ชนชาติใดที่เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ในโลกตะวันตกเป็นกลุ่มแรก

          

สมัยประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มีการจดบันทึกด้วยตัวอักษร ทั้งนี้แต่ละสังคมจะเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์ไม่พร้อมกัน การศึกษาประวัติศาสตร์สากลมีความแตกต่างกันระหว่างการศึกษาประวัติศาสตร์ตะวันออกกับประวัติศาสตร์ตะวันตกโดยประวัติศาสตร์ตะวันออกจะแบ่งตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์หรือศูนย์กลางอำนาจเป็นเกณฑ์ ส่วนประวัติศาสตร์ตะวันตกจะใช้เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคสมัย

ยุคสมัยในประวัติศาสตร์ตะวันออก

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จีน


ชนชาติใดที่เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ในโลกตะวันตกเป็นกลุ่มแรก

            

แนวความคิดในการจัดแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จีนใช้พัฒนาการทางอารยธรรมและช่วงเวลาที่ราชวงศ์ต่าง ๆ มีอำนาจในการปกครองเป็นหลักเกณฑ์ในการจัดแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จีน ซึ่งสามารถแบ่งยุคสมัยออกได้เป็น
          1. ประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ เริ่มในสมัยราชวงศ์ชาง 1,570–1,045 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีการวางรากฐานด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม มีอักษรโบราณเขียนลงบนกระดองเต่า ใช้ในการเสี่ยงทาย หลังจากนั้นเป็นช่วงสมัยราชวงศ์โจว ราชวงศ์ฉิน และราชวงศ์ฮั่น ซึ่งในสมัยนี้สามารถรวมศูนย์อำนาจเป็นจักรวรรดิ ได้ชัดเจน
          2. ประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง เป็นช่วงของการปรับตัวของอารยธรรมจีนในการรับอิทธิพลต่างชาติ เกิดการแบ่งแยกดินแดนก่อนที่จะมีการรวมประเทศได้ในราชวงศ์สุย (Sui Dynasty) ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (Sung Dynasty) เป็นช่วงสมัยของความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม จนกระทั่งชาวมองโกลสามารถยึดครองประเทศจีนและสถาปนาราชวงศ์หยวน (Yuan Dynasty)
          3. ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ เริ่มต้นยุคสมัยใน ค.ศ. 1368 เมื่อชาวจีนไล่พวกมองโกลแล้วตั้งราชวงศ์หมิง (Ming Dynasty) ขึ้นปกครองจีน หลังจากนั้นราชวงศ์ชิง (Qing Dynasty) ของพวกแมนจูโค่นราชวงศ์หมิง เป็นช่วงสมัยที่จีนได้รับการยกย่องว่าประสบความสำเร็จเกือบทุกด้าน นักวิชาการบางท่านถือว่าประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่เริ่มต้นเมื่อครั้งราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644)
          ช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิงเป็นช่วงเวลาที่ประเทศจีนถูกคุกคามจากชาติตะวันตก และจีนแพ้อังกฤษในสงครามฝิ่น (ค.ศ. 1839–1842) ราชวงศ์ชินสิ้นสุดลงใน พ.ศ. 1911
          4. ประวัติศาสตร์จีนสมัยปัจจุบัน เริ่มต้นใน ค.ศ. 1911 เมื่อจีนปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบสาธารณรัฐ (ค.ศ. 1911–1949) โดย ดร.ซุน ยัตเซน (Sun Yat-sen) ต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์ได้ปฏิวัติและได้ปกครองจีน จึงเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ ค.ศ. 1949 จนถึงปัจจุบัน

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดีย

ชนชาติใดที่เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ในโลกตะวันตกเป็นกลุ่มแรก

          แนวความคิดในการจัดแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จีนใช้พัฒนาการของอารยธรรมอินเดียและเหตุการณ์สำคัญเป็นหลักสำคัญ
          ช่วงเวลาการวางรากฐานของอารยธรรมอินเดียเริ่มตั้งแต่สมัยอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุของพวกดราวิเดียนเมื่อ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช และล่มสลายลงเมื่อ 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวอารยันจึงอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เกิดการคิดค้นและก่อตั้งศาสนาต่าง ๆ เรียกว่า สมัยพระเวท (1,500–900 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

1. ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยโบราณ เริ่มต้นในสมัยมหากาพย์ (900–600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มีการใช้ตัวอักษรบันทึกเรื่องราว อินเดียรวมตัวครั้งแรกในราชวงศ์มคธ (600–322 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และรวมตัวกันอย่างแท้จริงในสมัยราชวงศ์เมารยะ (322–184 ปีก่อนคริสต์ศักราช) อินเดียเข้าสู่สมัยแห่งความแตกแยกและการรุกรานจากภายนอกทั้งจากพวกกรีกและกุษาณะ เป็นช่วงเวลาของการผสมผสานทางวัฒนธรรม ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เจริญขึ้นแทนพระพุทธศาสนา
          2. ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยกลาง (ค.ศ. 535–1526) เป็นช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายทางการเมืองและรุกรานจากต่างชาติ โดยเฉพาะมุสลิม เป็นสมัยแห่งความแตกแยกทางการเมือง (ค.ศ. 535–1200) และสมัยสุลต่านแห่งเดลี (ค.ศ. 1200–1526)
          3. ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่ เรียกว่าสมัยจักรวรรดิมุคัล (Mughal Empire ค.ศ. 1526–1858) จนกระทั่งอังกฤษเข้าปกครองอินเดียโดยตรงใน ค.ศ. 1858 แล้วปกครองมาจนถึง ค.ศ. 1947 อินเดียจึงได้รับเอกราชจากอังกฤษ อินเดียจึงเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน
          4. ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยปัจจุบัน คือ ภายหลังได้รับเอกราชและถูกแบ่งแยกออกเป็นประเทศต่าง ๆ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศ อย่างไรก็ตามการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์โดยใช้หลักเกณฑ์พัฒนาการของอารยธรรมอินเดีย สามารถรวมสมัยสุลต่านแห่งเดลีเข้ากับสมัยราชวงศ์มุคัล เรียกรวมว่า สมัยมุสลิม (ค.ศ. 1200–1858)

ยุคสมัยในประวัติศาสตร์ตะวันตก

          1. ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ (3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช–ค.ศ. 476) เป็นช่วงเวลาที่อารยธรรมเมโสโปเตเมียและอารยธรรมอียิปต์ซึ่งเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกจนถึง ค.ศ. 476 เมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลาย ถือเป็นการสิ้นสุดสมัยโบราณ
          2. ประวัติศาสตร์สมัยกลาง (ค.ศ. 476–ค.ศ. 1453) เป็นช่วงที่ตะวันตกรับอิทธิพลจากคริสต์ศาสนาเป็นอย่างมาก ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้สังคมในสมัยกลางยังมีลักษณะเป็นสังคมระบบฟิวดัล (feudalism)
          3. ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (ค.ศ. 1453–1945) เป็นสมัยแห่งความรุ่งเรืองทางวิทยาการของอารยธรรมตะวันตกและแผ่อิทธิพลไปยังดินแดนอื่น ๆ
          4. ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน (ค.ศ. 1945–ปัจจุบัน) เป็นช่วงสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีผลกระทบรุนแรงทั่วโลก และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองต่อสังคมโลกในปัจจุบัน

ชนชาติใดเขาสู่สมัยประวัติศาสตร์ในโลกตะวันตกเป็นกลุ่มแรก

ชนชาติใดที่เข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในโลกตะวันตกเป็นกลุ่มแรก 1 ชาวอียิปต์

นักมนุษยนิยมเป็นผลผลิตในโลกตะวันตกในยุคใด

มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (อังกฤษ: Renaissance humanism) คือขบวนการทางปัญญาของยุโรปซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญตัวหนึ่งของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่เริ่มขึ้นที่ฟลอเรนซ์ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 14 ขบวนการมนุษยนิยมเริ่มขึ้นเมื่อผู้คงแก่เรียนชาวยุโรปเริ่มพบวรรณกรรมภาษาลาตินและกรีกกันขึ้นมาใหม่ ในระยะแรกนักมนุษยนิยมก็เพียงแต่ ...

พัฒนาการของโลกตะวันตกยุคใหม่เริ่มต้นจากเรื่องใด

โลกตะวันตกยุคใหม่ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในฐานะอารยธรรมใหม่ยังคงได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการตีความแนวคิดกรีก ซึ่งได้รับการเก็บรักษาโดยจักรวรรดิโรมันและโลกของชาวอิสลามในช่วงยุคมืดและได้รับการสืบทอดต่อมาโดยการอพยพของนักวิชาการกรีก การแต่งงานและการแปลภาษาละติน

เหตุการณ์ใดเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยประวัติศาสตร์ตะวันตก

3. ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (ค.ศ. 1453-1945)ประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ถือว่าเริ่มต้นใน ค.ศ. 1453 เป็นปีที่ชนเผ่าเติร์กโจมตีและสามารถยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ เป็นผลให้ศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองกลับมาอยู่ในยุโรปตะวันตกอีกครั้ง ในระหว่างนี้ในยุโรปตะวันตกเองกำลังมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านความคิดและศิลปวิทยาการต่างๆ จาก ...