คีตกวีเทวดา หมายถึงท่านผู้ใด

เป็นคีตกวีคนแรกที่นำเพลง 2 ชั้น มาทำเป็นเพลงสามชั้น มีความสามารถในการแต่งเพลง และฝีมือในทางเป่าปี่ เป็นเยี่ยม โดยเฉพาะเพลงเด่นที่สุดคือ "ทยอยเดี่ยว" บ้างเรียกท่านว่า "เจ้าแห่งเพลงทยอย" ซึ่งหมายถึงเพลงที่มีเทคนิคการบรรเลงและลีลาที่พิสดาร โดยเฉพาะลูกล้อ ลูกขัดต่างๆ

อีกเพลงหนึ่งคือเพลง "เชิดจีน" เป็นเพลงที่ให้อารมณ์สนุกสนาน มีลูกล้อลูกขัด ที่แปลกและพิสดาร ท่านแต่งบรรเลงถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งได้รับการโปรดปรานมาก จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระประดิษฐ์ไพะเราะ" ตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็ก ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เป็นครูมโหรีของกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร นอกจากมีความสามารถในการเป่าปี่แล้ว ครูมีแขกยังชำนาญในการสีซอสามสาย โดยได้แต่งเพลงเดี่ยวเชิดนอกทางซอสามสายไว้ด้วยบทเพลงจากการประพันธ์ของท่านคือ เพลงจีนแส อาเฮีย แป๊ะ ชมสวนสวรรค์ การะเวกเล็ก แขกบรเทศ แขกมอญ ขวัญเมือง เทพรัญจวน พระยาโศก จีนขิมเล็ก เชิดในสามชั้น (เดี่ยว) ฯลฯ

สมัย ร.4  เจ้านายหลายพระองค์รวบรวมคนหัดปี่พาทย ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับ

พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่พระประดิษฐ์ไพเราะ ตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็ก ได้ว่ากรมปี่พาทย์ฝ่ายพระบรมมหาราชวัง

สมัย ร.5 ท่านได้เป็นครูมโหรีของกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร

ถึงแก่กรรม

ในสมัยรัชกาลที่  5 ประมาณ ระหว่าง  พ.ศ. 2417-2421

ในการที่จะค้นคว้า หรือสืบให้ทราบเป็นที่แน่ชัดว่า พระประดิษฐไพเราะ (ครูมีแขก) เกิด วัน เดือน ปี อะไรนั้น ออกจะเป็นสิ่ง ทำได้ยาก ทราบแต่เพียงว่า
                ๑.     ครูมีแขก เป็นครูดนตรีมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๓ จนถึงในรัชกาลที่ ๕
                ๒.    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเคยเห็นพระประดิษฐไพเราะขณะที่สมเด็จกรมพระ ยาดำรงฯ ทรงไว้พระเมาลีสมเด็จกรมพระยาดำรงประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๐๕
                ๓.     ครูมีแขก เป็นครูของครูสิน ศิลปบรรเลง บิดาของหลวงหลวงประดิษฐ ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)  หลวงประดิษฐไพเราะเกิดเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๔๒๔
                ๔.     ครูมีแขกได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่หลวงประดิษฐไพเราะเมื่อวันที่ ๒๑ พ ฤศจิกายน ๒๓๙๖ และได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น พระประดิษฐไพเราะ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๓๙๖

 

 

พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)

 

คีตกวีเทวดา หมายถึงท่านผู้ใด

เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเรขา (ทองดี) กับนางนิ่ม เกิดเมื่อ วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2403  ตรงกับวันอังคาร ณ บ้านเลขที่ 81 ตรอกไข่ ถนนบำรุงเมือง ตำบลหลังวัดเทพธิดา กรุงเทพมหานคร  ท่านได้เรียนปี่ชวากับครูชื่อ “หนูดำ” ส่วนวิชาดนตรีปี่พาทย์อย่างอื่น ได้ศึกษาอย่างจริงจังกับครูช้อย สุนทรวาทิน (บิดาของ พระยาเสนาะดุริยางค์ ) จนบรรลุแตกฉาน ท่านเข้ารับราชการ ตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระยศเป็นพระยุพราช ได้ทูลขอพระราชทานบรรดาศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้นายแปลกเป็นที่ “ขุนประสานดุริยศัพท์" นับจากนั้นก็ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์มาเป็นลำดับ จนได้เป็นที่ “พระยาประสานดุริยศัพท์” เจ้ากรมปี่พาทย์หลวง ในสมัยรัชกาลที่ 6

 

