การจัดวางตําแหน่งข้อมูลต้องเลือกที่แท็บใดของหน้าต่าง format cell

การกำหนดลักษณะของข้อความ โดยใช้หน้าต่าง Format Cells
การเปลี่ยนลักษณะข้อความโดยใช้ Formatting Toolbar สะดวกและรวดเร็ว แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงลักษณะหลายอย่าง หรือลักษณะอื่น ที่ไม่มีบน Formatting Toolbar จำเป็นที่จะต้องใช้หน้าต่าง Format Cells ซึ่งทำได้ ดังนี้

1.               พิมพ์คำว่า นฤมล ในช่อง A1

2.               คลิกขวาที่ช่อง A1 และเลือก format Cells ...

3.               จะเกิดเมนูย่อย ซึ่งสามารถเลือกลักษณะต่าง ๆ ใน cell ได้

o    Number คือ การกำหนดรูปแบบตัวเลข เช่น จะให้มีทศนิยมกี่ตำแหน่ง

o    Alignment คือ การสั่งชิดซ้าย ชิดขวา หรือ จัดกึงกลาง cell อักษรแนวตั้ง แนวเอียง

o    Font คือ การกำหนดลักษณะ และขนาด ตลอดจนสีของตัวอักษร

o    Border คือ การกำหนดลักษณะเส้นขอบ

o    Patterns คือ การกำหนดลวดลายพื้นหลัง และสีพื้นหลัง

o    Protection คือ การกำหนดให้รับหรือไม่สามารถรับข้อมูลได้ และสามารถกำหนดไม่ให้แสดง cell นั้น ๆ ก็ได้ แต่จะมีผลก็ต่อเมื่อมีการกำหนดว่า sheet นั้น ๆ ถูกคุ้มครอง หรือ protect เอาไว้แล้ว (ไปที่ Tools > Protection > Protect Sheet...)

การจัดตัวหนังสือเอียง

หลายครั้งที่เราต้องการพิมพ์ตัวหนังสือเอียง หรือเรียงตามแนวตั้ง สามารถทำได้จากหน้าต่าง Format Cells ของ Excel ดังนี้

1.               พิมพ์ข้อความที่ต้องการ และคลิกขวาที่ Cell นั้น

2.               เลือก Format Cells ...

3.               คลิกเลือกแถบ Alignment

4.               คลิกเลื่อนทิศทางของเข็ม ตามตำแหน่งการเอียงที่ต้องการ

5.               จะได้ตัวหนังสือเอียง ตามต้องการ

การการจัดทำตาราง หรือ การรวมเงิน ตามรายการต่าง ๆ มักจะต้องมีการตีเส้น เช่น ตีเส้นตาราง ขีดเส้นใต้จำนวนเงิน ขีดเส้น สองเส้น ใต้จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ Excel ได้อำนวยความสะดวกไว้ให้เรียบร้อยแล้ว เพียงแต่เรามาเรียนรู้การใช้งาน ก็จะใช้ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
การตีเส้นขอบ มีวิธีการ ดังนี้

1.               คลิกเลือก cell ที่ต้องการตีเส้น  (ในกรณีที่ต้องการตีเส้นหลาย cell ให้ลากแถบสว่าง ให้ครอบคลุมทุก cell ที่ต้องการ)

2.               Excel มีลักษณะเส้นขอบหลายลักษณะให้เลือก ตามต้องการ การเลือกลักษณะเส้นขอบแบบต่าง ให้ ไปที่ Toolbar คลิกที่สามเหลี่ยมเล็ก ๆ ข้างไอคอน borders

3.               จะเกิดเส้นขอบลักษณะต่าง ๆ ให้

4.               อีกวิธีหนึ่ง คือ ไปที่เมนู Format > Format > Cells...

5.               คลิกแถบ Border จะมีลักษณะเส้น ให้เลือกเช่นเดียวกัน 

6.               ถ้าเลือกหลาย Cell จะสามารถกำหนดเส้นภายในระหว่าง cell ได้ด้วย

การใส่สีพื้นหลัง

ถ้าเราต้องการให้พื้นสีของข้อมูลที่เราต้องการ มีสีพื้น ก็สามารถทำได้โดยง่าย ดังนี้

1.               คลิกเลือกช่องที่ข้อความนั้นอยู่

2.               คลิกที่ เมนู Fortmat > Cells...

