เรื่องใดเป็นยอดของบทละครพูด

วรรณคดีสโมสร จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร พ.ศ. 2457 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย โดยคัดเลือกหนังสือดีที่เป็นตัวอย่างชั้นเลิศในการประพันธ์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งต้องเป็นหนังสือดีและแต่งดีวรรณคดีสโมสรจึงจะรับไว้พิจารณา หนังสือที่พิจารณาจัดไว้ทั้งสิ้น 5 ประเภท

ประวัติ[แก้]

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชกฤษฎีกา ตั้งวรรณคดีสโมสร ขึ้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย และได้สาระประโยชน์ เนื่องจากในยุคนั้นการแต่งหนังสือมักเลียนแบบการแต่งหนังสือภาษาต่างประเทศ ทำให้หลักไวยากรณ์ผิดเพี้ยนไป คำว่า "วรรณคดี" ก็ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกพร้อมกับพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เพื่อให้มีความหมายสอดคล้องกับคำว่า "literature" ในภาษาอังกฤษ

คณะกรรมการของวรรณคดีสโมสรเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ทรงแต่งตั้งขึ้นทำหน้าที่คัดเลือกหนังสือดี หนังสือที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับพระราชทานรางวัล และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประทับตราพระราชลัญจกรรูปพระคเณศร์ นับเป็นการมอบรางวัลทางวรรณกรรมอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย[1]

ตามพระราชกฤษฎีกา ได้แบ่งประเภทของหนังสือไว้ 5 ประเภท[2] ดังนี้

  1. กวีนิพนธ์ คือ งานประพันธ์โคลง กลอน กาพย์ ฉันท์
  2. ละครไทย คือ เนื้อเรื่องที่ประพันธ์เป็นกลอนแปด
  3. นิทาน คือ เนื้อเรื่องที่ประพันธ์เป็นร้อยแก้ว
  4. ละครพูด คือ เนื้อเรื่องที่เขียนขึ้นสำหรับแสดงบนเวทีใช้หลักการน้ำเสียง ความชัดเจน
  5. ความอธิบาย คือ การแสดงศิลปะด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ที่ไม่ใช่แบบเรียน ตำรา หนังสือโบราณคดี หรือพงศาวดาร

วรรณคดีสโมสร ยุติบทบาทลงในปี พ.ศ. 2468 แต่หลังจากนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงก่อตั้ง "สมาคมวรรณคดี" ขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2474 และยังใช้มาตรฐานเดิมในการพิจารณาวินิจฉัย หนังสือกลอนลิลิต อยู่[3]

วรรณคดีสโมสร 14 ประเภท[4][แก้]

  • ประเภทลิลิต ได้แก่ ลิลิตพระลอ
  • ประเภทฉันท์ ได้แก่ สมุทรโฆษคำฉันท์
  • ประเภทกาพย์ ได้แก่ มหาชาติกลอนเทศน์
  • ประเภทความเรียงเรื่องนิทาน ได้แก่ สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
  • ประเภทกลอนสุภาพ ได้แก่ เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
  • ประเภทบทละครรำ ได้แก่ อิเหนา
  • ประเภทบทละครร้อง ได้แก่ สาวเครือฟ้า
  • ประเภทบทละครพูด ได้แก่ หัวใจนักรบ
  • ประเภทบทละครพูดคำฉันท์ ได้แก่ มัทนะพาธา
  • ประเภทความเรียงอธิบาย ได้แก่ พระราชพิธีสิบสองเดือน
  • ประเภทกวีนิพนธ์ ได้แก่ พระนลคำหลวง
  • ประเภทกาพย์เห้เรือ ได้แก่ กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร
  • ประเภทนิราศ ได้แก่ นิราศนรินทร์
  • ประเภทกลอนนิทาน ได้แก่ พระอภัยมณี

ดูเพิ่ม[แก้]

