ชนชาติใดใช้เวลาอินเทอร์เน็ตต่อวันมากที่สุดในโลก

ชาวไทยใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือถึง 4.2 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งสูงที่สุดในโลก รองมาคืออินโดนีเซีย http://winne.ws/n21776

ชนชาติใดใช้เวลาอินเทอร์เน็ตต่อวันมากที่สุดในโลก

โดย Super Big Eagle!!

14 ม.ค. 2561 - 14.33 น. , แก้ไขเมื่อ 14 ม.ค. 2561 - 15.43 น.

สังคมไทย

1.7 พัน ผู้เข้าชม

share

Tags :

ชนชาติใดใช้เวลาอินเทอร์เน็ตต่อวันมากที่สุดในโลก
แหล่งภาพจาก Sanook! Hitech

ชาวไทยใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือมากที่สุดในโลก เฉลี่ยวันละ 4.2 ชั่วโมง ขณะที่อาเซียนเป็นภูมิภาคที่เศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตเติบโตเร็วที่สุดในโลก และคาดว่าในปี 2025 จะมีมูลค่าสูงถึง 6.5 ล้านล้านบาท

กูเกิลและเทมาเส็กของสิงคโปร์เผยแพร่รายงานเรื่อง 'จุดเด่นเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปี 2017' (e-Conomy SEA Spotlight 2017) ซึ่งระบุว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่ประชากรใช้เวลาเฉลี่ยในการเล่นอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือต่อวันสูงที่สุดในโลก คือ เฉลี่ยวันละ 3.6 ชั่วโมง โดยชาวไทยใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือถึง 4.2 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งสูงที่สุดในโลก รองลงมาคือชาวอินโดนีเซียที่ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ 3.9 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่ชาวอเมริกันใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง ชาวอังกฤษวันละ 1.8 ชั่วโมง และชาวญี่ปุ่นวันละ 1 ชั่วโมง

นอกจากนี้ จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในอาเซียนยังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยกูเกิลและเทมาเส็กคาดการณ์ว่า ยอดผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในอาเซียนจะเพิ่มขึ้นจาก 260 ล้านคนในปีนี้ เป็น 480 ล้านคนภายในปี 2020 หรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 14 ต่อปี สูงกว่าจีนที่จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี โดยอินโดนีเซียเป็นประเทศที่จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในอาเซียน คือ ร้อยละ 19 ต่อปี

ชนชาติใดใช้เวลาอินเทอร์เน็ตต่อวันมากที่สุดในโลก

ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้เวลากับการช็อปปิงออนไลน์มากที่สุด สูงกว่าชาวอเมริกันถึง 2 เท่า ส่งผลให้เศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตของอาเซียนเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยกูเกิลและเทมาเส็กคาดการณ์ว่าภายในปี 2025 เศรษฐกิจบนอินเทอร์เน็ตของอาเซียน ซึ่งถูกขับเคลื่อนโดยอี-คอมเมิร์ซ การท่องเที่ยวออนไลน์และสื่อออนไลน์ จะมีมูลค่าสูงถึง 2 แสนล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 6.5 ล้านล้านบาท 

กูเกิลและเทมาเส็กเปิดเผยว่า ในปีนี้ยอดการใช้จ่ายผ่านอี-คอมเมิร์ซของประชากรในอาเซียนน่าจะมีมูลค่าสูงถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 325,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2015 ที่ยอดการใช้จ่ายผ่านอี-คอมเมิร์ซอยู่ที่ 5,500 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 179 ล้านบาท ถึงร้อยละ 41 โดยกูเกิลและเทมาเส็กยังย้ำว่า ตัวเลขนี้นับเฉพาะยอดการซื้อขายสินค้ามือ 1 ผ่านทางอี-คอมเมิร์ซเท่านั้น ไม่รวมการซื้อขายสินค้ามือ 2 และการซื้อขายทางตรงระหว่างผู้บริโภค (consumer-consumer sale)

