ข้อใดเป็นผลเสียของการใช้เวลากับหน้าจอมากเกินไป

นโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว สำหรับผู้ใช้งานเว็บไซต์ของสำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สบค.) ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของท่านซึ่งได้แวะเข้าเยี่ยมชมหรือใช้งานเว็บไซต์นี้ ของ สบค.

โปรดทราบว่านโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวฉบับนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจะแสดงอยู่บนเว็บไซต์นี้ ทั้งนี้ เมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงสาระของนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว สบค. จะมีข้อความเตือนอย่างชัดเจนเพื่อให้ท่านได้ทราบถึงการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งจะกระทำล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนวันที่การเปลี่ยนแปลงจะมีผลใช้บังคับ

ขอบเขตของนโยบายฉบับนี้

นโยบายฉบับนี้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติของสบค. ต่อข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับหรือจัดเก็บอันสืบเนื่องมาจากการที่ท่านเข้าเยี่ยมชมหรือใช้งานเว็บไซต์นี้ โดยข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลที่ทำให้สามารถระบุได้ถึงตัวตนของบุคคล และมิใช่ข้อมูลที่โดยปกติสาธารณชนจะเข้าถึงได้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ตัวอย่างของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ อายุ เพศ สัญชาติ เลขที่บัตรประจำตัวหรือหนังสือเดินทาง ที่อยู่หรือที่ทำงาน หมายเลขโทรศัพท์ หรือที่อยู่ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

นโยบายฉบับนี้ไม่ได้ใช้กับเว็บไซต์ของบุคคลที่สามซึ่งเชื่อมโยงมายังเว็บไซต์นี้ หรือเชื่อมโยงไปจากเว็บไซต์นี้

การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน

ผู้ประสงค์จะใช้บริการผ่านเว็บไซต์นี้ อาจต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่จำเป็นต่อการให้บริการดังกล่าว ตัวอย่างของการดำเนินการที่ผู้ใช้บริการต้องแจ้งข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การให้ชื่อสำหรับจัดทำประกาศนียบัตร การสำรวจความคิดเห็น เป็นต้น

การใช้ การแลกเปลี่ยน และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน

การเข้าถึงและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะกระทำไปเพื่อประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องที่ท่านขอให้ดำเนินการเท่านั้น สบค.อาจนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานจากหน่วยงานอื่น มารวบรวม จัดเก็บ ใช้ และเปิดเผย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้กฎหมายที่อยู่ในการกำกับดูแลของ สบค.

สบค. จะไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปจำหน่าย หรือนำไปแลกเปลี่ยนหรือเปิดเผยต่อบุคคลอื่นใด อันเป็นการไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เว้นแต่ ในกรณีดังต่อไปนี้

  • เป็นการดำเนินการตามกฎหมายที่อยู่ในการกำกับดูแลของ สบค.
  • เป็นการดำเนินการตามหน้าที่ ที่กำหนดตามกฎหมาย ตามคำสั่งศาล ตามคำสั่งของผู้มีอำนาจตามกฎหมาย หรือกรณีอื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน หรือ
  • เป็นการดำเนินการตามที่จำเป็นในกรณีที่อาจกระทบถึงความปลอดภัยในสวัสดิภาพ ชีวิต และร่างกายของบุคคลอื่น หรือในกรณีที่มีการละเมิดข้อตกลงและเงื่อนไขในการใช้เว็บไซต์ของ สบค.
การรักษาความปลอดภัย

สบค. มีมาตรการและกำหนดวิธีปฏิบัติภายในเพื่อรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสารของท่าน ซึ่งรวมถึงการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงและใช้ข้อมูลความลับ นอกจากนี้ สบค. ยังมีการใช้โปรโตคอล Secure Socket Layer (SSL) Protocol เพื่อจัดให้การสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้ใช้และสบค. กระทำผ่านช่องทางสื่อสารแบบปลอดภัยด้วยการเข้ารหัสลับข้อมูลดังกล่าว

การใช้คุกกี้

สบค. ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลผู้เยี่ยมชม ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้เว็บไซต์นั้นสามารถให้บริการท่านในครั้งต่อไปได้ตรงตามความต้องการของท่าน แต่ท่านสามารถยกเลิกการให้ข้อมูลคุกกี้ได้ อนึ่ง หากท่านเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของสบค. โดยใช้โปรแกรมค้นผ่าน (search engine) โปรแกรมค้นผ่านดังกล่าวอาจมีการใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลของท่าน ท่านจึงควรศึกษานโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวที่กำหนดโดยโปรแกรมค้นผ่านดังกล่าวด้วย

ข้อตกลงการใช้งาน

สำนักบริการคอมพิวเตอร์ (สบค) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างประโยชน์จากการเรียนรู้ ให้กับสังคมโดยส่วนรวม ซึ่งเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของ สบค.ในการบริการวิชาการสู่สังคม

