ข้อใด เป็นลักษณะของวัฒนธรรมไทยที่ ต่าง จากวัฒนธรรมสากล

            วัฒนธรรมในแต่ละสังคมย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ในที่นี้จะนำเสนอความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล

        1.  วัฒนธรรมด้านอาหาร 

                «  อาหารของโลกตะวันตกเน้นความสะดวกสบาย ทั้งขั้นตอนการทำและการเข้าถึงในการบริโภค เน้นแป้งและเนื้อสัตว์ เพื่อให้

ร่างกายมีไขมัน สร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย

                «  อาหารประจำชาติไทย  ประเทศไทยมีทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน สำหรับอาหารคาวของไทยนั้น จะมีทุกรส ทั้งเค็ม หวาน 

เปรี้ยว และเผ็ด โดยปรุงขึ้นมาในหลายลักษณะดังนี้ แกง ผัด ยำ ทอด เผา หรือย่าง     เครื่องจิ้ม และเครื่องเคียง   ส่วนอาหารหวานของไทย

จะมีทั้งชนิดน้ำและแห้ง

                «  อาหารประจำชาติเกาหลี  จะเน้นเกี่ยวกับผักดองที่มีรสจัด  และอาหารมีมีซอสต่างๆเป็นส่วนผสม

                «  อาหารประจำชาติญี่ปุ่น  อาหารญี่ปุ่นทั่วไปประกอบด้วย ข้าว ผัก ซุปปรุงรสเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น มิโซะ ผักดอง และปลาหรือเนื้อ เป็น

ข้าวมักรับประทานกับสาหร่ายทะเลตากแห้ง

                                        

ข้อใด เป็นลักษณะของวัฒนธรรมไทยที่ ต่าง จากวัฒนธรรมสากล
ข้อใด เป็นลักษณะของวัฒนธรรมไทยที่ ต่าง จากวัฒนธรรมสากล

      

ข้อใด เป็นลักษณะของวัฒนธรรมไทยที่ ต่าง จากวัฒนธรรมสากล
ข้อใด เป็นลักษณะของวัฒนธรรมไทยที่ ต่าง จากวัฒนธรรมสากล

            2.  วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย

                                มีความแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ทั้งในเรื่องของการใช้วัสดุและรูปทรง เช่น คนไทยนิยมสร้าง

บ้านด้วยไม้ มีใต้ถุนสูง เพื่อให้บ้านโปร่ง สบาย น้ำไม่ท่วม เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมจึงนิยมปลูกบ้านริมแม่น้ำ 

ออกแบบให้เป็นหลังคาทรงสูง เพื่อให้อากาศถ่ายเทและให้ความร่มเย็นแก่ผู้อยู่อาศัย เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในภูมิประเทศเขตร้อน มีฝนตก

ชุก ในขณะที่คนจีนนิยมสร้างบ้านด้วยดินเหนียวผสมหญ้าหรือหญ้าฟาง รูปทรงคล้ายตึก เพราะอยู่ในภูมิประเทศที่มีอากาศหนาว จึงต้องสร้าง

บ้านให้กันลมหนาวได้ ส่วนชาวยุโรปมักสร้างบ้านเรือนเป็นตึกก่ออิฐหรือเทคอนกรีต

                                      

ข้อใด เป็นลักษณะของวัฒนธรรมไทยที่ ต่าง จากวัฒนธรรมสากล
ข้อใด เป็นลักษณะของวัฒนธรรมไทยที่ ต่าง จากวัฒนธรรมสากล

                 3.  วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย

                                แต่ละประเทศล้วนมีการแต่งกายประจำชาติ ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาและความเป็นมาในทางประวัติศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็น

เอกลักษณ์อย่างหนึ่งประจำชาติ เครื่องแต่งกายแต่ละแบบนั้นมีความละเอียดอ่อนในการทำตั้งแต่วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น การออกแบบ 

กระบวนการทำเครื่องแต่งกาย ความเหมาะสม การปรับตัวต่อสภาพพื้นที่การสะท้อนความเป็นตัวตนของประเทศตน เป็นต้น

                                                         

ข้อใด เป็นลักษณะของวัฒนธรรมไทยที่ ต่าง จากวัฒนธรรมสากล
ข้อใด เป็นลักษณะของวัฒนธรรมไทยที่ ต่าง จากวัฒนธรรมสากล
                                                                                                                                    
ข้อใด เป็นลักษณะของวัฒนธรรมไทยที่ ต่าง จากวัฒนธรรมสากล
ข้อใด เป็นลักษณะของวัฒนธรรมไทยที่ ต่าง จากวัฒนธรรมสากล