ชนชาติใดใช้เวลาอินเทอร์เน็ตต่อวันมากที่สุดในโลก

นอกจากนี้ กูเกิลและเทมาเส็กยังคาดการณ์ว่า หากประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนพัฒนาระบบดิจิทัลและระบบจ่ายเงินออนไลน์ ก็จะยิ่งทำให้ตลาดอี-คอมเมิร์ซในอาเซียนเติบโตอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และมีความเป็นไปได้ว่าในปี 2025 ตลาดอี-คอมเมิร์ซของอาเซียนอาจมีมูลค่ากว่า 88,100 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.86 ล้านล้านบาท

สำหรับภาคการท่องเที่ยวออนไลน์ เช่น การจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบินผ่านทางเว็บไซต์ รวมไปถึงบริการเรียกรถโดยสาร เป็นอีกหนึ่งภาคธุรกิจในเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยกูเกิลและเทมาเส็กคาดการณ์ว่าภายในปี 2025 การท่องเที่ยวออนไลน์จะเติบโตขึ้นถึง 4 เท่า มีมูลค่าถึง 90,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.92 ล้านล้านบาท ซึ่งการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวออนไลน์จะไม่เพียงแต่กระตุ้นการใช้จ่ายของประชากรในภูมิภาคเท่านั้น แต่จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติที่ย้ายถิ่นฐานมาทำงานหรือใช้ชีวิตในต่างแดนให้เดินทางมายังอาเซียน ทำรายได้เข้าภูมิภาคอีกด้วย

อีกหนึ่งธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วในอาเซียน คือ 'ไรด์-แชร์ริง' หรือ บริการเรียกรถรับจ้าง ซึ่งเป็นสมรภูมิที่ทั้ง 'อูเบอร์' และ 'แกร็บ' ต่างแข่งขันกันอย่างหนัก และออกบริการเสริมจำนวนมาก โดยกูเกิลและเทมาเส็กระบุว่า ในปีนี้ มูลค่าของตลาดไรด์-แชร์ริงในอาเซียนอยู่ที่ 5,180 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 168,000 ล้านบาท โตขึ้นจากปี 2015 ที่มูลค่าตลาดไรด์-แชร์ริงอยู่ที่ 2,580 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 84,000 ล้านบาท ถึง 2 เท่า และคาดว่าในปี 2025 ตลาดไรด์-แชร์ริงจะมีมูลค่ากว่า 20,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 650,000 ล้านบาท

จากรายงานของ Digital 2020 Reports ร่วมกับ We Are Social and Hootsuite ระบุว่า สื่อดิจิทัล สมาร์ตโฟน และโซเชียลมีเดียกลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลกแล้ว และคนไทยเองก็มีสถิติการใช้ข้อมูลโซเชียลไม่เป็นรองใคร

