ข้อใดที่ผู้เยาว์สามารถทำเองได้โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม

ข้อใดที่ผู้เยาว์สามารถทำเองได้โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม

15 Nov ลูกผู้เยาว์ทำนิติกรรมสัญญาได้แค่ไหน

Posted at 06:50h in ครอบครัว / มรดก

เด็ก ซึ่งเป็นผู้เยาว์ หลายคนคงสงสัยว่าผู้เยาว์มีผลอย่างไรที่แตกต่างกับเด็กทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน  ตามกฎหมายแล้วเด็กที่อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ถือว่าเป็นผู้เยาว์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ยังต้องอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของพ่อแม่ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามกฎหมาย  หลายท่านอาจจะยังไม่เข้าใจว่า ผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมายคืออะไร  ไม่น่าเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตประจำวัน  แต่แท้จริงแล้วหากเด็กที่โตหน่อยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ระดับวัยรุ่นแล้วจะมีการทำนิติกรรมต่าง ๆ ที่ต้องมีกฎหมายเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง  คงจะสงสัยอีกว่าลูกโตมาจนแต่งงานแล้วยังไม่เคยทำนิติกรรมใด ๆ เลย 

นิติกรรม คือ การกระทำที่มีผลทางกฎหมาย ทำให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างกัน เช่น การซื้ออาหาร ซื้อเสื้อผ้า  รองเท้า  ขนม ขึ้นรถแท๊กซี่ ต่าง ๆ  ล้วนแต่เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นมีโอกาสเกี่ยวข้องกับผู้เยาว์ทั้งสิ้น ซึ่งตามกฎหมายให้สิทธิผูเยาว์นั้นสามารถทำได้หากเป็นการกระทำสมแก่ฐานะของเด็กนั้น และเป็นการกระทำอันจำเป็นในการดำรงชีพ แต่หากการกระทำใดที่ไม่สมควรเกินแก่ฐานะของเด็กนั้นเองแล้วการกระทำนั้นจะเป็นโมฆียะ หมายความว่าจะสามารถถูกบอกเลิกสัญญาได้ เช่น  เด็กเป็นลูกคนรวยเป็นที่รู้จักในสังคมแต่ไม่มีเงินเป็นของตนเอง การซื้อของต้องเป็นของพ่อแม่ เมื่อคนขายรู้ว่าพ่อแม่เด็กมีความสามารถที่จะซื้อรถคันนั้นได้ จึงได้ขายรถหรูให้เด็กขับกลับบ้านเช่นนี้ สัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆียะ พ่อแม่สามารถบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อบอกเลิกสัญญาก็ต้องนำของไปคืนผู้ขาย หากมีการสึกหรอก็ต้องชดใช้ความเสียหายในส่วนนั้นไป ค่ารถที่ต้องจ่ายก็เป็นหนี้ของเด็กไม่ใช่หนี้ของพ่อแม่ต้องรับภาระมาจ่ายเงินให้แทน

ในทางกลับกันเด็กผู้เยาว์อาจได้รับมรดกทรัพย์สิน หรือจากการให้ของบิดามารดาจนเป็นเศรษฐีได้  แล้วเด็กสามารถทำพินัยกรรมได้หรือไม่  ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่าผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้นซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น ทำพินัยกรรม การรับรองบุตรว่าเป็นบุตรของตนเอง เป็นต้น

กฎหมายยังกำหนดให้เด็กอายุมากกว่า 17 ปีสามารถบรรลุนิติภาวะ ทำนิติกรรมได้เองโดยการสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองก่อน เด็กนั้นก็จะบรรลุนิติภาวะได้

