ข้อใด ไม่ใช่ ขั้น ตอน การ ทำงาน ของ อั ลก อริ ทึม

8. กรรมวิธีทางข้อมูลแบบข้อมูล Integer โดยกำหนดข้อมูลคือ 10 ตัวดำเนินการคือ add กับข้อมูล 5 ผลลัพธ์  เป็นเท่าใด

 ก. 5                                                 ข. 10

 ค. 15                                               ง. 50

9. กรรมวิธีทางข้อมูลแบบข้อมูล real  โดยกำหนดข้อมูลคือ 4.5  ตัวดำเนินการคือ more than  กับข้อมูล  5.0 ผลลัพธ์เป็นเท่าใด

  ก. -0.5                                            ข. 9.5

  ค. True                                           ง. False

10. กรรมวิธีทางข้อมูลแบบข้อมูล boolean  โดยกำหนดข้อมูลคือ False  ตัวดำเนินการคือ and  กับข้อมูล  True  ผลลัพธ์เป็นเท่าใด

  ก. False                                          ข. True

  ค. 15                                              ง. 50

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 2

ตอนที่ 1 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว โดยทำเครื่องหมาย X ทับตัวเลือกที่ต้องการ

1.อัลกอริทึมคืออะไร

  ก. คือลักษณะข้อมูลแบบพอยน์เตอร์

  ข. คือกระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์

  ค. คือขั้นตอนการทำงานและการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอน

  ง. คือการสร้างฐานข้อมูลเพื่อการใช้งานเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง

2. อัลกอริทึมแบบแตกย่อยคืออะไร

  ก. การทำงานอย่างมีทางเลือก

  ข. การนำปัญหาต่างๆ มาแตกย่อย

  ค. การแบ่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์

  ง. ไม่มีข้อใดถูก

3. เหตุผลที่ต้องใช้ผังงานในโครงสร้างข้อมูลเพื่ออะไร

  ก. ผังงานบ่งบอกถึงการทำงานในโครงสร้างชัดเจน

  ข. ผังงานช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนง่ายขึ้น

  ค. ผังงานสามารถหาผลลัพธ์ออกมาได้ว่าคืออะไร

  ง. ถูกทุกข้อ

4. ขั้นตอนใดของการจัดทำอัลกอริทึม ที่ต้องทราบถึงสิ่งที่โจทย์ต้องการ

  ก. Analysis

  ข. Design

  ค. Coding/Programming

  ง. Testing and Debugging

5. ขั้นตอนใดของการจัดทำอัลกอริทึมที่ต้องมีการเขียนผังงานโปรแกรม

    ก. Analysis

  ข. Design

  ค. Coding/Programming

  ง. Testing and Debugging

6. ข้อใดกล่าวถึงขั้นตอน Coding/Programming ได้ถูกต้อง

  ก. เป็นการนำผลที่ได้จากการออกแบบ มาเขียนคำสั่งของโปรแกรมเพื่อนำไปประมวลข้อมูลและได้ผลลัพธ์ของโปรแกรมต่อไป

  ข. เป็นการออกแบบคำสั่งโปรแกรมเพื่อการเขียนผังงานโปรแกรมที่ถูกต้อง

  ค. เป็นการออกแบบโปรแกรมอย่างเป็นขั้นตอนและมีเหตุมีผล โดยการเขียนเป็นประโยคภาษาอังกฤษอย่างง่าย อธิบายการประมวลผลในแต่ละขั้นตอน

  ง. เป็นการตรวจสอบว่าผังงานโปรแกรมที่เขียนมานั้นข้อผิดพลาดของโปรแกรมหรือไม่เพื่อทำการแก้ไขต่อไป

7. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของเอกสารอธิบายโปรแกรม

  ก. คำบรรยายลักษณะโปรแกรม

  ข. คำอธิบายพร้อมผังงานหรือรหัสเทียม

  ค. ขั้นตอนการเขียนคำสั่งโปรแกรม

  ง. ผลการทดสอบโปรแกรม

8.

  จากแผนผังนี้ เป็นโครงสร้างแบบใด

  ก.โครงสร้างแบบคำสั่งตามลำดับ

  ข. โครงสร้างโปรแกรมแบบมีการตัดสินใจ

  ค. โครงสร้างโปรแกรมแบบวงจรปิด

  ง. โครงสร้างโปรแกรมแบบวงจรเปิด

9. โครงสร้างโปรแกรมแบบใดที่มีลักษณะการทำงานแบบซ้ำซ้อน

  ก. โครงสร้างแบบคำสั่งตามลำดับ

  ข. โครงสร้างโปรแกรมแบบมีการตัดสินใจ

  ค. โครงสร้างโปรแกรมแบบวงจรปิด

  ง. โครงสร้างโปรแกรมแบบวงจรเปิด

10. โปรแกรมในข้อใดต่อไปนี้ที่จัดได้ว่ามีอัลกอริทึมที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด

  ก. โปรแกรมที่มีโครงสร้างการทำงานซับซ้อนมาก ใช้เวลานานในการทำงาน

  ข. โปรมแกรมที่ใช้เวลาในการทำงานนาน และใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำน้อย

  ค. โปรแกรมที่มีความเร็วในการทำงานสูง และใช้เนื้อที่หน่วยความจำมาก

  ง. โปรแกรมที่มีความเร็วในการทำงานสูง และใช้เนื้อที่หน่วยความจำน้อย

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 3

ตอนที่ 1 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว โดยทำเครื่องหมาย X ทับตัวเลือกที่ต้องการ

1.โปรแกรมใดที่จำเป็นต้องใช้ตัวแปรอาร์เรย์

  ก. โปรแกรมคำนวณหาพื้นที่รูปวงกลม

  ข. โปรแกรมคำนวณหาพื้นที่รูปวงกลม 20 วง

  ค. โปรแกรมคำนวณหาพื้นที่และเส้นรอบวงของวงกลม

  ง. โปรแกรมหาพื้นที่วงกลมใดที่มีค่ามากที่สุดจาก 20 วง

2. ถ้าตัวแปร A เป็นตัวแปรแบบอาร์เรย์แล้ว กลุ่มข้อมูลใดสามารถจัดเก็บตัวแปร A ได้

  ก. 25 ,    60  ,    boy ,    T

  ข. A ,   B ,   C ,    D

  ค. Dog ,   cat  2.50

  ง. True ,   Somsri ,   10.25

3. จากโปรแกรมต่อไปนี้  Data  มีผลลัพธ์เป็นเท่าไร

         Program  Test  1

         Var Data : integer

         Begin

            Data : = 60;

            Data : = 20;

            Writeln (Data);

          End

  ก. 60

  ข. 20

  ค. 80

  ง. 40

4. ข้อใดต่อไปนี้ที่ผู้เขียนโปรแกรมควรกำหนดเป็นตัวแปรอาร์เรย์

  ก. I  เก็บค่านับรอบของลูป จำนวน 20 รอบ

  ข. Score เก็บค่าคะแนนนักศึกษา 20  คน

  ค. Mean เก็บคะแนนเฉลี่ยนักศึกษา 20 คน

  ง. Max เก็บคะแนนนักศึกษาที่มีคะแนนสูงสุดจาก 20 คน

5. ตัวแปรอาร์เรย์ต่างกับตัวแปรเดี่ยวอย่างไร

  ก. ตัวแปรอาร์เรย์เก็บค่าในฮาร์ดดิสก์ตัวแปรเดี่ยวเก็บค่าใน RAM

  ข. ตัวแปรอาร์เรย์เก็บค่าแบบ Numeric ตัวแปรเดี่ยวเก็บค่าแบบ String

  ค. ตัวแปรอาร์เรย์เก็บค่าคงที่ ตัวแปรเดี่ยวเก็บค่าเปลี่ยนแปลงได้

  ง. ตัวแปรอาร์เรย์เก็บค่าได้หลายค่า  ตัวแปรข้อมูลเดี่ยวเก็บค่าได้เพียงค่าเดี่ยว

6. ประกาศตัวแปร A:array[1..20] of integer; ตัวแปรอาร์เรย์ชุดที่ประกาศนี้สามารถเก็บค่าได้ทั้งหมดกี่ค่า

  ก. 1 ค่า

  ข. 19 ค่า

  ค. 20 ค่า

  ง. 21 ค่า

7. J : Array [1..100, 1..5] of integer; ตัวแปรอาร์เรย์ J ประกอบด้วยสมาชิกกี่ค่า

  ก. 5

  ข. 100

  ค. 50

  ง. 500

8. ข้อใดคือความหมายของโครงสร้างข้อมูลแบบอาร์เรย์

  ก. กลุ่มข้อมูลที่มีค่าชนิดเดียวกัน

  ข. กลุ่มข้อมูลที่เป็นตัวเลขเท่านั้น

  ค. กลุ่มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน

  ง. กลุ่มข้อมูลที่มีการลดความซ้ำซ้อน

9. ถ้าประกาศตัวแปรอาร์เรย์ดังนี้ Data : array [1…5] of integer; ข้อมูลใดไม่สามารถเก็บในอาร์เรย์ชุดนี้ได้

  ก. 500         20             40            25            2.5

  ข. 601         2                0             13           100

  ค. 1            0                0               0              1

  ง. 0            0                0                0              0

10. การประกาศตัวแปรอาร์เรย์เพื่อใช้งานต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง

  ก. ชื่ออาร์เรย์    ชนิดข้อมูล

  ข. ชื่ออาร์เรย์    ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด     ชนิดข้อมูล

  ค. ชื่ออาร์เรย์    ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด     มิติของอาร์เรย์     ชนิดข้อมูล

  ง. ชื่ออาร์เรย์    ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด     มิติของอาร์เรย์     ชนิดข้อมูล     จำนวนสมาชิก

