ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย

  • 1. งานใบตอง

    ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย

  • ประวัติที่มาของงานใบตองในอดีต ที่ผ่านมา มนุษย์เราพยายามที่จะเรียนรู้ที่จะดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ โดยเน้นความกลมกลืนในรูปแบบของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน รู้จักการหาวัสดุธรรมชาติมาปรุงแต่งชีวิต ความเป็นอยู่ภายใต้กรอบของการรับและ การให้อย่างเหมาะสม สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งมนุษย์ได้ดัดแปลงมาจากธรรมชาติล้วน แล้วแต่จะมีการนำไปใช้ให้เหมาะสม และมีความสมดุลกับธรรมชาติ เมื่อมนุษย์เราได้คิด นำใบตอง ใบไม้ต่างๆมาใช้ห่อขนมและอาหารต่างๆเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนการคิดประดิษฐ์ชิ้นงานให้มีรูปร่าง รูปทรงสวยงามและประณีตยิ่งขึ้น ศิลปะงานใบตองเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด มีใช้เฉพาะ เป็นส่วนประกอบของงานดอกไม้  และใช้เป็นภาชนะ  ใส่ขนม และใส่อาหารเท่านั้น ในส่วนของวัฒนธรรม งานฝีมือต่างๆ ที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ไทย  ต้องยอมรับว่าบรรพบุรุษของเราช่างคิดช่างประดิษฐ์ ผลงานอันสวยงามและ ทรงคุณค่าเอาไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้เห็นและเรียนรู้กัน ผลงานเหล่านั้น เพื่อช่วยกันพัฒนาฝีมือให้คงอยู่สืบไปการนำวัสดุในธรรมชาติมาใช้ เช่น งานการแกะสลักจากไม้ ผักและผลไม้ งานจักสานหรืองานประดิษฐ์ดอกไม้ ใบตองที่มีอยู่อย่างเพียงพอมาแปรเปลี่ยนเป็นงานศิลป์ อันสุนทรีย์ คงช่วยให้วัสดุเหล่านั้น ไม่สูญสลายหายไป ความหมายของ“บายศรี”นั้นสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจาก ลัทธิพราหมณ์ ซึ่งเข้ามา ทางเขมร ทั้งนี้เพราะ คำว่า “ บาย ” ภาษาเขมร แปลว่า ข้าวสุก ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า จับต้อง สัมผัส ส่วนคำว่า “ศรี” มาจากภาษาสันสกฤต ตรงกับ ภาษาบาลีว่า “ สิริ ” แปลว่า มิ่งขวัญ ดังนั้นคำว่า “บายศรี” หน้าจะ แปลได้ว่า   ข้าวขวัญ หรือ สิ่งที่น่าสัมผัส กับความดีงาม “ บายศรี ” ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ข้าวอันเป็นสิริ, ขวัญข้าว หรือ ภาชนะที่จัดตกแต่งให้สวยงามเป็นพิเศษ ด้วยใบตอง และดอกไม้สด เพื่อเป็นสำรับใส่อาหารคาวหวานในพิธีสังเวยบูชา และพิธีทำขวัญต่างๆ  สมัยโบราณ มีการเรียกพิธี สู่ขวัญว่า “ บาศรี ” ทั้งนี้สืบเนื่อง มาจากเป็นพิธี สำหรับบุคคล ชั้นเจ้านาย เพราะคำว่า “บา” เป็นภาษาโบราณ อีสานใช้เป็น คำนำหน้า เรียกเจ้านาย เช่น บาท้าว บาบ่าว บาคราญ เป็นต้น ส่วนคำว่า “ ศรี ” หมายถึง ผู้หญิงและ สิ่งที่เป็นสิริมงคล “ บาศรี ” จึงหมายถึง การทำพิธีที่ เป็นสิริมงคล แต่ปัจจุบันนี้ คำว่า บาศรี ไม่ค่อยนิยมเรียก       กันแล้ว มักนิยมเรียกว่า “ บายศรี ” บายศรีจะเรียก เป็นองค์ มีหลายประเภท เช่น บายศรีเทพ บายศรีพรหม เป็นต้น ส่วนต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นบายศรีมีความหมายในทางดี เช่น กรวยข้าว หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ใบชัยพฤกษ์หรือใบคูน อายุยืนยาวดอกดาวเรือง ความเจริญรุ่งเรือง ดอกรัก ความรักที่มั่นคง

    คุณค่าของงานใบตอง

    คุณค่าของงานใบตองนั้นมีมากมายทั้งในชีวิตประจำวัน โอกาสพิเศษและการธรรมรงศิลปะวัฒนธรรมและประเพณีไทย ตลอดจนช่วยให้เกิดความสุขทางใจและยังเป็นอาชีพได้
    1. ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
    1.1 ใช้ใส่อาหาร ห่ออาหาร ห่อขนม ห่อของ ห่อผัก ห่อดอกไม้ ช่วยให้สดทนนาน
    1.2 ช่วยให้ขนมและอาหารสีสวยและมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน
    2. ประโยชน์ในโอกาสพิเศษ
    2.1 งานวันสำคัญ ประดิษฐ์ภาชนะใส่ดอกไม้ ขนม ผลไม้ และใส่อาหารนำไปให้บุคคล
    ซึ่งเคารพนับถือ ในวันคล้ายวันเกิด วันปีใหม่ วันขึ้นบ้านใหม่ วันประสบความสำเร็จ วันฉลองโชคชัย วันเยี่ยมไข้ หรือแม้แต่วันจากไป
    2.2 งานประเพณีนิยม ชาวไทยยมประดิษฐ์ผลงานดอกไม้ใบตองแบบประณีตศิลป์ใช้ในงานพิธีเช่น พานขันหมาก ขันหมั้น ขันสินสอด พานรับน้ำสังข์ บายศรี กระทงลอย ใช้ในงานต่าง ๆ
    ซึ่งล้วนแต่เป็นประเพณีที่งดงามของชาวไทยที่ควรจะฟื้นฟูและรักษาไว้
    2.3 งานพิธีทางศาสนา เช่น พานดอกไม้ธูปเทียน กระทงดอกไม้ แต่งเทียนพรรษา กระถางธูป เชิงเทียน เป็นต้น
    3. สร้างสรรค์ศิลปะมรดกของชาติ ผลงานประณีตศิลป์เป็นศิลปะมรดกแขนงหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยเพระมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความละเอียด ประณีต อ่อนโยน มีระเบียบ มีความสง่างาม มีความงามแบวิจิตรพิสดาร ที่ไม่มีชาติใดในโลกมีเหมือน
    4. ช่วยให้จิตใจสงบร่มเย็น การนำใบตองมาประดิษฐ์เป็นสิ่งสวยงามย่อมนำมาซึ่งความเพลิดเพลิน ความสงบร่มเย็นแห่งจิตใจ เพราะจิตใจมีสมาธิ ความคิดก็เกิดจิตนาการ ผู้ที่ทำงานใบตองจะเป็นผู้ที่มีอารมณ์ดี คิดแต่สิ่งที่ดีงาม อันนำมาซึ่งความประพฤติชอบ
    5. เป็นอาชีพหลักและอาชีพรองถ้ามีใจรักงานด้านนี้และมีงานอื่นเป็นหลักอยู่ก็ใช้เป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพรองช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว หรือถ้ามีใจรักมาก ๆ ก็ใช้เป็นอาชีพหลักได้

  • 2. งานแกะสลักไม้

  • ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย
  • งานแกะสลักไม้ ถือว่าเป็นงานศิลปกรรมที่เก่าแก่ประเภทหนึ่ง สำหรับการแกะสลักไม้ในประเทศไทยนั้นแต่เดิมส่วนมากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ศาสนาทั้งสิ้นได้แก่งานแกะสลักไม้ประกอบโบสถ์์ วิหาร ศาลาวัด หอพระไตรปิฎก ตู้พระไตรปิฎก พระเจดีย์ ฯลฯ ซึ่งมีการสรรค์สร้างอย่างสวยงามและปราณีตบรรจง ปรากฏอยู่ทุกยุคทุกสมัย ในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทยมีช่างแกะสลักที่มีฝีมือได้สร้าง สรรค์ผลงานขึ้น มาเป็นจำนวนมาก ช่างแกะสลักไม้ สามารถสืบทอด ศิลป วัฒนธรรม ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของแต่ละชุมชนลงบนแผ่นไม้ อาทิ เช่น ศิลปะไม้แกะสลักของล้านนา เป็นงานศิลปที่เก่าแก่ มีเอกลักษณ์และมีคุณค่า ควรแก่การภาคภูมิใจสำหรับชาวล้านนาเอง งานแกะสลักไม้ จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของ วัฒนธรรมล้านนาที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี การทำมาหากิน ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวล้านนา ที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติ ทุ่งนา ป่าไม้ ซึ่งจะพบเห็นกันได้ทั่วไปในปัจจุบันในสถานที่สำคัญทางศาสนา บ้านเรือนที่อยู่อาศัยหรือเครื่องใช้สอยในชีวิตประจำวัน ตลอดจน การอนุรักษ์ สืบสาน ถ่ายทอด ช่างไทยสิบหมู่ เป็นวัฒนธรรมทางด้าน ศิลปะแขนงหนึ่งในกระบวนช่างไทยได้จำแนกแยกแยะงานช่างได้มากมาย ประเภทการแกะสลักไม้

