ข้อใดคือกระดาษเขียนแบบมาตรฐานระบบ ISO

มาตรฐานการเขียนแบบ from Peerapong Veluwanaruk

เนื่องจากมีการใช้กระดาษกันอย่างกว้างขวาง จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานของขนาดกระดาษขึ้นนอกเหนือจากการกำหนดมาตรฐานด้านอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อสะดวกต่อการใช้งานและการสื่อสารกัน ตลอดจนการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน

มาตรฐานของขนาดกระดาษ ISO 216

มาตรฐานขนาดกระดาษในระบบ ISO 216ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยมีพื้นฐานแนวคิดมาจากมาตรฐานระบบ German DIN 476 จุดเด่นของมาตรฐานนี้คือเมื่อนำกระดาษที่มีขนาดตามที่กำหนดไว้มาพับครึ่ง ขนาดของกระดาษที่พับแล้วยังคงมีสัดส่วน (อัตราส่วนของด้านสูงกับด้านกว้าง) เดียวกับขนาดก่อนพับ และหากพับครึ่งไปอีก ขนาดใหม่ก็ยังคงมีสัดส่วนเดียวกันหมด ประโยชน์ทีได้คือเมื่อนำกระดาษไปตัดแบ่งไปใช้งานตามมาตรฐานนี้ จะไม่เกิดการเสียเศษหากมีงานที่ต้องการย่อส่วน เพื่อให้ได้ผลตามที่หลักการที่กำหนด ได้มีการคำนวณและพบว่าอัตราส่วนความสูงหารด้วยความกว้างจะเท่ากับ สแควร์รูทของสอง (1.4142) และยังพบว่าระยะความกว้าง, ความสูงของขนาดพับครึ่งแล้วจะลดลงเป็น 70.7% จากเดิมเสมอ

 

ข้อใดคือกระดาษเขียนแบบมาตรฐานระบบ ISO


มาตรฐานรหัสชุด  A

มาตรฐานขนาดกระดาษชุด A เป็นมาตรฐานในระบบ ISO ซึ่งเป็นระบบเมตริก จะกำหนดรหัส A0 ให้มีขนาดพื้นที่เท่ากับ 1 ตารางเมตร จากการคำนวณจะได้ขนาดของ A0 เท่ากับ 841 x 1189 มิลลิเมตร เมื่อทำการแบ่งครึ่งจากขนาด A0 ดังกล่าว ขนาดใหม่ที่ได้ตั้งเป็นรหัส A1 หากทำการแบ่งไปเรื่อย ๆ ก็จะได้รหัส A2, A3, A4 …. มาตรฐานชุดนี้ เป็นมาตรฐานที่สร้างความคุ้นเคยและถูกนำใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะขนาด A4 ซึ่งมีขนาด 210 x 297 มิลลิเมตร เป็นขนาดของกระดาษถ่ายเอกสารที่ใช้กันมาก กระดาษหัวจดหมาย หนังสือ นิตยสาร ฯลฯ และถ้านำกระดาษขนาด A4 ที่มีน้ำหนักเท่ากับ 80 กรัมต่อตารางเมตร กระดาษมาชั่งจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 5 กรัมพอดี ทำให้ผู้ใช้สะดวกในการหาน้ำหนักของกองกระดาษดังกล่าวโดยใช้วิธีนับจำนวนแผ่น

2A1189  x 1682 mm.46.81  x  66.22 in.A0841  x 1189 mm.33.11  x  46.81 in.A1594  x   841 mm.23.39  x  33.11 in.A2420  x   594 mm.16.54  x  23.39 in.A3297  x   420 mm.11.69  x  16.54 in.A4210  x   297 mm.8.27  x  11.69 in.A5148  x   210 mm.5.83  x   8.27 in.A6105  x   148 mm.4.13  x   5.83 in.A774  x   105 mm.2.91  x   4.13 in.A852  x    74 mm.2.05  x   2.91 in.A937  x    52 mm.1.46  x   2.05 in.A1026  x    37 mm.1.02  x   1.46 in.


