6 ปี  สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดเกล้า ฯ ให้มีพระราชพิธีสถาปนาพระนเรศวรขึ้นเป็นพระมหาอุปราชและส่งไปครองเมืองพิษณุโลก  และระหว่างที่สมเด็จพระนเรศวรประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก  พระองค์ทรงฝึกฝนไพร่พลให้เข้มแข็งในการศึกสงครามเพื่อเตรียมประกาศเอกราช
          ในปี พ.ศ. 2126  พระเจ้านันทบุเรงกษัตริย์พม่า  ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระเจ้าบุเรงนอง  ได้มีคำสั่งให้ทางกรุงศรีอยุธยาซึ่งอยู่ในฐานะเมืองประเทศราชส่งกองทัพไปช่วยปราบปรามเมืองอังวะที่ไม่ยอมอ่อนน้อมต่อหงสาวดี  โดยให้ไปสมทบกับกองทัพของเมืองอื่นที่เมืองแครง  สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพะนเรศวรเป็นผู้นำกองทัพไป
          สมเด็จพระนเรศวรเป็นผู้ที่มีความสามารถในการรบ  ทำให้ฝ่ายพม่าหวาดระแวงว่ากรุงศรีอยุธยาจะแข็งเมือง  จึงหาทางกำจัดพระนเรศวร  แต่พระองค์ทรงทราบแผนการนี้ก่อนจากพระยาเกียรติ์และพระยารามซึ่งเป็นขุนนางชาวมอญ  สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง  ไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นของกรุงหงสาวดีอีกต่อไป  หลังจากนั้นได้กวาดต้อนผู้คนกลับกรุงศรีอยุธยา

     เมื่อสมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงแล้ว  พระองค์ได้นำชาวมอญที่เมืองแครงกลับกรุงศรีอยุธยาด้วย  ระหว่างเดินทัพกลับ  ฝ่ายพม่าได้ส่งกองทัพติดตามมาทันกันที่แม่น้ำสะโตง
     สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนยาว 9 คืบ  ยิงข้ามแม่น้ำสะโตงไปถูกสุรกรรมาแม่ทัพพม่าตายคาคอช้าง  ทำให้ทัพพม่าต้องถอยทัพกลับไป
     พระแสงปืนที่สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้ยิงในครั้งนั้น  เรียกว่า  "พระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตง"

          หลังจากนั้นพม่ายกทัพใหญ่เข้ามารุกรานไทยอีกหลายครั้ง  เพื่อจะปราบปรามกรุงศรีอยุธยา  แต่ก็ถูกสมเด็จพระนเรศวรตีทัพพ่ายแพ้กลับไปทุกครั้ง  จนกระทั่ง พ.ศ. 2135  พระมหาอุปราชาได้ยกกองทัพพม่ามุ่งหวังมายึดกรุงศรีอยุธยาคืนให้ได้  การทำสงครามในครั้งนี้ได้ทรงกระทำยุทธหัตถี (การต่อสู้กันด้วยอาวุธบนหลังช้าง)  กับสมเด็จพระนเรศวร  แต่พระมหาอุปราชาพลาดท่าเสียทีถูกสมเด็จพระนเรศวรฟันด้วยพระแสงของ้าวจนสิ้นพระชนม์บนคอช้าง  ทำให้พม่าต้องถอยทัพกลับไป
          จากเหตุการณ์ในครั้งนี้  ทำให้พม่าไม่ได้ยกทัพมาโจมตีกรุงศรีอยุธยาอีกเป็นเวลานาน  และทำให้หัวเมืองต่าง ๆ พากันเกรงขามในความสามารถของสมเด็จพระนเรศวรและยอมกลับมาอ่อนน้อมต่อกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง  จึงทำให้คนไทยได้อยู่อาศัยอย่างสงบสุขและปลอดภัยจากการรุกรานของศัตรูภายนอกติดต่อกันนานถึง 150 ปี

เหตุการณ์ที่เมืองแครงในวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๑๒๗ หรือเมื่อ ๔๓๒ ปีที่เเล้ว "ไม่ใช่" การประกาศอิสรภาพ ความหมายของคำว่า...