14 เรื่องต้องรู้พฤติกรรมออนไลน์ของคนไทยในเวทีโลก

  1. คนไทย 52 ล้านคนกว่า 75% ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย
  2. คนไทยใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยมากเป็นอันดับ 5 ของโลก เฉลี่ยอยู่ที่ 9.01 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนอันดับหนึ่งต้องยกให้ฟิลิปปินส์ใช้เวลาเฉลี่ย 9.45 ชั่วโมงต่อวัน
  3. คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตในมือถือมากเป็นอันดับสองของโลกเฉลี่ย 4.57 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนมากที่สุดในโลกยังคงเป็นฟิลิปปินส์เฉลี่ย 5.11 ชั่วโมงต่อวัน
  4. ไทยครองอันดับ 1 ในการใช้เวลาเล่นเกมผ่านเครื่องเล่นเกมมากสุดในโลก
  5. คนไทยมีการสั่งซื้อทางเสียงเป็นอันดับ 5 ของโลก ขณะที่อันดับหนึ่งเป็นของจีน โดยอินโดนีเซียครองอันดับสอง
  6. คนไทยใช้งานโซเชียมีเดียมากเป็นอันดับ 9 ของโลก นัมเบอร์วันต้องยกให้ U.A.E.
  7. คนไทยใช้งานโซเชียลมีเดียประมาณ 2.6 ชั่วโมงต่อวัน รั้งอันดับ 14 ของโลก
  8. เฉลี่ยคนไทยมีบัญชีโซเชียลมีเดียคนหนึ่งมากกว่า 10.1 บัญชี มากเป็นอัน 4 ของโลก ไม่ต่างจากอันดับ 1 อย่าง U.A.E. มากนักที่มี 10.5 บัญชีต่อคน
  9. คนไทยใช้โซเชียลมีเดียสำหรับทำงานมากเป็นอันดับ 7 ของโลก
  10. จำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊ก 47 ล้านคนของไทยมากเป็นอันดับ 8 ของโลก
  11. ไทยมีค่าเฉลี่ย organic reach ใน Facebook page อยู่ที่ 5.2%
  12. สาวไทย 7.7 ล้านคนชอบแชร์ IG มากเป็นอันอับ 3 ของโลก
  13. ขณะที่สาวไทยอีก 1.4 ล้านคนชอบแชร์ทวิตเตอร์ มากเป็นอันดับ 2 ของโลก
  14. คนไทยปรับตัวในการใช้งานอีคอมเมิร์ซมากเป็นอันดับสองของโลกเป็นรองแค่อินโดนีเซียเท่านั้น

ชนชาติใดใช้เวลาอินเทอร์เน็ตต่อวันมากที่สุดในโลก

มากกว่า 100 วันในหนึ่งปีที่คนทั่วโลกหมดไปกับโลกออนไลน์

ทุกวันนี้ทั่วโลกมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 4.5 พันล้านคน ซึ่งมีผู้เล่นใหม่เพิ่มขึ้น 298 ล้านคนเมื่อเทียบกับมกราคม 2019

  • มีผู้ใช้สื่อโซเชียลมีเดียมากกว่า 3.8 พันล้าน เพิ่มขึ้น 321 ล้านคน เมื่อเทียบกับเวลาเดียวกันในปีก่อน
  • ประชากรทั่วโลกเกือบร้อยละ 60 ใช้สื่อออนไลน์
  • ประชากรทั่วโลกใช้มือถือ 5.19 พันล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้น 124 ล้านคน (ร้อยละ 2.4) ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา

จากรายงานระบุว่าอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตในการออนไลน์ในแต่ละวันมากถึง 6.43 ชม. แม้จะลดลง 3 นาทีหากเทียบกับปีที่แล้ว แต่เมื่อรวมแล้วก็มีค่าเฉลี่ยที่คนทั่วโลกใช้เวลามากกว่า 100 วันที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของชีวิตในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่นับเวลานอนวันละ 8 ชม.ในแต่ละวัน

อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาการใช้อินเทอร์เน็ตในแต่ละประเทศก็แตกต่างกันไป GlobalWebIndex รายงานว่า ชาวฟิลิปปินส์ ถือว่าเป็นพวกติด “โซเชียล” มากที่สุดในโลก ใช้เวลาเฉลี่ยวันละ 4 ชม. ซึ่งแตกต่างกับชาวญี่ปุ่นที่ใช้เวลาเพียง 45 นาทีต่อวัน ส่วนคนไทยใช้เวลาประมาณ 2 ชม.เศษ ติดอันดับที่ 14 ของโลก