  • หนังสือและบทความ
    • 100 ปี วรรณคดีสโมสร. (2558). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
    • ธนาพล ลิ่มอภิชาต และวริศา กิตติคุณเสรี. (2551, ต.ค.-ธ.ค.). ประวัติศาสตร์และการเมืองของวาทกรรม “หนังสือดี”. อ่าน. 1(3): 38-60.
    • อาทิตย์ ศรีจันทร์. (2559, ม.ค.-เม.ย.). วรรณคดีสโมสรกับองค์ความรู้เรื่องวรรณกรรมในสังคมไทย: ข้อวิพากษ์ในบริบทของสังคมการเมืองของการทำให้เป็นสมัยใหม่ (Modernization). สงขลานครินทร์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 22(1): 147-187.
    • Thanapol Limapichart. (2014). The Royal Society of Literature, or, The Birth of Modern Cultural Authority in Thailand. In Disturbing Convention Decentering Thai Literary Cultural. edited by Rachel V. Harrison et al. pp. 37-62. London: Rowman& Littlefield International.
  • เว็บไซด์
    • โบราณคดีสโมสร

อ้างอิง[แก้]

  1. ร้อยเรื่องเมืองไทย: วรรณคดีสโมสร, บุคคลสำคัญของโลกชาวไทย
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-14. สืบค้นเมื่อ 2008-10-04.
  3. พิเชฐ แสงทอง, วรรณกรรมท้องถิ่น เก็บถาวร 2008-09-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-24. สืบค้นเมื่อ 2008-10-04.

วรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร

ลิลิตพระลอ • สมุทรโฆษคำฉันท์ • มหาชาติกลอนเทศน์ • สามก๊ก • ขุนช้างขุนแผน • อิเหนา • หัวใจนักรบ• พระราชพิธีสิบสองเดือน • มัทนะพาธา • พระนลคำหลวง• กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ • พระอภัยมณี • สาวเครือฟ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มัทนะพาธา
ชื่ออื่น ๆนางกุหลาบ, ตำนานแห่งดอกกุหลาบ
กวีพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประเภทบทละคร
คำประพันธ์ฉันท์
ยุครัตนโกสินทร์
ปีที่แต่งพ.ศ. 2466
ลิขสิทธิ์บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
เรื่องใดเป็นยอดของบทละครพูด
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องก์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นทั้งหมดด้วยพระองค์เองโดยไม่ได้อิงเนื้อหามาจากที่อื่น ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งเริ่มและจบลงในปี พ.ศ. 2466 เล่าเรื่องว่าด้วยตำนานเกี่ยวกับดอกกุหลาบ และความเจ็บปวดจากความรัก

มัทนะพาธา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในด้านเป็นยอดบทละครพูดคำฉันท์[1] และยังได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน ประเภทบันเทิงคดี[2]อีกด้วย

ชื่อมัทนะพาธา[แก้]

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ พระองค์ทรงกล่าวถึงที่มาของชื่อมัทนาว่า “...ก่อนได้ทราบว่าดอกกุหลาบเรียกว่าอย่างไรในภาษาสันสกฤตนั้น ข้าพเจ้าได้นึกไว้ว่าจะให้ชื่อนางเอกในเรื่องนี้ตามนามแห่งดอกไม้ แต่เมื่อได้ทราบแล้วว่าดอกกุหลาบ คือ “กุพชกะ” เลยต้องเปลี่ยนความคิด เพราะถ้าแม้ว่าจะให้ชื่อนางว่า “กุพชกะ” ก็จะกลายเป็นนางค่อมไป ข้าพเจ้าจึงค้นหาดูศัพท์ต่างๆ ที่พอจะใช้เป็นนามสตรี ตกลงเลือกเอา “มัทนา” จากศัพท์ “มทน” ซึ่งแปลว่าความลุ่มหลงหรือความรัก เผอิญในขณะที่ค้นนั้นเองก็ได้พบศัพท์ “มทนพาธา” ซึ่งโมเนียร์ วิลเลียมส์ แปลไว้ว่า “the pain or disquietude of love” (ความเจ็บปวดหรือเดือดร้อนแห่งความรัก” ซึ่งข้าพเจ้าได้ฉวยเอาทันที เพราะเหมาะกับลักษณะแห่งเรื่องที่เดียว เรื่องนี้จึงได้นามว่า “มัทนะพาธาหรือตำนานแห่งดอกกุหลาบ” ด้วยประการฉะนี้....”

