ข้อใดแสดงการเกิดเทือกเขาหิมาลัย

วัตถุประสงค์ของแบบฝึกหัด

แบบฝึกหัดนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้อ่านมีโอกาส 1) ทบทวนเนื้อหา และ 2) ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม โดยผ่านกระบวนการสื่อสารแบบถาม-ตอบ ระหว่างผู้เขียน-ผู้อ่าน เท่านั้น โดยไม่มีเจตนาวิเคราะห์ข้อสอบเก่าหรือแนวข้อสอบแต่อย่างใด

1) แบบฝึกหัดจับคู่

คำอธิบาย : เลือก ตัวอักษร หน้าคำบรรยายด้านขวา และเติมในช่องว่างด้านซ้ายของแต่ละข้อที่มีความสัมพันธ์กัน ตามสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานต่างๆ ดังแสดงในรูป

ข้อใดแสดงการเกิดเทือกเขาหิมาลัย
1. _____ ก. แมกมาบะซอลต์ (basaltic magma)
2. _____ ข. สันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge)
3. _____ ค. พื้นทะเลแผ่กว้าง (sea-floor spreading)
4. _____ ง. แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกทวีป (oceanic-continent collision)
5. _____ จ. แผ่นเปลือกโลกทวีป (continental crust)
6. _____ ฉ. หมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (volcanic island arc)
7. _____ ช. เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone)
8. _____ ซ. การยกลอยตัวของแมกมาในเนื้อโลก (upwelling mantle)
9. _____ ฌ. แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร (oceanic-oceanic collision)
10. _____ ญ. แนวภูเขาไฟรูปโค้งบนทวีป (continental arc)

2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด

คำอธิบาย : เติมเครื่องหมาย T หน้าข้อความที่กล่าวถูก หรือเติมเครื่องหมาย F หน้าข้อความที่กล่าวผิด

1. _____ เส้นผ่านศูนย์กลางและพื้นผิวโลกเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ เนื่องจากกระบวนการพื้นทะเลแผ่กว้าง (sea-floor spreading)
2. _____ แผ่นเปลือกโลกทวีปมีแร่องค์ประกอบโดยรวมคล้ายกับหินแกรนิต ในขณะที่แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรคล้ายกับหินบะซอลต์
3. _____ แผ่นเปลือกโลกทวีปมีความหนาแน่นมากกว่าแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร
4. _____ นักวิทยาศาสตร์ศึกษาโครงสร้างภายในโลกจากข้อมูลสภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล (paleomagnetism)
5. _____ หมู่เกาะฮาวายเกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นอเมริกาเหนือบนจุดร้อน (hot spot) ซึ่งอยู่ใต้แผ่นเปลือกโลก เหมือนกับอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน
6. _____ เทือกเขาแอนดีส คือตัวอย่างการเคลื่อนที่เข้าหากันของแผ่นนัซกาและแผ่นอเมริกาใต้
7. _____ เมื่อแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนกับแผ่นเปลือกโลกทวีป แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรจะมุดลงใต้แผ่นเปลือกโลกทวีปเสมอ
8. _____ นักวิทยาศาสตร์ใช้จุดร้อน (hot spot) เป็นหลักฐานในการวิเคราะห์ทิศทางและอัตราการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกในแต่ละแผ่น โดยการกำหนดอายุและตรวจวัดระยะทางระหว่างภูเขาใต้ทะเล (seamount)
9. _____ ทะเลแดง (Red Sea) เกิดจากกระบวนการชนกันของแผ่นแอฟริกาในปัจจุบัน
10. _____ ร่องทรุดแอฟริกาตะวันออก (East African Rift) คือ แขนส่วนที่หยุดการพัฒนาแอ่งรอยเลื่อนปกติ (aulacogen) เนื่องจากเคลื่อนที่ออกจากกันของแผ่นเปลือกโลก
11. _____ หินที่มีอายุแก่ที่สุดในโลกสามารถพบได้ในมหาสมุทร
     