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 4

ตอนที่ 1 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว โดยทำเครื่องหมาย X ทับตัวเลือกที่ต้องการ

1.โปรแกรมข้อใดที่จำเป็นต้องใช้โครงสร้างข้อมูลแบบเร็คคอร์ดไม่สามารถใช้แบบอาร์เรย์ได้

  ก. ต้องการเก็บค่าหลายค่า

  ข. ต้องการเก็บหลายค่าที่ชนิดข้อมูลเหมือนกัน

  ค. ต้องการเก็บหลายค่าที่ชนิดข้อมูลแตกต่างกัน

  ง. ต้องการเก็บค่าที่เป็นสตริง

2. ข้อใดคือรายการข้อมูล (Field) ของเร็คคอร์ดนักศึกษา

  ก. ประวัตินักศึกษา

  ข. รหัสนักศึกษา

  ค. จำนวนนักศึกษา

  ง. ไม่มีข้อใดถูก

3. ฟิลด์เพศ เก็บอักษร M แทนเพศชาย  F แทนเพศหญิง  ควรกำหนดรูปแบบข้อมูลอย่างไร

  ก. Sex : M,F;

  ข. Sex : real;

  ค. Sex : integer;

  ง. Sex : char;

4. การออกแบบฟิลด์เพื่อเก็บชื่อนักศึกษา ถ้าไม่ต้องการกำหนดว่า Name : string [20];

  ก. Name : integer;

  ข. Name : char;

  ค. Integer : Name;

  ง. N : string [20];

5. ฟิลด์ Grade มีจุดประสงค์เพื่อเก็บผลการเฉลี่ยของนักศึกษาไม่สามารถกำหนดรูปแบบข้อมูลเป็น integer เนื่องจากข้อใด

  ก. ระดับผลการเรียนมีจำนวนหลัก

  ข. ระดับผลการเรียนเป็นตัวเลขต้องนำค่าไปคำนวณ

  ค. ระดับผลการเรียนอาจเป็นเลขทศนิยมได้

  ง. ระดับผลการเรียนเป็นการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

6. โครงสร้างข้อมูลแบบเร็คคอร์ดนี้ชื่ออะไร จากการนิยามโครงสร้างข้อมูลเร็คคอร์ด ดังต่อไปนี้

                TYPE PERSON = record

                        Name : String [10];

                        Sex : Char;

               End;

  ก. Person

  ข. Record

  ค. Name

  ง. Sex

7. การนิยามโครงสร้างข้อมูลเร็คคอร์ด ประกอบด้วยฟิลด์จำนวนกี่ฟิลด์

              TYPE PERSON = record

                        Name : String [10];

                        Sex : Char;

               End;

  ก.1 ฟิลด์

  ข. 2 ฟิลด์

  ค. 3 ฟิลด์

  ง. 4 ฟิลด์

8. การนิยามโครงสร้างข้อมูลเร็คคอร์ดว่า

             TYPE PERSON = record

                        Name : String [10];

                        Sex : Char;

               End;

   คำใดที่เป็น Reserve words (คำที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้)

  ก.Type Person record

  ข. Type Name Sex

  ค. Person record end

  ง. Type record end

9. มีการออกแบบโครงสร้างเร็คคอร์ดและตัวแปรโปรแกรมดังต่อไปนี้

              TYPE PERSON = record

                        Name : String [10];

                        Sex : Char;

               End;

                       Var student : person;

  ถ้าต้องการบันทึก M ในฟิลด์ Sex

  ก.Sex  = ‘M’;

  ข. Person : = ‘M’;

  ค. Sex , Person ; = ‘M’;

  ง. Student , Sex : = ‘M’;

10. มีการออกแบบโครงสร้างเร็คคอร์ดและตัวแปรโปรแกรมดังต่อไปนี้

              TYPE PERSON = record

                        Name : String [10];

                        Sex : Char;

               End;

          Var student : person;

  ถ้าต้องการอ่านค่าเก็บฟิลด์ Sex ใช้คำสั่งใด

  ก.Writeln (sex);

  ข. Writeln (person.sex);

  ค. Writeln (Student.sex);

  ง. Writeln (record.sex);

 

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 5

ตอนที่ 1 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว โดยทำเครื่องหมาย X ทับตัวเลือกที่ต้องการ

1.การนำข้อมูลเข้าสแต็กเรียกว่าอะไร

  ก. Push

  ข. Pop

  ค. Stack

  ง. Top

2. คุณสมบัติของสแต็กที่เรียกว่า LIFO เนื่องจากสาเหตุใด

  ก. มีบัฟเฟอร์สำรองและจัดสรรการเข้าออกของข้อมูล

  ข. ข้อมูลเข้าก่อนออกก่อนข้อมูลเข้าทีหลัง ออกทีหลัง

  ค. ข้อมูลเข้าก่อนออกทีหลัง ข้อมูลเข้าที่หลังออกก่อน

  ง. ข้อมูลเข้าก่อนมีสิทธิออกก่อน หรือทีหลังก็ได้

3. ข้อใดที่กล่าวถึง Operations เกี่ยวกับสแต็กไม่ถูกต้อง

  ก. Push A

  ข. Push 20

  ค. Pop A

  ง. Pop

4. ขณะที่สแต็กว่าง ถ้ามีการดำเนินการ Push W , Push D , Push x , Push Q , หลังจากนั้นทำการ Pop ค่าที่ออกจากแสต็กคือค่าใดบ้าง