    1.การแกะสลักภาพลายเส้น เป็นการเซาะร่องตามลวดลายของเส้นให้มีความหนักเบาเท่ากันตลอดทั้งแผ่น

    ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย
    2.การแกะสลักภาพนูนต่ำ เป็นการแกะสลักภาพให้นูนขึ้นสูงจากพื้นแผ่นของไม้เพียงเล็กน้อยไม่แบนราบเหมือนภาพลายเส้น

    ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย
    3.การแกะสลักภาพนูนสูง เป็นการแกะสลักภาพให้ลอยสูงขึ้นมาเกือบสมบูรณ์เต็มตัว ความละเอียดของภาพมีมากกว่าภาพนูนต่ำ

  • ขั้นตอนและวิธีการแกะสลักไม้1. กำหนดรูปแบบและลวดลาย ออกแบบหรือกำหนดรูปแบบและลวดลายนับเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการออกแบบ สำหรับงานแกะสลักต้องรู้จักหลักในการออกแบบ และต้องรู้จักลักษณะของไม้ที่จะนำมาใช้แกะสลัก เช่น ทางไม้หรือเสี้ยนไม้ที่สวนกลับไปกลับมา สิ่งเหล่านี้ช่างแกะสลักจะต้องศึกษาหาความรู้และแบบงานแกะสลักต้องเป็นแบบ ที่เท่าจริง

    2. การถ่ายแบบลวดลายลงบนพื้นไม้ นำแบบที่ออกแบบไว้มาผนึกลงบนไม้ หรือนำมาตอกสลักกระดาษแข็งต้นแบบให้โปร่ง เอาลวดลายไว้และนำมาวางทาบบนพื้นหน้าไม้ที่ทาด้วยน้ำกาว หรือน้ำแป้งเปียกไว้แล้วทำการตบด้วยลูกประคบดินสอพองหรือฝุ่นขาวให้ทั่ว แล้วนำกระดาษต้นแบบออก จะปรากฏลวดลายที่พื้นผิวหน้าไม้

    3. การโกลนหุ่นขึ้นรูป คือการตัดทอนเนื้อไม้ด้วยเครื่องมือช่างไม้บ้างเครื่องมือช่างแกะสลักบ้าง แล้วแกะเนื้อไม้เอาส่วนที่ไม่ต้องการออกให้ไม้นั้นมีลักษณะรูปร่างที่ใกล้ เคียงกับแบบเพื่อให้เกิดรูปทรงตามต้องการ มีความชัดเจนตามลำดับเพื่อจะนำไปแกะสลักลวดลายในขั้นต่อไป การโกลนภาพ เช่นการแกะภาพลอยตัว เช่น หัวนาคมงกุฎ หรือแกะครุฑและภาพสัตว์ต่าง ๆ ช่างจะต้องโกลนหุ่นให้ใกล้เคียงกับตัวภาพ

    4. การแกะสลักลวดลาย คือการใช้สิ่วที่มีความคม มีขนาดและหน้าของสิ่วต่าง ๆ เช่น สิ่วหน้าตรง หน้าโค้ง และฆ้อนไม้ เป็นเครื่องมือในการแกะสลัก เพื่อทำให้เกิดลวดลายซึ่งต้องใช้ฆ้อนไม้ในการตอกและใช้สิ่วทำการขุด การปาดและการแกะลวดลายทำให้เกิดความงามตามรูปแบบที่ต้องการ

    การขุดพื้น คือการตอกสิ่วเดินเส้น โดยใช้สิ่วที่พอดีกับเส้นรอบนอกของตัวลาย เพื่อเป็นการคัดโคมของลวดลายส่วนใหญ่ทั้งหมดก่อนโดยใช้ฆ้อนตอก เวลาตอกก็ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อคมสิ่วจะได้จมลึกในระยะที่เท่ากันแล้วจึงทำการใช้สิ่วหน้าตรง ขุดพื้นที่ไม่ใช่ตัวลายออกให้หมดเสียก่อน ขุดชั้นแรกขุดตื้น ๆ ก่อน ถ้าพื้นยังไม่ลึกพอก็ตอกซ้ำอีกแล้วจึงขุดต่อไปเพื่อให้ได้ช่องไฟที่โปร่งถ้า ต้องการนำลวดลายแกะสลักนั้นไปประดับในที่สูงก็ต้องขุดพื้นให้ลึกพอประมาณ เพราะมองไกล ๆ จะได้เห็น การแกะยกขึ้น หลังจากที่ทำการขุดพื้นแล้วก็แกะยกชั้น จัดตัวลายที่ซ้อนชั้นกันเพื่อให้เห็นโคมลายชัดเจน ซึ่งก้าวก่ายกันในเชิงของการผูกลายเพื่อปรับระดับความสูงต่ำของแต่ละชั้นมี ระยะ 1 – 2 – 3 การแกะแรลาย เริ่มจากการตอกสิ่วเดินเส้นภายในส่วนละเอียดของลวดลายแล้ว ก็จะใช้สิ่วเล็บมือทำการปาดแกะแรลายเก็บแต่งส่วนละเอียด

    ข้อสังเกตในการปาดแรตัวลาย เวลาปาด หรือแกะแรตัวลาย ช่างจำเป็นต้องดูทางของเนื้อไม้หรือเสี้ยนเมื่อเวลาใช้สิ่วก็ต้องปาดไปตาม ทางของเนื้อไม้ คือไม่ย้อนเสี้ยนไม้หรือสวนทางเดินของเนื้อไม้ เพราะจะทำให้ไม้นั้นหลุดและบิ่นได้ง่าย การปาดแต่งแรลาย คือการตั้งสิ่วเพล่เอียงข้างหนึ่ง ฉากข้างหนึ่ง แล้ว ปาดเนื้อไม้ออกจะเกิดความสูงต่ำไม่เสมอกัน เพื่อทำให้เกิดแสงเงาในตัวลายและมองเห็นให้ชัดเจนตามรูปแบบที่ต้องการ

    การปาดลายสามารถทำได้ 3 วิธี คือ

    – ปาดแบบช้อนลาย

    – ปาดแบบพนมเส้น คือพนมเส้นตรงกลาง

    – ปาดแบบลบหลังลาย (ลบเม็ดแตง)

    เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลัก

    – ไม้ ไม้ที่นิยมนำมาใช้ในงานแกะสลัก ได้แก่ ไม้สัก เป็นไม้ที่ไม่แข็งเกินไป มีลายไม้สวยงาม สามารถแกะลายต่างๆได้ง่าย หดตัวน้อย ทนนานต่อสภาพดินฟ้าอากาศและปลอดภัยจากปลวก มอดและแมลง ไม้ที่นิยมรองลงมาคือ ไม้โมก ไม้สน ที่สำคัญคือ ไม้ที่นำมาทำการแกะสลักจะ ต้องไม่มีตำหนิ เพราะจะทำให้งานชิ้นนั้นขาดความสวยงาม ค้อนไม้ เป็นค้อนที่มีลักษณะคล้ายตะลุมพุกเล็กๆ ทำจากไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้แดง ไม้ชิงชัน

    ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย

– ค้อนไม้จะเบา และไม่กินแรงเวลาใช้งานและช่วยรักษาด้ามสิ่วให้ใช้งานได้นานอีกด้วย

ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย

– สิ่ว เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการแกะสลักมีหลายชนิดได้แก่ สิ่วขุด สิ่วฉาก สิ่วขมวด สิ่วเล็บมือ สิ่วทำ จากเหล็กกล้าที่แข็งและเหนียว ที่สำคัญคือจะต้องลับให้คมอยู่เสมอ

– มีด เป็นมีดเล็กๆ ปลายแหลม ใช้แกะลายเล็กๆ หรือแกะร่อง

ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย

– เลื่อย ใช้ในการเลื่อยไม้ส่วนที่ไม่ต้องการออกไป เพื่อขึ้นรูปหรือขึ้นโครงของงาน

ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย

– บุ้งหรือตะไบ ใช้ถูตกแต่งชิ้นงานในขั้นตอนหลังจากแกะสลักแล้ว

-กระดาษทราย ใช้ขัดตกแต่งชิ้นงานหลังจากแกะสลักแล้ว

ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย

– กบไสไม้ ใช้ไสไม้ให้เรียบก่อนลงมือแกะหรือตกแต่งอื่นๆภายหลัง

ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย

– สว่าน ใช้เจาะรูไม้เพื่อแกะหรือฉลุไม้

– แท่นยึดหรือปากากาจับไม้ ใช้ยึดจับไม้

ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย

– เครื่องมือประกอบอื่นๆ ได้แก่ ไม้บรรทัด ดินสอ กระดาษลอกลาย กระดาษแข็งทำแบบ

ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย
ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย
ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย

– วัสดุตกแต่ง ได้แก่ ดินสอพอง แลกเกอร์ แชลแลก น้ำมันลินสีด ทินเนอร์ หรือสีทาไม้

ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย
ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย
ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย
ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย

ที่มา:http://research.pbru.ac.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=259&Itemid=187

