การปฏิบัติในข้อใดสอดคล้องกับคา นิยม รัก นวล สงวน ตัว

ใน ประเทศไทย มีความเป็นไทย มีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยเฉพาะค่านิยม ในเรื่องเพศ  ซึ่งม    มีมุมมองได้ 2 ทาง ดังนี้คือ

        1.ค่านิยมทางเพศในเรื่องที่ไม่ถูกต้องสำหรับคนไทย ได้แก่

          1.1  การไม่เผยแพร่ความจริงในเรื่องเพศหรือการไม่ให้ความรู้เรื่องเพศแก่ บุตรหลาน โดยคิดว่าเป็นเรื่องหยาบคาย หรือน่าอาย

          1.2 การไม่สนันสนุนหรือส่งเสริมให้บุคคลในสังคมพูดคุยกันในเรื่องเพศอย่างเปิดเผย

          1.3 การยกย่องให้เพศชายเป็นใหญ่กว่าเพศหญิง

          1.4 การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสโดยถือว่าเพศชายไม่ผิด

        ค่านิยมเหล่านี้ทำให้บุคคลในสังคมมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องรวมทั้งมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ถูกต้อง เช่น การเอาเปรียบเพศตรงกันข้ามเมื่อมีโอกาส ความไม่เสมอภาคระหว่างเพศ การดูถูกเพศตรงกันข้าม   อันเป็นผลต่อความรักความผูกพัน ความสงบสุข ในครอบครัวและสังคมโดยรวม

        2.ค่านิยมทางเพศที่ดีของสังคมไทย

              1.หญิงไทยมักจะรักนวลสงวนตัว ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน

              2.ชายไทยไม่ควรสำส่อนทางเพศเพราะอาจเกิดผลเสียโดยการติดโรค

              3.ชายไทยมีความรับผิดชอบต่อเพศหญิง ไม่หลอกลวง ไม่ข่มเหงน้ำใจ

              4.ชายไทยรับผิดชอบต่อครอบครัว

        วัยรุ่นในปัจจุบันควรมีเจตคติที่ดีว่าทั้งสองเพศมีความสำคัญเท่าเทียมกัน การสร้างสรรค์สังคมจึงจะเกิดขึ้น   ค่า นิยมดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีและยังใช้ได้ในสังคมปัจจุบัน วัยรุ่นจึงควรรักษาค่านิยมที่ดีไว้เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา เช่น    ครอบครัวแตกแยก โรคทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์นอกสมรส การค้าประเวณี การสำส่อนทางเพศ เป็นต้น      หลักในการเลือกคู่ครองสภาพปัจจุบันชายและหญิงมักตัดสินใจเลือกคู่ครองด้วยตน เองดยไม่ขอคำปรึกษาจากพ่อแม่และญาติพี่น้องหรือผู้ใหญ่  จึงทำให้ชีวิตมีทั้งประสบผลสำเร็จและล้มเหลวได้หลักในการเลือกคู่ครองโดยทั่วไปพอสรุปได้ดังนี้

          1.มีความรักเป็นพื้นฐาน  เพราะความรักเป็นการแสดงความรู้สึกถึงความผูกพัน ความหวงแหน ความห่วงใย   

          จึงมีความรักใคร่ในคู่ครองที่เราเลือกและควรเลือกคู่ครองที่รักเรา

          2.มีสภาวะด้านต่างๆเหมาะสม เช่น

             2.1 อายุ  ควรอยู่ในเกณฑ์ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ชายควรมีอายุ 25-30 ปี ฝ่ายหญิง ควรมีอายุ 20-25 ปี  มีความพร้อมทางร่างกาย

             2.2 สุขภาพร่างกายารแต่งงานนั้นนอกจากมีความพร้อมทางร่างกายที่จะใหกำเนิดลูกได้ แล้วควรจะต้องคำนึงถึงสุขภาพด้วย         เช่น โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อชีวิตสมรสได้ ดังนั้นจึงมีควรตรวจสุขภาพและถ้าพบว่ามีโรคภัยไข้เจ็บต้องรักษาให้หายเสียก่อน