  ก. W    D     X       Q

  ข. W    D     Q       X

  ค. Q     X     D      W

  ง. Q     X     W     D

5. ข้อใดที่เป็นนิพจน์อินฟิกซ์

  ก. A+B-C

  ข. +AB-C

  ค. +-ABC

  ง. AB+C-

6. ข้อใดที่เป็นนิพจน์โฟสต์ฟิกซ์

  ก. A+B-C

  ข. +AB-C

  ค. +-ABC

  ง. AB+C-

7. ข้อใดเป็น Operators ทั้งหมด

  ก. +   -   *   /    ^

  ข. +  ( )    =   >

  ค. A     Z     %    ( )   ^

  ง. +    %    ( )   ^

8. นิพจน์ AB+  เรียกว่านิพจน์อะไร

  ก. นิพจน์อินฟิกซ์

  ข. นิพจน์โพสต์ฟิกซ์

  ค. นิพจน์พรีฟิกซ์

  ง. ไม่มีข้อใดถูก

9. แปลงนิพจน์ A+B/C*D=E

  ก. ABC/D*+E-

  ข. ABC/D*E+ -

  ค. ABC/D+E* -

  ง. ABC/D*E+ -

10. แปลงนิพจน์พรีฟิกซ์ - 5 + 9 * 3 – 1 2 เป็นนิพจน์โพสต์ฟิกซ์ได้คำตอบตามข้อใด

  ก. 5    9     3    1     2     -      *     +     -

  ข. 5  -  9   +   3   *   1   -   2

  ค. 5   9   -  3   *  1   +   2    

  ง. -    +     *    -   5     9      3      1      2

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 6

ตอนที่ 1 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว โดยทำเครื่องหมาย X ทับตัวเลือกที่ต้องการ

1.โครงสร้างข้อมูลแบบคิวมีลักษณะการทำงานแบบใด

  ก. Last In First Out

  ข. Last In Last Out

  ค. First In Last Out

  ง. First In First Out

2. ข้อใดกล่าวถึงการสร้างคิวได้ถูกต้อง

  ก. ใช้อาร์เรย์ 1 มิติเป็นตัวคิวและมีพอยน์เตอร์ 1 ตัว เป็นตัวชี้

  ข. ใช้อาร์เรย์ 1 มิติเป็นตัวคิวและมีพอยน์เตอร์ 2 ตัว เป็นตัวชี้

  ค. ใช้อาร์เรย์ 2 มิติเป็นตัวคิวและมีพอยน์เตอร์ 1 ตัว เป็นตัวชี้

  ง. ใช้อาร์เรย์ 2 มิติเป็นตัวคิวและมีพอยน์เตอร์ 2 ตัว เป็นตัวชี้

จากนิยามนี้ใช้ตอบคำถามข้อ 3-4

การนิยามโครงสร้างแบบคิวว่า

 const Max = 100;                                                                  บรรทัดที่ 1

 type QueueItem = integer;                                                  บรรทัดที่ 2

 Queue = record;                                                                    บรรทัดที่ 3

 Item : Array [1…Max] of QueueItem;                           บรรทัดที่ 4

  Front,Rear ; integer                                                             บรรทัดที่ 5

 end;                                                                                          บรรทัดที่ 6

 var q : Queue;                                                                        บรรทัดที่ 7

3. จากนิยามนี้ บรรทัดใดเป็นการกำหนดชนิดตัวเก็บข้อมูลของคิว

  ก. บรรทัดที่ 1

  ข. บรรทัดที่ 2

  ค. บรรทัดที่ 3

  ง. บรรทัดที่ 4

4. จากนิยามนี้ โครงสร้างคิวมีจำนวนช่องก็บข้อมูลเท่าใด

  ก. จำนวน 10

  ข. จำนวน 100

  ค. ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ เพราะไม่มีการกำหนดจำนวน

  ง. เก็บข้อมูลได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

5. เมื่อมีข้อมูลเพิ่มจะเข้าเพิ่มที่ตำแหน่งใดของคิว

  ก. Front

  ข. First

  ค. Rear

  ง. Last

6. คำสั่ง DeQ คืออะไร

  ก. มีการเพิ่มข้อมูลเข้าในขณะข้อมูลในคิวเต็ม

  ข. เมื่อเพิ่มข้อมูลเข้าในคิวแล้วคิวเต็มพอดี

  ค. นำข้อมูลเข้าอยู่คิวแรกสุด

  ง. การนำข้อมูลออกจากคิว

7. คำสั่ง EnQ คืออะไร

  ก. เมื่อเพิ่มข้อมูลเข้าในคิวแล้วคิวเต็มพอดี

  ข. นำข้อมูลออกในขณะที่ในคิวมีข้อมูลอยู่ 1 คิว

  ค. นำข้อมูลออกในขณะที่ในคิวไม่มีข้อมูลอยู่เลย

  ง. การนำข้อมูลเข้าไปเพิ่มในคิว ตรวจสอบก่อนถ้าคิวเต็มไม่เพิ่ม ถ้าคิวไม่เต็มเพิ่มคิวได้