12. _____ ในทางธรณีแปรสัณฐาน ประเทศญี่ปุ่นคือส่วนของหมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (volcanic island arc)
13. _____ แนวคิดทวีปเลื่อน (continental drift) เป็นที่นิยมอย่างมากในสังคมวิทยาศาสตร์ นับตั้งแต่อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Wegener A) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอในปี พ.ศ. 2455
14. _____ การเกิดเทือกเขาหิมาลัยคือตัวอย่างการชนกันของแผ่นแอฟริกาและแผ่นยูเรเซีย
15. _____ รอยเลื่อนซานแอนเดรียส (San Andreas Fault) ทางตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกาคือตัวอย่างแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ผ่านกัน (transform movement)
16. _____ การปะทุอย่างรุนแรงของภูเขาไฟโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณสันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge)
17. _____ ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ถูกพัฒนาขึ้นมาแทนทฤษฏีธรณีแอ่นตัว (geosyncline)
18. _____  ทิศทางและอัตราการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกคงที่ตลอดเวลา
19. _____ ภูเขาไฟและแผ่นดินไหว โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามขอบแผ่นเปลือกโลก และเป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้กำหนดขอบเขตแผ่นเปลือกโลก
20. _____ เทือกเขาที่เกิดขึ้นบนโลก เกิดจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐานรูปแบบเดียวกัน

คำอธิบาย : ทำเครื่องหมาย X หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว จากตัวเลือกที่กำหนดให้

1. ข้อใด ไม่ใช่ หลักฐานสนับสนุนแนวคิดทวีปเลื่อน (continental drift)

  ก. แรงโน้มถ่วงของโลก ข. ฟอสซิลพืชและสัตว์
  ค. สนามแม่เหล็กโลก ง. รูปร่างทวีป

2. ข้อใด ไม่ใช่ หลักฐานสนับสนุนทฤษฎีพื้นทวีปแผ่กว้าง (sea-floor spreading)

  ก. ความหนาของตะกอนมหาสมุทร ข. รูปร่างทวีป
  ค. การกลับขั้วของสนามแม่เหล็ก ง. แนวคิดขั้วโลกเปลี่ยนตำแหน่ง

3. รอยเลื่อนซานแอนเดรียส (San Andreas Fault) ทางตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา คือตัวอย่างขอบแผ่นเปลือกโลกแบบใด

  ก. ออกจากกัน (divergent) ข. เข้าหากัน (convergent)
  ค. ผ่านกัน (transform) ง. จุดร้อน (hot spot)

4. สันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) คือตัวอย่างขอบแผ่นเปลือกโลกแบบใด

  ก. ออกจากกัน (divergent) ข. เข้าหากัน (convergent)
  ค. ผ่านกัน (transform) ง. จุดร้อน (hot spot)

5. ข้อใดคือลักษณะเฉพาะที่พบได้ในบริเวณแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกทวีป

  ก. รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) ข. ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano)
  ค. ร่องลึกก้นสมุทร (trench) ง. ถูกทุกข้อ

6. สภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใดทำให้เกิดทะเลประเทศญี่ปุ่น (Japan Sea)

  ก. ออกจากกัน (divergent) ข. เข้าหากัน (convergent)
  ค. ผ่านกัน (transform) ง. ถูกทุกข้อ

7. ข้อใด ไม่สัมพันธ์ กับ มหาทวีป (supercontinent) ซึ่งต่อมาเคลื่อนที่ออกจากกัน

  ก. กอนด์วานาแลนด์ (Gondwanaland) ข. พันเจีย (Pangaea)
  ค. ทีทีส (Tethys) ง. ลอเรเซีย (Laurasia)

8. พื้นที่ใดคือตัวอย่าง จุดร้อน (hot spot) ในทางธรณีแปรสัณฐาน

  ก. ประเทศญี่ปุ่น ข. ประเทศเปรูและประเทศชิลี
  ค. หมู่เกาะฮาวาย ง. เทือกเขาหิมาลัย

9. พื้นที่ใดคือตัวอย่างการชนกันของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร 2 แผ่น