มาตรฐานรหัสชุด  B

มาตรฐานรหัสชุด B นี้จะเป็นที่คุ้นเคยน้อยกว่ารหัสชุด A วิธีการกำหนดขนาดในรหัสชุดนี้เริ่มโดยให้รหัส B1 มีขนาดอยู่ระหว่าง A0 กับ A1 และให้มีระยะด้านสูงเท่ากับ 1 เมตร ทำให้ด้านกว้างเท่ากับ 0.707 เมตร (มาจากข้อกำหนด ความสูงหารความกว้างเท่ากับสแควร์รูทของสอง) ดังนั้น ขนาดของรหัสชุด B จะมีด้านใดด้านหนึ่ง เป็นครึ่งหนึ่ง หรือหนึ่งในสี่ หรือหนึ่งในแปดของ 1 เมตรไปเรื่อย ๆ งานที่นิยมใช้มาตรฐานรหัสชุดนี้คืองานโปสเตอร์ หนังสือ (ใช้ B5) พาสปอร์ต ซองเอกสาร

B01000  x 1414 mm.39.37  x  55.67 in.B1707  x 1000 mm.27.83  x  39.37 in.B2500  x   707 mm.19.68  x  27.83 in.B3353  x   500 mm.13.90  x  19.68 in.B4250  x   353 mm.9.84  x  13.90 in.B5176  x   250 mm.6.93  x    9.84 in.B6125  x   176 mm.4.92  x    6.93 in.B788  x   125 mm.3.46  x    4.92 in.B862  x     88 mm.2.44  x    3.46 in.B944  x     62 mm.1.73  x    2.44 in.B1031  x     44 mm.1.22  x    1.73 in.


มาตรฐานรหัสชุด  C

รหัสชุดนี้มีไว้ใช้กำหนดขนาดของซองใส่เอกสาร ที่เลขเดียวกัน รหัสของ C จะใหญ่กว่าของ A แต่เล็กกว่าของ B ดังนั้น กระดาษจดหมาย A4 จะสามารถใส่ลงในซองขนาด C4 และซองขนาด C4 ก็จะใส่ลงในซอง B4 ได้พอเหมาะ

C0917  x 1297 mm.36.10  x  51.06 in.C1648  x   917 mm.25.51  x  36.10 in.C2458  x   648 mm.18.03  x  25.51 in.C3324  x   458 mm.12.76  x  18.03 in.C4229  x   324 mm.9.02  x  12.76 in.C5162  x   229 mm.6.38  x    9.02 in.C6114  x   162 mm.4.49  x    6.38 in.C781  x   114 mm.3.19  x    4.49 in.C857  x     81 mm.2.24  x    3.19 in.C940  x     57 mm.1.57  x    2.24 in.C1028  x     40 mm.1.10  x    1.57 in.

 


มาตรฐานอเมริกาเหนือ

มาตรฐานที่กล่าวข้างต้นเป็นมาตรฐานในระบบ ISO สำหรับในทวีปอเมริกาเหนือ ยังมีการใช้กระดาษที่มีขนาดมาตรฐานต่างออกไป ซึ่งสามารถดูได้จากตารางข้างล่างนี้

Letter216  x  279 mm.8.50  x  11.00 in.Legal216  x  356 mm.8.50  x  14.00 in.Ledger432  x  279 mm.17.00  x  11.00 in.Tabloid279  x  432 mm.11.00  x  17.00 in.

 

ยังมีมาตรฐานหนึ่งที่มีใช้ในประเภทอเมริกา ซึ่งนิยมกำหนดเป็นขนาดมาตรฐานสำหรับกระดาษเขียนแบบของสถาปนิกและวิศวกร นั่นคือมารตฐานของ ANSI

ข้อใดคือกระดาษเขียนแบบมาตรฐานระบบ ISO

มาตรฐานขนาดกระดาษ  ANSI

ในปี 1995 สถาบันอเมริกันเนชั่นแนลสแตนดาร์ด (American National Standards Institute) ได้กำหนดมาตรฐานขนาดกระดาษขึ้น โดยให้ขนาดมาตรฐาน 8.5 x 11 นิ้วใช้รหัส ANSI A และขนาด ledger/tabloid ใช้รหัส ANSI B ซึ่งมาตรฐานรหัสชุดนี้ใกล้เคียงกับมตรฐานของระบบ ISO ซึ่งเวลาแบ่งครึ่งจะได้ขนาดที่เท่ากัน 2 ชิ้น แต่จะต่างจากระบบ ISO ตรงที่อัตราส่วนของความสูงกับความกว้างกลายเป็น 2 ชุดสลับไปมา แทนที่จะเป็นชุดเดียวเท่ากันหมด (ให้ดูตารางข้างล่าง)