8. คิววงกลม มีลักษณะอย่างไร

   ก. ส่วนหัวคิวไล่ตามหางคิวไปเป็นวงกลมเหมือนงูเลื้อย

  ข. การสร้างคิวเพิ่มขึ้นไม่สิ้นสุด จำนวนช่องเก็บข้อมูลคิวมาก

  ค. ส่วนหัวคิวและปลายคิวจะมีพอยน์เตอร์คอยชี้

  ง. การทำงานแบบเข้าก่อนออกทีหลัง

9. ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับคิววงกลมได้ถูกต้อง

  ก. เพื่อให้สามารถนำที่ว่างในส่วนหัวคิวมาใช้ได้อีกเป็นคิววงกลม

  ข. เพื่อให้โปรแกรมสามารถวนซ้ำได้จึงใช้คิววงกลม

  ค. เพื่อป้องกันการเกิดสถานการณ์ Under Flow จึงเป็นคิววงกลม

  ง. เพื่อป้องกันการเกิดสถานการณ์ Over Flow  จึงเป็นคิววงกลม

10. กำหนดคิววงกลมมีขนาด 4 ช่อง มีสถานะว่าง ถ้ามีการดำเนินการ

    insert A,            insert B,           insert C,           remove A,        remove B,         insert D,

    insert E,             insert F,           remove C    ผลลัพธ์ที่จะได้เป็นอย่างไร

  ก. ข้อมูลเก็บดังนี้      A         B         C           D          E          F

  ข. ข้อมูลเก็บดังนี้      D          E          F

  ค. ข้อมูลเก็บดังนี้      E          F          D

  ง. ไม่สามารถ remove C ได้ เพราะการ remove จะต้องทำกับข้อมูลตัวที่อยู่หัวคิวก่อน

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 7

ตอนที่ 1 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว โดยทำเครื่องหมาย X ทับตัวเลือกที่ต้องการ

1.ตัวแปรชนิดพอยน์เตอร์คืออะไร

  ก. ตัวแปรชนิดค่าของมันจะชี้หรืออ้างถึงตำแหน่ง

  ข. ตัวแปรชนิดบูลีน

  ค. ตัวแปรชนิดจำนวนเต็ม

  ง. ตัวแปรชนิดอักขระ

2. นิยามของลิงค์ลิสต์คืออะไร

  ก. เข้าก่อนออกก่อน

  ข. เข้าก่อนออกทีหลัง

  ค. เข้าทีหลังออกก่อน

  ง. เข้าออกพร้อมกัน

3. ควรใช้โครงสร้างลิงค์ลิสต์เมื่อใด

   ก. เมื่อเก็บข้อมูลที่มีมาก

  ข. เมื่อเก็บข้อมูลที่มีน้อย

  ค. เมื่อต้องการเก็บข้อมูลที่ไม่รู้ว่ามีมากหรือน้อย

  ง. เมื่อต้องการเก็บข้อมูลที่มีมากและซับซ้อน

4. Node (P) มีความหมายว่าอย่างไร

  ก. ส่วนข่าวสารของโหนดที่ถูกชี้โดย P

  ข. ส่วนแอดเดรสของโหนดที่ชี้โดย P

  ค. โหนดที่ระบุ (ถูกชี้) โดยพอยน์เตอร์

  ง. ข่าสารที่ระบุตรงโหนด P

 5. Info (P) มีความหมายว่าอย่างไร

  ก. โหนดที่ระบุ (ถูกชี้) โดยพอยน์เตอร์ P

  ข. ส่วนข่าวสารของโหนดที่ถูกชี้โดย P

  ค. ส่วนแอดเดรสของโหนดที่ถูกชี้โดย P

  ง. แอดเดรส ของพอยน์เตอร์

6. Link  (P) มีความหมายว่าอย่างไร

  ก. โหนดที่ระบุ (ถูกชี้) โดยพอยน์เตอร์ P

  ข. ส่วนข่าวสารของโหนดที่ถูกชี้โดย P

  ค. ส่วนแอดเดรสของโหนดที่ชี้ถูกโดย P

  ง. ส่วนของตัวข่าวสาร

7. Singly Linked List หมายถึงอะไร

  ก. Link List คู่

  ข. Link List ผสม

  ค. Link List เดี่ยว

  ง. Link List เดี่ยวและคู่

8. ลิงค์ลิสต์เดี่ยวมีโครงสร้างสำคัญ 2 ส่วนคืออะไร

  ก. ส่วนอินโฟ (Info) กับส่วนพอยน์เตอร์ (Pointer)