  ก. ประเทศญี่ปุ่น ข. ประเทศเปรูและประเทศชิลี
  ค. หมู่เกาะฮาวาย ง. เทือกเขาหิมาลัย

10. พื้นที่ใดคือตัวอย่างการชนกันของแผ่นเปลือกโลกทวีปและแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร

  ก. ประเทศญี่ปุ่น ข. ประเทศเปรูและประเทศชิลี
  ค. หมู่เกาะฮาวาย ง. เทือกเขาหิมาลัย

11. พื้นที่ใดคือตัวอย่างการชนกันของแผ่นเปลือกโลกทวีป 2 แผ่น

  ก. ประเทศญี่ปุ่น ข. ประเทศเปรูและประเทศชิลี
  ค. หมู่เกาะฮาวาย ง. เทือกเขาหิมาลัย

12. พื้นที่ใดคือตัวอย่างการเคลื่อนที่ออกจากันของแผ่นเปลือกโลก (ระยะที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศแต่มีกิจกรรมทางภูเขาไฟและแผ่นดินไหว)

  ก. เยลโลว์สโตน (Yellow Stone) ข. ทะเลแดง (Red Sea)
  ค. ร่องทรุดแอฟริกาตะวันออก (East African Rift) ง. เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya)

13. พื้นที่ใดคือตัวอย่างการเคลื่อนที่ออกจากันของแผ่นเปลือกโลก (ระยะที่เริ่มมีน้ำทะเลรุกล้ำและมีการสร้างแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร)

  ก. เยลโลว์สโตน (Yellow Stone) ข. ทะเลแดง (Red Sea)
  ค. ร่องทรุดแอฟริกาตะวันออก (East African Rift) ง. เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya)

14. ลักษณะการปริแตกของแผ่นเปลือกโลก จากการแทรกดันของแมกมาเป็นแบบใด

  ก. ปริแตกและแยกเป็น 2 ฝั่ง ข. แผ่นดินบริเวณนั้นแตกละเอียด
  ค. หลอมละลายอย่างช้าๆ และแยกออกจากัน ง. แยกออกเป็น 3 แฉกเหมือนกับตรารถเบนซ์

15. ข้อใดคือลักษณะเฉพาะที่พบในสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบแผ่นเปลือกโลกทวีปชนแผ่นเปลือกโลกทวีป

  ก. รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) ข. ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano)
  ค. ร่องลึกก้นสมุทร (trench) ง. แนวตะเข็บธรณี (suture zone)

16. ข้อใดคือข้อมูลสภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล (paleomagnetism) ที่ใช้วิเคราะห์ละติจูดของพื้นที่ในอดีต

  ก. มุมเอียง (inclination) ข. มุมเยื้อง (declination)
  ค. ฟลักซ์แม่เหล็ก (magnetic flux) ง. พายุสุริยะ (Solar wind)

17. ข้อใดคือข้อมูลสภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล (paleomagnetism) ที่ใช้วิเคราะห์การหมุนของพื้นที่ในอดีต

  ก. มุมเอียง (inclination) ข. มุมเยื้อง (declination)
  ค. ฟลักซ์แม่เหล็ก (magnetic flux) ง. พายุสุริยะ (Solar wind)

18. แนวภูเขาไฟพื้นที่ใด ไม่สัมพันธ์ กับขอบแผ่นเปลือกโลก

ก. ร่องทรุดแอฟริกาตะวันออก แอฟริกาตะวันออก ข. ประเทศญี่ปุ่น
  ค. หมู่เกาะฮาวาย ง. ประเทศไอซ์แลนด์

19. อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Wegener A) ตั้งชื่อมหาทวีปที่อยู่ทางซีกโลกเหนือว่าอะไร

  ก. พันเจีย (Pangaea) ข. ลอเรเซีย (Laurasia)
  ค. กอนด์วานาแลนด์ (Gondwanaland) ง. กลอสซอพเทอริส (Glossopteris)

20. อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Wegener A) ตั้งชื่อมหาทวีปที่อยู่ทางซีกโลกใต้ว่าอะไร