เนื้อหาและสื่อนี้ต้องการให้นักเรียน ประชาชน สามารถเข้ามาศึกษา เรียนรู้ สามารถนำเนื้อหาไปใช้ประโยชน์และ เผยแพร่ต่อได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์กับสาธารณะเท่านั้นและไม่ถือเป็นการให้คำแนะนำเพื่อใช้ในเชิงวิชาชีพ

ท่านมีอิสระที่จะอ่านและพิมพ์บทความ ข้อความ และสื่ออื่น ๆ นี้โดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่าย สามารถแบ่งปันและนำบทความและสื่ออื่น ๆ ของเรา กลับมาใช้ใหม่ภายใต้ใบอนุญาตแบบ Creative Common และ แบบเปิด ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้:

ข้อใดเป็นผลเสียของการใช้เวลากับหน้าจอมากเกินไป

จะเป็นอย่างไร? หากใช้เวลาอยู่หน้าจอมากเกินไป

jutiporn

06 กันยายน 256528 พฤศจิกายน 2022

625

ที่มา :  Fact sheet การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management) สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)

ข้อใดเป็นผลเสียของการใช้เวลากับหน้าจอมากเกินไป

แฟ้มภาพ

                    การใช้สื่อดิจิทัลที่มากเกินไปในวัยผู้ใหญ่ทั้งจากการใช้คอมพิวเตอร์ การใช้โทรศัพท์ การดูโทรทัศน์ หรือการเล่นแท็บเล็ต สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ฉะนั้น จึงควรจำกัดการใช้เวลาหน้าจอเพื่อไม่ให้ส่งผลต่อสุขภาพมากเกินไป

ผลกระทบจากการใช้เวลาหน้าจอมากเกินไปมีดังนี้

น้ำหนักเพิ่มขึ้น ยิ่งใช้เวลาหน้าจอนานเท่าไหร่ น้ำหนักยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น การดุโทรทัศน์เพียงแค่ 2 ชั่วโมง ในแต่ละวันสามารถเพิ่มความเสี่ยงของโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคหัวใจได้ ทั้งนี้เกิดจากปัจจัยอื่นที่เชื่อมโยงกันคือ พฤติกรรมเนือยนิ่ง นอนน้อย และรับประทานของจุกจิกระหว่างใช้หน้าจอ

ปัญหาด้านสายตา การจ้องมองจอนาน ๆ เป็นสาเหตุของโรคคอมพิวเตอร์วิวันซินโดรม โรคนี้จะมีอาการเมื่อยล้าจากการใช้สายตา ตาแห้ง สายตาพร่ามัว แสบตา สู้แสงไม่ได้ รวมถึงอาจปวดศีรษะ และคลื่นไส้ อาเจียน

ปวดเมื่อยและเจ็บหลัง ท่าทางการนั่งที่ไม่เหมาะสมเมื่อใช้หน้าจอ สามารถทำให้เกิดอาการเมื่อยคอ ปวดหลัง ปวดแขน ปวดไหล่ และข้อเท้าเสื่อม การเล่นเกมส์ในมือถือนานเกินไปยังส่งผลให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นที่ใช้ในการงอนิ้วตรงบริเวณโคนนิ้ว ทำให้เกิดอาการปวดบวม

นอนไม่หลับ แสงสีฟ้าที่สว่างมากจากหน้าจอส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินที่ช่วยควบคุมการนอนหลับ ส่งผลให้หลับได้ยากขึ้น

ซึมเศร้าและวิตกกังวล คนที่ติดมือถือมักมีอาการซึมเศร้า หรือวิตกกังวลตาม อันเนื่องมาจากการรอคอย หรือคาดหวังเสียงโทรศัพท์ หรือการตอบกลับข้อความต่าง ๆ และหากวันใดลืมมือถือมาด้วย จะยิ่งรู้สึกเป็นกังวลมาก

คิดช้าลง การใช้โทรศัพท์เป็นเวลานาน จะได้รับรังสีจากคลื่นโทรศัพท์ที่แผ่ออกมามากขึ้น ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการข้างเคียงตามมานั่นคือ ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน การใช้หน้าจอเป็นเวลานานยังมีผลต่อประสิทธิภาพของกระบวนการทางความคิดของสมอง และทำให้ความจำถดถอยอีกด้วย

อายุสั้น การใช้เวลาหน้าจอนานเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการดูโทรทัศน์ การใช้คอมพิวเตอร์ หรือการเล่นโทรศัพท์ จะทำให้สุขภาพด้านหัวใจอ่อนแอลง และเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตมากขึ้น

 

ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : Fact sheet การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล https://bit.ly/2C66kTc