เนื้อเรื่อง[แก้]

เนื้อเรื่องแบ่งเป็นสองภาค คือภาคสวรรค์ และภาคพื้นดิน

ภาคสวรรค์ - กล่าวถึงสุเทษณ์เทพบุตร ซึ่งในอดีตชาตินั้นคือกษัตริย์แคว้นปัญจาล และนางมัทนา ซึ่งในอดีตชาติเป็นราชธิดาในกษัตริย์แคว้นสุราษฎร์ ซึ่งทั้งคู่ได้มาเกิดใหม่บนสวรรค์ สุเทษณ์เทพบุตรใฝ่ปองรักนางฟ้ามัทนา แต่ก็ไม่อาจจะสมรักด้วยกรรมที่เคยทำมาแต่อดีต ทำให้ไร้ซึ่งความสุขอย่างยิ่ง สุเทษณ์เทพบุตร จึงได้ให้วิทยาธรนามว่า "มายาวิน" ใช้เวทมนตร์คาถาไปสะกดเอานางมัทนาเข้ามาหา ก่อนที่มายาวินจะใช้เวทมนตร์เรียกนางมัทนา ได้ทูลสุเทษณ์เทพบุตรว่า การที่พระองค์ไม่อาจจะสมรักกับมัทนาได้ เป็นเพราะเมื่อชาติปางก่อน เมื่อพระองค์เป็นกษัตริย์แคว้นปัญจาลนั้น พระองค์ได้ไปสู่ขอมัทนาจากกษัตริย์แคว้นสุราษฎร์ผู้เป็นพระราชบิดา แต่ท้าวสุราษฎร์ไม่ให้ จึงเกิดรบกันขึ้น ในที่สุดท้าวสุเทษณ์แห่งแคว้นปัญจาลก็ชนะ จับท้าวสุราษฎร์เป็นเชลย และจะประหารชีวิตเสีย แต่นางมัทนาเข้ามาขอชีวิตพระราชบิดาไว้ และยอมเป็นบาทบริจาริกา ก่อนที่นางจะใช้พระขรรค์ปลงพระชนม์ตนเอง เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว นางมัทนาก็ไปเกิดเป็นเทพธิดาบนสวรรค์ ส่วนท้าวสุเทษณ์ก็ได้ทำพลีกรรมบำเพ็ญจนได้มาเกิดบนสวรรค์เช่นกันอย่างไรก็ตาม สุเทษณ์เทพบุตรก็ยังยืนยันจะให้มายาวินลองวิชาดูก่อน มายาวินจึงเรียกเอามัทนามาด้วยวิชาอาคม เมื่อมัทนามาแล้ว ด้วยมนต์ที่ผูกไว้ ทำให้ไม่ว่าสุเทษณ์เทพบุตรจะถามอย่างไร มัทนาก็ตอบตามเป็นคำถามย้อนไปอย่างนั้น เหมือนไม่มีสติ สุเทษณ์เทพบุตรขัดใจนักก็ให้มายาวินคลายมนต์ ครั้นมนต์คลายแล้ว มัทนาก็ตกใจที่ตนล่วงเข้ามาในวิมานของสุเทษณ์เทพบุตรโดยไม่รู้ตัว สุเทษณ์เทพบุตรพยายามจะฝากรักมัทนา แต่มัทนามิรักตอบ จะอย่างไรๆก็ไม่ยอมรับรัก จนสุเทษณ์เทพบุตรกริ้วจัด สาปส่งให้นางลงไปเกิดเป็น ดอกกุพชกะ คือ ดอกกุหลาบ อยู่ในแดนมนุษย์ และจะกลับคืนเป็นคนได้ก็ต่อเมื่อวันเพ็ญ เพียง 1 วัน 1 คืนเท่านั้น แล้วจะกลับคืนเป็นกุหลาบดังเดิม แต่หากนางได้รักบุรุษใดแล้ว เมื่อนั้นจึงจะคงรูปมนุษย์อยู่ได้ และหากเมื่อใดที่นางมีทุกข์เพราะรัก ก็จงขอประทานโทษมายังพระองค์พระองค์จะยกโทษให้ภาคพื้นดิน - มัทนาได้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบอยู่ในป่าหิมวัน ในป่านั้นมีพระฤๅษีนามกาละทรรศินพร้อมด้วยศิษย์ทั้งหลาย พระกาละทรรศินได้เห็นกุหลาบมัทนาก็ชอบใจ สั่งให้ศิษย์ขุดเอากุหลาบมัทนาไปปลูกใหม่ไว้ใกล้อาศรม เมื่อถึงคืนวันเพ็ญ มัทนาก็กลายเป็นร่างมนุษย์มาคอยรับใช้พระกาละทรรศินและศิษย์ทั้งหลาย คอยปรนนิบัติเรื่อยมา