  ก. พันเจีย (Pangaea) ข. ลอเรเซีย (Laurasia)
  ค. กอนด์วานาแลนด์ (Gondwanaland) ง. กลอสซอพเทอริส (Glossopteris)

21. มหาทวีปขนาดใหญ่ที่เคยมีอยู่เมื่อประมาณ 225 ล้านปี ที่ผ่านมา มีชื่อว่าอะไร

  ก. พันเจีย (Pangaea) ข. ลอเรเซีย (Laurasia)
  ค. กอนด์วานาแลนด์ (Gondwanaland) ง. กลอสซอพเทอริส (Glossopteris)

22. แผ่นเปลือกโลก (crust) อยู่ในส่วนใดของโลก

  ก. ฐานธรณีภาค (asthenosphere) ข. เนื้อโลก (mantle)
  ค. ธรณีภาค (lithosphere) ง. แกนโลก (core)

23. ในทางธรณีแปรสัณฐาน สมมุติฐานไวน์-แมททิว-มอร์เลย์ (Vine-Matthews-Morley) อธิบายเกี่ยวกับอะไร

  ก. การเคลื่อนตำแหน่งของขั้วโลก (polar wandering) ข. ค่าผิดปกติของสนามแม่เหล็ก (magnetic anomaly)
  ค. แนวคิดทวีปเลื่อน (continental drift) ง. ไม่มีข้อใดถูก

24. ข้อใดคือลักษณะเฉพาะที่พบในสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร

  ก. รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) ข. ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano)
  ค. จุดร้อน (hot spot) ง. ไม่มีข้อใดถูก

25. สภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใดที่ทำให้เกิด แอ่งรอยเลื่อนปกติ (aulacogen)

  ก. ออกจากกัน (divergent) ข. เข้าหากัน (convergent)
  ค. ผ่านกัน (transform) ง. ถูกทุกข้อ

26. อายุของของพื้นมหาสมุทร โดยปกติจะอ่อนว่าพื้นทวีปเนื่องจากสาเหตุใด

  ก. มหาสมุทรเกิดใหม่บริเวณสันเขากลางมหาสมุทร ข. มหาสมุทรถูกทำลายบริเวณเขตมุดตัว
  ค. ข้อ ก. และ ข. ถูก ง. ไม่มีข้อใดถูก

27. แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 20 มิลลิเมตร/ปี เมื่อเวลาผ่านไป 1 ล้านปี แผ่นเปลือกโลกจะเคลื่อนที่ไกลเท่าใด

  ก. 2,000 กิโลเมตร ข. 20 กิโลเมตร
  ค. 20 เซนติเมตร ง. 20 เมตร

28. ร่องทรุดแอฟริกาตะวันออก (East African Rift) คือตัวอย่างสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใด

ก. การเคลื่อนที่ออกจากกัน ข. แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกทวีป
  ค. แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร ง. แผ่นเปลือกโลกทวีปชนแผ่นเปลือกโลกทวีป

29. ข้อใดแสดงถึงหลักฐานการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

  ก. การเหลื่อมของหินตามแนวรอยเลื่อน ข. อายุหินบะซอลต์ที่แตกต่างกันบริเวณสันเขากลางมหาสมุทร
  ค. อายุของหมู่เกาะฮาวาย ง. ถูกทุกข้อ

30. พื้นทะเลแผ่กว้าง (sea-floor spreading) โดยทั่วไปมีอัตราการแผ่กว้างประมาณเท่าใด

  ก. 0.1-1 เซนติเมตร/ปี ข. 1-24 เซนติเมตร/ปี
  ค. 100-1000 เซนติเมตร/ปี ง. 10-100 เมตร/ปี

31. พื้นที่ใดแสดงสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบ triple junction

  ก. เทือกเขาแอนดีส ข. สุมาตรา-อันดามัน
  ค.  ทะเลจีนใต้ ง.  แอฟริกา

32. เหตุใดแนวคิดทวีปเลื่อน (continental drift) ของ อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Wegener A) จึงถูกปฏิเสธในช่วงแรก

