คำสอนในข้อใดในพระพุทธศาสนามีความเป็นสากล

พระพุทธศาสนาในด้านทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล


             สัจธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วนำมาเผยแผ่เพื่อสั่งสอนแก่ประชาชนนั้น ถือว่าเป็นหลักความจริงที่แน่นอน เป็นสากลและเป็นหลักปฏิบัติที่เป็นสายกลาง ซึ่งลักษณะสำคัญของคำสอนก็จะมีหลักความจริงที่เปรียบได้กับภาคทฤษฎี อันเป็นหลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมที่ชาติหรือเรียกว่า มัชเฌนธรรม และภาคปฏิบัติ ที่เป็นหลักปฏิบัติตามทางสายกลางตามสภาพชีวิตของแต่ละบุคคลหรือที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา

ทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลในพระพุทธศาสนา

          พระพุทธศาสนา มีหลักคำสั่งสอนที่ถือว่าเป็นหลักความจริงที่สามารถใช้ได้กับบุคคลทุกชาติ ทุกภาษาและทุกยุคทุกสมัย มีลักษณะคำสอนที่เป็นจริงตามธรรมชาติ เมื่อพูดว่าสิ่งไหนดีหรือไม่ดี ก็ย่อมดีและไม่ดีสำหรับทุกคน ทุกกาลเทศะ เพราะเป็นสิ่งที่เป็นสากล1 ทั้งความคิดและการปฏิบัติ เช่น ความคิดเรื่องสัจธรรมว่า ฆ่าสัตว์บาปใครทำก็บาป ทำใครก็บาป ในทางปฏิบัติก็เช่นเดียวกัน ใครปฏิบัติศีล 5 ได้ก็เกิดความสุขทุกคนไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน เหล่านี้คือทฤษฎีและความเป็นสากล ซึ่งหลักคำสอนที่ถือว่าเป็นทฤษฏีและวิธีการที่เป็นสากลในพระพุทธศาสนา ได้แก่
   1. การสอนเรื่องเบญจขันธ์หรือขันธ์ 5 อันเป็นหลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติที่ประกอบด้วย
      1.1 รูป คือ ส่วนประกอบของรูปธรรมทั้งหมดที่ประกอบขึ้นมาเป็นร่างกายและพฤติกรรมทุกอย่างครบถ้วน
      1.2 เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้น ทั้งสุข ทั้งทุกข์หรือเฉย ๆ จากการสัมผัสทางประสาททั้ง 6 ( ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ )
      1.3 สัญญา คือ ความจำได้หรือหมายรู้ ที่เมื่อเกิดเหตุการณ์ครั้งหนึ่งแล้วผูกพันธ์เชื่อมโยงไปถึงครั้งต่อไป เช่น ครูแนะนำให้ เด็กชายจักร รู้จักกับ นายกานต์ ที่โรงเรียน ต่อมาเมื่อสองคนนี้ พบกันที่ตลาดก็ยังจำกันได้ แล้วทักทายกัน ลักษณะ เช่นนี้เรียกว่า สัญญา
      1.4 สังขาร คือ การปรุงแต่งจิต ให้คิดทางที่ดีและไม่ดี แปลการนึกคิดในใจแล้วแสดงออกมาทางวาจาให้เป็นไปต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงการกระทำ
      1.5 วิญญาณ คือ การรับรู้ด้วย อายตนะ มี ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ด้วยการเห็น การได้ยินการได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกายและการรู้อารมณ์ทางใจ
จากหลักคำสอนเรื่องเบญจขันธ์หรือขันธ์ 5 จะเห็นได้ว่าสาระของความจริงที่เป็นสากล เป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน ถ้าทุกคนรู้ เข้าใจแล้วปฏิบัติตนได้ดี ถูกต้องก็จะเกิดผลดีต่อตนเองและผู้อื่นด้วย
   2. คำสอนที่ สอนให้เป็นคนมีเหตุผลไม่งมงาย เช่นเรื่องการล้างบาปในแม่น้ำคงคาที่ถือว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์แล้วจะพ้น จากบาปกรรมนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นเรื่องไม่มีเหตุผลงมงาย เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริง สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในแม่น้ำนั้น ก็คงจะพ้นบาป แล้วได้ไปสวรรค์กันหมด นอกจากนั้นน้ำสามารถชำระล้างได้แต่ร่างกายเท่านั้นไม่สามารถชำระล้างจิตใจ ได้ การพิจารณาไตร่ตรองอย่างมีเหตุผลเท่านั้น ที่จะทำให้บุคคลไม่งมงายแล้วได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง
   3. การสอนไม่ให้ถือ ชาติ ชั้น วรรณะ แต่ให้ถือเอาความประพฤติ เป็นหลัก ซึ่งพระพุทธองค์กล่าวไว้ว่า “คนเราจะดีหรือชั่ว มิใช่เพราะเชื้อชาติ วรรณะเป็นตัวกำหนด การกระทำของคนต่าง
หากเป็นตัวกำหนด” เช่น คนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดี คนประเสริฐ ก็เพราะการกระทำไม่ใช่เพราะการเกิดในตระกูลสูงหรือมีวรรณะสูงหรือมีทรัพย์ มาก เพราะบุคคลเหล่านี้ถ้าประพฤติตน ไม่ดีชอบลักขโมย ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ คิดเบียดเบียนผู้อื่นก็ไม่เรียกว่าเป็นคนดีหรือเป็นผู้ประเสริฐ
   4. การสอนให้พึ่งตนเอง โดยพระพุทธเจ้าเน้นว่า ตนเป็นที่พึ่งของตน ไม่ควรอาลัยอาวรณ์ถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วและไม่เพ้อฝันสิ่งที่อยู่ภายหน้า ควรเร่งลงมือปฏิบัติสิ่งที่เป็นปัจจุบันด้วยความขยันหมั่นเพียร การรอคอยความหวังจากการอ้อนวอนถือว่า เป็นเรื่องเหลวไหล ไม่ควรกระทำ

