หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น ข้อ ใด เป็นหลักฐานชั้นรอง

 

2.3.1 ตัวอย่างหลักฐานที่ใช้ในการศึกษาความเป็นมาของท้องถิ่น

  ในท้องถิ่นแต่ละท้องถินจะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทั้งหลักฐานชั้นต้น และหลักฐานชั้นรอง ที่จะทำให้ทราบประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นการศึกษาของท้องถิ่นจึงสามารถใช้หลักฐานที่ปรากฏอยู่เป็นข้อมูลได้   

                                                                                                                                                                                                   ย้อนกลับ       ถัดไป

ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

๑. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ

        .๑ หลักฐานชั้นต้น( primary sources)  หมายถึง คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึกรวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น ข้อ ใด เป็นหลักฐานชั้นรอง

        ๑.๒ หลักฐานชั้นรอง( secondary sources)  หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่าหรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น ข้อ ใด เป็นหลักฐานชั้นรอง

๒. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด

        ๒.๑ หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร (written sources)  หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสารรวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น ข้อ ใด เป็นหลักฐานชั้นรอง
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น ข้อ ใด เป็นหลักฐานชั้นรอง

        ๒.๒ หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปะการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ตนตรี จิตรกรรม ฯลฯ

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น ข้อ ใด เป็นหลักฐานชั้นรอง

๓. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต

       ๓.๑ หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น หมายถึง หลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น ข้อ ใด เป็นหลักฐานชั้นรอง

       ๓.๒ หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง  หมายถึง วิธีการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการ ศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้า หาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน

            ประวัติศาสตร์จะเกิดขึ้นได้ด้วยองค์ประกอบสำคัญได้แก่ สังคมมนุษย์ หลักฐาน มิติของเวลา และวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยขั้นแรกต้องมีเหตุการณ์หรือพฤติกรรมในสังคมมนุษย์เกิดขึ้นแต่เนื่องจากสังคมมนุษย์เกิดขึ้นมากว่า 500,000 ปีมาแล้ว ความจริงในอดีตจึงต้องอาศัยร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ซึ่งอาจเกิดจากธรรมชาติหรืออาจเกิดจากสิ่งที่มนุษย์ตั้งใจหรืออาจไม่ตั้งใจจะสร้างหลักฐานขึ้น และเมื่อเกิดหลักฐานขึ้นแล้วต้องอาศัยนักประวัติศาสตร์หรือผู้ที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ทำหน้าที่รวบรวมตรวจสอบ พิจารณา ไตร่ตรอง วิเคราะห์ ตีความ วินิจฉัยและเรียบเรียงข้อเท็จจริงที่ค้นพบเพื่ออธิบายเรื่องราวในสังคมนั้นๆว่าเกิดขึ้นเพราะเหตุใดและผลของเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไร

อย่างไรก็ตามไม่มีผู้ใดสามารถจำลองอดีตได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ฉะนั้นเหตุการณ์ที่เรียบเรียงขึ้นเป็นประวัติศาสตร์นี้ จึงเป็นเรื่องราวเพียงส่วนหนึ่งของพฤติกรรมมนุษย์ในอดีตเท่านั้นโดยผู้ศึกษาเห็นว่าเหตุการณ์นั้นมีความสำคัญต่อสังคมและควรเรียนรู้ถือเป็นบทเรียนของอดีตที่มีผลถึงปัจจุบันและอนาคต การสืบค้นอดีตเพื่อเข้าใจสังคมปัจจุบันและเห็นแนวทางปฏิบัติในอนาคตคือคุณค่าสำคัญของประวัติศาสตร์

 นอกจากนี้ประวัติศาสตร์ยังช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจความรักและความภูมิใจในชาติของตน เข้าใจลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมของสังคมมนุษย์ที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆกันและที่สำคัญผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะได้รับการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์การแยกแยะข้อเท็จจริงจากข้อมูลหลักฐานที่หลากหลายได้ฝึกฝนการอ่าน การเขียน การเล่าเรื่องและการนำเสนออย่างมีเหตุผลอันเป็นกระบวนการสร้างภูมิปัญญาอย่างแท้จริง