  ก. ภาษาอังกฤษแย่มากจนไม่สามารถเข้าใจได้ ข. แนวชายฝั่งไม่ฟิตเข้าด้วยกันอย่างแท้จริง
  ค.  ไม่สามารถอธิบายกลไกการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกได้ ง.  หลักฐานยืนยันการมีอยู่จริงของมหาทวีปไม่หนักแน่น

33. หมู่เกาะฮาวาย เกิดจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐานแบบใด

  ก. ออกจากกัน (divergent) ข. เข้าหากัน (convergent)
  ค. ผ่านกัน (transform) ง. จุดร้อน (hot spot)

34. แผ่นเปลือกโลกทวีป (continental crust) มีองค์ประกอบโดยรวมของหินคล้ายกับหินชนิดใด

  ก. หินบะซอลต์ (basalt) ข. หินแกรบโบ (gabbro)
  ค. หินแกรนิต (granite) ง. หินไดโอไรท์ (diorite)

35. ข้อใดคือคุณสมบัติของ แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร (oceanic crust)

  ก. หนาประมาณ 33-45 กิโลเมตร ข. องค์ประกอบคล้ายหินแกรนิต
  ค. บางมากที่สุดบริเวณสันเขากลางมหาสมุทร ง. ความหนาแน่นน้อยกว่าแผ่นเปลือกโลกทวีป

36. สภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใดที่ทำให้เกิด รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ตอนกลางของประเทศพม่า

  ก. ออกจากกัน (divergent) ข. เข้าหากัน (convergent)
  ค. ผ่านกัน (transform) ง. ถูกทุกข้อ

37. ใครคือผู้ค้นพบและนำเสนอ แนวคิดพื้นทะเลแผ่กว้าง (sea-floor spreading)

  ก. ทูโซ วิลสัน (Wilson T) ข. แฮรีย์ เฮส (Hess H)
  ค. อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Wegener A) ง. เดวิท ทอยท์ (Toit D)

38. ในทางธรณีแปรสัณฐาน สันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) คือตัวอย่างของขอบแผ่นเปลือกโลกแบบใด

  ก. ออกจากกัน (divergent) ข. เข้าหากัน (convergent)
  ค. เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone) ง. จุดร้อน (hot spot)

39. แผ่นเปลือกโลก (crust) ประกอบด้วยอะไรบ้าง

  ก. แกนโลกและเนื้อโลกตอนล่าง ข. ธรณีภาคและเนื้อโลกตอนบน
  ค. เนื้อโลกตอนล่างและธรณีภาค ง. เนื้อโลกตอนบนและตอนล่าง

40. เทือกเขาใดคือตัวอย่างสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบแผ่นเปลือกโลกทวีปชนแผ่นเปลือกโลกทวีป

  ก. เทือกเขาแอนดีส (Andes) ข. เทือกเขาแอปพาเลเชียน (Appalachian)
  ค. เทือกเขาร็อคกี้ (Rockies) ง. เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya)

41. สภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใดที่ทำให้เกิดบริเวณที่ลึกที่สุดของมหาสมุทร

  ก. สันเขากลางมหาสมุทร ข. รอยเลื่อนตามแนวระดับ
  ค. แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกทวีป ง. แผ่นเปลือกโลกทวีปชนแผ่นเปลือกโลกทวีป

42. แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรที่มีอายุแก่ที่สุดอยู่ในพื้นที่ใด

  ก. ขอบมหาสมุทรใกล้ทวีป ข. สันเขากลางมหาสมุทร
  ค. ตามแนวภูเขาไฟรูปโค้งบนทวีป ง. กระจายอยู่ได้ทุกพื้นที่

43. ขอบทวีปสถิต (passive continental margin) เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบใด

  ก. ออกจากกัน (divergent) ข. เข้าหากัน (convergent)
  ค. ผ่านกัน (transform) ง. ถูกทุกข้อ

44. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ triple junction ในทางธรณีแปรสัณฐาน