ชนชาติใดใช้เวลาอินเทอร์เน็ตต่อวันมากที่สุดในโลก

แอปพลิเคชันช่วยให้ขายของออนไลน์ดีขึ้น

เมื่อพิจาณาจากข้อมูลที่ผู้คนทั่วโลกใช้เวลากับมือถือประมาณ 3.7 ชั่วโมงในแต่ละวันนั้น ทุกครั้งที่ทุกคนหยิบมือถือขึ้นมาจะใช้เวลาอยู่ใน Mobile Apps ประมาณ 10 นาทีในทุกๆ 11 นาทีที่เชื่อมต่อเข้าสู่อุปกรณ์โมบาย จึงไม่น่าแปลกใจว่ามีผู้ให้บริการหลายรายพยายามยื่นข้อเสนอต่าง ๆ ผ่านทางแอปฯ ให้แก่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ เนื่องจากผู้บริโภควันนี้นิยมใช้แอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือทำกิจกรรมเกือบทุกด้านในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะติดต่อครอบครัว เพื่อนฝูง จัดการธุรกรรมการเงิน จากสถิติคนไทยใช้ธุรกรรมการเงินผ่านแอปพลิเคชันมากที่สุดในโลก

ชนชาติใดใช้เวลาอินเทอร์เน็ตต่อวันมากที่สุดในโลก

เฟซบุ๊กยังคงความนิยมสูงสุด

แม้ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเฟซบุ๊กจะเจอปัญหาสารพัด แต่ถึงวันนี้ก็ยังคงอยู่อันดับหนึ่งในโลกสื่อโซเชียล  แนวโน้มของผู้ใช้ต่อเดือน หรือ monthly active users (MAU) สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 2.5 พันล้านคน และจำนวนนี้ก็ยังคงจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละประเทศในปี 2019

ชนชาติใดใช้เวลาอินเทอร์เน็ตต่อวันมากที่สุดในโลก

TikTok มาแรงแต่คนเล่นร้อยละ 60 อาศัยอยู่ในจีน

TikTok อาจจะเป็นสื่อยอดฮิตเกี่ยวกับเรื่องในโซเชียลในปี 2019 โดยมีตัวเลขมหาศาลที่ติดอันดับพาดหัวข่าวต่างๆ ซึ่งก็มักจะอ้างอิงถึงอย่างผิดๆ อย่างไรก็ตาม การขายโฆษณาของ TikTok ที่รั่วไหลออกมาโดย AdAge สองสามเดือนก่อนช่วยให้ความชัดเจนมากขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้น

สิ่งแรกก็คือ ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า TikTok มีปริมาณผู้ใช้รายเดือนจำนวนมากถึง 800 ล้านคน แต่อย่างไรก็ตาม ในจำนวน 500 ล้านคนนั้น หรือมากกว่าร้อยละ 60 อาศัยอยู่ในจีน แสดงว่าการใช้ TikTok มีผู้ใช้ประมาณ 300 ล้านคนอยู่นอกประเทศจีน ซึ่งอาจจะเป็นพวกเดียวกับ Snapchat และ Twitter

อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่นับความแตกต่างของประเทศแล้ว TikTok ก็ไต่อันดับขึ้นไปที่ 6 ในการจัดอันดับ Mobile App ทั่วโลกโดยจำนวนผู้ใช้ต่อเดือนในปี 2019 แต่ในเรื่องเนื้อหาแล้ว TikTok ถือว่าอยู่หลัง WhatsApp, Facebook, WeChat และ Instagram แต่ก็ถือว่านำหน้าสื่อโซเชียลรูปแบบอื่นทั้งหมด

ชนชาติใดใช้เวลาอินเทอร์เน็ตต่อวันมากที่สุดในโลก

อีคอมเมิร์ซจีนแรงต่อเนื่อง

ทุกวันนี้มีแอปพลิเคชัน และเว็บไซต์ของเอเชียที่เริ่มได้ส่วนแบ่งการตลาดจากโลกโซเชียลทั่วโลก โดยเฉพาะจากจีน มีแอปพลิเคชันของจีนถึง 6 แอปฯ ที่ติดในสิบอันดับแอปที่ไม่ใช่เกมในปี 2019 ดังนี้