3.               คลิกเลือกแถบ Patterns และคลิกเลือกสีตามต้องการ

4.               จะได้สีพื้นหลังข้อความที่เราต้องการ

เส้นตารางถึงแม้ว่าเวลาพิมพ์จะไม่ปรากฎออกมาให้เห็น แต่ถ้าบางครั้งที่จะต้องนำเสนองานด้วยแผ่น Excel ถ้ามีเส้นตารางอยู่ อาจจะดูไม่สวยงาม การลบเส้นตาราง ทำได้ 2 ลักษณะ คือ ลบเฉพาะบาง Cell และ ลบหมดทั้ง Sheet

1.               การลบเฉพาะบาง Cell

o    เลือก Cell ที่ต้องการลบเส้น

o    คลิกขวาและเลือก Format Cells ...

o    คลิกแถบ Patterns

o    คลิกเลือกสีขาว แล้วคลิก OK

o    เส้นในส่วนที่กำหนดจะหายไป ดังภาพ

2.               การลบเส้นทั้ง Sheet

o    ไปที่เมนู Tools > Options

o    คลิกเลือกแถบ View

o    คลิกเครื่องหมาย ถูก หน้า Gridlines ออกไป

o    เส้นตารางใน Sheet จะมองไม่เห็น

การจัดข้อความให้ขึ้นบรรทัดใหม่ใน Cell

การพิมพ์ตัวอักษรในช่อง cell บางครั้งยาวมาก ถ้า ช่อง cell ถัดมามีข้อความอยู่ ก็จะทำให้ข้อความใน ข่อง cell แรกถูกตัดหายไป เช่น สมมติว่า นามสกุล ของนายวิทยาถูกตัดออกไป เนื่องจาก ช่อง cell ถัดมา มีข้อมูลอยู่

ถ้าเราต้องการดูข้อมูลทั้งหมดใน cell เราต้องจัดรูปแบบ cell ให้มีการขึ้นบรรทัดใหม่ หรือ Wrap text ซึ่งมีวิธีการดังนี้

1.               หลังจากพิมพ์ข้อความ และกด Enter แล้ว ให้คลิกที่ cell ที่พิมพ์ข้อความอีกครั้งเพื่อเลือก cell นี้

2.               เลือก เมนู Format > Cells

3.               จะเกิดเมนู ให้คลิกเลือกแถบ Alignment

4.               คลิกเลือก Wrap Text

5.               คลิก OK

การรวม Cell และการจัดกึ่งกลาง

บางครั้ง เราต้องการให้ ข้อความครอบคลุมไปหลายช่อง cell พร้อมทั้งจัดกึ่งกลางให้ด้วย เช่น ต้องการให้ชื่อเรื่อง อยู่กลางหน้ากระดาษพอดี ในลักษณะนี้ เราต้องมีการรวม cell และจัดข้อความให้อยู่กึ่งกลาง ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้

1.               ไปที่ ตำแหน่ง B1 หรือตำแหน่งที่ต้องการรวมเซลล์

2.               พิมพ์คำที่เราต้องการ

3.               เลือกช่อง cell ตั้งแต่ B1 ถึง D1

4.               ที่ Formating Toolbar ให้คลิกรูป ผสานเซลล์

5.               ข้อความจะถูกรวมกัน และจัดกึ่งกลาง

การจัดรูปแบบข้อมูลตัวอักษร เป็นการเลือกแบบอักษร ขนาด สี และลักษณะพิเศษอื่น ๆ มีวิธีการดังนี้
1. เลือกเซลหรือกลุ่มเซลที่ต้องการจัด
2.
จากเมนู รูปแบบ (Format) เลือกคำสั่ง เซล (Cells) เลือกแผ่นป้าย แบบอักษร (Font)
3.
แล้วเลือกแบบ, ขนาด, ลักษณะและสีตามต้องการ เลือกตกลง
หรือ เลือกจากแถบเครื่องมือ
1.
เลือกเซลหรือกลุ่มเซลหรือกำหนดช่วงข้อมูลที่ต้องการจะจัด
2.
คลิกปุ่มเครื่องมือจากแถบเครื่องมือ (Formatting toolbar)เพื่อเลือกแบบอักษรขนาด ลักษณะตัวอักษร และสี

การจัดรูปแบบข้อมูลตัวเลข
เมื่อเราสร้างกระดาษทำการขึ้นใหม่ ทุก ๆ เซลบนกระดาษทำการจะถูกกำหนดให้มีรูปแบบตัวเลขเป็นแบบ ทั่วไป (General) ซึ่งสามารถจัดรูปแบบข้อมูลตัวเลขได้ดังนี้

