นายทะเบียนสหกรณ์ท่านแรกคือใคร

บุคคลแรกที่สอนให้คนทั่งไปรู้จักคำว่า “สหกรณ์”  คือโรเบอร์ต โอเวน  ชาวอังกฤษ  ซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กำเนิด  การสหกรณ์ขึ้นในโลก  และได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการสหกรณ์  เดิมโอเวนเป็นคนที่ยากจนแต่ความเฉลียวฉลาดและรู้จักวิธีการทำมาหากินจึงทำให้เข้าได้มีโอกาสเป็นผู้จักการและมีหุ้นส่วนเป็นเจ้าของโรงงาน  เขาเป็นนายจ้าง  ที่มีความหวังดีต่อกรรมกร  จึงได้ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ทั่วไปของคนงานให้ดีขึ้น  หลังจากนั้นโอเวนได้หาวิธีช่วยเหลือกรรมกรอื่นๆ  โดยสอนให้รู้จักการช่วยตนเอง  และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  เพื่อขจัดปัญหา  ความเดือดร้อนต่างๆ  ซึ่งเป็นวิธีการของระบบสหกรณ์  โอเวนเสนอให้จัดตั้ง  “ชมรมสหกรณ์”  (Co-operative Community)  ให้ชมรมสหกรณ์นี้ผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ใช้เองโดยไม่ใช้เครื่องจักรทรัพย์สินของชมรม  เป็นของส่วนรวม  เพื่อมิให้สภาพนายทุนปะปนอยู่ในชมรม  การจัดจั้งชมรมสหกรณ์  จะต้องใช้เงินทุน  และที่ดินเป็นจำนวนมากและโอเวนก็ได้พยายามเผยแพร่แผนการจัดตั้งชมรมสหกรณ์  เพื่อให้คนทั่วไป  ได้เข้าใจสหกรณ์ในฐานะสมาคมเพื่อเศรษฐกิจ  แต่โอเวนยังไม่สามารถจัดตั้งชมรมสหกรณ์ในประเทศอังกฤษได้  เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับสภาพสังคมในสมัยนั้น  โอเวนจึงได้เดินทางไปประเทศอเมริกา  และทดลองจัดตั้งชมรมสหกรณ์  ขึ้นเป็นครั้งแรกที่  นิวฮาโมนี  รัฐอินเดียนา  สหรัฐอเมริกา  ในปี พ.ศ. 2368 ให้ชื่อว่า  นิวฮาโมนี (New Harmony)  แต่ได้ล้มเลิกไปในระยะเวลาต่อมา  เนื่องจากไม่ได้คัดเลือกสมาชิกและไม่มีกิจกรรมเพียงพอให้คุ้มค่าใช้จ่าย  นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการปกครองและศาสนา  อย่างไรก็ตามแนวความคิดของโอเวนก็มีอิทธิพลต่อนักปฏิรูปทางเศรษฐกิจ  เขาได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับความร่วมมือร่วมใจระหว่างมนุษย์  ในอันที่จะช่วยตนเองและช่วยเหลือง  ซึ่งกันและกันเพื่อยกมาตรฐานความเป็นอยู่ให้สูงขึ้น

นายทะเบียนสหกรณ์ท่านแรกคือใคร

นายแพทย์วิลเลี่ยม คิง

อีกท่านหนึ่งคือนายแพทย์วิลเลี่ยม  คิง  อาศัยอยู่ในเมืองไบรตัน  ประเทศอังกฤษ  เป็นผู้นิยมให้ความคิด  ทางสหกรณ์ของโอเวน  แต่เห็นว่าโครงการของโอเวนต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก  ซึ่งจะทำให้เป็นจริงได้ยากนายแพทย์คิงจึงเริ่มต้นจากากรชี้แจงให้คนงานรวมทุนกันคนละเล็กละน้อย  ตั้ง “สมาคมการค้า”  (Trading Association) ในรูปสหกรณ์ขึ้น  เมื่อปี พ.ศ. 2370  เป็นรูปร้านสหกรณ์จำหน่ายสินค้า  แต่มีข้อแตกต่างไปจากร้านสหกรณ์ในปัจจุบันคือกำไรที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของร้านสหกรณ์นี้จะไม่นำมาแบ่งปันกัน  แต่จะเก็บสมทบไว้เป็นทุนเพื่อใช้ งานของร้านสหกรณ์ต่อไป  จนสามารถจัดตั้งชมรมสหกรณ์ตามแบบโอเวนได้  ซึ่งจากการกระทำดังกล่าวทำให้ร้านค้าแบบสหกรณ์ในรูปแบบนี้ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากการ  เก็บกำไรทั้งหมดไว้ไม่จ่ายคืนแก่สมาชิก  ทำให้สมาชิกไม่ศรัธราสหกรณ์  อย่างไรก็ตามกิจการของนายแพทย์คิง  ก็คล้ายกับร้านสหกรณ์ในปัจจุบัน  ฉะนั้นในวงการร้านสหกรณ์สมัยนี้จึงให้เกียรติแก่ท่านมาก
ต่อมาเมื่อสมาชิกเพิ่มและธุรกิจการค้าขยายใหญ่ขึ้นก็ได้มีการทำธุรกิจกับบุคคลภายนอกด้วยนักสหกรณ์รอชเดล  หรือที่เรียกกันว่า  “ผู้นำแห่งรอชเดล”  ได้กำหนดหลักปฏิบัติไว้ 10 ประการ  ซึ่งมีสาระสำคัญหลายประการที่ถูกยึดถือ  เป็นหลักสหกรณ์สากลมาจนถึงปัจจุบันแม้เวลาจะล่วงเลยมาเป็นเวลานาน  แต่ร้านสหกรณ์รอชเดลก็ยังคงอยู่และกลายเป็นร้านที่มีขนาดใหญ่  ยิ่งกว่านั้นวิธีการของร้านสหกรณ์สำหรับผู้บริโภคแบบนี้  ได้เผยแพร่หลาย  ออกไปสู่  ประชาชนกลุ่มอื่นๆ  ปัจจุบันร้านสหกรณ์ที่ถือหักการสำคัญๆ  อย่างเดียวกันนี้  มีอยู่ในประเทศต่างๆ  เป็นจำนวนมาก
ส่วนสหกรณ์ประเภทอื่นๆ  เช่น  สหกรณ์ที่ช่วยเหลือสมาชิกให้กู้ยืมเงินไปทำทุน  หรือ  สหกรณ์เครดิต  หรือสหกรณ์สินเชื่อก็เช่นเดียวกันสหกรณ์เหล่านี้เกิดจากความขัดสน  และความเดือนร้อนของเกษตรกรและกรรมกร  เนื่องจากหาเงินกู้ยืมมาประกอบการทำมาหากินได้อยาก  และแม้ว่าจะกู้มาได้ก็ต้องเสียดอกเบี้ยแพง  จนมาสามารถหารายได้มาให้เพียงพอกับการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นได้  เป็นเหตุให้มีหนี้สินมากเมื่อปี พ.ศ. 2393  นายเฮิร์มัน   ชูลช์ชาวเยอรมัน  ผู้พิพากษาแห่ง  เมืองเดลิตช์ ได้คิดจัดตั้งสหกรณ์  ประเภทหาทุนขึ้นในหมู่ชาวเมือง  ผู้เป็นช่างฝีมือและพ่อค้าขนาดเล็ก  โดยรวบรวมขึ้นเป็นองค์การเพื่อจัดหาทุนให้สมาชิกกู้ยืม  และในปี พ.ศ. 2405  นายฟริดริค   วิลเฮล์มไรฟไฟเซน  ชาวเยอรมัน  นายกเทศมนตรี  เมือง เฮดเอสดอร์ฟ  ได้จัดตั้งสหกรณ์  หาทุนขึ้นในหมู่ชาวชนบท  ซึ่งเป็นเกษตรกร  โดยจัดเป็นองค์การ  เพื่อจัดหาทุนให้แก่สมาชิก  กู้ยืม  เช่นเดียวกัน  ในเวลาต่อมาการรวมกันเป็นสหกรณ์เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน  ของประชาชนก็ได้แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ  อันเป็นประโยชน์และเป็นตัวอย่างในการจัดตั้งสหกรณ์แก่ชาวบ้านและชาวเมืองมาจนถึงปัจจุบัน

วันสหกรณ์สากล (International Cooperativees Day)

สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ มีหลายประเภทหลายระดับรวมเป็นขบวนการสหกรณ์ของประเทศนั้น ๆ มีความเจริญก้าวหน้าแตกต่างกันไป มองในภาพรวมเรียกได้ว่าเป็น ” ขบวนการสหกรณ์โลก ” มีการประชุมสมัชชาสหกรณ์ระหว่างชาติ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2438 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีมติก่อตั้งองค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ ระหว่างประเทศ ( องค์การ ICA ) เพื่อประสานความร่วมมือในด้านต่าง ๆ มีสำนักงานใหญ่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศ สวิชเซอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2538 องค์การ ICA ได้ปรับปรุงและประกาศหลักการเป็น 7 ประการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้องค์การ ICA ได้ประกาศให้สหกรณ์ทั่วโลกร่วมเฉลิมฉลองวันสหกรณ์สากลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2465 ต่อมาที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2535 มีมติให้วันเสาร์แรกของเดือนกรกฎาคมทุกปี เป็น ” วันสหกรณ์สากล ”

ประวัติสหกรณ์ในประเทศไทย

นายทะเบียนสหกรณ์ท่านแรกคือใคร

พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาของสหกรณ์ในประเทศไทย
นายทะเบียนสหกรณ์ท่านแรกคือใคร

สหกรณ์แห่งแรก

สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าส่งผลดีในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2458 นโยบายแห่งรัฐ เห็นสมควรนำวิธีการสหกรณ์ เข้ามาช่วยพัฒนาประเทศให้ประชาชนได้หลุดพ้นจากความยากจน โดยเฉพาะเกษตรกร พระราชวรวงค์เธอ กรมหมื่นพิทยา
ลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ได้ทรงส่งเสริมให้ก่อตั้งสหกรณ์แห่งแรกคือ สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ ณ ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกและทรงเป็นนายทะเบียนสหกรณ์ รับจดทะเบียนเป็นสหกรณ์แห่งแรก เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459ตามรูปแบบสหกรณ์ เครดิตแบบไรฟ์ไฟเซน ที่ได้รับความสำเร็จ มาแล้วใน อินเดีย และพม่า ซึ่งทั้งสองประเทศได้ส่งคนไปศึกษาจากประเทศเยอรมนี และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2527 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันสหกรณ์แห่งชาติ ”

นายทะเบียนสหกรณ์ท่านแรกคือใคร

การสหกรณ์ได้แพร่หลายเริ่มตั้งแต่การตราพระราชบัญญัติสมาคมเพิ่มเติม พ.ศ. 2459 เพื่อทดลอง และเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 ได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 เป็นพระราชบัญญัติสหกรณ์ฉบับแรกที่ส่งเสริมให้สหกรณ์ร่วมกลุ่ม กันก่อตั้งชุมนุมสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัดสินใช้ก็ได้เกิดขึ้นโดยการรวม กลุ่มกันของสหกรณ์ท้องถิ่น ได้จดทะเบียนเป็นประเภทชุมชนสหกรณ์ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 มีพระบรมราช โองการ ประกาศพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มีผลทำให้สันนิบาตสหกรณ์ แห่งประเทศไทย จำกัดสินใช้ เลิกไป และให้มีการก่อตั้งสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยขึ้นแทนโดยผลแห่งกฎหมายสหกรณ์ฉบับนั้นพระราช บัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งใช้บังคับในปัจจุบัน กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ และกองทุนพัฒนาสหกรณ์

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดของขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทย  ก็คือ  การควบสหกรณ์หาทุนเข้าด้วยกันโดยทางราชการได้ออกพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511  เปิดโอกาสให้สหกรณ์หาทุนขนาดเล็กที่ดำเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียวควบเข้ากันเป็นขนาดใหญ่  สามารถขยายการดำเนินธุรกิจเป็นแบบอเนกประสงค์ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สมาชิก  ได้มากกว่า  ด้วยเหตุนี้  สหกรณ์หาทุนจึงแปรสภาพเป็นสหกรณ์การเกษตรมาจนปัจจุบัน  และในปี 2511  สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยได้ถือกำเนิดขึ้นมา  เพื่อเป็นสถาบันสำหรับให้การศึกษาแก่สมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศ  มีหน้าที่ติดต่อประสานงานกันสถาบันสหกรณ์ต่างประเทศ  เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์และความช่วยเหลือ  ร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์สากลในด้านอื่นๆ  ที่มิใช่เกี่ยวกันการดำเนินธุรกิจโดยมีสหกรณ์ทุกประเภทเป็นสมาชิก  ซึ่งประเทศไทยได้กำหนดประเภทสหกรณ์ไว้ 7 ประเภท  ตามประกาศกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  พ.ศ. 2516  ประกอบด้วยสหกรณ์การเกษตร  สหกรณ์นิคม  สหกรณ์ประมง  สหกรณ์ออกทรัพย์  สหกรณ์ร้านค้า  สหกรณ์บริการและสหกรณ์เครดิตยูเนียน  ซึ่งนับแต่สหกรณ์ได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยจวบจนปัจจุบัน  ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในธุรกิจต่างๆ  ได้สร้างความเชื่อถือเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิกจนทำให้จำนวนสหกรณ์  จำนวนสมาชิก  ปริมาณเงินทุน  และผลกำไรของสหกรณ์  เพิ่มขึ้นทุกปี  การสหกรณ์ในประเทศไทยจึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะ  ต่อประชาชนที่ยากจน  การสหกรณ์จะเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ  และช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

ใครเป็นเจ้าของสหกรณ์

สหกรณ์ (cooperatives) คือ องค์การของบรรดาบุคคลซึ่งรวมกลุ่มกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป มาทำสหกรณ์โดยความสมัครใจในการดำเนินวิสาหกิจที่พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุมตามหลักประชาธิปไตยเพื่อสนองความต้องการ (อันจำเป็น) และความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

สหกรณ์แห่งแรกของไทยมีชื่อว่าอะไร

"สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้" เป็นสหกรณ์แห่งแรกในประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ความเป็นมาของสหกรณ์ในประเทศไทย

สหกรณ์สหกรณ์แห่งแรกของไทยเกิดขึ้นในสมัยใด

"สหกรณ์" เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นใช้ เมื่อต้นสมัยรัชกาลที่ ๖ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า cooperation แปลว่า การร่วมกันทำงาน การทำงานด้วยกัน หรือการร่วมมือกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มให้มีการสหกรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรก ในประเทศไทย

สหกรณ์ออมทรัพย์แห่งแรกคือข้อใด

สหกรณ์ออมทรัพย์แห่งแรกในประเทศไทย คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ข้าราชการ สหกรณ์และพนักงานธนาคารเพื่อ การพัฒนาสหกรณ์ (ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น "ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร") จดทะเบียนเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2429 โดยใช้ชื่อว่า “สหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์จํากัดสินใช้” ปัจจุบันชื่อว่า " ...