พระกาละทรรศินก็รักมัทนาเหมือนลูกตัวต่อมาวันหนึ่ง ท้าวชัยเสนผู้ครองนครหัสดิน ได้เสด็จประพาสป่า ผ่านมายังอาศรมพระกาละทรรศิน ประจวบกับเป็นคืนวันเพ็ญ ก็ได้พบกับนางมัทนา ทั้งสองฝ่ายต่างรักกัน พระกาละทรรศินก็จัดพิธีอภิเษกให้ และนางมัทนาก็ได้เดินทางไปกับท้าวชัยเสน เข้าไปยังกรุงหัสดิน โดยไม่ได้กลับเป็นดอกกุหลาบอีก ท้าวชัยเสนหลงรักนางมัทนามาก จนกระทั่งลืมมเหสีของตนคือนางจัณฑี พระมเหสีจัณฑีหึงหวงนางมัทนา ทั้งอิจฉาริษยาเป็นอันมาก ก็ทำอุบายใส่ร้ายนางมัทนาว่าเป็นชู้กับทหารเอกท้าวชัยเสนนามว่าศุภางค์ และยุยงท้าวมคธพระราชบิดาให้มาตีเมืองหัสดิน ท้าวชัยเสนออกไปรบ ครั้นเมื่อกลับมาได้ข่าวว่ามัทนาลอบเป็นชู้กับศุภางค์ก็กริ้วจัด สั่งประหารมัทนาเสียทันที แต่เพชฌฆาตได้ปล่อยนางหนีไปเพราะความสงสาร ส่วนศุภางค์นั้น ด้วยความจงรักภักดีต่อท้าวชัยเสน ก็ออกสนามรบกับท้าวชัยเสนเป็นครั้งสุดท้ายในฐานะไพร่ทหารเลว และตายในที่รบมัทนาหนีกลับมายังป่าหิมวัน และได้ทำพลีกรรม์บูชาสุเทษณ์เทพบุตร จนสุเทษณ์เทพบุตรเสด็จมา และเอ่ยปากจะช่วยให้คืนสวรรค์ สุเทษณ์เทพบุตรได้ขอความรักจากนางอีก แต่มัทนามิสามารถจะรักใครได้อีกแล้ว และปฏิเสธไป สุเทษณ์เทพบุตรกริ้วนัก จึงสาปนางให้เป็นกุหลาบไปตลอดชีวิตฝ่ายท้าวชัยเสน ต่อมาเมื่อรบชนะท้าวมคธ และได้รู้ความจริงทั้งหมด ก็กริ้วพระมเหสีจัณฑีมาก และได้ลงอาญาไป ก่อนจะออกไปตามหามัทนาในป่า แต่สิ่งที่พบ ก็เพียงแต่กุหลาบกอใหม่อันขึ้นอยู่ยังกองกูณฑ์บูชาสุเทษณ์เทพบุตรเท่านั้น ท้าวชัยเสนทำอะไรไม่ได้อีกต่อไป แต่ด้วยความรักสุดจะรัก จึงนำกุหลาบมัทนากลับไปปลูกใหม่ยังสวนขวัญกรุงหัสดิน [3]

มัทนะพาธาในวัฒนธรรมร่วมสมัย[แก้]

  • สมเถา สุจริตกุลได้ประพันธ์อุปรากรเรื่อง มัทนา ตามเนื้อเรื่องของพระราชนิพนธ์เรื่องมัทนะพาธา

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.identity.opm.go.th/identity/doc/nis04441.PDF[ลิงก์เสีย]
  2. http://www.rsu.ac.th/soc/corner1.html
  3. พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว.มัทนะพาธา.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา

  • มัทนะพาธา:ข้อมูลกลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม[ลิงก์เสีย]
  • มัทนะพาธา:หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน เก็บถาวร 2005-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • หนังสือแบบเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ฉบับพุทธศักราช 2544
  • มัทนะพาธา [1][ลิงก์เสีย]