Posted by ประวัติศาสตร์ สยาม on Monday, April 25, 2016

           ���˵ط���˹���� �ѹ��� 25 ���Ҥ� �ͧ�ء�� ���ѹ�ͧ�Ѿ�¹�� ���ͧ�ҡ���ѹ��� ���稾�й���������Ҫ ����Ѿ������¡�ا�����ظ�� �ç��з��ط��ѵ���ժ�ª�е�� ���稾������ػ�Ҫ� ��觾��� ��м���觪�ª��㹤��駹�� ��������֡������������ء�ҹ�·ء��ȷҧ �����Ҷ֧ 150 ��

ซึ่งได้แปรเรื่องเล่าของสมเด็จพระนเรศวรในฐานะวีรบุรุษที่ต่อสู้กับศัตรูเฉพาะในพล็อตประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมไปสู่การเป็นวีรบุรุษที่ต่อต้านภัยคุกคามของรัฐไทยยุคสงครามเย็นนั่นคือคอมมิวนิสต์

อุปมาดั่งกองทัพของสมเด็จพระนเรศวรบุกปราบอริราชศัตรู

ในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยช่วงทศวรรษ 2510–2520 เป็นสมรภูมิการสู้รบระหว่างกองทัพภาคที่ 3 กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ส่วนใหญ่กองทัพภาคที่ 3 ที่พรั่งพร้อมด้วยสรรพกำลังอาวุธ จากการสนับสนุนอย่างแข็งขันโดยรัฐ จะเป็นฝ่ายบุกโจมตียังฐานที่มั่นของ พคท. โดยสมรภูมิที่สำคัญบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ ฐานที่มั่นภูหินร่องกล้า บริเวณรอยต่อ 3 จังหวัด พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-เลย และฐานที่มั่นเขาค้อ[3]

ยุทธการต่าง ของกองทัพภาคที่ 3 ที่ถูกบันทึกเป็นเกียรติประวัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ เช่นยุทธการสามชัยเป็นการฝึกร่วมปฏิบัติจริงของ 3 เหล่าทัพ คือ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ประจำปี 2516 (แต่เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่เดือน ..-.. 2515) ในการโจมตีบริเวณรอยต่อ 3 จังหวัดดังที่กล่าวไปข้างต้น ผลของปฏิบัติการได้รับการบันทึกอย่างภาคภูมิว่า “…เจ้าหน้าที่สามารถทำลายระบบเศรษฐกิจของ ผกค. (ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ผู้เขียน) ได้อย่างสิ้นเชิง…”[4]

อีกหนึ่งยุทธการสำคัญ คือยุทธการผาเมืองเผด็จศึกเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่เดือน ..-.. 2524 มีเป้าหมายมุ่งทำลายฐานที่มั่นเขาค้อ เนื่องจากเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้สมาชิก พคท. เขตเขาค้อไม่มีความอดอยาก ผลของปฏิบัติการนั้นทำให้ “…เจ้าหน้าที่สามารถทำลายกำลังติดอาวุธฐานที่มั่นของ ผกค.เขตเขาค้อลงได้อย่างสิ้นเชิงทำให้ ผกค.ไม่สามารถกลับมามีอิทธิพล และจัดตั้งเป็นกองกำลังได้อีก ผกค.ในพื้นที่อื่น หมดกำลังใจในการสู้รบ และขอมอบตัวในที่สุด…”[5]

ชัยชนะอันภาคภูมิต่อกองทัพภาคที่ 3 ได้รับการบันทึกไว้เป็นเกียรติประวัติอันสูงส่งนี้ อุปมาได้ว่า กองทัพภาคที่ 3 เปรียบได้กับกองทัพของสมเด็จพระนเรศวรเนื่องจากกองทัพนี้ได้พยายามผูกตัวเองเข้ากับเรื่องเล่าสมเด็จพระนเรศวร อย่างกรณีที่มีส่วนในการสร้างศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลกเมื่อ .. 2505[6] อันเป็นสถานที่เสด็จพระราชสมภพของพระองค์

กรณีการติดป้ายชื่อก็มีความสำคัญ ที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก ใช้ชื่อว่าค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและป้ายชื่อของกองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ซึ่งสังกัดอยู่ภายใต้กองทัพภาคที่ 3 ใช้ชื่อว่าค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถพระอนุชาของสมเด็จพระนเรศวร โดยมีการให้เหตุผลว่า “…ภารกิจความรับผิดชอบและการดำเนินงานของ บชร.3 (กองบัญชาการช่วยรบที่ 3–ผู้เขียน) ที่กระทำต่อ กองทัพภาคที่ 3 เป็นไปในลักษณะการช่วยเหลือเกื้อกูลให้ กองทัพภาคที่ 3 มีความแกร่งกล้าสามารถทำการรบได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งคล้ายกันกับที่ สมเด็จพระเอกาทศรถทรงปฏิบัติต่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”[7]

