สารใดใช้ทดสอบกับสารละลายไอโอดีน

ข้อคิดเห็นที่ 5:

Iodine
(I)
ไอโอดีน
________________________________________

เลขอะตอม 53 เป็นธาตุที่ 4 (นับจาก F) ของหมู่ VIIA ในตารางธาตุจัดเป็นโลหะ
น้ำหนักอะตอม 126.9044 amu
จุดหลอมเหลว 113.6 oC
จุดเดือด 185 oC
ความหนาแน่น 4.93 g/cc ที่ 20 oC
4.886 g/cc ที่ 60 oC
เลขออกซิเดชันสามัญ - 1, + 1, + 3, + 5, + 7

การค้นพบ
ค้นพบโดย Bernard Curtios นักเคมีชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1811 นักเคมีผู้นี้ขณะนั้นทำการผลิตโพแทสเซียมไนเตรด (KNO3) สำหรับใช้ในกองทัพนาโปเลียน (Napoleon) ซึ่งกรรมวิธีการผลิตใช้เถ้าหยาบ ๆ จาก kelp (เถ้าสาหร่ายทะเลชนิดหนึ่ง) ช่วยเก็บรักษาโพแทส (potash หรือ K2CO3) ขณะที่เขาล้าง kelp ด้วยกรดซัลฟูริกเพื่อทำลายสิ่งปนเปื้อน เขาสังเกตเกิดควันสีม่วง ซึ่งควบแน่นบนเครื่องมือที่ทำด้วยทองแดงของเขา และทำให้เครื่องมือนั้นผุกร่อน เขาพบว่าถ้านำสารละลายจากการล้าง kelp มาเติมกรดแก่มาก ๆ จะได้ตะกอนเป็นผงสีดำ และเมื่อนำตะกอนนี้ไปทำให้ร้อน ก็จะให้ไอสีม่วงเช่นกัน
ต่อมา F. Clement และ J.B. Desormes ได้ศึกษาสมบัติของสารที่ค้นพบใหม่นี้ J.L. Gay-Lussac เป็นคนแรกที่พบว่าสารนี้เป็นธาตุใหม่ และตั้งชื่อธาตุนี้ตามคำกรีกซึ่งมีความหมายว่าสีม่วง (violet)
การใช้ประโยชน์
1. ใช้ฆ่าเชื้อโรค เนื่องจาก I2 มีสมบัติฆ่าเชื้อโรคได้ นอกจากนี้ I2 และสารประกอบของ I2 ยังใช้ฆ่าเชื้อโรคของน้ำในสระว่ายน้ำฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่ม และฆ่าเชื้อโรคในระบบอื่น ๆ
2. ใช้เป็นตัวเร่งไอโอดีนและสารประกอบของไอโอดีน เช่น ในปฏิกิริยา dehydrogenation ของอัลเคน เป็นต้น
3. ใช้ในปฏิกิริยาการสังเคราะห์สารอินทรีย์ เช่น ปฏิกิริยาของ Hofmann, Williamson, wurtz และ Grignard
4. ใช้ในเคมีวิเคราะห์ ตามที่รู้จักกันว่า "Iodometry"
5. ไอโซโตปกัมมันตรังสี 131I ใช้เป็นตัว tracer ในปฏิกิริยาเคมี
ความเป็นพิษ
ไอโอดีนเป็นพิษมาก (ถ้าเข้าสู่ร่างกายในปริมาณสูงเกินไป) ไอของไอโอดีนทำให้แสบตา กัดเยื่อจมูก และกัดผิวหนัง ระดับการทนได้ของไอของ I2 ในอากาศ คือ 0.1 ppm

โดย:  sent  [25 ม.ค. 2554 18:23]

ปวดกระบอกตา เป็นอาการปวดตื้อ ๆ จนรู้สึกถึงแรงกดหรือแรงตึงบริเวณดวงตาที่มาจากภายในศีรษะด้านหลังตา ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากโรคเกี่ยวกับดวงตาหรือศีรษะก็ได้ ทั้งนี้ หากผู้ป่วยมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์ทันทีเพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงได้ เช่น มีไข้ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง สูญเสียการมองเห็น สูญเสียการรับความรู้สึกหรือการเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เป็นต้น

สารใดใช้ทดสอบกับสารละลายไอโอดีน

สาเหตุของอาการปวดกระบอกตา

โรคและภาวะที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดกระบอกตาหรือปวดตื้อ ๆ ลึกลงไปบริเวณหลังดวงตา มีดังนี้

  • ปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะอาจก่อให้เกิดอาการปวดด้านหลังดวงตาได้ เช่น อาการปวดศีรษะจากความเครียดซึ่งมีลักษณะปวดตื้อหรือแน่นบริเวณหน้าผากหรือด้านหลังศีรษะและลำคอ ปวดศีรษะแบบตุบ ๆ ข้างเดียวอย่างไมเกรน หรือปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ที่เป็นการปวดรุนแรงอย่างเป็น ๆ หาย ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีแรงดันหลังลูกตาสูงอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ ตาแดง น้ำตาไหล หนังตาตก ใบหน้าบวมข้างหนึ่ง ผิวแดง หรือมีเหงื่อออก เป็นต้น
  • ไซนัสอักเสบ เป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรียหรือไวรัสบริเวณโพรงอากาศข้างจมูก ทำให้บริเวณดังกล่าวบวม มีมูกเหนียวหรือเมือกสารคัดหลั่ง ผู้ป่วยจึงรู้สึกถึงแรงกดบริเวณส่วนบนของใบหน้าและด้านหลังดวงตา รวมทั้งอาจมีอาการอื่น ๆ ได้แก่ เจ็บด้านหลังจมูก ตา และโหนกแก้ม มีน้ำมูกมาก น้ำมูกเหนียวข้นเป็นสีเขียวหรือเหลือง หรือน้ำมูกแห้ง คัดจมูก ไอ ปวดศีรษะ มีกลิ่นปาก ปวดหู มีแรงดันในหู มีไข้ อ่อนเพลีย เป็นต้น
  • โรคเกรฟส์ เป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองและส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ปล่อยฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากเกินไป ทั้งยังส่งผลต่อกล้ามเนื้อดวงตาทำให้ตาโปนและรู้สึกปวดด้านหลังดวงตา โดยอาการจะแย่ลงเมื่อเคลื่อนไหวดวงตา ส่วนอาการอื่น ๆ ของโรคนี้ ได้แก่ ปวดตา รู้สึกเหมือนมีอะไรอยู่ในตา ตาแดง เปลือกตาบวมพอง และสูญเสียการมองเห็น
  • เส้นประสาทตาอักเสบ อาจมีสาเหตุมาจากโรคเอ็มเอส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือการติดเชื้ออื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการบวมหรืออักเสบที่ด้านหลังดวงตาจนเส้นประสาทตาเสียหาย และนำไปสู่อาการปวดตื้อ ๆ ด้านหลังดวงตาได้ ซึ่งอาจปวดยิ่งขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวดวงตา รวมทั้งอาจสูญเสียการมองเห็นของตาข้างใดข้างหนึ่ง สูญเสียการมองเห็นด้านข้างหรือการมองเห็นภาพสี และเห็นแสงไฟคล้ายแฟลชเมื่อเคลื่อนไหวลูกตา
  • โรคต้อหินมุมปิดชนิดเฉียบพลัน มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ มีสาเหตุมาจากความดันตาที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากดวงตาผลิตสารน้ำในตามากเกินไปหรือมีการอุดกั้นการไหลของสารน้ำ ซึ่งอาจนำไปสู่ความผิดปกติทางการมองเห็น หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ตาบอดได้
  • ม่านตาอักเสบ เป็นการอักเสบบริเวณสีของดวงตาหรือรอบ ๆ ลูกตาดำ ส่งผลให้มีอาการปวดลึกในดวงตา มักเกิดขึ้นพร้อมกับอาการมองภาพไม่ชัดและตาแพ้แสง
  • การได้รับบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือนที่ดวงตา อุบัติเหตุที่ส่งผลต่อดวงตาอาจทำให้รู้สึกปวดตาอย่างรุนแรงหรือกระจกตาถลอกได้
  • ปัญหาสุขภาพปากและฟัน อาการปวดฟัน ความผิดปกติในการเรียงตัวของขากรรไกร หรือปัญหาในการกัดเคี้ยวอาหาร อาจทำให้กล้ามเนื้อตึงตัวจนมีอาการปวดศีรษะและปวดตื้อบริเวณหลังตาไปด้วย

การวินิจฉัยอาการปวดกระบอกตา

ในเบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติสุขภาพ สอบถามรายละเอียดอาการ ตรวจร่างกาย และอาจส่งผู้ป่วยไปพบแพทย์เฉพาะทางตามอาการ ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

  • การตรวจตา หากสันนิษฐานว่าอาการปวดตื้อเกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา แพทย์อาจใช้แสงไฟส่องดูตาของผู้ป่วยว่าประสาทตาและส่วนประกอบต่าง ๆ ของตาปกติดีหรือไม่ และอาจมีการตรวจแบบเฉพาะเจาะจงอื่น ๆ เช่น การตรวจวัดสายตา การตรวจชั้นต่าง ๆ ของลูกตาโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษ หรือการตรวจความดันลูกตา เป็นต้น
  • การส่องกล้อง แพทย์จะใช้ยาชาทาภายในจมูกของผู้ป่วยและใช้ท่อเล็ก ๆ ที่มีกล้องติดอยู่บริเวณส่วนปลายท่อสอดเข้าไป เพื่อดูว่ามีอาการบวมหรือมีเนื้องอกในโพรงไซนัสหรือไม่
  • การถ่ายภาพ เพื่อตรวจดูความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การทำ MRI Scan การทำ CT Scan หรือการอัลตราซาวด์ เป็นต้น
  • การตรวจเลือด โดยใช้ชุดทดสอบที่สัมพันธ์กับภาวะที่คาดว่าเป็นสาเหตุของอาการปวดกระบอกตา เช่น การตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่ร่างกายสร้างขึ้น เป็นต้น
  • การใช้สารกัมมันตรังสีไอโอดีน เป็นวิธีที่ใช้ตรวจหาโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์และโรคเกรฟส์ โดยแพทย์จะฉีดสารชนิดนี้เข้าไปในร่างกายปริมาณเล็กน้อย แล้วจึงใช้กล้องชนิดพิเศษถ่ายภาพต่อมไทรอยด์เพื่อดูความผิดปกติ
  • การตรวจทางทันตกรรม กรณีที่คาดว่าอาการของผู้ป่วยเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับปากและฟัน ทันตแพทย์จะตรวจดูขากรรไกรและลักษณะการกัดหรือการเรียงตัวของฟัน เพื่อดูว่ามีความผิดปกติที่ทำให้กล้ามเนื้อตึงจนส่งผลให้เกิดแรงกดบริเวณตาตามมาได้หรือไม่

การรักษาอาการปวดกระบอกตา

การรักษาอาการปวดกระบอกตาขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุ โดยมีตัวอย่างการรักษา ดังนี้

  • ปวดศีรษะ หากผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะจนทำให้รู้สึกปวดบริเวณด้านหลังตาไปด้วย แพทย์อาจให้รับประทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน เป็นต้น หรืออาจใช้ยาที่มีฤทธิ์แรงกว่าเพื่อป้องกันและรักษาอาการปวดศีรษะ เช่น ยาแก้ปวดชนิดเสพติด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยากลุ่มทริปแทน เป็นต้น
  • ไซนัสอักเสบ กรณีที่อาการอักเสบของไซนัสเกิดจากการติดเชื้อไวรัส การล้างจมูกด้วยสารละลายน้ำเกลือจะช่วยลดอาการบวมและคัดจมูก ซึ่งอาจทำให้อาการปวดกระบอกตาดีขึ้นด้วย แต่หากเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจได้รับยาแก้ปวดและยาแก้คัดจมูกร่วมด้วยจนกว่าจะหายดี แต่หากอาการของไซนัสหรืออาการปวดกระบอกตายังไม่ดีขึ้นหลังการรักษาเหล่านี้ ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดไซนัสด้วย
  • โรคเกรฟส์ รักษาได้ด้วยการรับประทานยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไป ส่วนวิธีอื่น ๆ ที่แพทย์อาจนำมาใช้ ได้แก่ การรักษาด้วยสารกัมมันตรังสีไอโอดีน และการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ซึ่งหากต้องรับการผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาเพื่อทดแทนฮอร์โมนไทรอยด์ เนื่องจากร่างกายจะไม่สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้อีกต่อไป
  • เส้นประสาทตาอักเสบ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการบวมของเส้นประสาทตา แต่หากการอักเสบมีสาเหตุมาจากโรคเอ็มเอสหรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาจต้องใช้ยาอื่น ๆ ที่ช่วยกดภูมิต้านทานเพื่อป้องกันเส้นประสาทเสียหายมากยิ่งขึ้น
  • ปัญหาการสบฟันและการเรียงตัวของฟัน ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการรักษาทางทันตกรรม เพื่อปรับการจัดเรียงตัวของฟันและลักษณะขากรรไกร
  • โรคต้อหินมุมปิดชนิดเฉียบพลัน การรักษาลำดับแรกมุ่งเน้นไปที่การลดความดันตา โดยอาจหยดยาที่ช่วยทำให้ม่านตาแคบลง หรือยาลดปริมาณของเหลวที่ตาสร้างขึ้น หลังจากความดันตาลดลงแล้ว แพทย์อาจใช้เลเซอร์เจาะรูเล็ก ๆ ในม่านตา เพื่อช่วยระบายของเหลวในลูกตาและทำให้การไหลเวียนของน้ำในตากลับมาเป็นปกติอีกครั้ง
  • ม่านตาอักเสบ แพทย์อาจใช้ยาหยอดตาแบบสเตียรอยด์เพื่อช่วยลดการอักเสบ หรือยาหยอดขยายม่านตาเพื่อช่วยลดอาการเจ็บปวดบริเวณม่านตาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับม่านตา

ภาวะแทรกซ้อนของอาการปวดกระบอกตา

อาการปวดกระบอกตาอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตาและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทั้งอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ที่รุนแรงและส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ดังนั้น หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดกระบอกตาร่วมกับมีไข้ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง สูญเสียการมองเห็น สูญเสียการรับความรู้สึกหรือการเคลื่อนไหวของส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกาย เป็นต้น ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจหาสาเหตุของการเจ็บป่วยและรักษาได้อย่างทันท่วงที

การป้องกันอาการปวดกระบอกตา

เนื่องจากอาการปวดกระบอกตานั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ จึงไม่มีวิธีป้องกันที่แน่นอน ดังนั้น ควรดูแลสุขภาพเบื้องต้นโดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ หากมีอาการผิดปกติใด ๆ โดยเฉพาะอาการที่เกี่ยวกับการมองเห็น หรือมีอาการที่ทำให้รู้สึกกังวลใจ ควรไปปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจตั้งแต่เนิ่น ๆ