ก. แผ่นเปลือกโลกที่มีหินแตกต่างกัน 3 ชนิด คือ หินตะกอน หินอัคนีและหินแปร ข. แผ่นเปลือกโลกที่มีการเกิดภูเขาไฟทั้ง 3 ชนิด คือ ภูเขาไฟรูปโล่ ภูเขาไฟกรวยกรวด และภูเขาไฟสลับชั้น
  ค. แผ่นเปลือกโลกที่ถูกแยกออกเป็น 3 แผ่น ง. ไม่มีข้อใดถูก

45. แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรประกอบชุดหินที่เรียกว่าอะไร

  ก. มิลานโควิทช์ (Milakovitch) ข. เมอร์คัลลี่ (Mercalli)
  ค. โบเวน (Bowen Series) ง. โอฟิโอไลต์ (ophiolite suite)

46. ข้อใดคือลักษณะเฉพาะของ รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) ที่เกิดขึ้นบริเวณสันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge)

  ก.  เกิดแผ่นดินไหวระดับตื้น ข. เป็นแหล่งแร่หายากที่สำคัญ
  ค. มีกิจกรรมทางภูเขาไฟ ง. ถูกทุกข้อ

47. สภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใด ไม่มีกิจกรรมทางภูเขาไฟ

  ก. ออกจากกัน (divergent) ข. เข้าหากัน (convergent)
  ค. ผ่านกัน (transform) ง. จุดร้อน (hot spot)

48. ข้อใด ไม่ใช่ องค์ประกอบที่พบในตะกอนบริเวณพื้นมหาสมุทร

  ก. ซากสิ่งมีชีวิตที่มีองค์ประกอบของซิลิกา ข. ซากสิ่งมีชีวิตที่มีองค์ประกอบของแคลไซต์
  ค. ลาวาบะซอลต์รูปหมอน ง. ไม่มีข้อใดถูก

49. แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าใด

  ก.  2-3 เมตร/ปี ข.  2-3 เซนติเมตร/ปี
  ค.  2-3 มิลลิเมตร/ปี ง.  2-3 มิลลิเมตร/วัน

50. เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกโดยส่วนใหญ่เกิดรอยเลื่อน (fault) ชนิดใด

  ก. รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (thrust fault) ข. รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault)
  ค. รอยเลื่อนปกติ (normal fault) ง. รอยเลื่อนเฉียง (oblique fault)

51. ข้อใดเรียงลำดับชุดหินโอฟิโอไลต์ (ophiolite suite) จากบนไปล่างได้ถูกต้อง

  ก. ตะกอนไม่แข็งตัว บะซอลต์ แกรบโบและเพอริโดไทต์ ข. ตะกอนไม่แข็งตัว บะซอลต์ เพอริโดไทต์และแกรบโบ
  ค. ตะกอนไม่แข็งตัว แกรบโบ เพอริโดไทต์และบะซอลต์ ง. บะซอลต์ ตะกอนไม่แข็งตัว แกรบโบและเพอริโดไทต์

52. ข้อใดคือลักษณะที่พบได้ในบริเวณสันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge)

  ก. หินเก่าแก่มาก ข. หินอายุอ่อนมาก
  ค. ชั้นตะกอนปิดทับหินหนามาก ง. รอยเลื่อนย้อน

53. ภูเขาไฟที่เกิดขึ้นใกล้เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกมีกลไกการเกิดอย่างไร

ก. แรงบีบอัดทำให้หินร้อนและหลอมละลายกลายเป็นแมกมา ข. แรงดึงทำให้เกิดรอยแตกซึ่งแมกมาแทรกดันขึ้นมาได้
  ค.  แผ่นเปลือกโลกที่มุดลงไปด้านใต้เกิดการหลอมละลาย ง. ไม่มีข้อใดถูก

54. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับแมกมาที่ทำให้เกิดหมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (volcanic island arc)

ก. เกิดจากกระเปาะแมกมาที่มาจากแกนโลกชั้นนอก ข. เกิดจากการหลอมละลายบางส่วนของแผ่นเปลือกโลกที่มุดลงไป
  ค.  ไหลหลากครอบคลุมพื้นที่ ง. แทรกดันตามรอยเลื่อนแนวระดับ