                4.  วัฒนธรรมด้านศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว 

                                ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งที่เน้นการเรียนและฝึกฝนด้านการต่อสู้และป้องกันตัว ซึ่งมีหลายลักษณะ

ด้วยกันแตกต่างกันไปในแต่ละชาติ

                «  มวยไทยเป็นศิลปะประจำชาติไทยที่คนไทยสามารถใช้ได้อย่างคล่องแคล่วมวยไทยเป็นศิลปะชั้นสูงของการใช้อวัยวะ 6 ประเภท 

ได้แก่ หมัด ศอก แขน เท้า แข้ง และเข่า มาใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัว

                «  ยูโด เป็นศิลปะการต่อสู้ที่ใช้เมื่ออยู่ในจังหวะประชิดตัว โดยใช้หลักการยืมพลังของคู่ต่อสู้มาเป็นพลังของตน และคาราเต้ ซึ่ง

เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างเป็นจังหวะ เช่น การชก การเตะ การกระแทก การผสมผสานระหว่างการปัดป้องและการจู่โจมในเวลา

เดียวกัน

                «  เทควันโด เป็นศิลปะการเคลื่อนไหวที่เน้นการใช้เท้าเตะสูงและรวดเร็ว ในกระบวนท่าร่ายรำของเทควันโดประกอบไปด้วยกาปัด 

ปิด ป้องกัน การชก ใช้กำปั้นสันมือ และนิ้วมือ การหัก การเตะ การขยับหมุน เคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น การหมุนตัว เหวี่ยงเท้า 

การเตะ การกระโดด เป็นต้น

                                  

ข้อใด เป็นลักษณะของวัฒนธรรมไทยที่ ต่าง จากวัฒนธรรมสากล
ข้อใด เป็นลักษณะของวัฒนธรรมไทยที่ ต่าง จากวัฒนธรรมสากล

                                                                   

ข้อใด เป็นลักษณะของวัฒนธรรมไทยที่ ต่าง จากวัฒนธรรมสากล

                 5.  วัฒนธรรมด้านศิลปะการแสดง 

                                ละคร เป็นมหรสพอย่างหนึ่งที่เล่นเป็นเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละชาติ

 ละครของไทย แบ่งออกเป็น

                «  ละครรำแบบดั้งเดิม ได้แก่

                                ละครชาตรี (นิยมแสดงเรื่องมโนราห์และรถเสน)

                                -  ละครนอก (เรื่องที่นำมาแสดง เช่น หลวิชัยคาวี พิกุลทอง มโนราห์  มณีพิชัย สังข์ทอง

                                -  ละครใน (เรื่องที่แสดงคือ รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา)

                «  ละครที่ประยุกต์ขึ้นใหม่ ได้แก่

                           ละครพันทาง (เรื่องที่นำมาแสดง เช่น พระอภัยมณี พระลอ ราชาธิราช)

                                ละครเสภา (เรื่องที่นำมาแสดง เช่น นิทราชาคริต ขุนช้างขุนแผน)

                                ละครสังคีต (เรื่องที่นำมาแสดง เช่น หนามยอกเอาหนามบ่ง วิวาห์พระสมุทร)

                                ละครร้อง (เรื่องที่นำมาแสดง เช่น สาวิตรี สาวเครือฟ้า กากี เป็นต้น)

                                ละครพูด (เรื่องที่นำมาแสดง เช่น มัทนะพาธา ชิงนาง เวนิสวาณิช)

                                ละครเพลง (เรื่องที่นำมาแสดง เช่น จันทร์เจ้าขา ฝนสั่งฟ้า)

ละครของญี่ปุ่น มีการแสดงละคร 3 รูปแบบคือ

                «  ละครโน เป็นละครที่เก่าแก่ที่สุด  ตัวละครจะสวมหน้ากากและแต่งกายแบบโบราณ การพูดและการเคลื่อนไหวของตัวละครจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า

                «  ละครบุนระกุ เป็นละครหุ่น  ตัวหุ่นจะมีการสร้างขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของมนุษย์ และคล้ายกับมนุษย์มากการแสดงจะใช้คนจริงเล่นร่วมกับหุ่น

                «  ละครคาบูกิ จะเน้นไปที่ความตื่นเต้นเร้าใจ เช่น การต่อสู้ การร่ายรำอาวุธ รวมไปถึงการใช้เทคนิคพิเศษเข้ามาช่วยในการแสดง เครื่องแต่งกายของตัวละครจะวิจิตรงดงามและสีสันสดใส

ข้อใด เป็นลักษณะของวัฒนธรรมไทยที่ ต่าง จากวัฒนธรรมสากล
ข้อใด เป็นลักษณะของวัฒนธรรมไทยที่ ต่าง จากวัฒนธรรมสากล