  ข. ส่วนโหนด (Node)  กับส่วนอินโฟ (Info)

  ค. ส่วนพอยนเตอร์ (Pointer) ส่วนโหนด (Node) 

  ง. ส่วน Link  และ Rlink

9. ระหว่าง Single Link List  กับ Doubly Link List ข้อใดไม่ถูก

  ก. Single Link List ไม่สามารถเก็บค่าได้

  ข.  Doubly Link List ใช้เนื้อที่มากกว่า

  ค. Single Link List  มีเนื้อที่มากกว่า

  ง. Doubly Link List ไม่สามารถเก็บค่าได้มาก

10. การเก็บข้อมูลของลิงค์ลิสต์เก็บข้อมูลอะไรบ้าง

  ก. เก็บข่าวสารและตำแหน่งของโหนดถัดไป

  ข. เก็บคำสั่งของตัวชี้พอยน์เตอร์

  ค. เก็บค่าของโหนดสุดท้ายของชุดข้อมูล

  ง. เก็บเฉพาะค่าที่เป็นลบ

11. ลักษณะของลิงค์ลิสต์แบบวงกลมเป็นอย่างไร

  ก. ลิงค์ลิสต์แบบวงกลมมีโหนดพิเศษเป็นหัวโหนดอยู่

  ข. ลิงค์ลิสต์แบบวงกลมมีโหนดพิเศษอยู่ท้ายโหนด

  ค. ลิงค์ลิสต์แบบวงกลมมีโหนดพิเศษกลางโหนด

  ง. ข้อ ก. และ ข.  ถูก

12. Doubly Link List หมายถึงอะไร

  ก. Link List คู่

  ข. Link List ผสม

  ค. Link List เดี่ยว

  ง. Link List เดี่ยวและคู่

13. Doubly Link List แต่ละโหมดมีกี่ Pointer

  ก. 2 Pointer

  ข. 3 Pointer

  ค. 4 Pointer

  ง. 6 Pointer

14. ชื่อโหนดพอยน์เตอร์ของ Doubly Link List คืออะไร

  ก. Info  Node

  ข. Link  Node

  ค. LLink และ RLink

  ง. RLink

15. Infinite Loop คืออะไร

  ก. การซ้ำไปเรื้อยๆ

  ข. การประมวลผลเกิดการทำงานซ้ำไม่รู้จบ

  ค. การประมวลผลแทนค่าโหนดแรกของ Pointer

  ง. การประมวลผลการนำโหนดออกจากหรือคืนโหนด

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 8

ตอนที่ 1 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว โดยทำเครื่องหมาย X ทับตัวเลือกที่ต้องการ

1.รีเคอร์ชันคืออะไร

  ก. รีเคอร์ชันคือการทำงานแบบมีเงื่อนไข

  ข. รีเคอร์ชันคือการทำงานแบบต่อเนื่อง

  ค. รีเคอร์ชันเป็นเทคนิคการทำงานเรียงลำดับเข้าก่อนออกก่อน

  ง รีเคอร์ชันเป็นเทคนิคการแก้ปัญหา เป็นการทำงานแบบวนซ้ำ

2. ข้อใดคือหลักการของ รีเคอร์ชัน

  ก. เขียนโปรแกรมวนซ้ำเพื่อลดปัญหาของโปรแกรมที่ซับซ้อน

  ข. การหาค่าแฟกทอเรียฟังก์ชั่นเพื่อเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ

  ค. การแก้ปัญหาในรูปตัวปัญหาเอง หรือค่าแฟกทอเรียฟังก์ชั่น

  ง. การแก้ปัญหาค่าแฟกทอเรียฟังก์ชั่นคือ เขียนโปรแกรมหยุดการวนซ้ำ

3. ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับโปรแกรมรีเคอร์ซีฟได้ถูกต้อง

  ก. คือ โปรแกรมที่ใช้คำสั่ง Do Loop เพื่อทำให้เกิดการวนซ้ำ

  ข. คือ โปรแกรมเรียกตัวเองเพื่อแก้ปัญหาการวนซ้ำ

  ค. คือ โปรแกรมที่ทำให้เกิดปัญหาการทำงานวนซ้ำ

  ง. ไม่มีข้อใดถูก

4. จงคำนวณหาค่า Factorial(5) จะมีค่าเท่ากับเท่าไร

  ก. 40

  ข. 80

  ค. 120

  ง. 160

5. จงหาผลบวกจาก 1 ถึง n ด้วยวิธีเคอร์ชัน โดยกำหนดให้ n = 10 จะมีค่าเท่ากับเท่าไร

  ก. 5

  ข. 10

  ค. 25

  ง. 55

6. กรณีจะมีการคำนวณซ้ำกันโดยไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นค่าของ n จะต้องกำหนดให้มีค่าเท่าไร