         1. เลือกเซลที่ต้องการจะจัดรูปแบบ
2. จากเมนู รูปแบบ เลือกคำสั่ง เซล หรือจาก เมนูลัด เลือกคำสั่ง รูปแบบเซล
3. เลือกแผ่นป้าย ตัวเลข
4. เลือกกลุ่มรูปแบบจาก ประเภท (Category)
5. กำหนดจำนวนทศนิยม รูปแบบเมื่อค่าเป็นจำนวนลบ และอื่น ๆ อีก (ถ้ามี) ในบางประเภท เช่น วันที่ เวลา หรือ เศษส่วน จะมีรูปแบบให้เลือกหลายรูปแบบด้วยกัน ให้เลือกรูปแบบตามต้องการในส่วนของ รูปแบบรหัส (Format Codes) หากขณะนั้นมีข้อมูลอยู่ในเซลนั้นแล้ว เอ็กเซลจะแสดงตัวอย่างข้อมูลเมื่อจัดแล้วให้ดูในส่วนของตัวอย่าง (Sample)
6. เลือก ตกลง

วิธีใช้วันที่และเวลา

วันที่และเวลา เป็นข้อมูลซึ่งใช้กันประจำ แทบหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักวางแผน เจ้าหน้าที่ขาย บริการลูกค้า เจ้าหน้าที่สินเชื่อ เจ้าหน้าที่บัญชี นักการเงิน ผู้บริหารการผลิต และผู้บริหารซึ่งทำงานเกี่ยวข้องกับกำหนดการ ใช้กำหนดเวลา ในการจัดตารางทำงาน

หลักการใช้วันที่และเวลา

  • ข้อกำหนดสำคัญไม่ได้อยู่ในโปรแกรม Excel โดยตัวเลือกใน Regional Settings ของ Control Panel (Start > Settings > Control Panel > Regional Settings > Region และ Short Date Style) เป็นส่วนสำคัญที่สุดของการใช้วันที่และเวลาให้ถูกต้อง ใช้จัดรูปแบบเริ่มต้น ว่าระบบการรับวันที่ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ จะรับค่าแบบวันเดือนปี เดือนวันปี หรือตามรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการ ทั้งนี้ขอแนะนำให้กำหนด Region เป็นของประเทศไทย และกำหนดรูปแบบของปีเป็นเลขสี่หลัก โดยใช้รูปแบบเป็น d/mm/yyyy หรือ dd/mm/yyyy
  • เมื่อต้องการบันทึกวันที่ลงไปในเซลล์ ให้พิมพ์ วันที่/เลขที่เดือน/เลขปีค.ศ.เต็ม 4 หลัก เช่น 12/10/2001 สังเกตว่าใช้เครื่องหมาย / แบ่งคั่นแต่ละส่วน และใช้เลขปีค.ศ.เต็ม 4 หลัก ห้ามใช้เลขปีพ.ศ.เด็ดขาด เพราะถ้าบันทึก 12/10/2544 จะหมายถึงวันที่ 12 เดือนตุลาคม ปีค.ศ.2544 ต้องรออีกตั้ง 543 ปีกว่าจะถึง
  • เมื่อต้องการบันทึกเวลา ให้พิมพ์ เลขที่ชั่วโมง:เลขที่นาที:เลขที่วินาที เช่น 23:30:45 หากไม่ต้องการใช้วินาที จะพิมพ์แค่ 23:30 ก็ได้ ค่าของเวลาใน Excel เริ่มจาก 0:00:00 ถึง 23:59:59 ไม่มีเลข 24 นาฬิกา เพราะจะถูกตีค่าเป็น 0:00:00 ของวันใหม่
  • หากต้องการใช้ช่วงเวลาตั้งแต่ 24 ชั่วโมงขึ้นไป ต้องกำหนด Format > Cells > Number > Custom > Type เป็น [h]:mm (ในทำนองเดียวกัน หากต้องการใช้ข่วงเวลาเกิน 60 นาที ให้กำหนด format [mm]:ss)
  • เมื่อพิมพ์วันที่หรือเวลาที่ Microsoft Excel รู้จัก จะถือว่าวันที่และเวลา เป็นตัวเลข รูปแบบของเซลล์จะเปลี่ยนจากรูปแบบตัวเลขทั่วไป เป็นรูปแบบวันที่หรือเวลา และจะจัดตำแหน่งชิดขวาเซลล์
  • Excel จะจัดเก็บวันที่ทั้งหมดเป็นลำดับตัวเลข และจัดเก็บเวลาทั้งหมดเป็นเศษทศนิยม โดยถือว่า SN = 1 หมายถึง 1 January 1900 และค่าที่เป็นเลขทศนิยม น้อยกว่า 1 เป็นตัวเลขแสดงสัดส่วนของวัน หากต้องการตรวจสอบค่า SN ให้ใช้ format General (หรือกด Ctrl+Shift+~) จะพบตัวเลข SN ปรากฏขึ้นแทนรูปแบบวันที่หรือเวลา ขอให้จำไว้ว่า ตัวเลข SN มีหน่วยเป็นวัน
  • ถ้า Microsoft Excel ไม่รู้จักรูปแบบวันที่หรือรูปแบบเวลา จะถือว่าวันที่และเวลา เป็นข้อความ ซึ่งจะจัดตำแหน่งชิดซ้ายเซลล์ เช่น พิมพ์ 12 10 2001 ใช้วรรคคั่นแต่ละส่วนของวันที่ อย่างนี้ใช้ไม่ได้ จะพบว่าตำแหน่งชิดซ้ายเซลล์
  • เมื่อต้องการพิมพ์วันที่และเวลาในเซลล์เดียวกัน ให้แยกวันที่และเวลาด้วยช่องว่าง เช่น 12/10/2001 23:30
  • ถ้าต้องการใช้เวลา ตามระบบนาฬิกาสิบสองชั่วโมง ให้พิมพ์ช่องว่างแล้วตามด้วย AM หรือ PM (หรือ A หรือ P) มิฉะนั้นจะใช้ระบบนาฬิกาเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง เช่น พิมพ์ 3:00 PM หมายถึง เวลาบ่ายสามโมง แต่ถ้าพิมพ์ 3:00 เวลาจะจัดเก็บเป็น 3:00 AM ซึ่งหมายถึง เวลาตีสาม