ในกรณีที่เด็กได้ทรัพย์สินมาไม่ว่าจากมรดก หรือจากการให้ของพ่อแม่แล้วกลายเป็นทรัพย์สินของเด็กไปนั้น กรณีที่เด็กมีอสังหาริมทรัพย์ หรือพ่อแม่จะจำหน่าย บ้าน ที่ดิน ของผู้เยาว์นั้น จะกระทำการเองมิได้ต้องขออนุญาตจากศาล เพื่อศาลได้ให้ความเห็นชอบ เป็นการป้องกันทรัพย์สินของเด็กตามกฎหมาย

นอกจากการขายอสังหาริมทรัพย์แล้ว กฎหมายยังกำหนดอีกว่าการกระทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ พ่อแม่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตเสียก่อน

มาตรา 1574 นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
(3) ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์
(4) จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มา ซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจาก ทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น
(5) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(6) ก่อข้อผูกพันใด ๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (1) (2) หรือ (3)
(7) ให้กู้ยืมเงิน
(8) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อ การกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์
(9) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่ รับการให้โดยเสน่หา
(10) ประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับ ชำระหนี้ หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น
(11) นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 1598/4 (1) (2) หรือ (3)
(12) ประนีประนอมยอมความ
(13) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

ดังนั้นกรณีพ่อแม่จะให้ทรัพย์สินต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต้องขออนุญาตศาลตามข้างต้นแล้วควรวางแผนให้รอบขอบถึงอนาคตว่าจะมีการกระทำใด ๆ ที่จะต้องขออนุญาตศาลหรือไม่ หรือยังไม่โอนให้แก่เด็กจนกว่าเด็กจะบรรลุนิติภาวะเสียก่อนจะเป็นประโยชน์มากกว่า

ที่มา: บทความในนิตยสาร “บันทึกคุณแม่” คอลัมส์ “กฎหมายน่ารู้” 

โดย ชัชวัสส์  เศรษฐลักษณ์ ที่ปรึกษากฎหมาย-ธุรกิจ/ ทนายความ อดีตพิธีกรรายการ 

คุยกฎหมายกับทนายมวลชน”

ฉบับเดือน กันยายน 2558 (Vol.23 Issue 266 September 2015/ Page 110-111) 

นิติกรรมใดบ้างที่ผู้เยาว์สามารถทําได้ โดยไม่ต้องให้ ผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาต

การใด (นิติกรรม) ที่ผู้เยาว์กระทำลงไปโดยลำพังไม่ได้ขอความยินยอมจากผู้แทนฯ การนั้นจะเป็นโมฆียะ คำว่า “โมฆียะ” หมายความว่า ไม่บริบูรณ์ อาจให้สัตยาบรรณหรืออาจบอกล้างได้ กล่าวคือสมบูรณ์อยู่จนกว่าจะถูกบอกล้าง

ข้อใดที่ผู้เยาว์สามารถทำได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครอง

อย่างไรก็ตาม ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมบางอย่างได้เองโดยไม่ต้องขอความยินยอม และไม่ตกเป็นโมฆียะ กล่าวคือ ก. ทำนิติกรรมเพียงเพื่อจะได้สิทธิ หรือหลุดพ้นจากหน้าที่ ซึ่งเป็นนิติกรรมที่เป็นคุณต่อผู้เยาว์ฝ่ายเดียว เช่น รับการให้โดยสเน่หา ข. ทำนิติกรรมซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น สมรส

การใดบ้างที่ผู้เยาว์สามารถทำได้ด้วยนเอง โดยไม่้องได้รับความยิยยอม จากผู้แทนโดยชอบธรรม

ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม ถ้าผู้เยาว์ทำพินัยกรรมโดยมีอายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ พินัยกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ

นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้ด้วยตนเองมีอะไรบ้าง

2) นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น รับรองบุตร 3) นิติกรรมที่จำเป็นเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้เยาว์ ซึ่งเป็นการสมควรแก่ฐานานุรูป เช่น การซื้ออาหารกิน ซื้อสมุดดินสอ ขึ้นรถประจำทาง ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ของผู้เยาว์เป็นราย ๆ ไป