  5. การสอนเรื่อง อริยสัจหรือหลักความจริง 4 ประการคือ
      5.1 ทุกข์หรือปัญหา คือ บอกว่าชีวิตของทุกคนในโลกนี้มีปัญหาทั้งปัญหาทั่วไปและปัญหาสากล เช่นปัญหาความเป็นอยู่ ปัญหาปากท้อง ปัญหาการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น ปัญหาการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ปัญหาการพลัดพรากจากของรักและความไม่สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา ผู้ใดติดยึดก็จะ
      5.2 สมุทัย คือ การสอนว่าปัญหาเกิดมาจากสาเหตุหรือปัจจัย มิได้เกิดขึ้นมาลอย ๆ จึง อย่าหวังแต่ร้องขอและอ้อนวอนหรือรอโชคลาภ เช่น นักเรียนสอบได้เกรดน้อย ต้องมีสาเหตุว่าเรียนไม่เก่งหรือขี้เกียจเป็นต้น พระพุทธเจ้าเน้นว่าปัญหาทุกอย่างมีสาเหตุ การแก้ปัญหาต้องหาสาเหตุให้ตรงและชัดเจนจึงจะแก้ปัญหาได้ มิฉะนั้นปัญหาก็จะยิ่งมากและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
      5.3 นิโรธ คือ การสอนว่ามนุษย์สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองเพราะในทางพุทธศาสนา สอนว่า มนุษย์เป็นเวไนยสัตว์ คือ สัตว์ที่สอนได้ ฝึกอบรมได้ ดังนั้นมนุษย์จึงมีความสามารถ ที่จะพัฒนาตนเองไปเป็นผู้แก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ โดยไม่ต้องอาศัยอำนาจ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ มาดลบันดาลให้เป็นไป
      5.4 มรรค คือ การสอนว่า มนุษย์จะแก้ปัญหาได้นั้นต้องใช้ปัญญาและความเพียรควบคู่กันไปจะขาดอย่าง หนึ่งอย่างใดไม่ได้ โดยต้องใช้ปัญญาพิจารณาว่าปัญหา คืออะไร สาเหตุมาจากไหน มีทางแก้ไขได้หรือไม่ จะมีวิธีอย่างไร เมื่อรู้แล้ว ต้องใช้ความเพียรอย่างต่อเนื่องในการแก้ไข ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในกระบวนการแก้ปัญหานั้นปัญญากับความเพียรจะต้องผสมผสาน กันจึงสามารถแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้

คำสอนในข้อใดในพระพุทธศาสนามีความเป็นสากล

วิถีธรรมวิถีไทย:อาจารย์อมร  สังข์นาค, วิทยาลัยเทคนิคนครนายก

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4:วิทย์ วิศทเวทย์
          และ เสฐียรพงษ์ วรรณปก.อักษรเจริญทัศน์,2553.