  ก. น้อยกว่า 0

  ข. มีค่าเท่ากับ 1

  ค. น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0

  ง. มากกว่าหรือเท่ากับ 0

7. จงหาผลบวก ด้วยวิธีการรีเคอร์ชัน 10 ถึง 1 กรณีที่ n = 1 จะมีค่าเท่ากับเท่าไร

  ก. 45

  ข. 55

  ค. 75

  ง. 125

8. คำสั่งใดต่อไปนี้มีส่วนทำซ้ำซ้อนในโปรแกรมเรียกตัวเอง (ในภาษาปาสคาล)

  ก. Repeat

  ข. Loop

  ค. While

  ง. ถูกทุกข้อ

9. ข้อใดคือนิยามของแฟกทอเรียฟังก์ชันได้ถูกต้อง

  ก. n! = n*(n-1)! if n < 0

  ข. n! = n*(n-1)! if n  > 0

  ค. n! = n*(n*n)! if n < 0

  ง. n! = n*(n*n)! if n > 0

10. ข้อใดคือผลลัพธ์จากการคำนวณหาค่าแฟกทอเรียล เมื่อ n = 4

  ก. 12

  ข. 16

  ค. 24

  ง. 32

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 9

ตอนที่ 1 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว โดยทำเครื่องหมาย X ทับตัวเลือกที่ต้องการ

1.โครงสร้างข้อมูลแบบกราฟเปรียบได้กับอะไร

   ก. เซ็ตของจุด

  ข. เซ็ตของเส้น

  ค. เส้นการเชื่อมต่อ

  ง. ถูกทุกข้อ

2. กราฟรูปนี้เป็นกราฟชนิดใด

  ก. กราฟระบุทิศทาง

  ข. กราฟไม่ระบุทิศทาง

  ค. กราฟระบุน้ำหนัก

  ง. ผิดทุกข้อ

3. รูปแบบโครงสร้างที่กำหนดเชื่อมต่อแบบเส้นมีความสัมพันธ์แบบใด

  ก. One to One

  ข. One to many

  ค. Many to One

  ง. Many to Many

4. การท่องเข้าไปในกราฟแบบ Breadth First Traversal ท่องอย่างไร

  ก. เข้าจากโหนดล่างสุดจากซ้ายไปขวา

  ข. เข้าจากโหนดล่างสุดจากขวาไปซ้าย

  ค. เข้าจากตัวโหนดแรกแล้วลงซ้ายไปขวา

  ง. เข้าจากตัวโหนดแรกแล้วลงขวาไปซ้าย

5. การท่องเข้าไปในกราฟแบบ Depth First Search (BFS) ท่องอย่างไร

  ก. เข้าจากโหนดล่างสุดจากซ้ายไปขวา

  ข. เข้าจากโหนดล่างสุดจากขวาไปซ้าย

  ค. ท่องเข้ายังโครงสร้างทรีแบบอินออเดอร์

  ง.ท่องเข้ายังโครงสร้างทรีแบบพรีออเดอร์

6. Node  of  Graph  มีความหมายตรงกับข้อใด

  ก. การเชื่อม

  ข. เซ็ตของจุดบนกราฟ

  ค. เซ็ตของเส้นบนกราฟ

  ง. โหนดของกราฟหรือโหนด

7. Critical path method  มีความหมายตรงกับข้อใด

  ก. เส้นทางการเชื่อมต่อ

  ข. เซ็ตของจุดบนกราฟ

  ค. เส้นทางเดินบนกราฟ

  ง. การวิเคราะห์เส้นทางวิกฤต

8. Shortest path analysis มีความหมายตรงกับข้อใด

  ก. เส้นทางสั้นๆ

  ข. เส้นทางเดินบนกราฟ

  ค. การวิเคราะห์เส้นทางที่สั้นที่สุด

  ง. การออกแบบเส้นทางเดินที่สั้นที่สุด

9. รูปแบบข้อมูลของกราฟเป็นอย่างไร

  ก. เป็นข้อมูลเชิงเส้น

  ข. มีเส้นทางเดินบนกราฟทางเดียวกัน

  ค. ข้อมูลที่จัดเก็บต้องกำหนดเป็นชนิดเดียวกัน

  ง. มีความสัมพันธ์ระหว่างโหนดในลักษณะ many to many

10. กราฟระบุน้ำหนักเป็นอย่างไร

  ก. เป็นกราฟที่ไม่ระบุทิศทาง

  ข. เป็นกราฟที่ระบุทิศทางและบอกน้ำหนักได้

  ค. เป็นกราฟที่ใช้ชั่งน้ำหนักของสินค้าที่ใช้ในการซื้อขาย

  ง. ไม่มีข้อใดถูก

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 10

ตอนที่ 1 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว โดยทำเครื่องหมาย X ทับตัวเลือกที่ต้องการ