  • Tmall ของจีนป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าไปชมติดอันดับ 3
  • Baidu เป็นแหล่งค้นหาข้อมูล และอยู่อันดับ 5 ในบรรดาเว็บที่มีผู้เข้าไปเยี่ยมชม
  • QQ อยู่อันดับ 6 เป็น messenger ที่เป็นของ WeChat
  • Soho ก็เป็นเว็บไซต์ติดอันดับ 7 ที่ให้บริการข่าวสาร เกมออนไลน์ การค้นหา และบริการอื่นๆ

ผู้คนเริ่มใช้เสียงค้นหาสินค้าในช้อปปิ้งออนไลน์
GLOBALWEBINDEX ระบุว่า ร้อยละ 43 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกอายุระหว่าง 16-64 ปี มีการใช้เสียงเพื่อค้นหาและออกคำสั่งในอุปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากปีก่อน โดยการใช้เสียงในโลกโซเชียลนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้นเฉพาะอุปกรณ์การพูด 1 ใน 3 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกใช้ระบบเสียงในการสื่อสารที่เห็นหน้ากันในมือถือทุกเดือน ซึ่งตัวเลขนี้สูงมากในทวีปเอเชีย คือ ร้อยละ 40 เป็นผู้ใช้จากอินเดียในเดือนที่แล้ว เปรียบเทียบกับร้อยละ 42 ในจีน และมากถึงร้อยละ 48 ในอินโดนีเซีย คาดว่าจำนวนตัวเลขนี้ในมือถือจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากคนทั่วโลกตอนนี้นิยมใช้เสียงค้นหาในการช้อปปิ้งออนไลน์ เช่น ในระหว่างที่กำลังเล่นเกมอยู่ผู้เล่นอาจสามารถใช้คำสั่งเสียงซื้อไอเท็มในเกมได้ทันที

ผู้คนเริ่มตระหนักถึงความเป็นส่วนตัว

ความเป็นส่วนตัวยังคงเป็นประเด็นสำคัญสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก และพบว่าผู้ใช้มีความกังวลมากขึ้นในปีนี้มากกว่าปีก่อน GlobalWebIndex รายงานว่า

ร้อยละ 64 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกังวลเกี่ยวกับบริษัทที่ใช้ข้อมูลของพวกเขา ซึ่งมีสถิติเพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 63 ในช่วงเริ่มต้นปี 2019

ร้อยละ 56 ของพวกเขาสงสัยว่า ‘สิ่งใดคือเรื่องปลอมและสิ่งใดคือเรื่องจริง’ สถิตินี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ร้อยละ 54

มากกว่าร้อยละ 47 ผู้ใช้อายุระหว่าง 16-64 มีการบล็อกโฆษณาในแต่ละเดือนเพิ่มขึ้น

อุปกรณ์สื่อสารที่บ้านจะขายดีขึ้น

ข้อมูลต่าง ๆ ระบุว่า ผู้ใช้เริ่มแสดงความผิดหวังกับโฆษณาบนอินเทอร์เน็ตมากขึ้น นี่จึงทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ความขัดแย้งในความเป็นส่วนตัวในโลกดิจิทัล (digital privacy paradox) ขณะที่มีแนวโน้มว่า หลายบริษัทกำลังปรับให้มีอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อแชร์ และสร้างความข้อมูลที่เป็นส่วนตัวเกี่ยวกับชีวิตผู้คน โดย Statista รายงานว่า ผู้ใช้อุปกรณ์สื่อสารที่บ้าน หรือ ที่เรียกว่า smart home devices เพิ่มขึ้นหนึ่งในสามทั่วโลก จ่ายเงินเพิ่มเฉลี่ย 17,000 บาท (US$550) ต่อปีเพื่อให้ช่วยติดตามหาสิ่งของที่พวกเขาทำเป็นการส่วนตัวที่บ้าน