 

ขนาดอัตราส่วน 

(สูง/กว้าง)

ขนาดของเทียบเคียงกับระบบ ISOมิลลิเมตรนิ้วANSI A216 x  2798.50 x 11.001.2941LetterA4ANSI B432  x  27917.00 x 11.001.5455LedgerA3279  x  43211.00 x 17.00TabloidANSI C432 x  55917.00 x 22.001.2941A2ANSI D559 x  86422.00 x 34.001.5455A1ANSI E864 x 111834.00 x 44.001.2941A0

 

นอกจากมาตรฐานขนาดของกระดาษที่กล่าวมาแล้ว ยังมีมาตรฐานที่จัดทำขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ เช่น มาตรฐาน JIS ของประเทศญี่ปุ่น มาตรฐาน SIS ของประเทศสวีเดน อีกทั้งยังมีชื่อเรียกขนาดมาตรฐานตามการใช้งานต่าง ๆ เช่น ขนาด F4 (Foolscap) ซึ่งมีความกว้างเท่ากับ A4 แต่มีความสูงมากกว่า (210 x 330 mm.) ขนาดนามบัตร ขนาดโปสการ์ด เป็นต้น

ข้อใดเป็นมาตรฐานของกระดาษเขียนแบบ

 ขนาดกระดาษที่นิยมใช้กันในปัจจุบันคือกระดาษขนาด 210 X. 297 มม. หรือขนาด A4 ตามมาตรฐานสากล  หากชิ้นงานมีรายละเอียดมาก จะใช้กระดาษขนาด A4 หรือ ใหญ่กว่า

กระดาษเขียนแบบมาตรฐานจะกําหนดด้วยตัวอักษรใด

กระดาษเขียนแบบตามมาตรฐาน มอก. 210 (2520) และ DIN EN ISO 5457 (1999) ก าหนด ขนาดของกระดาษเขียนแบบไว้ดังนี้ คือ A0, A1, A2, A3, A4, A5, A6, A7 และ A8 โดยกระดาษ A0 จะมีขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งมีพื้นที่เท่ากับ 1 ตารางเมตร สัดส่วนระหว่างความกว้าง ต่อความยาวคือ 1: 2 ส่วนขนาดกระดาษที่เล็กรองลงมาก็จะมีขนาด ...

กระดาษเขียนแบบคืออะไร

กระดาษเขียนแบบใช้เป็นพื้นที่ในการเขียนแบบ ซึ่งตัวกระดาษเขียนแบบจะถูกติดไว้กับโต๊ะเขียนแบบ หรือกระดานเขียนแบบ วิธีติดกระดาษเขียนแบบให้ใช้ไม้ทีวางทับกระดาษเขียนแบบ โดยให้ส่วนหัวของไม้ทีขนานกับโต๊ะหรือกระดานเขียนแบบ ตำแหน่งของกระดาษเขียนแบบควรห่างจากขอบในระยะเท่าๆ กัน เมื่อขอบกระดาษเขียนแบบขนานกับขอบไม้ทีให้ใช้เทปกาวติด ...

มาตรฐานในงานเขียนแบบ คืออะไร

ความหมายของมาตรฐาน มาตรฐาน หมายถึง ข้อกำหนดหรือข้อตกลงกันระหว่างผู้ผลิต และผู้ใช้เพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันเกี่ยวกับขนาดรูปร่าง น้ำหนัก และส่วนผสมของวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำการผลิตขึ้นจากแหล่งผลิตต่าง ๆ ให้มีคุณสมบัติและคุณภาพเหมือนกันสามารถนำมาใช้สับเปลี่ยนทดแทนกันได้