หรือแม้กระทั่งเหรียญกล้าหาญที่ได้รับพระราชทานจากการปราบปรามคอมมิวนิสต์ ก็เป็นภาพสมเด็จพระนเรศวรทรงพระคชาธารออกศึก[8] กระบวนการร้อยรัดเรื่องเล่าของสมเด็จพระนเรศวรเข้ากับกองทัพภาคที่ 3 เหล่านี้ บอกเป็นนัยว่า การปราบปราม พคท. ในช่วงเวลานั้น ไม่ต่างจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงนำทัพปราบปรามอริราชศัตรูตามพล็อตประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยม

ผู้ที่ประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงคือใคร *
เหรียญกล้าหาญ ด้านหน้า (ซ้าย) มีพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกำลังทรงกระทำยุทธหัตถีกับราชศัตรู มีอักษรจารึกว่า “สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกู้ชาติ” ด้านหลัง (ขวา) มีอักษรจารึกว่า “เรากล้ารบเพื่อเกียรติศักดิ์ไทย” (ภาพโดย Xiengyod~commonswiki จาก https://th.wikipedia.org/wiki/เหรียญกล้าหาญ)

กลไกการประกอบสร้างแบบนี้เกิดขึ้นได้เพราะมีตัวแปรสำคัญ คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ทรงมีบทบาททั้งเสด็จฯ เป็นประธานในพิธีเปิดศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก[9] การพระราชทานชื่อค่าย ตลอดจนพระราชทานเหรียญกล้าหาญ นับเป็นการใช้พระราชอำนาจนำ’ (royal hegemony) มาช่วยขับเน้นให้อำนาจนำ’ (hegemony) ของเรื่องเล่าสมเด็จพระนเรศวรทรงพลังต่อการผลิตซ้ำวาทกรรมการปราบปรามคอมมิวนิสต์โดยกองทัพของสมเด็จพระนเรศวรมากยิ่งขึ้น

‘การประกาศอิสรภาพ’ ในฐานะพล็อตของเรื่องเล่าชุดหนึ่ง

สำหรับธงชัย วินิจจะกูล ความรู้ทางประวัติศาสตร์แยกไม่ออกจากเรื่องเล่าและลำดับเหตุการณ์ ที่จำเป็นต้องมีพล็อตหรือโครงเรื่อง (plot) มากำกับ โดยพล็อตนั้นเป็นกลไกพื้นฐานของเรื่องราว มีการกำหนดจุดเริ่ม-กลาง-จบ ของเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์[10] เรื่องเล่าของสมเด็จพระนเรศวรที่แพร่หลายในสังคมไทยก็ย่อมมีพล็อตมากำกับเนื้อเรื่องด้วยเช่นกัน

เมื่อสืบย้อนไปหาประวัติศาสตร์นิพนธ์สักเรื่องหนึ่งที่อธิบายเรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวรไว้อย่างสมบูรณ์แบบ คงจะปฏิเสธพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเรื่องพระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช’[11] ไปไม่ได้ ด้วยเหตุที่มีการเล่าเรื่องของสมเด็จพระนเรศวรตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ไม่ใช่การเล่าแต่เฉพาะฉากสำคัญ

เมื่อลองใช้มุมมองแบบเฮเดน ไวท์ นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกัน[12] มาพิจารณาพล็อตที่แฝงอยู่พระนิพนธ์เรื่องนี้พบว่า มีการวางพล็อตแบบสุขนาฏกรรม (comic) ที่เริ่มจากการท้าทายจากหงสาวดี การโต้กลับจากอยุธยา และจบการแก้ปัญหาที่มีมาแต่ต้นเรื่องจนบรรลุความสำเร็จ[13]

ฉาก การประกาศอิสรภาพที่ปรากฏในงานสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ อยู่ในช่วงพล็อตของการโต้กลับจากอยุธยาจากที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของหงสาวดีตั้งแต่ .. 2112 สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพใน .. 2127 เมืองแครง[14] เพื่อปลดปล่อยชาวไทยที่ถูกย่ำยีจากพม่า และยืนยันความเป็นเอกราชของชาติไทย (ตามนิยามประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม)