3. งานแกะสลักผักและผลไม้

ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย

ประวัติความเป็นมา

งานศิลปะดั้งเดิมของไทยนั้นมีอยู่มากมายหลายอย่างหลายแขนง การแกะสลักก็เป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งที่ถือเป็นมรดกมีค่าที่สืบทอดกันมาช้านาน เป็นงานฝีมือที่ต้องใช้ความถนัด สมาธิ ความสามารถเฉพาะตัว และความละเอียดอ่อนมาก การแกะสลักผักและผลไม้ เป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำของชาติไทยเลยทีเดียว ซึ่งไม่มีชาติใดสามารถเทียบเทียมได้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดในปัจจุบันนี้คงจะเป็นเรื่องของการอนุรักษ์ ศิลปะแขนงนี้ที่มีแนวโน้มจะสูญหายไปและลดน้อยลงไปเรื่อยๆ

การแกะสลักผักและผลไม้เดิมเป็นวิชาที่เรียนขั้นสูงของ กุลสตรีในรั้วในวัง ที่ต้องมีการฝึกฝนและเรียนรู้จนเกิดความชำนาญ บรรพบุรุษของไทยเราได้มีการแกะสลักกัน มานานแล้ว แต่จะเริ่มกันมาตั้งแต่สมัยใดนั้น ไม่มีใครรู้แน่ชัด เนื่องจากไม่มีหลักฐานแน่ชัด จนถึงในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ในสมัยของสมเด็จพระร่วงเจ้า ได้มีนางสนมคนหนึ่งชื่อ นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ได้แต่งหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ขึ้น และในหนังสือเล่มนี้ ได้พูดถึงพิธีต่าง ๆ ไว้ และพิธีหนึ่ง เรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงในวันเพ็ญเดือนสิบสอง เป็นพิธีโคมลอย นางนพมาศได้คิดตกแต่งโคมลอยที่งดงามประหลาดกว่าโคมของพระสนมคนอื่นทั้งปวง และได้เลือกดอกไม้สีต่าง ๆ ประดับให้เป็นลวดลายแล้วจึงนำเอาผลไม้ มาแกะสลักเป็นนกและหงส์ให้เกาะเกสรดอกไม้อยู่ตามกลีบดอก เป็นระเบียบสวยงามไปด้วยสีสันสดสวย ชวนน่ามองยิ่งนัก รวมทั้งเสียบธูปเทียน จึงได้มีหลักฐานการแกะสลักมาตั้งแต่สมัยนั้น

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดการประพันธ์ยิ่งนัก พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์กาพย์แห่ชมเครื่องคาวหวาน และแห่ชมผลไม้ได้พรรณนา ชมฝีมือการทำอาหาร การปอกคว้านผลไม้ และประดิดประดอยขนมสวยงาม และอร่อยทั้งหลาย ว่าเป็นฝีมืองามเลิศของสตรีชาววังสมัยนั้น และทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง สังข์ทอง พระองค์ทรงบรรยายตอนนางจันทร์เทวี แกะสลักชิ้นฟักเป็นเรื่องราวของนางกับพระสังข์ นอกจากนั้นยังมีปรากฏในวรรณกรรมไทยแทบ ทุกเรื่อง เมื่อเอ่ยถึงตัวนางซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่องว่า มีคุณสมบัติของกุลสตรี เพรียกพร้อมด้วยฝีมือการปรุงแต่งประกอบอาหารประดิดประดอยให้สวยงามทั้งมี ฝีมือในการประดิษฐ์งานช่างทั้งปวง ทำให้ทราบว่า กุลสตรีสมัยนั้นได้รับการฝึกฝนให้พิถีพิถันกับการจัดตกแต่งผัก ผลไม้ และการปรุงแต่งอาหารเป็นพิเศษ จากข้อความนี้น่าจะเป็นที่ยืนยันได้ว่า การแกะสลักผัก ผลไม้ เป็นศิลปะของไทยที่กุลสตรีในสมัยก่อนมีการฝึกหัด เรียนรู้ผู้ใดฝึกหัดจนเกิดความชำนาญ ก็จะได้รับการยกย่อง

งานแกะสลักใช้กับของอ่อน สลักออกมาเป็นลวดลายต่างๆอย่างงดงาม มีสลักผัก สลักผลไม้ สลักหยวกกล้วยถือเป็นงานช่างฝีมือของคนไทยที่มีมาแต่โบราณ งานสลักจึงอยู่ในงานช่าง 10 หมู่ เรียกว่า ช่างสลัก ในช่างสลักแบ่งออกย่อย คือ ช่างฉลุ ช่างกระดาษ ช่างหยวก ช่างเครื่องสด ส่วนช่างอีก 9 หมู่ที่เหลือได้แก่ ช่างแกะ ที่มีทั้งช่างแกะตรา ช่างแกะลาย ช่างแกะพระหรือภาพช่างหุ่น มีช่างไม้ ช่างไม้สูง ช่างปากไม้ ช่างปั้น มีช่างขี้ผึ้ง ช่างปูน เป็นช่างขึ้นรูปปูน มีช่างปั้น ช่างปูนก่อ ช่างปูนลอย ช่างปั้นปูน ช่างรัก มีช่างลงรัก มีปิดทอง ช่างประดับกระจก ช่างมุก ช่างบุ บุบาตรพระเพียงอย่างเดียว ช่างกลึง มีช่างไม้ ช่างหล่อ มีช่างหุ่นดิน ช่างขี้ผึ้ง ช่างผสมโลหะ ช่างเขียน มีช่างเขียน ช่างปิดทอง

การสลักหรือจำหลัก จัดเป็นศิลปกรรมแขนงหนึ่งในจำพวกประติมากรรม เป็นการประดิษฐ์วัตถุเนื้ออ่อนอย่างผัก ผลไม้ ที่ยังไม่เป็นรูปร่าง หรือมีรูปร่างอยู่แล้วสร้างสรรค์ให้สวยงามและพิสดารขึ้น โดยใช้เครื่องมือที่มีความแหลมคม โดยใช้วิธีตัด เกลา ปาด แกะ คว้าน ทำให้เกิดลวดลายตามต้องการ ซึ่งงานสลักนี้เป็นการฝึกทักษะสัมพันธ์ของมือและสมอง เป็นการฝึกจิตให้นิ่ง แน่วแน่ต่องานข้างหน้า อันเป็นการฝึกสมาธิได้อย่างดีเลิศ

การสลักผักผลไม้นอกจากจะเป็นการฝึกสมาธิแล้วยังเป็นการฝึกฝีมือให้เกิดความชำนาญเป็นพิเศษ และต้องมีความมานะ อดทน ใจเย็น และมีสมาธิเป็นที่ตั้ง รู้จักการตกแต่ง มีความคิดสร้างสรรค์ การทำงานจ้องให้จิตใจทำไปพร้อมกับงานที่กำลังสลักอยู่ จึงได้งานสลักที่สวยงามเพริศแพร้วอย่างเป็นธรรมชาติ ดัดแปลงเป็นลวดลายประดิษฐ์ต่างๆ ตามใจปรารถนา

ปัจจุบันวิชาการช่างฝีมือเหล่านี้ ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตร ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษามาจนถึงอุดมศึกษาเป็นลำดับ ประกอบกับรัฐบาลและภาคเอกชนได้ให้การสนับสนุน จึงมีการอนุรักษ์ศิลปะต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการแกะสลักผลงานประเภทเครื่องจิ้ม จนกระทั่งงานแกะสลักได้กลายเป็นสิ่งที่ต้องประดิษฐ์ ตกแต่งบนโต๊ะอาหารในการจัดเลี้ยงแขกต่างประเทศ ตามโรงแรมใหญ่ ๆ ภัตตาคาร ตลอดจนร้านอาหาร ก็จะใช้งานศิลปะการแกะสลักเข้าไปผสมผสานเพื่อให้เกิดความสวยงาม หรูหรา และประทับใจแก่แขกในงาน หรือสถานที่นั้น ๆ งานแกะสลักผลไม้ จึงมีส่วนช่วยตกแต่งอาหารได้มาก คงเป็นเช่นนี้ตลอดไป

หลักการแกะสลักผักและผลไม้

      การแกะสลักผักและผลไม้ถือเป็นงานแกะสลักวัสดุเนื้ออ่อน จำแนกลักษณะของงานตามวิธีการแกะสลัก ได้ดังนี้ คือ

1. รูปร่องลึก เป็นการเซาะเนื้อวัสดุให้เป็นร่องลึกตามลวดลายหรือลักษณะงานที่ออกแบบไว้

2. รูปนูน เป็นการแกะสลักเนื้อวัสดุนูนขึ้นจากพื้น คือ การแกะสลักพื้นให้ต่ำลง ให้ตัวลายนูนสูงขึ้นมา

 3. รูปลอยตัว เป็นการแกะสลักที่มองเห็นได้โดยรอบทุกด้าน

เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลัก

     1.      มีดบาง ใช้สำหรับปอก หั่น ตัด ปาด เกลาให้ได้รูปทรงที่ต้องการ

     2.     มีดปลายแหลม , มีดปลายโค้ง ใช้สำหรับคว้านแกะสลัก เซาะให้เป็นร่องและใช้ในการตัดเส้นลวดลายต่าง             ๆ   เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมาก จะต้องมีความคมเสมอ ในการแกะสลักมีวิธีจับอยู่ 2 แบบ คือ