55. ข้อมูลใดที่ช่วยอธิบายทิศทางการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

ก. แนวภูเขาไฟที่เกิดจากจุดร้อน ข. การกลับขั้วของสนามแม่เหล็ก
  ค.  การกระจายตัวของอายุตะกอนในมหาสมุทร ง. ความหนาของชั้นตะกอนในมหาสมุทร

56. นักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลสภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล (paleomagnetism) เพื่ออธิบายอะไรของโลก

  ก. ภูมิศาสตร์บรรพกาล ข. ภูมิอากาศบรรพกาล
  ค. ตำแหน่งของสนามแม่เหล็กโลกในอดีต ง. การกระจายตัวของแหล่งแร่เหล็ก

57. หมู่เกาะฮาวาย เกิดจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐานแบบใด

  ก. แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร (oceanic-oceanic collision) ข. แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกทวีป (oceanic-continent collision)
  ค. จุดร้อน (hot spot) ง. ผ่านกัน (transform)

58. แอ่งตะกอนหลังหมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (back-arc basin) สัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบใด

  ก. ออกจากกัน (divergent) ข. เข้าหากัน (convergent)
  ค. ผ่านกัน (transform) ง. จุดร้อน (hot spot)

59. ธรณีภาค (lithosphere)

ก. มีความหนาในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันน้อย ข. ประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลก และเนื้อโลกตอนบน
  ค. มีความหนาหลากหลายในแต่ละพื้นที่ ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก

60. ข้อใดคือกระบวนการธรณีแปรสัณฐานที่ทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัย

ก. ลิ่มตะกอนพอกพูน  (accretionary wedge) ข. แอ่งตะกอนหน้าหมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (forearc basin)
  ค. ร่องลึกก้นสมุทร (trench) ง. จุดร้อน (hot spot)

61. ขอบแผ่นเปลือกโลกแบบใดที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟน้อยที่สุด

ก. เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ข. รอยเลื่อนตามแนวระดับ
  ค. สันเขากลางมหาสมุทร ง. จุดร้อน

62. พื้นที่ใดที่มีภูเขาไฟมีพลัง (active volcano)

ก. แนวหมู่เกาะภูเขาไฟ (volcanic island chain) ข. ขอบทวีปจลน์ (active continental margin)
  ค. สันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) ง. ถูกทุกข้อ

63. ข้อใดคือขอบเขตระหว่างแผ่นเปลือกโลกทวีปและแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร

ก.  ขอบของบ่าทวีป (continental shelf) ข. ยอดของสันเขากลางมหาสมุทร  (mid-oceanic ridge)
  ค. ชายหาด (shoreline) ง. ขอบของหินโผล่ (outcrop)

64. กระบวนการเกิดภูเขา (orogeny) โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นพื้นที่ใด

ก. สันเขากลางมหาสมุทร ข. รอยเลื่อนตามแนวระดับ
  ค. เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ง. ถูกทุกข้อ

65. ข้อใดคือสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานที่เกิดบริเวณเขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone)

ก. หมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (volcanic island arc) ข. แนวภูเขาไฟรูปโค้งบนทวีป (continental arc)
  ค. ร่องลึกก้นสมุทร (trench) ง. ถูกทุกข้อ

66. ในทางธรณีแปรสัณฐาน การศึกษาสภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล (paleomagnetism) ตัวอย่างหินจากพื้นมหาสมุทร ช่วยแปลความหมายด้านใด

  ก. ละติจูดและลองจิจูด ข. ตำแหน่งสัมพัทธ์
  ค. การหมุนของแผ่นเปลือกโลก ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก

67. ในทางธรณีแปรสัณฐาน สันเขาลองจิจูด 90 องศาตะวันออก (Ninety East Ridge) คือตัวอย่างสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใด

  ก. ออกจากกัน (divergent) ข. เข้าหากัน (convergent)
  ค. เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone) ง. จุดร้อน (hot spot)