            2.3 วุฒิภาวะทางอารมณ์ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับผู้ครองเรือน เพราะวุฒิภาวะทางอารมณ์จะเป็นผู้สุขุมรอบคอบ  มีเหตุผล มีความรับผิดชอบ ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และสามารถปรับตัวได้ดี

            2.4ระดับสติปัญญา คู่สมรสควรมีระดับสติปัญญาใกล้เคียงกัน เพราะหากสติปัญญาแตกต่างกันมักจะคุยกันไม่รู้เรื่อง

            2.5คู่สมรสควรมีบุคลิกภาพและรสนิยมใกล้เคียงกัน

            2.6 ศาสนาแต่ละศาสนาจะมีศาสนพิธีแตกต่างกันถ้าคู่สมรสต่างศาสนาควรมีการพูดคุยตกลงเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในพิธีกรรมของศาสนาแต่ละฝ่ายเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในครอบครัว

            2.7 วัฒนธรรม เป็นวิธีการดำเนินชีวิตสืบทอดกันมา วัฒนธรรมที่คล้ายกันย่อมปรับตัวเข้ากันได้ง่าย

            2.8 ฐานะทางเศรษฐกิจ  ต้องใกล้เคียงกัน มีการวางแผนการจับจ่ายในครอบครัว

ค่านิยมทางเพศของวัยรุ่นในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก และส่งผลต่อพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกอย่างเปิดเผยในเรื่องเพศ ซึ่งบางทีวัยรุ่นยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับค่านิยมเหล่านี้ไม่ถูกต้อง และอาจปฏิบัติและวางตัวได้ไม่เหมาะสมกับวัย

ค่านิยมทางเพศ (Sexual Value) หมายถึง หลักการพื้นฐานที่บุคคลยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยค่านิยมทางเพศของบุคคลเกิดจากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา ประสบการณ์ กระบวนการขัดเกลาและถ่ายทอดทางสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ
อิทธิพลที่มีผลต่อค่านิยมทางเพศ

1.ศาสนา คำสอนของศาสนาต่างๆ จะทำให้สาวกมีค่านิยมที่ไม่ให้ประพฤติผิดศีลธรรม

2.เจตคติทางเพศของเพศหญิงและเพศชาย เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน และการเรียนรู้จากประสบการชีวิต 

3.เจตคติทางเพศของพ่อแม่ที่ถ่ายทอดประสบการณ์สู่ลูก จากการสั่งสอนและอบรมและปลูกฝังค่านิยมทางเพศในวัยเด็ก 

4.บุคลิกภาพ ลักษณะของบุคคลจะมีการแสดงออกให้เห็นได้ทั้งจากภายนอกและภายใน เช่น คนที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง ทำให้แสดงพฤติกรรมทางเพศ เช่น การแต่งกาย การพูดจาที่ต่างจากคนที่ไม่มี

5.ความรู้สึกผิดทางเพศ มักเกิดจากการอบรม โดยจะเป็นตัวยับยั้งหรือจำกัดความอิสระทางเพศ เช่น การจากอบรมว่าเป็นหญิงต้องรักนวลสงวนตัว

6.บรรทัดฐานทางสังคม  ในเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ระเบียบกฏเกณฑ์ต่างๆ
          ค่านิยมทางเพศตามสังคมและวัฒนธรรม

1) ค่านิยมทางเพศตามสังคมและวัฒนธรรมไทย

1.1) บรรทัดฐานทางครอบครัวและสังคม ในอดีตบุตรหลานจะถูกปลูกฝังโดยการอบรมเลี้ยงดูให้เคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดาอย่างเคร่งครัด วิถีชีวิตตลอดจนวิธีการดำเนินชีวิตจะต้องอยู่ในขอบเขตที่ทางครอบครัวได้วางเอาไว้ ค่านิยมทางเพศในอดีตจึงมีลักษณะดังนี้