      แบบที่ 1 จับมีดแบบหั่นผัก   มือขวาจับด้ามมีดอย่าให้แน่นเกินไป นิ้วชี้กดสันมีด มือซ้ายจับผักหรือผลไม้

       แบบที่ 2 จับมีดแบบจับดินสอ มือขวาจับด้ามมีด นิ้วชี้กดสันมีด เหลือปลายมีดประมาณ 2-3 เซนติเมตร มือซ้ายจับผักหรือผลไม้

     3.     มีดฟันเลื่อย   มีคมมีดหยักเหมือนฟันเลื่อย ใช้ปาดเนื้อผลไม้ที่เป็นทรงกลม เช่น แตงโม

     4.     มีดปอก   เป็นมีดที่มีคมทั้งสองด้านหันเข้าหากัน ใช้สำหรับปอกเปลือกผักและผลไม้

     5.     ที่ตักทรงกลม   มีด้ามจับตรงกลาง ปลายสองข้างเป็นครึ่งวงกลมเป็นที่ตักผักผลไม้

อุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลัก

  1. เขียงไม้/เขียงพลาสติก สำหรับรองรับเมื่อต้องการหั่นผักและผลไม้
  2. ภาชนะใส่น้ำสำหรับแช่ผักที่แกะสลักเสร็จแล้ว
  3. ถาดรองรับเศษผักและผลไม้ขณะแกะสลัก
  4. ผ้าขาวบาง สำหรับคลุมผักและผลไม้ที่แกะสลักเสร็จแล้ว
  5. ผ้าเช็ดมือ
  6. ที่ฉีดน้ำ
  7. จาน ถาด สำหรับจัดผักและผลไม้ที่แกะสลักเสร็จแล้ว
  8. กล่องพลาสติกหรือถุงพลาสติกสำหรับใส่ผักและผลไม้ที่แกะเสร็จแล้วนำไปแช่ในตู้เย็น

การเก็บรักษาเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลัก

หลังใช้งานแล้วต้องทำความสะอาดทุกครั้ง วัสดุที่นำมาแกะสลักบางชนิดมียาง ต้องล้างยางที่คมมีดด้วยมะนาวหรือน้ำมันก่อน แล้วจึงล้างน้ำให้สะอาด เช็ดให้แห้ง เก็บปลายมีดในฝักหรือปลอก

หมั่นดูแลมีดแกะสลักให้มีความคมสม่ำเสมอ เวลาใช้งานผักและผลไม้จะได้ไม่ช้ำ โดยหลังการใช้ต้องลับคมทุกครั้ง เช็ดให้แห้งเก็บใส่กล่องโดยเฉพาะ และเก็บไว้ให้พ้นมือเด็ก

ผักและผลไม้ที่สามารถนำมาแกะสลักได้

  • แตงกวา   เลือกผิวสดสีเขียวปนขาวไม่เหลือง สามารถนำมาแกะสลักได้หลายรูปแบบ  เช่น กระเช้าใส่ดอกไม้   ดอกไม้ ใบไม้  เมื่อแกะเสร็จให้ล้างด้วยน้ำเย็นใส่กล่องแช่เย็นไว้ หรือใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำคลุมไว้จะได้สดและกรอบ
  • มะเขือเทศ เลือกผลที่มีผิวสด ขั้วสีเขียว  นำมาแกะสลักเป็นดอกไม้ หรือฝานผิวนำมามวนเป็นดอกกุหลาบ เมื่อแกะเสร็จควรล้างด้วยน้ำเย็น ใส่กล่องแช่เย็น
  • มะเขือ เลือกผลที่มีผิวเรียบ ไม่มีรอยหนอนเจาะ ขั้วสีเขียวสด   นำมาแกะเป็นใบไม้ ดอกไม้ เมื่อแกะเสร็จควรแช่ในน้ำมะนาวหรือน้ำมะขาม จะทำให้ไม่ดำ
  • แครอท เลือกสีส้มสด หัวตรง นำมาแกะเป็นดอกไม้  ใบไม้ สัตว์ต่าง ๆ เมื่อแกะเสร็จให้แช่ไว้ในน้ำเย็น
  • ขิง เลือกเหง้าที่มีลักษณะตามรูปร่างที่ต้องการ   แกะเป็นช่อดอกไม้  ใบไม้ สัตว์ เมื่อนำขิงอ่อนไปแช่ในน้ำมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูสวย
  • มันเทศ เลือกหัวที่มีผิวสด ไม่มีแมลงเจาะ แกะเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ  แกะเสร็จแล้วนำไปแช่ในน้ำมะนาวหรือน้ำมะขาม ผิวจะได้ไม่ดำ
  • เผือก เลือกหัวใหญ่กาบสีเขียวสด นำมาแกะเป็นภาชนะใส่ของ หรืออาหาร ดอกไม้ ใบไม้ หรือสัตว์ เมื่อแกะเสร็จให้นำไปแช่ในน้ำมะนาวหรือน้ำมะขามจะทำให้มีสีขาวขึ้น
  • ฟักทอง เลือกผลแก่เนื้อสีเหลืองนวล นำมาแกะเป็นภาชนะใส่ของหรืออาหาร  ดอกไม้  ใบไม้ หรือสัตว์ต่าง ๆ  แกะเสร็จแล้วให้ล้างน้ำแล้วใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำคลุมไว้
  • มันฝรั่ง  เลือกผิวสด นำมาแกะเป็นใบไม้ ดอกไม้ สัตว์ต่าง ๆ เมื่อปอกเปลือกแล้วให้แช่ไว้ในน้ำมะนาวจะได้ไม่ดำ
  • แตงโม  เลือกผลให้เหมาะกับงานที่ออกแบบไว้ นำมาแกะเป็นภาชนะแบบต่าง ๆ เมื่อแกะเสร็จให้ใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำคลุมไว้
  • เงาะ นำมาคว้านเอาเมล็ดออก ใช้วุ้นสีต่าง หรือสับปะรด หรือเนื้อแตงโม ยัดใส่แทน เมื่อแกะเสร็จให้นำไปแช่เย็น
  • ละมุด เลือกผลขนาดพอดี ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ไม่สุกงอม แกะเสร็จให้นำไปแช่ในตู้เย็น
  • สับปะรด เลือกผลใหญ่ ไม่ช้ำ แกะเป็นพวงรางสาดได้สวยงาม แกะเสร็จให้ล้างด้วยน้ำเย็นและนำไปแช่เย็น
  • ส้ม เลือกผลใหญ่ สีส้มสด แกะเป็นหน้าสัตว์เช่น แมวเหมียว
  • น้อยหน่า เลือกผลใหญ่ไม่งอม นำมาคว้านเอาเมล็ดออก แกะเสร็จนำไปแช่เย็น

ลำดับขั้นการแกะสลักผักและผลไม้

  1. ออกแบบ โดยการร่างแบบในกระดาษ
  2. วิเคราะห์เพื่อเลือกผักหรือผลไม้ในการนำมาแกะสลักให้มีความเหมาะสมตามที่ออกแบบไว้
  3. เกลาให้ได้รูปทรงตามที่ออกแบบไว้
  4. แกะสลักวิธีเซาะร่องให้ได้รูปทรงที่ออกแบบไว้

งานปั้นดิน ซึ่งได้ทำขึ้นเป็นงานปั้นแบบไทยประเพณี ด้วยโบราณวิธี ตามความรู้ของช่างปั้นแต่ก่อนนั้น อาจ จำแนกงานปั้น และ วิธีการปั้นดินออกเป็นแต่ละประเภท คือ

  1. งานปั้นดินดิบ งานปั้นประเภทนี้ใช้ดินเหนียว ที่นำมาจากแหล่งดินในธรรมชาติทั่วไป หากต้องการให้มีความแข็งแรง และคงทนอยู่ได้นานๆ จึงนำเอาวัสดุบางอย่างผสมร่วมเข้ากับเนื้อดิน เพื่อเสริมให้ดินมีโครงสร้างแข็งแรงขึ้นเป็นพิเศษ ได้แก่ กระดาษฟาง กระดาษข่อย และตัวไพ่จีน เป็นต้น
  2. งานปั้นดินเผา เป็นงานปั้นประเภทใช้ดินเหนียว ซึ่งนำมาจากแหล่งดินในธรรมชาติทั่วไป เช่นเดียวกับดินที่ ใช้ในงานปั้นดินดิบ แต่เนื้อดินที่จะใช้ในงานปั้นดินเผา ต้องใช้ทรายแม่น้ำ ที่ผ่านการร่อนเอาแต่ทรายละเอียดผสม ร่วมกับเนื้อดินแล้ว นวดดินกับทรายให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน และทำให้เนื้อดินแน่น อนึ่ง การที่ใช้ทรายผสม ร่วมกับดินเหนียวเช่นนี้ ก็เพื่อช่วยมิให้เนื้อดินแตกร้าว เมื่อแห้งสนิท และ นำเข้าเผาไฟให้สุก

งานปั้นดินดิบ และ งานปั้นดินเผา ในลักษณะงานปั้นแบบไทยประเพณี ช่างปั้นอาศัยเครื่องมือร่วมด้วยกับการปั้นด้วยมือของช่างปั้นเองด้วย เครื่องมือ สำหรับงานปั้นดินอย่างโบราณวิธี มีดังนี้

  1. ไม้ขูด ใช้สำหรับขูด ควักดิน
  2. ไม้เนียน ใช้สำหรับปั้นแต่งส่วนย่อยๆ
  3. ไม้กวด ใช้สำหรับกวดดินให้เรียบ
  4. ไม้กราด ใช้สำหรับขูดผิวดิน ส่วนที่ไม่ต้องการออกจากงานปั้น

เครื่องมือ สำหรับงานปั้นอาจจะมีจำนวนมาก หรือน้อยชิ้น หรือมีต่างๆ ไปตามแต่ความต้องการ และจำเป็น สำหรับช่างปั้นแต่ละคน

วิธีการและขั้นตอนการปั้น

งานปั้นดินดิบ และ งานปั้นดินเผา ดำเนินงานด้วยวิธีการ และ มีขั้นตอนโดยลำดับดังนี้

  • งานขึ้นรูป คือ การก่อตัวด้วยดิน ขึ้นเป็นรูปทรงเลาๆ อย่างที่เรียกว่า “รูปโกลน” ลักษณะเป็นรูปหยาบๆ ทำพอ เป็นเค้ารูปทรง โดยรวมของสิ่งที่จะเพิ่มเติมส่วนละเอียดให้ชัดเจนต่อไป
  • งานปั้นรูป คือ การนำดินเพิ่มเติม หรือ ต่อเติมขึ้นบนรูปโกลน หรือ รูปทรงโดยรวมที่ได้ขึ้นรูปไว้แต่ต้นปรากฏ รูปลักษณะที่ชัดเจน ตามประสงค์ ที่ต้องการจะปั้นให้เป็นรูปนั้นๆ จนเป็นรูปปั้น ที่มีความชัดเจนสมบูรณ์ ดังความมุ่งหมายของช่างปั้น ผู้ทำรูปปั้นนั้น
  • งานปั้นเก็บส่วนละเอียด เป็นกระบวนการปั้นขั้นหลังสุด โดยทำการปั้น แต่งส่วนที่ละเอียดให้ชัดเจนเน้น หรือ เพิ่มเติมส่วนที่ต้องการให้เห็นสำคัญ หรือ แสดงออกความรู้สึกเนื่องด้วยอารมณ์ต่างๆ ของช่างปั้น

งานปั้นดินดิบนั้น เมื่อชิ้นงานสำเร็จ ก็มักผึ่งให้แห้งสนิท แล้วจึงนำไปใช้งานตามความประสงค์ต่างๆ บางอย่างที่ต้องการตกแต่งด้วยการระบาย หรือ เขียนสีเพิ่มเติมให้สวยงามตามความนิยม และ ความต้องการใช้งาน จะเขียนระบายด้วยสีฝุ่นผสมน้ำกาวทับลงบนรูปปั้นดินดิบ ทั้งในส่วนพื้นของรูป และ ส่วนที่แสดงรายละเอียด มีตัวอย่าง เช่น รูปปั้นหัววัว รูปปั้นหัวกวาง สำหรับแขวนประดับฝาผนัง รูปปั้นฤาษีต่างๆ รูปปั้นนางกวัก รูปปั้นละครยก ตุ๊กตาชาววัง เป็นต้น

อนึ่ง งานปั้นดินเผา ก็ดำเนินขั้นตอนการปั้น เช่นเดียวกับการปั้นดินดิบก่อน แล้วจึงจัดการเผาให้รูปปั้นดินนั้นให้สุก ด้วยความร้อนที่ใช้ถ่านไม้ หรือ แกลบเป็นเชื้อเพลิงตามความเหมาะสมแก่ชิ้นงาน

งานปั้นดินเผาบางประเภทเมื่อเผาสุกได้ที่แล้ว นำไปใช้งานในสภาพที่ชิ้นงานนั้นมีสีตามธรรมชาติของเนื้อดิน มีตัวอย่างเช่น พระพุทธพิมพ์ พระพุทธปฎิมากรรม ลวดลายต่างๆ สำหรับประดับงานสถาปัตยกรรม หางกระเบื้อง กาบกล้วย เป็นต้น

งานปั้นดินเผาบางประเภท ต้องการตกแต่งเพิ่มเติม ด้วยการระบายสี และ เขียนส่วนละเอียดให้สวยงามตามความนิยม และ ความต้องการใช้เช่น ตุ๊กตาเจ้าพราหมณ์ ตุ๊กตาชายหญิงทำเป็นข้ารับใช้ตามศาลพระภูมิ ตุ๊กตารูปช้างม้าสำหรับถวายแก้บนเจ้าและพระภูมิ ตุ๊กตารูปเด็กทำเป็นของเล่นสำหรับเด็ก ตุ๊กตารูปสัตว์ต่างๆ ทำเป็นของเล่น เป็นต้น

งานปั้นดินดิบ และ งานปั้นดินเผา ดำเนินงานด้วยวิธีการ และ มีขั้นตอนโดยลำดับดังนี้

  • งานขึ้นรูป คือ การก่อตัวด้วยดิน ขึ้นเป็นรูปทรงเลาๆ อย่างที่เรียกว่า “รูปโกลน” ลักษณะเป็นรูปหยาบๆ ทำพอ เป็นเค้ารูปทรง โดยรวมของสิ่งที่จะเพิ่มเติมส่วนละเอียดให้ชัดเจนต่อไป
  • งานปั้นรูป คือ การนำดินเพิ่มเติม หรือ ต่อเติมขึ้นบนรูปโกลน หรือ รูปทรงโดยรวมที่ได้ขึ้นรูปไว้แต่ต้นปรากฏ รูปลักษณะที่ชัดเจน ตามประสงค์ ที่ต้องการจะปั้นให้เป็นรูปนั้นๆ จนเป็นรูปปั้น ที่มีความชัดเจนสมบูรณ์ ดังความมุ่งหมายของช่างปั้น ผู้ทำรูปปั้นนั้น
  • งานปั้นเก็บส่วนละเอียด เป็นกระบวนการปั้นขั้นหลังสุด โดยทำการปั้น แต่งส่วนที่ละเอียดให้ชัดเจนเน้น หรือ เพิ่มเติมส่วนที่ต้องการให้เห็นสำคัญ หรือ แสดงออกความรู้สึกเนื่องด้วยอารมณ์ต่างๆ ของช่างปั้น

งานปั้นดินดิบนั้น เมื่อชิ้นงานสำเร็จ ก็มักผึ่งให้แห้งสนิท แล้วจึงนำไปใช้งานตามความประสงค์ต่างๆ บางอย่างที่ต้องการตกแต่งด้วยการระบาย หรือ เขียนสีเพิ่มเติมให้สวยงามตามความนิยม และ ความต้องการใช้งาน จะเขียนระบายด้วยสีฝุ่นผสมน้ำกาวทับลงบนรูปปั้นดินดิบ ทั้งในส่วนพื้นของรูป และ ส่วนที่แสดงรายละเอียด มีตัวอย่าง เช่น รูปปั้นหัววัว รูปปั้นหัวกวาง สำหรับแขวนประดับฝาผนัง รูปปั้นฤาษีต่างๆ รูปปั้นนางกวัก รูปปั้นละครยก ตุ๊กตาชาววัง เป็นต้น

อนึ่ง งานปั้นดินเผา ก็ดำเนินขั้นตอนการปั้น เช่นเดียวกับการปั้นดินดิบก่อน แล้วจึงจัดการเผาให้รูปปั้นดินนั้นให้สุก ด้วยความร้อนที่ใช้ถ่านไม้ หรือ แกลบเป็นเชื้อเพลิงตามความเหมาะสมแก่ชิ้นงาน

งานปั้นดินเผาบางประเภทเมื่อเผาสุกได้ที่แล้ว นำไปใช้งานในสภาพที่ชิ้นงานนั้นมีสีตามธรรมชาติของเนื้อดิน มีตัวอย่างเช่น พระพุทธพิมพ์ พระพุทธปฎิมากรรม ลวดลายต่างๆ สำหรับประดับงานสถาปัตยกรรม หางกระเบื้อง กาบกล้วย เป็นต้น

งานปั้นดินเผาบางประเภท ต้องการตกแต่งเพิ่มเติม ด้วยการระบายสี และ เขียนส่วนละเอียดให้สวยงามตามความนิยม และ ความต้องการใช้เช่น ตุ๊กตาเจ้าพราหมณ์ ตุ๊กตาชายหญิงทำเป็นข้ารับใช้ตามศาลพระภูมิ ตุ๊กตารูปช้างม้าสำหรับถวายแก้บนเจ้าและพระภูมิ ตุ๊กตารูปเด็กทำเป็นของเล่นสำหรับเด็ก ตุ๊กตารูปสัตว์ต่างๆ ทำเป็นของเล่น เป็นต้น

กรอบรูปงานปั้นจากดิน

ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย

การปั้นหม้อดินเผา

งานปั้นหม้อในยุคก่อน ๆ เป็นไปตามกลไกธรรมชาติ คุณ ยายประนอม อุทิศศรี และ คุณยายศรีนารถ สุขสวัสดิ์ สองผู้เฒ่าแห่งบ้านคลองสระบัว รำลึกถึงอดีตด้วยใบหน้าในยิ้มว่า สมัยก่อนทุกอย่างต้องทำด้วยตัวเอง เครื่องมือทุ่นแรงไม่มีให้ใช้ อย่างแป้นหมุน หรือ “ แระ ” ต้องใช้กำลังขาเข้าช่วยแต่สมัยนี้มีสายพานมอเตอร์ ทุ่นแรงไปมากทีเดียว

“ หม้อที่เผาจนเสร็จแล้วก็เหมือนกัน เมื่อก่อนต้องขนใส่เรือพายไปแลกเปลี่ยนสินค้าตามหัวเมือง หรือไม่ก็ชุมทางเรือ เรียกว่าแลกบ้างขายบ้าง กว่าจะหมดก็ปาเข้าไปหลายวัน ขากลับก็มีข้าวของเครื่องใช้ตุนกับมาเยอแยะไปหมด ” คุณประนอมเล่าปนขำอย่างสนุก

ส่วนคุณยายศรีนารถ ซึ่งปั้นหม้อมาตั้งแต่เด็ก ก่อนไปใช้ชีวิตช่วงหนึ่งทำงานที่วิทยาลัยพระนครศรีอยุธยาจนถึงวัยเกษียณ จึงกลับมาสืบสานงานปั้นหม้อดิน โดยเฉพาะสถาบันศึกษาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คณะครูจะเปิดโอกาสให้นักเรียนนักศึกษามาดูการสาธิตและให้ทดลองทำด้วยตนเอง

การปั้นหม้อดิน

•  ดินที่นำมาใช้ในปั้นหม้อ คือ ดินเหนียวที่หาได้ตามท้องไร่ท้องนา

•  ทราย ที่ใช้เป็นทรายละเอียดตามแม่น้ำใช้เป็นส่วนผสมในระหว่างการ

ย่ำดินกับทรายให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว

3. กระบะหรืออ่าง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการหมักย่ำดิน บางบ้านใช้วิธีขุดดิน ลงไปเป็นแอ่งสี่เหลี่ยมหรือกลมรีลึกพอประมาณ

4. น้ำ ที่ใช้เป็นน้ำจากลำคลองสระบัวนั่นเอง ใช้เป็นตัวประสานระหว่างดินกับทรายให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว

5. แป้นหมุน เครื่องมือชนิดนี้เดิมใช้แรงงานคน เรียกว่า “ แระ ” มาระยะหลังใช้มอเตอร์สายพานแทน

6. ไม้ตี เป็นอุปกรณ์ที่มีหลายขนาด และใช้ในโอกาสต่างกัน เช่น ไม่ตีแรก จะมีขนาดเหมาะมือ ไม้ตีไม้สองเรียก ไม้ตน ใช้ต่อจากขั้นตอนแรกและไม้ตีไม้สามเรียก ไม้ลายแบน

7. ลูกหิน ทำมาจากดินเหนียวผสมปูนซีเมนต์เป็นตัวยันเนื้อหม้อดินขณะที่อีกมือหนึ่งจะทำหน้าที่ดีอยู่ด้านนอก

8. หินขัด หาได้ทั่วไป เป็นหินผิวเรียบทั่วไป เช่น หินอ่อนหรือหินแม่น้ำใช้สำหรับขัดผิวหม้อดินให้เรียบเสมอกัน ก่อนการชุบสี

9. สีดินเหลือง ทำมาจากดินเหนียวสีเหลืองผสมน้ำ คนจนเนื้อดินและโคลนจะได้น้ำดินสีเหลืองจะนำมาใช้เป็นสีทาผิวหม้อดินที่ผ่านการขัดมาแล้ว

ขั้นตอนการทำ

1. ย่ำดิน โดยขั้นแรกจะนำดินที่เป็นก้อนมาแช่น้ำหมักไว้ราว 1-2 วัน แล้วนำดินที่ได้มาใส่กระบะที่เตรียมไว้ พร้อมกับผสม ดิน 2 ส่วน ทราย 1 ส่วน และน้ำพอประมาณ

2. เริ่มทำการย่ำดิน ย่ำจนมั่นใจว่าเข้ากันเป็นเนื้อเดียวอย่างพอดี จึงตักดินขึ้นมาห่อไว้ด้วยผ้าชุบน้ำ

3. ปั้นหม้อ คนปั้นหม้อจะตักดินมาวางบนแป้นหมุนโดยกะประมาณเอาเองว่าจะปั้นหม้อครั้งละจำนวนเท่าใด ดินที่ถูกตักขึ้นมาโปะบนแป้นจะได้รับการจัดแต่งลักษณะพอกเป็นเนิน เปิดสวิตช์ ใช้ผ้าชุบน้ำคอยหล่อลื่นใช้มือกดลงตรงกลางจนได้ขนาดความหนาและความสูงตามต้องการ จากนั้น นำผ้าชุบน้ำ “ รีหม้อ ” ให้ได้ส่วนโค้งเว้าเมื่อพอใจแล้วจึงใช้ด้ายตัดดินตรงฐานหม้อ ถือเป็นการปั้นหม้อเสร็จหนึ่งใบ

4. เรียงตาก หม้อที่ได้จากการปั้นจะถูกลำเลียงมาวางบนแผ่นกระดานไม้อย่างเป็นระเบียบก่อนนำไปตาก สามารถตากได้ทั้งแดดและลม และใช้เวลา 4-5 ชั่วโมงก็ใช้ได้ หากไม่มีแดดก็ใช้ตากลมประมาณ 1 คืนก็ใช้ได้

5. ทาสีหม้อ นำหม้อที่ผ่านการตบแต่งเรียบร้อยแล้วมาทาสี โดยใช้ผ้าชุบโคลนสีเหลือง หรือที่เรียกว่า “ ดินเหลือง ” ตากไว้ 1 คืน

6. เผาหม้อดิน ชาวบ้านคลองสระบัว ยังคงใช้วิธีการเผาหม้อดินแบบโบราณอยู่เรียกว่า “ เผาเตาสุม ” โดยเตาเผาจะได้รับการก่อขึ้นเป็นทรงสูงเหนือพื้นดินส่วนด้านล่างของเตาจะขุดดินลงไปให้ลึกพอประมาณ เพื่อใสฟืนกระถินซึ่งเป็นเชื้อเพลิงพื้นบ้าน การเผาจะใช้เวลาชั่วข้ามคืนแล้วจึงเปิดเตาในช่วงเช้า ถึงขั้นตอนนี้ระหว่างที่หม้อถูก

ลำเลียงออกจากเตาเผา หากใบไหนร้าวหรือมีตำหนิมากเกินไปก็จะทุบทิ้ง จะไม่ยอมจำหน่ายออกไปเพราะจะทำให้เสียชื่อ “ หม้อดินเผาบ้านคลองสระบัว ”

การปั้นหม้อแต่ละครั้งทำกัน 3 ขนาด คือ ขนาดใหญ่เรียกว่า “ หม้อต้น ” ขนาดกลางเรียกว่า “ หม้อกลาง ” และขนาดเล็กเรียกว่า “ หม้อกระจอก ” ซึ่งการทำหม้อขนาดใดจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับการสั่งของพ่อค้า

ที่มา:http://www.changsipmu.com/sculpting_p02.html

ที่มา:http://ilwc.aru.ac.th/Contents/ArtCraftThai/ArtCraftThai34.htm

งานดอกไม้สด  พีธีต่างๆ

การจัดดอกไม้ ถือเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องอาศัยทักษะ ประสบการณ์ เพราะจะต้องใช้ดอกไม้ที่แตกต่างกันในหลากหลายสี การไล่โทน การนำเอาดอกไม้หรือใบไม้ ตลอดจนวัสดุต่าง ๆ มาจัดให้อยู่ในองค์ประกอบทางศิลปะ ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กัน และทำให้เกิดมุมมองที่สวยงาม นับได้ว่าเป็นศิลปะและวิวัฒนาการที่สืบทอดกันมาช้านาน การจัดดอกไม้โดยส่วนใหญ่นิยมจัดเลียนแบบดอกไม้สดธรรมชาติ

หลักการจัดดอกไม้

สิ่งที่ต้องเตรียม

1. ภาชนะสำหรับจัด หมายถึง ภาชนะสำหรับรองรับดอกไม้มีหลายชนิด เช่น แจกันรูปทรงต่าง ๆ เช่น กระบุง ตะกร้า ชะลอม

2. ที่สำหรับรองภาชนะ เมื่อจัดดอกไม้เสร็จควรมีสิ่งรองรับเพื่อความสวยงาม ความโดดเด่นของแจกัน เช่นไม้ไผ่ขัดหรือสานเป็นแพ กระจก แป้นไม้

3. กรรไกรสำหรับตัดแต่ง

4. เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ลวด ทราย ดินน้ำมัน กระดาษสี ฟลอร่าเทปสีเขียว ก้านมะพร้าว ลวดเบอร์ 24 และ เบอร์ 30

5. ดอกไม้ประดิษฐ์พร้อมใบไม้สำเร็จ

6. เครื่องประกอบตกแต่ง เช่น กิ่งไม้ ขอนไม้ ตุ๊กตา ขดลวด เป็นต้น

ดอกไม้ที่นิยมใช้

1. เลือกดอกไม้ตามวัตถุประสงค์สำหรับงานนั้น ๆ

2. ความทนทานของดอกไม้ประดิษฐ์

3. ขนาด เลือกให้เหมาะกับภาชนะ สถานที่ตั้ง และแบบของการจัด

4. การเลือกสี ต้องดูฉากด้านหลังและจุดประสงค์ว่าต้องการ กลมกลืน หรือตัดกัน

5. ความนิยม เช่นดอกกุหลาบนิยมใช้ในงานมงคล ดอกบัวใช้บูชาพระ

สิ่งควรคำนึงในการจัด ดอกไม้

1. สัดส่วน ควรให้ความสูงของดอกไม้พอดีกับแจกันเช่น แจกันทรงสูง ดอกไม้ดอกแรกควรสูง เท่ากับ 1.5 – 2 เท่าของความสูงของแจกัน สำหรับแจกันทรง     เตี้ยดอกไม้ดอกแรกควรสูง เท่ากับ 1.5 – 2 เท่าของความกว้างของแจกัน

2. ความสมดุยลควรจัดให้มีความสมดุลไม่หนักหรือเอียงข้างใดข้างหนึ่ง

3. ความกลมกลืน เป็นหัวใจของการจัดต้องมีความสัมพันธ์ทุกด้านตั้งแต่ขนาดของแจกัน ความเล็กและใหญ่ของดอกไม้ ความมากน้อยของใบที่นำมาประกอบ

4. ความแตกต่าง เป็นการจัดที่ทำให้สวยงามสะดุดตา เช่นจัดดอกไม้เล็ก ๆ และมีดอกใหญ่เด่นขึ้นมา

5. ช่วงจังหวะ ช่วยให้ดอกไม้มีชีวิตมากขึ้น ควรไล่ขนาด ดอกตูม ดอกแย้ม จนถึงดอกบาน

6. การเทียบส่วน เป็นความสัมพันธ์กับส่วนต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ดอกเล็กควรใส่แจกันใบเล็ก ตลอดจนที่

รูปแบบการจัดดอกไม้

การจัดดอกไม้โดยทั่ว ๆ ไปแบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้

1. การจัดดอกไม้เลียนแบบธรรมชาติ ( เพื่อใช้เอง) เป็นการจัดดอกไม้แบบง่าย ๆ เพื่อประดับตกแต่งบ้าน โดยอาศัยความเจริญเติบโตของต้นไม้ ดอกไม้ กิ่งไม้ นำมาจัดลงภาชนะ โดยใช้กิ่งไม้ขนาดต่าง ๆ 3 กิ่ง การจัดดอกไม้แบบนี้ นิยมนำหลักการจัดดอกไม้จากประเทศญี่ปุ่นมาประยุกต์

2. การจัดดอกไม้แบบสากล นิยมจัด 7 รูปแบบ คือ รูปทรงแนวดิ่ง ทรงกลม ทรงสามเหลี่ยมมุมฉากทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า ทรงพระจันทร์คว่ำ ทรงพระจันทร์เสี้ยว ทรงตัวเอส

3. การจัดดอกไม้แบบสมันใหม่ เป็นการจัดดอกไม้ที่มีรูปแบบอิสระ เน้นความหมายของรูปแบบบางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้ดอกไม้แต่อาจใช้วัสดุหรือภาชนะเป็นจุดเด่นเป็นการสร้างความรู้สึกให้ผู้พบเห็น การจัดดอกไม้แบบนี้ยังอาศัยหลักเกณฑ์ สัดส่วนและความสมดุลด้วย

การเตรียมดอกไม้ก่อนจัด

การเตรียมดอกไม้ก่อนจัด

1. ดอกไม้ ใบไม้ ที่ซื้อมาจากตลาดต้องนำมาพักไว้ในน้ำอย่างน้อย 45 นาที – 2 ชั่วโมง

2. นำดอกไม้มาลิดใบที่ไม่สวย เหี่ยว หรือไม่จำเป็นออกไป

3. ตัดก้านดอกไม้ใต้น้ำ หากก้านไม่แข็งให้ตัดตรง หากก้านแข็งให้ตัดเฉียงประมาณ 1 นิ้ว

4. แช่ดอกไม้พักไว้ในน้ำมาก ๆ

5. ดอกไม้ที่ซื้อมาค้างคืนให้ห่อด้วยใบตองหรือกระดาษ นำไปแช่ไว้ในถังน้ำ เพื่อไม่ให้ดอกบานเร็ว

หลักทั่วไปในการจัดแจกันดอกไม้

1. หน้าที่และประโยชน์ใช้สอย ก่อนจัดควรจะทราบวัตถุประสงค์ในการจัดตกแต่งก่อนว่า จะใช้ในงานอะไร และจะจัดวางที่ไหน เช่น วางกลางโต๊ะ วางมุมโต๊ะ ชิดผลัก หรือแจกันติดผนัง เป็นต้น และควรดูด้วยว่า ลักษณะของห้องที่จะจัดวางเป็นห้องลักษณะแบบใด ทรงใด และขนาดเล็ก ปานกลางหรือใหญ่ เพื่อเราจะได้เลือกแจกันและดอกไม้ที่เหมาะสมกับห้องนั้น ๆ ด้วย

2. สัดส่วน สัดส่วนเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่จะกำหนดว่าแจกันที่จัดเสร็จจะสวยหรือไม่สวย ถ้าสัดส่วนไม่สมดุลย์แจกันที่จัดออกมาก็ไม่สวย สิ่งที่ต้องคำนึง

2.1 ภาชนะทรงเตี้ย ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่า ของความกว้างของภาชนะ

2.2 ภาชนะทรงสูง ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่า ของความสูงของภาชนะ

3. การเทียบส่วน ระหว่างดอกไม้กับแจกัน, แจกันกับขนาดของห้อง

4. ความสมดุลย์ เป็นความถ่วงดุล เช่น ซ้ายขวาเท่ากัน หรือ สองข้างไม่เท่ากันแต่หนักไปทางใดทางหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้จัด

5. การเลือกสี เส้นและขนาดให้แตกต่าง กัน เช่น สีกลาง อ่อน เส้นที่โค้งเรียว ขนาดดอกมีใหญ่เล็กเป็นต้น

6. ความกลมกลืน คือ การเข้ากันอย่างสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ

7. ความแตกต่าง เช่น สีของดอก ใบ และภาชนะที่มีสีแตกต่างกัน แต่ความแตกต่างไม่ควรเกิน 20%

8. การสร้างจุดเด่น คือ จัดให้มีตัวเด่น ตัวรอง และให้มีการส่งเสริมกันและกัน

ที่มา:http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/13141-00/ 

ข้อใด จัดเป็นเอกลักษณ์ สำคัญ ของงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย

ความเป็นมาของงานจักสาน

การทำเครื่องจักสานในประเทศไทย มีการทำสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์นักโบราณคดีได้พบหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการทำเครื่องจักสานในยุคหินใหม่ที่บริเวณถ้ำแห่งหนึ่งในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี  ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่เป็นลายขัดสองเส้นประมาณว่ามีอายุราว 4,000 ปีมาแล้ว

การทำเครื่องจักสานยุคแรก ๆ มนุษย์จะนำวัตถุดิบจากธรรมชาติเท่าที่จะหาได้ใกล้ตัวมาทำให้เกิดประโยชน์ เช่น การนำใบไม้ กิ่งไม้ ต้นไม้ประเภทเถานำมาสานมาขัดเป็นรูปทรงง่ายๆ  เพื่อใช้เป็นภาชนะหรือมาสานขัดกันเป็นแผ่นเพื่อใช้สำหรับปูรองนั่ง รองนอน ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นเครื่องจักสานที่มีความประณีตในยุคต่อๆ มา เครื่องจักสานเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มนุษย์คิดวิธีการต่างๆ  ขึ้นเพื่อใช้สร้างเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันด้วยวิธีการสอดขัดและสานกันของวัสดุ ที่เป็นเส้นเป็นริ้ว โดยสร้างรูปทรงของสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้นตามความประสงค์ในการใช้สอยตามสภาพภูมิศาสตร์ ประสานกับขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อศาสนาและวัสดุในท้องถิ่นนั้นๆ

การเรียกเครื่องจักสานว่า “จักสาน” นั้น เป็นคำที่เรียกขึ้นตามวิธีการที่ทำให้เกิดเครื่องจักสาน เพราะเครื่องจักสานต่างๆ  จะสำเร็จเป็นรูปร่างที่สมบูรณ์ได้นั้นต้องผ่านกระบวนการ ดังนี้

1. การจัก คือการนำวัสดุมาทำให้เป็นเส้น เป็นแฉก หรือเป็นริ้วเพื่อความสะดวกในการสาน  ลักษณะของการจักโดยทั่วไปนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของวัสดุแต่ละชนิดซึ่งจะมีวิธีการเฉพาะที่แตกต่างกันไป  หรือบางครั้งการจักไม้ไผ่หรือหวายมักจะเรียกว่า “ตอก” ซึ่งการจักถือได้ว่าเป็นขั้นตอนของการเตรียมวัสดุในการทำเครื่องจักสานขั้นแรก

2. การสาน เป็นกระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่นำวัสดุธรรมชาติมาทำประโยชน์โดยใช้ความคิดและฝีมือมนุษย์เป็นหลัก การสานลวดลายจะสานลายใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้สอย  ซึ่งมีด้วยกัน 3 วิธี คือ – การสานด้วยวิธีสอดขัด – การสานด้วยวิธีการสอดขัดด้วยเส้นทแยง – การสานด้วยวิธีขดเป็นวง