จากความหมายที่ปรากฏในพล็อตนี้จะเห็นว่า นัยยะของการประกาศอิสรภาพจะสำแดงพลังต่อการรับรู้ของผู้คนได้ ต้องมีศัตรูตัวฉกาจมารองรับพล็อตนี้เสมอ นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่พล็อตการประกาศอิสรภาพจะได้รับการตีความใหม่ภายใต้บริบทยุคสงครามเย็นที่คอมมิวนิสต์กำลังคุกคามอธิปไตยของชาติไทย

‘พระเจดีย์ (เพื่อ) อิสรภาพฯ’ กับการใช้หลักศาสนาพุทธต่อต้านคอมมิวนิสต์

กระบวนการสร้างพระเจดีย์อิสรภาพ อนุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เกิดขึ้นระหว่าง .. 2518–2534 ภายใต้ดำเนินการของสำนักค้นคว้าทางวิญญาณ โดยมีอาจารย์พร รัตนสุวรรณ เป็นผู้นำคนสำคัญ

เรื่องเล่าที่ปรากฏในการสร้างพระเจดีย์อิสรภาพฯนี้ ผูกพันกับความเชื่อโลกของวิญญาณเป็นสำคัญ เนื่องจากเรื่องเล่าระหว่างกระบวนการสร้างตั้งแต่ก่อนเริ่มจนถึงหลังเสร็จสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นการเล่าโดยศรีเพ็ญ จัตุทะศรี ที่เขียนในบันทึกการติดต่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจำนวน 9 เล่ม/ตอน (ภายหลังถูกนำมาจัดพิมพ์ร่วมเป็นเล่มเดียวกัน ความหนา 1,000 กว่าหน้าเมื่อ .. 2560) ภายในบันทึกเหล่านี้ จะพบว่า มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มากมายกับอยู่ในเรื่องเล่า

สำนักค้นคว้าทางวิญญาณ เป็นเจ้าของโรงพิมพ์วิญญาณที่ก่อตั้งเมื่อ .. 2508 ผลิตหนังสือเกี่ยวกับศาสนาพุทธและความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณมากมาย ตัวของอาจารย์พรเองมีเครือข่ายที่กว้างขวางในวงการพระศาสนา ทั้งมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยและหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสื่อมวลชน ส่วนตัวของศรีเพ็ญ ได้ชื่อว่าเป็นลูกศิษย์คนสำคัญของอาจารย์พร มีพรสวรรค์ในการฝึกสมาธิขั้นสูงจนสามารถติดต่อกับโลกวิญญาณ และอัญเชิญดวงวิญญาณเข้ามาประทับร่างทรงได้ โดยหนึ่งในบุคคลที่ศรีเพ็ญสามารถติดต่อได้ คือ สมเด็จพระนเรศวร[15]

เท่ากับว่าภูมิหลังของกลุ่มผู้สร้างพระเจดีย์อิสรภาพฯถูกกำกับไว้ด้วยเรื่องเล่าเหนือธรรมชาติที่คนธรรมดาไม่มีวันเข้าถึงได้ เรื่องเล่าของเหตุที่ต้องสร้างสิ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบต่าง รอบองค์พระเจดีย์ฯ ตลอดจนการประกอบพิธีกรรมอันหลากหลายในช่วงเวลาที่ก่อสร้างอยู่นั้น ล้วนมาจากสมเด็จพระนเรศวรทรงรับสั่งทั้งสิ้น

วาทกรรมสมเด็จพระนเรศวรทรงรับสั่งที่แฝงฝังอยู่ภายในเรื่องเล่าชุดนี้ ปรากฏให้เห็นตั้งแต่ก่อนการสร้างใน .. 2517 ดังที่ทรงรับสั่งว่า “…สงครามครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก เทียบเท่ากับสงครามยุทธหัตถีทีเดียว…”[16] จากคำกล่าวนี้เองจึงได้มีการเริ่มสร้างพระเจดีย์อิสรภาพฯในปีถัดมา ทั้งยังทรงออกแบบองค์พระเจดีย์ โดยให้ “…เจดีย์นี้ให้เป็นเจดีย์ร่วมสมัยให้ฐานเป็นอยุธยา ตอนกลางเป็นสุโขทัย และยอดเป็นต้นรัตนโกสินทร์…”[17] 

ส่วนเหตุผลที่ต้องเลือกสร้างในพื้นที่นี้ เนื่องจากอยู่บนเทือกเขารอยต่อ 3 จังหวัด พิษณุโลกเพชรบูรณ์เลย และ “…สถานที่นี้คือหัวใจของประเทศ เป็นจุดศูนย์กลางของประเทศ…”[18]

ผู้ที่ประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงคือใคร *
พระเจดีย์อิสรภาพ อนุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ภาพจาก https://web.facebook.com/TheBEACONSatKhaokho/photos/ pcb.312058232281801/312058128948478/?type=3&theater)

เมื่อพิจารณาเหตุผลในการเลือกสถานที่สร้าง และคำว่าอิสรภาพที่กำกับชื่อของพระเจดีย์ฯ อาจมีนัยสำคัญเกี่ยวข้องกับพื้นที่บริเวณนี้เป็นฐานที่มั่นสำคัญของ พคท. และเป็นการมุ่งประกาศอิสรภาพเหมือนครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรทรงกระทำใน .. 2127 ตามพล็อตประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม

ในบันทึกเล่มนี้ยังเผยให้เห็นถึงการรณรงค์อย่างแข็งขันต่อการปราบปรามคอมมิวนิสต์ตามหลักศาสนาพุทธ ดังเช่น บทบาทของศิริ พุธศุกร์ หนึ่งในปัญญาชนของสำนักค้นคว้าทางวิญญาณ ซึ่งได้ปาฐกถาเรื่องท่านถือศาสนาอะไรเมื่อครั้งที่ทำพิธีวางศิลาฤกษ์องค์พระเจดีย์ฯ .. 2518 ดังความตอนหนึ่งว่า “…ถ้าคิดว่าชาวพุทธจะฆ่าฟันใครเพื่อป้องกันชาติไม่ได้แล้ว ก็หมายความว่าพระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐของเราแต่ครั้งโบราณ เช่น สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็จะเป็นชาวพุทธไม่ได้เลย และท่านเหล่านั้นที่ได้หลั่งเลือดชะดินเพื่อให้เราได้อยู่ด้วยความเป็นไทยจนถึงทุกวันนี้…”[19]

จากนั้นมีการกล่าวโจมตีศาสนาคอมมูนิสต์ว่าลัทธิวัตถุนิยมแอนตี้ศาสนาแท้จริงแล้วคือ “…ศาสนาใหม่อีกศาสนาหนึ่งจะต้องอุทิศชีวิตร่างกายและจิตใจทั้งหลาย เพื่อให้บรรลุอุดมการณ์ของเขาคือการครองโลก ไม่ว่าจะต้องใช้วิธีการอันสกปรกเลวร้ายหรือทารุณศาสดาของเขาจะเป็นเลนิน (วลาดิเมียร์ เลนินผู้เขียน) หรือเมา (เหมาเจ๋อตงผู้เขียน) ก็ตาม เขาถือว่าเป็นสัพพัญญู และโลกวิทู รู้อะไรหมดทุกอย่าง ทำอะไรถูกหมดทุกอย่าง”[20]

ศิริผู้นี้ยังได้เขียนบทความวิพากษ์ พคท. อีกครั้งใน .. 2529 ดังความตอนหนึ่งที่กล่าวถึงการที่ต้องฆ่าคนไทยที่เป็นคอมมิวนิสต์ว่า “…ผู้ที่ต้องคอยตัดสินใจสั่งให้คนไทยฆ่าคนไทยด้วยกันคงจะต้องปวดร้าวหัวใจไม่น้อยเลย แต่จะทำอย่างไรได้ในเมื่อมันเป็นความจำเป็นที่จะต้องเสียสละคนไทยจำนวนหนึ่ง เพื่อรักษาคนไทยและชาติไทยอันเป็นส่วนใหญ่กว่าให้อยู่รอดต่อไปได้ ทั้งนี้คงเป็นเช่นเดียวกับการกู้ชาติของสมเด็จพระนเรศวร เป็นเจ้าพระองค์ก็คงจะต้องฝืนพระทัยฆ่าคนไทยจำนวนหนึ่งที่ไม่ยอมอ่อนน้อมร่วมมือด้วย การกระทำเช่นนี้ก็คงจะเป็นทำนองไทยฆ่าไทยเพื่อให้ไทยอยู่รอด”…”[21]