วีดีโอเทรนด์แรงไม่ตก

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเคลื่อนที (mobile internet users) จะยังคงใช้มือถือที่สามารถทำ download หรือ stream เนื้อหาวีดีโอ มีรายงานว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอายุระหว่า 16-64 ปี ดูวิดีโอออนไลน์ในแต่ละเดือน ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าประชากรครึ่งโลก และ YouTube ก็ยังคงได้ส่วนแบ่งสูงสุดในวีดีโอออนไลน์ YouTube เองก็รายงานว่ามีผู้ลงทะเบียนเพื่อเข้าเป็นผู้ชมมากถึง 2 พันล้านคนในแต่ละเดือน ขณะที่ผู้ที่โหลดเนื้อหาจากทีวีทางอินเทอร์เน็ตเพื่อชมทางมือถือ เช่น NetFlix ก็เพิ่มขึ้นมากถึง 2 ใน 3 ของผู้ใช้อายุระหว่าง 16-64 ปี

ชนชาติใดใช้เวลาอินเทอร์เน็ตต่อวันมากที่สุดในโลก

คนรุ่นใหม่นิยมซื้อของออนไลน์มากขึ้น

ประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกอายุระหว่าง 16-64 ปีนิยมซื้อของออนไลน์ในแต่ละเดือน ซึ่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจไม่ใช่ตัวกำหนดการค้าขายออนไลน์ แต่มีปัจจัยอื่นคือ สถานที่ที่เอื้อในการใช้ภาษา และความชอบทางวัฒนธรรมของผู้ซื้อของท้องถิ่นในประเทศนั้นๆ ผู้ซื้อทั่วโลกนิยมซื้อผ่านอุปกรณ์มือถือมากกว่า laptop  และผู้ซื้อของออนไลน์ที่อายุน้อยก็มีแนวโน้มจะค้นหายี่ห้อสินค้าและสินค้าผ่านระบบโซเชียลมากขึ้น แนวโน้มนี้จะยิ่งเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 16-64 ปี

Source:

https://thenextweb.com/podium/2020/01/30/digital-trends-2020-every-single-stat-you-need-to-know-about-the-internet/

ประเทศใดที่ใช้งานเน็ตน้อยที่สุดเพียง 4.22 ชั่วโมงต่อวัน

. ส่วนประเทศฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงสุด 9.45 ชั่วโมงต่อวัน และญี่ปุ่นมีการใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตต่อวันน้อยที่สุดคือ4.22 ชั่วโมงต่อวัน

ประเทศใดต่อไปนี้ใช้เวลาเฉลียต่อวันในการใช้งาน Internet มากที่สุด

ฟิลิปปินส์ขึ้นแท่นใช้เน็ตต่อวันมากสุดในโลก-ไทยรั้งอันดับ 3.

คนไทยใช้อินเตอร์เน็ตบ่อยแค่ไหน

นอกจากนี้ คนไทยใช้เวลาบนโลกอินเทอร์เน็ตวันละมากถึง 8.44 ชั่วโมง ถือว่าสูงติดอันดับ Top10 ของโลก ส่วนค่าเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ 6.54 ชั่วโมงต่อวัน เวลาบนอินเทอร์เน็ตของคนไทย แบ่งเป็น ใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือ 5.07 ชั่วโมง/วัน และใช้งานบนคอมพิวเตอร์ 3.38 ชั่วโมง/วัน

คนไทยใช้เวลาออนไลน์วันละกี่ชั่วโมง

คนไทยใช้โซเชียลมีเดีย เฉลี่ย 2 ชั่วโมง 48 นาที/วัน ส่วนค่าเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ 2 ชั่วโมง 25 นาที/วัน – Facebook เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก ถึง 2,740 ล้านคน (Active Users) และมีผู้คนใช้เวลาผ่านแอป เฉลี่ย 19.5 ชั่วโมง/เดือน