3. การถัก เป็นกระบวนการประกอบที่ช่วยให้การทำครื่องจักสานสมบูรณ์ การถักเครื่องจักสาน เช่น  การถักขอบของภาชนะจักสานไม้ไผ่ การถักหูภาชนะ เป็นต้น  การถักส่วนมากจะเป็นการเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างภายนอก เช่น ขอบ ขา ปาก ก้น ของเครื่องจักสาน และเป็นการเพิ่มความสวยงามไปด้วย

มูลเหตุที่ทำให้เกิดเครื่องจักสานที่สำคัญ 3 ประการดังนี้

1. มูลเหตุจากความจำเป็นในการดำรงชีวิต การดำรงชีวิตในชนบทจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน ที่สามารถผลิตได้เองมาช่วยให้เกิดความสะดวกสบาย  โดยเฉพาะผู้มีอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ ตามหน้าที่ใช้สอยดังนี้

1.1 เครื่องจักสานที่ใช้ในการบริโภค  ได้แก่ ซ้าหวด กระติ๊บ แอบข้าว หวดนึ่งข้าวเหนียว ก่องข้าว กระชอน กระด้ง ฯลฯ

1.2 เครื่องจักสานที่ใช้เป็นภาชนะ ได้แก่ กระบุง กระจาด ซ้ากระทาย กระบาย กะโล่ กระด้ง ชะลอม ฯลฯ

1.3 เครื่องจักสานที่ใช้เป็นเครื่องตวง ได้แก่ กระออม กระชุ กระบุง สัด ฯลฯ

1.4  เครื่องจักสานที่ใช้เป็นเครื่องเรือนและเครื่องปูลาด ได้แก่ เสื่อต่าง ๆ

1.5 เครื่องจักสานที่ใช้ป้องกันแดดฝน ได้แก่  หมวก กุ๊บ งอบ ฯลฯ

1.6 เครื่องจักสานที่ใช้ในการดักจับสัตว์ ได้แก่ ลอบ ไซ อีจู้ ชะนาง จั่น ฯลฯ

1.7 เครื่องจักสานที่ใช้เกี่ยวกับความเชื่อ  ประเพณีและศาสนา ได้แก่ ก่องข้าวขวัญ ซ้าสำหรับใส่พาน สลาก ฯลฯ

2.  มูลเหตุที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติตามสภาพภูมิศาสตร์ เพราะชาวไทยส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรม  จึงจำเป็นต้องทำมาหากินกันตามสภาพสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิศาสตร์ของท้องถิ่นนั้นๆ  ดังนั้นการทำเครือ่งจักสานที่เห็นได้ชัด คือ เครื่องมือเครื่องใช้ในการจับปลาและสัตว์น้ำจืด ได้แก่ ลอบ ไซ ชะนาง  โดยทำด้วยไม้ไผ่และหวาย ซึ่งรูปแบบและโครงสร้างจะสร้างขึ้นให้เหมาะสมกับการใช้สอย และครุ  ใช้สำหรับตีข้าวของทางภาคเหนือ เป็นต้น

3. มูลเหตุที่เกิดจากความเชื่อ ขบธรรมเนียมประเพณี และศาสนา เครื่องจักสานจำนวนไม่น้อยเกิดขึ้นจากผลของความเชื่อของท้องถิ่น ซึ่งจะเห็นได้จากการสานเสื่อปาหนันเพื่อใช้ในการแต่งงานของภาคใต้ เป็นต้น

วัสดุที่ใช้ทำเครื่องจักสาน

1. ไม้ไผ่ เป็นไม้ที่ใช้ทำเครื่องจักสานมากมายหลายชนิด มีลักษณะเป็นไม้ปล้อง เป็นข้อ มีหนาม และแขนงมาก เมื่อแก่จะมีสีเหลือง โดยจะนำส่วนลำต้นมาใช้จักเป็นตอกสำหรับสานเป็นภาชนะต่างๆ

2. กก เป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่ชอบขึ้นในที่ชื้นและมีขึ้นทั่วไป เช่น ในนา ริมหนอง บึง และที่น้ำท่วมแฉะ  ลำต้นกลมหรือสามเหลี่ยม มีทั้งชนิดลำต้นใหญ่ยาว และลำต้นเล็กและสั้น ส่วนมากนำมาทอเสื่อมากกว่านำมาสานโดยตรง

3. แหย่ง มีลักษณะคล้ายไม้ไผ่แต่อ่อนนุ่มกว่า ไม่มีข้อ แข็งกว่าหวายใช้ได้ทนกว่ากก ชอบขึ้นตามที่แฉะ มีผิวเหลืองสวย ใช้สานเสื่อ ทำฝาบ้าน เป็นต้น

4. หวาย จะขึ้นในป่าเป็นกอๆ  ส่วนมากจะใช้ประกอบเครื่องจักสานอื่นๆ แต่ก็มีการนำหวายมาทำเครื่องจักสานโดยตรงหลายอย่าง เช่น ตะกร้าหิ้ว  ถาดผลไม้ เป็นต้น

5. ใบตาลและใบลาน ลำต้นสูงคล้ายมะพร้าว ใบเป็นแผงใหญ่คล้ายพัด จะนำมาทำเครื่องจักสานโดยจักในออกเป็นเส้นคล้ายเส้นตอก แต่ต้องใช้ใบอ่อน ส่วนใหญ่จะใช้สานหมวกและงอบ

6. ก้านมะพร้าว ใช้ก้านกลางใบของมะพร้าว  เหลาใบออกให้เหลือแต่ก้าน แล้วนำมาสานเช่นเดียวกับตอก ส่วนมากสานเป็นตะกร้า กระจาดผลไม้เล็กๆ

7. ย่านลิเภา มีลักษณะเป็นเถาวัลย์ชนิดหนึ่ง มีขนาดเท่าหลอดกาแฟ ขึ้นตามภูเขา เทือกเขา และป่าละเมาะ  ในการใช้ต้องนำลำต้นมาลอกเอาแต่เปลือกแล้วจักเป็นเส้นๆ ย่านลิเภาส่วนใหญ่จะนำมาสานเป็นลาย เชี่ยนหมาก พาน เป็นต้น

8. กระจูด เป็นพันธุ์ไม้ตระกูลเดียวกับกก ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลักษณะลำต้นเป็นต้นกลมๆ ขนาดนิ้วก้อย  ก่อนนำมาสานจะต้องนำลำต้นมาผึ่งแดดแล้วทุบให้แบนคล้ายเส้นตอกก่อน แล้วจึงสาน

9. เตยทะเล เป็นต้นไม้จำพวกหนึ่งใบยาวคล้ายใบสับปะรดหรือใบลำเจียก ขึ้นตามชายทะเล ใบมีหนาม ก่อนนำมาสานต้องจักเอาหนามริมใบออกแล้วย่างไฟ  แช่น้ำ แล้วจึงจักเป็นเส้นตอก

10. ลำเจียก หรือปาหนัน เป็นต้นไม้จำพวกเดียวกับเตย

11. คล้า เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งคล้ายต้นข่า หรือกก มีผิวเหนียว  ใช้สานภาชนะเช่นเดียวกับหวายและไม้ไผ่

ที่มา:http://rattan.raicyber.com/?p=1337

ข้อใดจัดเป็นงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย *

1. งานประดิษฐ์ดอกไม้สด 2. งานประดิษฐ์ใบตอง 3. งานแกะสลักพืชผัก ผลไม้ 4. งานแกะสลักไม้ 5. งานจักสาน 6. งานปั้นจากดิน คุณค่าของงานงานประดิษฐ์ ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย

งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทยมีความสำคัญอย่างไร *

คุณค่าของงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยมีหลายประเภท ดังนี้ 1. สามารถนำไปใช้ประโยชน์และอำนวยความสะดวกในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวัน 2. สามารถนำไปใช้ในขนบธรรมเนียมประเพณี เทศกาลสำคัญและพิธีกำทางศาสนา 3. สามารถนำไปประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว

งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยเป็นงานที่มีลักษณะอย่างไร

งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย เป็นงานประดิษฐ์ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษหรืองานประดิษฐ์ที่มี เฉพาะในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยส่วนมากจะเป็นการสืบทอดจากผู้ใหญ่ในครอบครัวมาสู่ลูกหลาน งานประดิษฐ์ หลายอย่างทาขึ้นเพื่องานประเพณีต่าง ๆ เช่น พานพุ่ม มาลัย เครื่องแขวนบายศรีและบางอย่างก็ทาขึ้นเพื่อ ความสวยงาม สนุกสนาน ภายในครอบครัว เช่น ...

งานประดิษณ์เอกลักษณ์ไทยสะท้อนให้เห็นสิ่งใดมากที่สุด

สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย เป็นผลงานที่สะท้อนให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ ของคนไทยตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน มีความงามและคุณค่าทางศิลปะซึ่งควรอนุรักษ์ไว้ไม่ให้สูญหาย ผลงานสิ่งประดิษฐ์ ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย ที่เราสามารถพบเห็นอยู่ทั่วไปได้แก่