ความรู้ความสามารถของพระยาประสานดุริยศัพท์นั้น เป็นที่กล่าวขวัญเรื่องลือว่า ท่านเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยฝีมือ ความรู้ ปฏิภาณ ไหวพริบ ท่านเป็นครู และเป็นศิลปินที่หาได้ยากยิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2428 ท่านได้รับเลือกให้ไปร่วมฉลองครบรอบร้อยปีของพิพิธภัณฑ์เมืองอวิมปลีย์ที่ประเทศอังกฤษ ผลของการบรรเลงขลุ่ยของท่านเป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับรับสั่งขอฟังเพลงขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์ในพระราชวังบัคกิ้งแฮมอีกครั้ง การบรรเลงครั้งหลังนี้สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียทรงลุกจากที่ประทับ และใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯ พร้อมทั้งรับสั่งถามว่า เวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอด

    พระยาประสานดุริยศัพท์ได้แต่งเพลงไว้ดังนี้คือ เพลงเชิดจั่น 3 ชั้น พม่าหัวท่อน เขมรราชบุรี ลาวคำหอม ลาวดำเนินทราย เขมรทรงดำเนิน (เขมรกล่อมพระบรรทม) เขมรปากท่อ เขมรใหญ่ ดอกไม้ไทร ถอนสมอ ทองย่อน เทพรัญจวน นารายณ์แปลงรูป แมลงภู่ทอง สามไม้ใน อาถรรณ์ คุณลุงคุณป้า พราหมณ์เข้าโบสถ์ ธรณีร้องไห้ มอญร้องไห้ แขกเห่ อนงค์สุดา วิเวกเวหา แขกเชิญเจ้าย่องหวิด 3 ชั้น เป็นต้น

   ความสามารถทางดนตรีของท่านนั้น ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ที่มีความสามารถเป็นทวีคูณขึ้นไป และศิษย์ของท่านเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือ พระประดับดุริยกิจ (แหยม วิณิณ) พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต) หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน) พระยาภูมิเสวิน (จิตร จิตตเสรี) อาจารย์มนตรี ตราโมท ครูเฉลิม บัวทั่ง เป็นต้น

  พระยาประสานดุริยศัพท์ ป่วยโดยโรคชรา และถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 65 ปี เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2467

  ผลงานเพลงที่สำคัญได้แก่ เพลงเขมรปากท่อเถา เขมรราชบุรีสามชั้น ธรณีร้องไห้สามชั้น (ธรณีกันแสง) พม่าห้าท่อนสามชั้น วิเวกเวหาสามชั้น แขกเชิญเจ้าสองชั้น

 

 

หลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง)

คีตกวีเทวดา หมายถึงท่านผู้ใด

หลวงประดิษฐ์ไพเราะ  เกิดเมื่อวันที่ 6  สิงหาคม 2424  ที่คลองดาวดึงษ์  อำเภอเมืองสมุทรสงคราม
มีชื่อเดิมว่า" ศร ศิลปบรรเลง"  เป็นบุตรนายสิน  ศิลปบรรเลง ครูปี่พาทย์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด
สมุทรสงคราม กับนางยิ้ม ศิลปบรรเลง ในวัยเด็กเมื่ออายุ 11 ปีนั้นได้เริ่มเรียนดนตรีอย่างจริงจังกับบิดา ต่อมาสมเด็จเจ้าฟ้ากรม
พระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเวช  รับสั่งให้เรียนดนตรีกับครูดนตรีมีชื่ออีกหลายท่าน  จนกระทั่งมีความสามารถเป็นที่
ยอมรับจึงเข้าเป็นนักดนตรีประจำวง " บูรพาภิรมย์" และได้รับตำแหน่งจางวางมหาดเล็กในพระองค์จากสมเด็จ
เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเวช  เมื่อคราวเดี่ยวเพลงกราวถวาย  พร้อมกับแหวนเพชรเป็นรางวัล ในความ
เป็น ยอดฝีมือตีระนาดที่หาตัวจับยาก  หลังจากนั้นได้รับชัยชนะจากการประชันวงกับระนาดฝีมือเอก   ด้วยเพลง
"กราวในทางฝัน" (คือฝันไปว่าครูเทวดามาต่อเพลงให้)จึงทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังมากกว่าครูปี่พาทย์ซึ่งเป็นบิดา
จนชื่อจางวางศร เป็นที่ติดปากของคนทั่วไป และไม่เพียงแต่มีฝีมือสุดยอดในการตีระนาดเท่านั้น                  เครื่องดนตรี
ชนิดอื่น ก็สามารถจะบรรเลงได้อย่างไม่แพ้ใครไม่ว่าจะเป็น  ซอหรือปี่  ที่สามารถค้นหาวิธีการเป่าปี่ให้มีเสียงสูงขึ้นกว่าปกติถึง 2 เสียง โดยผันลงต่ำได้ทันที   นอกจากนั้นยังสามารถแต่งเพลงได้อย่างรวดเร็วและฉับพลัน    มีกลเม็ดเด็ดพรายอย่างเหนือชั้น