1.โครงสร้างข้อมูลแบบต้นไม้เป็นโครงสร้างชนิดใด

  ก. ชนิดเชิงเส้น

  ข. ชนิดไม่เชิงเส้น

  ค. ชนิดตัดสินใจเลือก

  ง. ชนิดทำงานซ้ำ

2. โหนดพิเศษโหนดหนึ่งที่อยู่บนสุดแรกเรียกว่าอะไร

  ก. Father

  ข. Subtree

  ค. Leat Node

  ง. Root Node

3. Level มีความหมายตรงกับข้อใด

  ก. รูท

  ข. ดีกรีของโหนด

  ค. โหนดที่เป็นใบ

  ง. ระดับของโหนด

4. ดีกรีของโหนดคืออะไร

  ก. รูทโหนด

  ข. จำนวนต้นไม้ 1 ต้น

  ค. ต้นไม้แบบพรีออเดอร์

  ง. จำนวนต้นไม้ย่อยของโหนดนั้น

5. ป่าไม้ในโครงสร้างข้อมูลแบบต้นไม้ หมายถึงสิ่งใด

  ก. กลุ่มของต้นไม้

  ข. ต้นไม้ย่อยซ้าย

  ค. ต้นไม้ย่อยขวา

  ง. การดูแลต้นไม้

6. โครงสร้างข้อมูลแบบต้นไม้ มีลักษณะคล้ายสิ่งใด

  ก. ใบไม้

  ข. รากของต้นไม้

  ค. ลำต้นของต้นไม้

  ง. กิ่งก้านของต้นไม้

7. ต้นไม้ธรรมชาติจะงอกจากล่างขึ้นบน ส่วนโครงสร้างข้อมูลแบบต้นไม้นั้นจะเจริญเติบโตอย่างไร

  ก.จากล่างไปบน

  ข. จากบนลงล่าง

  ค. จากซ้ายไปขวา

  ง. จากขวาไปซ้าย

8. ต้นไม้ Binary ที่แต่ละโหนดภายในจะมีโหนดย่อยซ้ายโหนดย่อยขวาและโหนดใบหมายถึงต้นไม้แบบใด

  ก. ต้นไม้ไบนารีคู่

  ข. ต้นไม้ไบนารีเดี่ยว

  ค. ต้นไม้ไบนารีแบบสมบูรณ์

  ง. ต้นไม้ไบนารีแบบไม่สมบูรณ์

9. ข้อใดไม่ใช่การแทนต้นไม้ไบนารีในหน่วยความจำ

  ก. การแทนโดยอาศัยพอยน์เตอร์

  ข การแทนโดยอาศัยแอดเดรสของโหนด

  ค. การแทนแบบวีแควนเชียล

  ง. การแทนแบบลำดับชั้น

10. LVR คือวิธีการเดินเข้าแบบใด

  ก. แบบพรีออร์เดอร์

  ข. แบบอินออร์เดอร์

  ค. แบบโพสต์ออร์เดอร์

  ง. ไม่มีข้อใดถูก

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 13

ตอนที่ 2 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว โดยทำเครื่องหมาย X ทับตัวเลือกที่ต้องการ

1.ถ้าประกาศตัวแปรอาร์เรย์ว่า Data : Array [1…10] of integer ; ในการเรียงระดับข้อมูลในอาร์เรย์ชุดนี้แบบ Bubble Sort  จากน้อยไปหามากต้องการวนรอบมากที่สุดกี่รอบ จึงเรียง ลำดับสำเร็จ

  ก. 10 รอบ

  ข. 20 รอบ

  ค. 90 รอบ

  ง. 100 รอบ

2. .ถ้าประกาศตัวแปรอาร์เรย์ว่า Data : Array [14…3] of integer ; ในการเรียงลำดับข้อมูลในอาร์เรย์ชุดนี้แบบ Bubble Sort  จากมากไปหาน้อยต้องการวนรอบมากที่สุดกี่รอบ จึงเรียง ลำดับสำเร็จ

  ก. 10 รอบ

  ข. 12 รอบ

  ค. 24 รอบ

  ง. ไม่มีข้อใดถูก

3. การเรียงลำดับข้อมูลแบบเลือกมีความหมายตรงกับข้อใด

  ก. Bubble Sort

  ข. Insertion Sort

  ค. Merge Sort

  ง. Selection Sort

4. การเรียงลำดับข้อมูลแบบผสานมีความหมายตรงกับข้อใด

  ก. Bubble Sort

  ข. Insertion Sort

  ค. Merge Sort

  ง. Selection Sort

5. การเรียงลำดับข้อมูลแบบบับเบิล ในอาร์เรย์ที่มีข้อมูล 34 52 27 99 66 24 13 57 จากน้อยไปมาก ใช้เวลาในการจัดเรียวกี่รอบถึงจะเสร็จสมบูรณ์