พระพุทธศาสนาสอนหลักความเป็นจริงที่เป็นสากลในเรื่องใด

1. พระพุทธศาสนามีทฤษฎีที่เป็นสากล หมายความว่าอย่างไร จงยกตัวอย่างประกอบ คาอธิบาย (3 คะแนน) ทฤษฏีที่เป็นสากลของพระพุทธศาสนา คือ อริยสัจ 4 หรือหลักความจริงอันประเสริฐ ดังนี้ 1) สอนว่าชีวิตและโลกนี้มีปัญหา 2) สอนว่าปัญหามีสาเหตุมิได้เกิดขึ้นลอยๆ 3) สอนว่ามนุษย์สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง 4) สอนว่าการแก้ปัญหานั้นต้องใช้ปัญญา ...

ข้อทฤษฎีที่เป็นสากลของศาสนาพุทธคืออะไร

ทฤษฏีที่เป็นสากลของพระพุทธศาสนา คือ อริยสัจ 4 หรือหลักความจริงอันประเสริฐ ดังนี้ 1) สอนว่าชีวิตและโลกนี้มีปัญหา 2) สอนว่าปัญหามีสาเหตุ มิได้เกิดขึ้นลอยๆ 3) สอนว่ามนุษย์สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง

พระพุทธศาสนามีลักษณะสำคัญในข้อใด

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เกิดในประเทศ อินเดีย ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี (พระพุทธศาสนาเริ่ม ตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน) ลักษณะเด่นของ พระพุทธศาสนาคือเป็นศาสนาแห่งความรู้และความเป็น จริง เพราะเป็นศาสนาแห่งการตรัสรู้จากพระปัญญา อัน ยิ่งของพระพุทธองค์เอง พระธรรมที่ทรงตรัสรู้ คือ อริยสัจ ๔ ก็เป็นความจริงอันเที่ยงแท้ ...

การปฏิบัติตามข้อใดเหมาะสมที่สุดในการอยู่ร่วมกันระหว่างผู้ที่นับถือศาสนาที่ต่างกัน

- ควรแสดงความเคารพทักทายกันด้วยความสุภาพ - สนทนาด้วยวาจาไพเราะ - มีความอ่อนน้อมถ่อมตน - รู้จักกาลเทศะ - มีวิจารณญาณในการคิดใคร่ครวญว่าสิ่งใดควรพูดหรือไม่ควรพูด 2. เมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลในศาสนาอื่น ควรเรียนรู้ถึงหลักธรรม คาสอน คติความเชื่อ และหลักปฏิบัติของศาสนานั้น เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน

พระพุทธศาสนาสอนหลักความเป็นจริงที่เป็นสากลในเรื่องใด ข้อทฤษฎีที่เป็นสากลของศาสนาพุทธคืออะไร พระพุทธศาสนามีลักษณะสำคัญในข้อใด การปฏิบัติตามข้อใดเหมาะสมที่สุดในการอยู่ร่วมกันระหว่างผู้ที่นับถือศาสนาที่ต่างกัน ศรัทธาในพระพุทธศาสนาหมายถึงข้อใด ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อเรื่องวัตถุมงคล” ข้อความนี้มีความสัมพันธ์ในลักษณะตรงกันข้ามกับข้อใด ข้อใดไม่ใช่ความหมายของ “ศรัทธา” ในพระพุทธศาสนา เพราะเหตุใดพระพุทธศาสนาจึงมีทฤษฎี และวิธีการที่เป็นสากล เพราะอะไรชาวพุทธจึงต้องไหว้พระพุทธพระธรรม และพระสงฆ์ ข้อใดแสดงให้เห็นว่า ศาสนาสนองความต้องการทางจิตใจมนุษย์