68. ในทางธรณีแปรสัณฐาน อ่าวเอเดน (Gulf of Aden) คือตัวอย่างสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใด

  ก. ออกจากกัน (divergent) ข. เข้าหากัน (convergent)
  ค. เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone) ง. จุดร้อน (hot spot)

69. ข้อใดคือสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานที่เกิดบริเวณ หมู่เกาะเอลูเทียน (Aleutian Islands)

ก. หมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (volcanic island arc) ข. แนวภูเขาไฟรูปโค้งบนทวีป (continental arc)
  ค. ร่องลึกก้นสมุทร (trench) ง. ข้อ ก. และ ค. ถูก

70. เทือกเขาแอลป์ (Alps) เกิดจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐานแบบใด

ก. แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร (oceanic-oceanic collision) ข. แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกทวีป (oceanic-continent collision)
  ค. แผ่นเปลือกโลกทวีปชนแผ่นเปลือกโลกทวีป (continent-continent collision) ง. ผ่านกัน (transform)

เฉลยแบบฝึกหัด

1) แบบฝึกหัดจับคู่

1.   2.   3.   4.   5.
6.   7.   8.   9.   10.

2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด

1. F   2. T   3. F   4. F   5. F
6. T   7. T   8. T   9. F   10. T
11. F   12. T   13. F   14. F   15. T
16. F   17. T   18. F   19. T   20. F

3) แบบฝึกหัดปรนัย

1.   2.   3.   4.   5.
6.   7.   8.   9.   10.
11.   12.   13.   14.   15.
16.   17.   18.   19.   20.
21.   22.   23.   24.   25.
26.   27.   28.   29.   30.
31.   32.   33.   34.   35.
36.   37.   38.   39.   40.
41.   42.   43.   44.   45.
46.   47.   48.   49.   50.
51.   52.   53.   54.   55.
56.   57.   58.   59.   60.
61.   62.   63.   64.   65.
66.   67.   68.   69.   70.

4) แบบฝึกหัดอัตนัย

คำอธิบาย : ตอบคำถามให้กระชับและสมบูรณ์เกี่ยวกับวัตถุ กระบวนการหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อกับโลกศาสตร์

1. อธิบายแนวคิดของ ทฤษฎีธรณีแอ่นตัว (geosyncline) และเหตุใดจึงไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

 
 
 

2. ธรณีภาค (lithosphere) และ ฐานธรณีภาค (asthenosphere) มีความแตกต่างทางคุณสมบัติอย่างไรและแยกกันได้อย่างไร

 
 
 

3. อธิบายกลไกการทำงานของ กระแสพาความร้อน (convection current) และการประยุกต์ใช้กับการอธิบายทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน (tectonic)

 
 
 

4. แผ่นดินไหวที่เกิดตามแนวแยกตัวของแผ่นเปลือกโลกหรือ สันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) เกิดขึ้นได้อย่างไร และเป็นการเลื่อนตัวแบบใด

 
 
 

5. หลักฐานสนับสนุน แนวคิดทวีปเลื่อน (continental drift) มีอะไรบ้าง และเหตุใดจึงยังไม่ถูกยอมรับในช่วงแรก

 
 
 

6. นักวิทยาศาสตร์แยกแผ่นเปลือกโลกออกเป็นแผ่นๆ จากหลักฐานอะไร

 
 
 

7. อธิบายหลักการของการ เคลื่อนตำแหน่งของขั้วโลก (polar wandering)

 
 
 

8. อธิบาย สมมุติฐานไวน์-แมททิว-มอร์เลย์ (Vine-Matthews-Morley) ในมุมมองของธรณีแปรสัณฐาน

 
 
 

9. อธิบายหลักการกักเก็บสัญญาณสนามแม่เหล็กโลกในหิน และการประยุกต์ใช้ทางธรณีแปรสัณฐานและ การกำหนดอายุทางธรณีวิทยา (geochronology)

 
 
 

10. ในอดีตนักวิทยาศาสตร์ประเมินทิศทางและอัตราการเคลื่อนที่ของแผ่นแปซิฟิกได้อย่างไร

 
 
 

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth