ข้อใดไม่่ใช่ตัวแปรที่นิยมใช้ในการแบ่งส่วนตลาด

การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation)

ข้อใดไม่่ใช่ตัวแปรที่นิยมใช้ในการแบ่งส่วนตลาด

การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation)
หมายถึงกระบวนการในการแบ่งหรือแยกลูกค้าออกเป็นกลุ่มย่อยๆ เพื่อให้ลูกค้าที่มีลักษณะความต้องการคล้ายคลึงกันมาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานทางการตลาดและจัดสรรงบประมาณในการเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ซึ่งมีความต้องการแตกต่างกัน

Example sentence(s):
การแบ่งส่วนตลาด (Market segmentation หรือ Segmenting) เป็นการแบ่งตลาด สำหรับผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งออกเป็นตลาดย่อยๆ ที่แตกต่างกันทางด้านความชอบ ความต้องการ และพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละตลาดย่อยๆ นั้น โดยอาศัยคุณสมบัติของผู้บริโภคหรือตลาดเป็นปัจจัยในการแบ่ง ทั้งนี้เพื่อให้สามารถแยกตลาดออกเป็นส่วนๆ (Market Segments) และทำให้เห็นความเด่นชัดที่แตกต่างกันของคุณสมบัติ ความชอบ ความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่อยู่ในแต่ละส่วนของตลาด เพื่อจะได้วางแผนและใช้ความพยายามทางการตลาดได้เหมาะสมกับแต่ละส่วนตลาด ตัวอย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์กระเป๋าแบ่งส่วนตลาดโดยยึดเกณฑ์เพศ วัย รายได้ และรสนิยม เป็นพื้นฐานในการแบ่งตลาดกระเป่าออกเป็นส่วนๆ (Market Segment) - chotima
กลยุทธ์การแบ่งส่วนตลาด (Strategic Marketing Segmentation) การค้นหากุญแจแห่งความสำเร็จโดยใช้กลยุทธ์การแบ่งส่วนตลาดนั้น แท้จริงแล้วเป็นการมุ่งค้นหาข้อได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดนั่นเอง โดยมุ่งหาทางเจาะตลาดในส่วนที่คู่แข่งขันไม่ได้ให้ความสนใจ หรือมีจุดอ่อน แนวความคิดการแบ่งส่วนตลาดที่ใช้กันมากก็คือ แนวความคิดความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์กับตลาด (Product/Market Startegy) ซึ่งเป็นเรื่องของการออกแบบผลิตภัณฑ์เฉพาะอย่าง สำหรับการขายในแต่ละส่วนของตลาดที่แบ่งไว้ เนื่องจากลูกค้าแต่ละส่วนหรือแต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกันไป หากบริษัทใดสามารถสนองสิ่งที่ลูกค้าต้องการทุกกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ดีกว่า บริษัทนั้นจะเป็นฝ่ายชนะในเกมการแข่งขัน - gotomanager
Market Segmentation (การแบ่งส่วนตลาด) หมายถึง การแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มย่อยที่แตกต่างกัน โดยใช้เกณฑ์ความต้องการ บุคลิกลักษณะ หรือพฤติกรรม ซึ่งผู้บริโภคที่อยู่ในแต่ละกลุ่มเดียวกัน จะมีความต้องการในสินค้าหรือบริการที่คล้ายคลึงกัน หรือส่วนประสมทางการตลาดที่แตกต่างกัน - hu

Explanation:
การแบ่งส่วนตลาดเป็นกลยุทธในการบริหารการตลาดอย่างหนึ่งเพื่อที่จะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของสินค้า และ/หรือ บริการ นั้นเพิ่มขึ้น

การแบ่งกลุ่มทางการตลาด (Segmentation)/ กลุ่มเป้าหมาย (Targeting)/ ตำแหน่งทางการตลาด (Product Positioning)

4.1 การแบ่งกลุ่มทางการตลาด (Segmentation)

การแบ่งกลุ่มตาม ราคาสินค้า
1. ราคาสูง: Panteen Dove
2. ราคาระดับกลาง: Head & Shoulder Sunsilk Clinic Caroll
3. ราคาระดับล่าง: Father rejoice
การแบ่งกลุ่มตามคุณสมบัติสินค้า
1. กลุ่มที่มุ่งเน้นเพื่อความงาม: Panteen Dove Sunsilk Caroll Father rejoice
2. กลุ่มเพื่อขจัดรังแค: Head & Shoulder Clinic
3. กลุ่มอื่นๆเช่นแชมพูสำหรับเด็ก

4.2 กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (Targeting)

1. ซันซิล
เป็นสินค้าที่ Focus ไปที่กลุ่ม mass เป็นหลักโดยมีการเพิ่มคุณสมบัติต่างโดยการนำเสนอสินค้าที่หลากหลายเหมาะกับแต่ละเส้นผมเช่นผู้ที่ผมเสีย ผู้ที่ต้องการผมที่เงางาม กลุ่มเป้าหมายของซันซิลนั้น เสนอในระดับที่ผู้บริโภคทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้หรือที่เรียกว่า standard product
2. โดฟ
เจาะจงคุณสมบัติเป็นแชมพูที่ปลอดภัย มีส่วนผสมของ Milk protein ปลอดภัยไม่ระคายเคือง โดยพยายามจับกลุ่มที่ต้องการสินค้าระดับ premium หรือระดับบนและต้องการการบำรงเส้นผมเป็นพิเศษ
3. คลีนิค
เสนอกลุ่มผู้บริโภคในลักษณะ Mass แต่มีการเฉพาะเจาะจงไปที่คุณสมบัติขจัดรังแค และทำให้ผมสะอาดดังนั้นไม่ว่าผู้บริโภคจะเป็นกลุ่มที่กังวลเรื่องรังแค หรือไม่ก็สามารถใช้ได้
4. เฮดแอนด์โชว์เดอร์
เป็นสินค้าที่เสนอต่อกลุ่ม Mass แต่มีคุณสมบัติหลักคือขจัดรังแค และยังมีหลากหลายคุณสมบัติเสริมอีกในหลายๆ variety จึงทำให้ สินค้าเป็น mass ที่เสนอกลุ่มลูกค้าทั่วๆไปที่มองเรื่องขจัดรังแคเป็นหลักและต้องการคุณสมบัติเสริมอื่นๆ อีก
5. แพนทีน
นำเสนอสินค้าในตำแหน่งสินค้าระดับบนหรือ Premium โดยเสนอคุณสมบัติพิเศษที่นำนวัตกรรมทางเคมีมาช่วย โดยมีส่วนผสมในหลายๆสูตรให้ผู้บริโภคเลือกใช้
6. แครอล
แรกเริ่มนำเสนอเป็นสินค้าเป็นแชมพูขจัดรังแค ต่อมามีการปรับรูปลักษณ์ของสินค้าเป็น Herbal essence โดยเสนอเป็นแชมพูที่ให้ความสดชื่นแบบธรรมชาติมุ่ง mass market ที่ชอบความหอมกลิ่นพรรณพฤกษาเป็นหลัก
7. รีจอยส์
แรกเริ่มนำเสนอสินค้าเป็น 2 in 1 product คือเป็นแชมพูที่นำเสนอสินค้าแบบรวมแชมพูและครีมนวดเข้าด้วยกัน เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้ อย่างไรก็ตามการทำตลาดในระยะหลังมุ่งเน้นไปที่ระดับกลางถึงล่างโดยยังให้ความสำคัญกับกลุ่ม mass เป็นหลัก
8. แฟซ่า
เป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสำคัญกับกลุ่ม Mass โดยอาศัยความเข้มแข็งของตราสินค้ามุ่งเน้นตลาดกลางถึงล่างเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีสูตรและกลิ่นที่หลากหลายให้ผู้ใช้เลือกใช้หลากหลายตามความชอบ

เขียนโดย modal ที่ 23:26

ข้อใดไม่่ใช่ตัวแปรที่นิยมใช้ในการแบ่งส่วนตลาด

การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าได้ โดยดูจากผู้ที่มีความสนใจ หรือผู้มีพฤติกรรมใกล้เคียงกับการซื้อมากที่สุด ในการแบ่งส่วนตลาดมักจะแบ่งออกเป็นกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายกัน และกำหนดตามคุณสมบัติอย่างน้อยหนึ่งอย่างเพื่อให้ใกล้เคียงกับผู้ที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้ามากที่สุด 

และช่วยให้กำหนด ทำความเข้าใจ ถึงลูกค้าในอุดมคติของแบรนด์มากขึ้น และสามารถระบุตลาดที่เหมาะสมกับสินค้าและบริการได้ 

ประเภทของการแบ่งส่วนตลาด

การแบ่งส่วนตลาดและการกำหนดกลุ่มเป้าหมายต้องทำความเข้าใจว่า สินค้าและบริการตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งอาจจะระบุได้จากการทำวิจัยหรือข้อมูลจากแบบสอบถามที่ได้รับ

การแบ่งส่วนทางภูมิศาสตร์ (Geographic Segmentation)

แม้ว่าโดยทั่วไปเป็นกลุ่มประชากรที่ง่ายที่สุด เพราะสามารถสร้างกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันตามขอบเขตภูมิศาสตร์ เนื่องจากผู้ที่มีแนวโน้มเป็นลูกค้า จะมีความต้องการ ความชอบ และความสนใจ ที่แตกต่างกันออกไปตามภูมิศาสตร์ ทั้งสภาพอากาศ ท้องถิ่น และทำให้สามารถกำหนดตำแหน่งการทำกลยุทธ์และแคมเปญการตลาดต่างๆเพื่อต่อยอดธุรกิจได้

การแบ่งส่วนทางประชากร (Demographic Segmentation)

ใช้การจัดเรียงตามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มเป้าหมาย เช่น เพศ อายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ ขนาดครอบครัว เชื้อชาติ สัญชาติ และอื่นๆ การแบ่งส่วนตลาดรูปแบบนี้จะทำให้เข้าถึงวิธีการซื้อ จำนวนการซื้อ และจำนวนเงินที่ยินดีจะจ่ายต่อสินค้าและผลิตภัณฑ์

การแบ่งส่วนทางองค์กร (Firmographic Segmentation)

มีลักษณะคล้ายกับการแบ่งส่วนทางประชากร แต่แตกต่างตรงที่การแบ่งส่วนประชากรจะวิเคราะห์จากข้อมูลบุคคล แต่การแบ่งส่วนทางองค์กรจะวิเคราะห์ข้อมูลขององค์กร เช่น ขนาดองค์กร จำนวนพนักงาน อุตสาหกรรม เป็นต้น วิธีนี้เหมาะสมกับสินค้าและบริการที่เน้น B2B เป็นส่วนใหญ่

การแบ่งส่วนทางพฤติกรรม (Behavioural Segmentation)

ใช้การแบ่งตามพฤติกรรมและกระบวนการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมาย เช่น สินค้าที่ซื้อเพื่อบริโภค ไลฟ์สไตล์ การใช้งาน ช่องทางการซื้อ เป็นต้น การแบ่งส่วนทางพฤติกรรมจะช่วยให้นักการตลาดสามารถพัฒนากลยุทธ์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น

การแบ่งส่วนทางจิตวิทยา (Psychographic Segmentation)

การคำนึงถึงจิตวิทยาของผู้บริโภคตามไลฟ์สไตล์ บุคลิกภาพ แรงจูงใจ ค่านิยม ความคิด และความสนใจ จะช่วยให้สามารถจัดกลุ่มคนที่มีความสนใจหรือมีพฤติกรรมมีส่วนร่วมกับสินค้าได้มากที่สุด

ขั้นตอนการแบ่งส่วนตลาด

1. ทำการวิจัยเบื้องต้น
ทำความรู้จักกับกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการตั้งคำถามปลายเปิด หรือทำแบบสอบถามเพื่อทำการวิจัย
อ่าน ขั้นตอนการวิจัยทางการตลาด (Market Research) ฉบับจับมือทำ!

2. กำหนดวิธีแบ่งส่วนตลาด
เลือกจากประเภทการแบ่งส่วนตลาด โดยอาจจะเริ่มจากวิธีที่ง่ายที่สุดอย่างภูมิศาสตร์ และประชากรศาสตร์ เพื่อศึกษาหาวิธีที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายลักษณะที่กำหนด แล้วจึงเจาะลึกด้วยพฤติกรรม หรือจิตวิทยา

3. สร้างกลุ่มเป้าหมาย
วิเคราะห์สินค้าและบริการ ว่าสามารถตอบสนองความต้องของกลุ่มเป้าหมายนั้นได้จริงหรือไม่ และนำไปพัฒนาสินค้าและบริการ และกลยุทธ์ทางการตลาด

4. ทำการทดสอบ และทำซ้ำอีกครั้ง
ประเมินกลุ่มเป้าหมายเพื่อทำให้แน่ใจว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีประโยชน์ และยังไม่เปิดการเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา และทำการวิเคราะห์ซ้ำๆเรื่อยๆเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้เสมอ

วิธีการวัดผลกลุ่มเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ

สามารถวัดได้ หมายถึง ตัวแปรการแบ่งส่วนตลาดเกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าและบริการ และสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมสำหรับสินค้าและบริการหากเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น การแบ่งส่วนตลาดพบกลุ่มที่มีพฤติกรรมซื้อสินค้าเฉพาะเมื่อมีการลดราคา หรือโปรโมชั่น ดังนั้น จึงต้องตอบสนองกลุ่มเหล่านี้ด้วยงบประมาณสำหรับการทำโปรโมชั่น เป็นต้น

สามารถเข้าถึงได้ หมายถึง การทำความเข้าใจตลาด และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนั้นจากพฤติกรรม และบุคลิก เพื่อระบุวิธีที่ดีที่สุดในการตอบสนองความต้องการ ตัวอย่างเช่น การแบ่งส่วนตลาดพบกลุ่มที่สนใจโฆษณาจากหนังสือพิมพ์ และวิทยุ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้จึงต้องทำแคมเปญโฆษณา และทุ่มงบประมาณไปที่ หนังสือพิมพ์ และวิทยุ เป็นต้น

สามารถคงอยู่ได้ หมายถึง ส่วนตลาดมีความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการนั้นๆจริงๆ ตัวอย่างเช่น การแบ่งส่วนตลาดพบกลุ่มที่กลุ่มที่เป็นพนักงานเงินเดือ 15,000 – 25,000 บาท หักค่าใช้จ่ายต่างๆ สามารถซื้อของใช้ฟุ่มเฟื่อยได้เดือนละ 3,000 บาท เป็นต้น

สามารถนำไปใช้ได้ หมายถึง การแบ่งส่วนตลาดสามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันเมื่อทำการซื้อขายในตลาด กับกลุ่มเป้าหมายที่มากกว่า 1 กลุ่ม ตัวอย่างเช่น การแบ่งส่วนตลาดพบกลุ่มที่รักสัตว์ ส่วนอีกกลุ่มรักสิ่งแวดล้อม ดังนั้น กลุ่มนี้อาจสามารถเสนอขายสินค้าและบริการชิ้นเดียวกันได้ เป็นต้น

สรุป

การแบ่งส่วนตลาดไม่ได้มีวิธีที่แน่นอน การทำตามขั้นตอนเหล่านี้ จะทำให้ทราบว่า การแบ่งส่วนตลาดตามประเภทต่างๆ จะทำให้ตอบสนองความต้องการของผู้ที่ต้องการสินค้าและบริการของเราได้อย่างแท้จริง และควรจะต้องทบทวน และวิเคราะห์ตามข้อมูลใหม่ๆเสมอ เพื่อให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโถค และตอบโจทย์เป้าหมายขององค์กรด้วย

ตัวแปรที่ใช้ในการแบ่งส่วนตลาดมีอะไรบ้าง

ตัวแปรที่ใช้ในการแบ่งส่วนตลาด ได้แก่ บุคลิกภาพ คุณลักษณะทางวัฒนธรรม รูปแบบการ ดำเนินชีวิต ทัศนคติ รสนิยม และความชอบ 3) การแบ่งส่วนตลาดแบบผสมผสาน (“Hybrid Criteria for Segmentation) ใช้ เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดในหลายแนวทาง เช่น พิจารณาประกอบทั้งในระดับมหภาค และระดับ

ข้อใดคือตัวแปรที่นำมาใช้ในการแบ่งส่วนตลาดผู้บริโภคตามหลักจิตวิทยา

ด้านพฤติกรรม นักการตลาดเชื่อว่าตัวแปรทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการแบ่งส่วนตลาด การแบ่งตามพฤติกรรมใช้หลักเกณฑ์ ความรู้ ทัศนคติ การใช้ผลิตภัณฑ์ การตอบสนองต่อคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ หรือโอกาสในการซื้อผลิตภัณฑ์ เป็นตัวแบ่งส่วนตลาด

ข้อใดคือหลักของการแบ่งส่วนตลาด

จุดประสงค์ที่สำคัญของการแบ่งส่วนตลาด คือ การรู้จักลูกค้าให้ดีขึ้น และ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยข้อมูลที่เป็นข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าที่มีความถูกต้อง และ แม่นยำ จะช่วยให้มุ่งเน้นการทำการตลาดให้ตรงเป้าหมาย และที่สำคัญธุรกิจยังเข้าถึงลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น

เกณฑ์แบ่งส่วนตลาดในข้อใดที่นิยมนำมาใช้มากที่สุด

เกณฑ์ด้านประชากรศาสตร์เป็นเกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาดเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม ลูกค้ามากที่สุดและเป็นเกณฑ์ที่สามารถน ามาแบ่งส่วนตลาดได้ง่ายและสะดวกที่สุด เนื่องจากเกณฑ์นี้ เป็นเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับลูกค้าทุกคนและสามารถสังเกตได้ง่าย ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อ ของลูกค้าที่แตกต่างกัน เกณฑ์นี้ได้แก่อายุอาชีพ รายได้ ...

ตัวแปรที่ใช้ในการแบ่งส่วนตลาดมีอะไรบ้าง ข้อใดคือตัวแปรที่นำมาใช้ในการแบ่งส่วนตลาดผู้บริโภคตามหลักจิตวิทยา ข้อใดคือหลักของการแบ่งส่วนตลาด เกณฑ์แบ่งส่วนตลาดในข้อใดที่นิยมนำมาใช้มากที่สุด การแบ่งส่วนตลาดหมายถึงอะไร จงอธิบายความหมายของการแบ่งส่วนตลาด พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปบรรจุกล่องแช่แข็ง ใช้การแบ่งส่วนตลาดสินค้าผู้บริโภค โดยอาศัยปัจจัยข้อใด การพิจารณาเลือกส่วนตลาดให้เหมาะสมนั้น นักการตลาดจะต้องศึกษาส่วนตลาดกี่ส่วน อะไรบ้าง ตัวอย่างการแบ่งส่วนตลาด ระดับการแบ่งส่วนตลาด ข้อใดคือพฤติกรรมภายในของผู้บริโภค