(1) ผู้หญิงถูกกดขี่ข่มเหงด้วยความไม่เสมอภาคทางเพศ

(2) ผู้ชายมักเป็นใหญ่ในบ้าน และมีอำนาจในการตัดสินใจทุกอย่าง

(3) การนัดพบกัน สามารถพบกันได้โดยการแนะนำจากผู้ใหญ่หรือพบกันตามวัดในเทศกาลต่างๆ

(4) ผู้หญิงต้องไม่แสดงกิริยายั่วยวน แสดงท่าทีเชื้อเชิญหรือให้โอกาสผู้ชายได้เข้ามาใกล้ชิด

(5) การถูกควบคุมจากผู้ใหญ่ในเรื่องของการเลือกคนรัก การแต่งงาน ที่เรียกว่า “คลุมถุงชน”โดยให้เหตุผลถึงความคู่ควร เหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญมากกว่าจะนึกถึงความรักของระหว่างบุคคล พร้อมทั้งปลูกฝังค่านิยมของเพศหญิงให้มีความรักและซื่อสัตย์ต่อสามีเพียงคนเดียว

ปัจจุบัน สภาพครอบครัวและสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ผู้หญิงทำงานหาเลี้ยงครอบครัวเช่นเดียวกับผู้ชาย ส่วนภาระหน้าที่การดูแลบ้านและการเลี้ยงดูบุตรก็ยังคงเป็นหน้าที่ของผู้หญิงเช่นเดิม ทั้งนี้ ผู้หญิงสามารถได้รับการศึกษาในระดับสูงๆ ได้เช่นเดียวกับผู้ชาย ผู้หญิงมีสิทธิ์ที่จะสามารถแสดงความคิดเห็นและโต้แย้งในกรณีต่างๆ ได้ เนื่องจากได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกันกับผู้ชาย ทำให้มีโอกาสมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องเพศ เช่น การเลือกฝ่ายชายที่จะมาเป็นคู่ครอง การขอหย่าถ้าแต่งงานไปแล้วไม่มีความสุข การเป็นผู้นำครอบครัว เป็นต้น

1.2) สภาพแวดล้อม ในปัจจุบันมีสิ่งยั่วยุ สถานบันเทิงเริงรมย์ต่างๆ ศูนย์การค้า ปัญหาสารเสพติด และความรุนแรง ซึ่งส่งผลให้วัยรุ่นอาจใช้ชีวิตที่หลงผิด จนอาจก่อให้เกิดเป็นปัญหาอาชญากรรมทางสังคม และค่านิยมทางเพศที่ผิดๆ
             1.3) สื่อเทคโนโลยี  ความก้าวหน้าและรวดเร็วของสื่อเทคโนโลยี อาจเป็นสาเหตุของการทำให้เกิดค่านิยมทางเพศที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากวัยรุ่นสามารถติดต่อหรือคบเพื่อนต่างเพศที่ไม่เคยรู้จักกันได้


2) ค่านิยมทางเพศตามสังคมและวัฒนธรรมตะวันตก

ปัจจุบันวัฒนธรรมตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมทางสังคมของไทยมาก ขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากเทคโนโลยีและการสื่อสารที่ก้าวหน้า รวดเร็ว ส่งผลทำให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมลอกเลียนแบบ และดำเนินชีวิตตามวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งวัฒนธรรมบางอย่างก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมมากมาย โดยเฉพาะการมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม

การเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตกได้ทำให้ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยเปลี่ยนไป ซึ่งวัฒนธรรมบางอย่างส่งผลดี เช่น การกล้าแสดงความคิดเห็น ความขยัน และความทุ่มเทให้กับงาน การมองโลกในแง่บวก การมีแนวคิดที่ดีต่างๆ เป็นต้น ในขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างกลายเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับวัฒนธรรมไทย

อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกพอจะสรุปได้ดังนี้

(1) ปัญหาเรื่องเพศ เช่น การคบเพื่อนต่างเพศอย่างไม่เหมาะสม การออกเที่ยวกลางคืนกับเพื่อนต่างเพศ การแต่งกายดึงดูดเพศตรงข้าม เปิดเผยให้เห็นของสงวนมากเกินไป การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน เป็นต้น

(2) ปัญหาสังคม เช่น การมั่วสุมกันในสถานเริงรมย์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การทำแท้ง การใช้สารเสพติด เป็นต้น


ดังนั้น เมื่อไม่อาจสกัดกั้นวัฒนธรรมต่างๆ ที่แพร่กระจายเข้ามาได้ จึงควรเลือกและสร้างค่านิยมในเรื่องเพศที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย เช่น ลด ละ เลิก การเที่ยวสถานบริการทางเพศ ไม่สำส่อนทางเพศ ไม่คบเพื่อนต่างเพศโดยไม่เลือกหน้า ฝ่ายชายแสดงความเป็นสุภาพบุรุษให้เกียรติไม่ล่วงเกินสุภาพสตรี เป็นต้น
ค่านิยมทางเพศในเรื่องที่ไม่ถูกต้องสำหรับคนไทย 

          1.1  การไม่เผยแพร่ความจริงในเรื่องเพศหรือการไม่ให้ความรู้เรื่องเพศแก่บุตรหลาน               

โดยคิดว่าเป็นเรื่องหยาบคาย หรือน่าอาย

          1.2  การไม่สนันสนุนหรือส่งเสริมให้บุคคลในสังคมพูดคุยกันในเรื่องเพศอย่างเปิดเผย

          1.3  การยกย่องให้เพศชายเป็นใหญ่กว่าเพศหญิง

          1.4  การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสโดยถือว่าเพศชายไม่ผิด

ค่านิยมเหล่านี้ทำให้บุคคลในสังคมมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องรวมทั้งมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ถูกต้อง เช่น การเอาเปรียบเพศตรงกันข้ามเมื่อมีโอกาส ความไม่เสมอภาคระหว่างเพศ การดูถูกเพศตรงกันข้ามอันเป็นผลต่อความรักความผูกพัน ความสงบสุข ในครอบครัวและสังคมโดยรวม
ทัศนคติและค่านิยมที่ควรปลูกฝังมีดังนี้

1.  ต้องตระหนักถึงศักดิ์ศรีและคุณค่าของตัวเองโดยเฉพาะเด็กสาว

2.  ต้องรักนวลสงวนตัวสำหรับผู้หญิงและมีความเป็นสุภาพบุรุษสำหรับผู้ชาย

3.  ความสัมพันธ์ทางเพศไม่ควรเกิดจากการกดดัน ข่มขู่ หรือแสวงหาผลประโยชน์

4.  ความสัมพันธ์ทางเพศควรอยู่บนรากฐานของความไว้วางใจ ความซื่อสัตย์ และความรับผิดชอบ ตลอดจนการให้เกียรติกัน

5.  ความสัมพันธ์ทางเพศที่เกิดขึ้นก่อนวัยอันควรย่อมมีผลตามมาเสมอ

6.  พฤติกรรมทางเพศที่เกิดเร็วกว่าวัยจะทำให้มีความเสี่ยงสูง

7.  พฤติกรรมทางเพศจะต้องมีความรับผิดชอบ และมีวินัย หลีกเลี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์

8.  การละเว้นการมีเพศสัมพันธ์เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์

9.  วัยรุ่นที่เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ควรจะได้รู้จักข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการทางการแพทย์

10. สังคมจะได้ประโยชน์ถ้าเด็ก ๆ สามารถจะพูดคุยเรื่องทางเพศกับพ่อแม่และผู้ใหญ่ด้วยความเชื่อถือและไว้วางใจ