แนวคิดของศิริที่ปรากฏออกมานี้ เป็นตัวอย่างสำคัญของการใช้หลักศาสนาพุทธบ่อนเซาะทำลายความชอบธรรมของอุดมการณ์ทางการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ ในบันทึกที่รวบรวมไว้กว่าพันหน้านี้ เราจะพบตัวบทอีกมากมายที่โจมตีคอมมิวนิสต์ทั้งทางตรงและทางอ้อม

ในช่วงท้ายของการสร้างเมื่อ .. 2533 ศรีเพ็ญ จัตุทะศรี เล่าว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงรับสั่งให้มอบพระเจดีย์อิสรภาพฯให้แก่กองทัพไทย “…เพราะกองทัพมีหน้าที่รักษาอิสรภาพ เอกราช อธิปไตยของชาติจากนั้นก็จะเป็นเรื่องของกองทัพในอันที่จะทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินสวมฉัตรเก้าชั้นยอดนภศูล เหนือองค์พระเจดีย์อิสรภาพ …” (แหล่งเดิม : 903) พิธีการมอบ  พระเจดีย์อิสรภาพฯให้แก่กองทัพไทยจึงเกิดขึ้นในเดือนมีนาคมปีนั้น พร้อมด้วยสักขีพยานจากตัวแทนหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งกองทัพภาคที่ 3[22]

ครั้นถึงวันที่ 14 สิงหาคม .. 2533  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โปรดฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาเป็นประธานในพิธีสวมฉัตร 9 ชั้น ยอดนภศูล[23] เมื่อพิจารณาในมุมมองการสถาปนาอำนาจนำของเรื่องเล่าสมเด็จพระนเรศวรลงในพื้นที่แห่งนี้ การเสด็จมาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทำให้เรื่องเล่าที่สำนักค้นคว้าทางวิญญาณอุตสาหะทำการก่อรูปมาทั้งในทางรูปธรรมและนามธรรมได้รับการผูกพันเข้ากับพระราชอำนาจนำของสถาบันพระมหากษัตริย์ และทำให้พระเจดีย์อิสรภาพฯซึ่งแต่เดิมไม่มีความเกี่ยวข้องกับชนชั้นนำ ได้รับการผลิตสร้างความหมายใหม่ ในฐานะสถานที่ที่ชนชั้นนำได้มีส่วนประกอบสร้างเรื่องเล่าชุดนี้ขึ้นมา

เป็นไทแก่ตัวเมื่อ ‘ประกาศอิสรภาพ’ จากคอมมิวนิสต์

กรณีการสร้างพระเจดีย์อิสรภาพฯสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านแรก เกี่ยวกับพระเจดีย์อิสรภาพฯโดยตรง เราจะพบการเปลี่ยนเจ้าของจากผู้สร้าง คือ สำนักค้นคว้าทางวิญญาณไปสู่กองทัพไทย อันเป็นหน่วยงานที่ได้มีกระบวนการเชื่อมโยงเรื่องเล่าสมเด็จพระนเรศวรมาสู่การเป็นสัญลักษณ์ของกองทัพนับแต่ทศวรรษ 2490[24] ในแง่นี้อาจกล่าวได้ว่า วัตถุของสมเด็จพระนเรศวรชิ้นนี้ได้กลับคืนสู่ผู้ยึดกุมวาทกรรมสมเด็จพระนเรศวรอย่างแท้จริง

ในอีกด้าน เกี่ยวกับนัยยะของคำว่าอิสรภาพที่สัมพันธ์กับบริบทยุคสงครามเย็น จากที่อธิบายมาทั้งหมด ตั้งแต่การปะทะของกองทัพภาคที่ 3 กับ พคท. ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ไปจนถึงการสร้างพระเจดีย์อิสรภาพฯล้วนมีความเชื่อมโยงกันในแง่ของบทบาทการต่อต้านคอมมิวนิสต์ กองทัพภาคที่ 3 ใช้กำลังอาวุธ ส่วนสำนักค้นคว้าทางวิญญาณใช้หลักศาสนาพุทธในการโจมตี