Format ของวันที่และเวลา

ใช้เมนูคำสั่ง Format > Cells > Number > Custom > Type แล้วกำหนดรูปแบบที่ต้องการลงไป จะใช้รูปแบบเฉพาะแต่ละส่วน หรือผสมรูปแบบหลายส่วนเข้าด้วยกันก็ได้ เช่น

d  ได้เลขวันที่ เช่น 9
dd  ได้เลขวันที่ เช่น 09
ddd  ได้ตัวอักษรย่อของวัน เช่น Mon
dddd  ได้ตัวอักษรเต็มของวัน เช่น Monday
m  ได้เลขเดือน เช่น 5
mm  ได้เลขเดือน เช่น 05
mmm  ได้ตัวอักษรย่อของเดือน เช่น Jun
mmmm  ได้ตัวอักษรเต็มของเดือน เช่น June
d/m  ได้เลขวันที่/เลขที่เดือน เช่น 9/5
d/m/yyyy  ได้เลขวันที่/เลขที่เดือน/ปีค.ศ. เช่น 9/5/2001
mmmm dd  ได้ชื่อเดือน เลขวันที่ เช่น May 09

รูปแบบผสมอื่นๆ เช่น dddd d, m/y, mm-dd'yy, yy/mm, d-mm-yyyy ฯลฯ แล้วแต่จะจับแต่ละส่วนมาใช้ร่วมกัน

  • Format แบบเต็มของระบบวันที่แบบอังกฤษ
    dddd dd mmmm yyyy h:mm
    ขอแนะนำให้ใช้รูปแบบวันที่แบบอังกฤษเท่านั้น
  • Format แบบเต็มของระบบวันที่แบบไทย
    วววว dd ดดดด bbbb h:mm
    ไม่แนะนำให้ใช้รูปแบบไทยๆนี้เลย เพราะสามารถทำให้เกิดความสับสนในการใช้วันที่ระหว่างปีค.ศ.ซึ่งใช้รูปแบบไทย กับปีพ.ศ.ซึ่งใช้รูปแบบอังกฤษ
  • ตั้งแต่ Excel XP เป็นต้นมา ในคำสั่ง Format > Cells > Number > Date มีรูปแบบการแสดงวันที่ตามแบบของแต่ละประเทศ โดยเราต้องเลือกชื่อประเทศในช่อง Locale ก่อน จากนั้นเมื่อคลิกช่อง Custom จะพบรหัสเพิ่มเติมหน้ารูปแบบที่ราอยากจะใช้ เช่น รูปแบบของประเทศไทยจะใช้ [$-1070000]d/mm/yyyy แต่รูปแบบของ English จะใช้ [$-409]mmm-yy เป็นต้น