ดังนั้น พล็อตประกาศอิสรภาพจึงไม่ใช่แค่คำที่กล่าวถึงฉากสำคัญใน .. 2127 ตามโครงเรื่องประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยม แต่ทว่าได้กลายเป็นการเมืองของความทรงจำที่จับปรับแต่งอิสรภาพให้เข้ากับบริบทยุคสงครามเย็นขณะนั้น ยามที่รัฐไทยมีความกังวลว่าจะเป็นโดมิโนตัวต่อไปที่จะถูกคอมมิวนิสต์เข้าปกครอง ด้วยภาวะความหวาดกลัวเช่นนี้ โดยเฉพาะกับฝ่ายที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบกษัตริย์นิยม อนุรักษ์นิยม รวมถึงผู้ยึดถือในคัมภีร์ศาสนาพุทธ จึงต้องทำการต่อต้านด้วยวิธีการต่าง เพื่อให้ความหมายของอุดมการณ์ทางการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ลบเลือนไป

มิติโลกวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ กลายเป็นเกราะคุ้มกันของเรื่องเล่าชุดนี้ที่ใช้ประกอบสร้างความหมายของพระเจดีย์อิสรภาพฯให้ดำรงอยู่อย่างยืนยงถึงปัจจุบัน ผู้เขียนขอจบบทความนี้ด้วยคำกล่าวตอนหนึ่งของศรีเพ็ญ จัตุทะศรี เพื่อตอบข้อกังขาเกี่ยวกับการที่สมเด็จพระนเรศวรทรงรับสั่งให้ทำสิ่งต่าง ว่า

“…สุดแล้วแต่ว่าพระองค์จะรับสั่งให้ทำอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามนั้น เพราะพระเจดีย์อิสรภาพ คือสัญลักษณ์ของบ้านเมือง พระเจดีย์อิสรภาพ นี้คือศูนย์รวมพลังอย่างแท้จริง ข้าพเจ้าเชื่อเช่นนี้อย่างสนิทใจ ไม่มีอะไรคลางแคลง และก็ต้องยอมรับอย่างหน้าชื่นว่างมงาย เมื่อจะถูกกล่าวหาจากปัญญาชน เพราะข้าพเจ้าอธิบายเหตุผลด้วยตัวเองไม่ได้ แต่ก็รู้อยู่แก่ใจว่า ทั้งหมดนี้เป็นประสบการณ์ที่ข้าพเจ้าได้ประสบมาอย่างแท้จริง ซึ่งควรจะต้องบันทึกไว้”[25]


อ้างอิง :

[1] ธงชัย วินิจจะกูล. (2559). โฉมหน้าราชาชาตินิยม: ว่าด้วยประวัติศาสตร์ไทย. หน้า 5–19.

[2] ปิยวัฒน์ สีแตงสุก; และชาติชาย มุกสง. (2562). การประกอบสร้างเรื่องเล่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชให้เป็นความทรงจำร่วมใหม่ของท้องถิ่นหนองบัวลำภูภายใต้กรอบโครงการประวัติศาสตร์ราชาชาติไทยทศวรรษ 2500–2510. ใน โครงการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 13 “ภูมิภาคนิยมและท้องถิ่นนิยมสมัยใหม่ในโลกไร้พรมแดน”. หน้า 170–187. มหาสารคาม: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

[3] ถนอม วัชรพุทธ, พล.., และคนอื่น . ... ประวัติกองทัพภาคที่ 3. หน้า 152.

[4] แหล่งเดิม. หน้า 160.

[5] แหล่งเดิม. หน้า 160–162.

[6] สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ศธ. 070142/60 เชิญชวนบริจาคเงินสร้างศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจังหวัดพิษณุโลก [.. 2503]

[7] ถนอม วัชรพุทธ, พล.., และคนอื่น . ... ประวัติกองทัพภาคที่ 3. หน้า 100.

[8] แหล่งเดิม. หน้า 192–212.

[9] สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์ กระทรวงศึกษาธิการ (4) ศธ 2.4.1/27 เรื่องสถานที่สำคัญเกี่ยวกับการพระราชสงคราม และเรื่องทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช [ 13 .. 2512 – 26  .. 2514 ]

[10] ธงชัย วินิจจะกูล. (2562). ออกนอกขนบประวัติศาสตร์ไทย: ว่าด้วยประวัติศาสตร์นอกขนบและวิธีวิทยาทางเลือก. หน้า 198–199.

[11] ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2493). พระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช. พระนคร: กรมศิลปากร. (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล)

[12] White, Hayden. (1975). Metahistory: the historical imagination in nineteenth–century Europe. Baltimore, Maryland: The Johns Hopkins University Press.