การถนอมอาหารวิธีใดนิยมใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มประเภทนมมากที่สุด

นมพาสเจอร์ไรส์คืออะไร? หาคำตอบได้จากบทความนี้

มี.ค. 22, 2022

การถนอมอาหารวิธีใดนิยมใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มประเภทนมมากที่สุด

นมพาสเจอร์ไรส์คืออะไร? หาคำตอบได้จากบทความนี้

ผลิตภัณฑ์นมเป็นผลิตภัณฑ์ที่อุดมไปด้วยโปรตีนและแคลเซียม ทั้งยังบริโภคได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยชรา แล้วเคยสังเกตไหมว่าในบรรดาเครื่องดื่มประเภทนมวัวพร้อมดื่มที่เราเห็นวางจำหน่ายในท้องตลาด ทำไมบางชนิดถึงบรรจุอยู่ในขวด บางชนิดบรรจุกล่อง และบางชนิดบรรจุในกระป๋องอะลูมิเนียม นั่นก็เป็นเพราะว่ากระบวนการเก็บรักษานมนั้นมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นพาสเจอไรส์ สเตอริไลซ์ หรือยูเอชที  ดังนั้น วันนี้เราจะพาไปรู้จักนมประเภทหนึ่งที่เป็นที่นิยม นั่นก็คือ นมพาสเจอร์ไรส์ มาค้นหาคำตอบไปพร้อมกันเลย!!!

Show

นมพาสเจอร์ไรส์ คืออะไร?

นมพาสเจอร์ไรส์ (Pasteurized  Milk) คือ ผลิตภัณฑ์นมชนิดหนึ่งที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ด้วยความร้อน 63-72 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ 15 วินาทีไปจนถึง 30 นาทีเพื่อทำลายจุลินทรีย์บางส่วนที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย แต่ไม่ได้ทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้นมเน่าเสีย โดยมีวัตถุประสงค์ให้น้ำนมปลอดภัยต่อการบริโภคและยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ทำให้น้ำนมเน่าเสีย เช่น เอนไซม์ไลเพส (Lipase) ที่ทำให้เกิดกลิ่นหืน จากนั้น ทำให้น้ำนมเย็นลงทันทีที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า และนำไปผ่านกรรมวิธีทำนมสดให้เป็นเนื้อเดียวกันอีกครั้ง ดังนั้น ภายหลังการพาสเจอร์ไรซ์ จึงต้องเก็บรักษาน้ำนมไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส  เพื่อควบคุมการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ที่ยังเหลือรอดอยู่ เช่น แบคทีเรียที่ทนความร้อนและสปอร์ของแบคทีเรีย ด้วยการใช้อุณหภูมิที่ไม่สูงมากในระยะเวลาไม่นาน นมพาสเจอร์ไรส์จึงยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารและรสชาติหอมมันใกล้เคียงกับนมสดมากที่สุด แต่ก็เป็นนมที่มีอายุสั้นเพียงแค่ 7-10 วัน และต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาตลอดเวลา

การถนอมอาหารวิธีใดนิยมใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มประเภทนมมากที่สุด

รู้จักกระบวนการพาสเจอไรซ์

พาสเจอไรซ์  (Pasteurization) เป็นชื่อของกระบวนการใช้ความร้อนต่ำในการฆ่าเชื้อโรคและยับยั้งการเน่าเสียจากเอนไซม์ของจุลินทรีย์ ถือเป็นการถนอมอาหารแบบชั่วคราว เพราะสามารถป้องกันมิให้จุลชีพเจริญในชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่สารอาหารยังอยู่ครบถ้วนหรือเกือบครบถ้วน ดังนั้นจึงมีประโยชน์ต่ออาหารที่ต้องรับประทานเป็นประจำ แต่ไม่เก็บไว้นาน ๆ เช่น นม เป็นต้น โดยชื่อ “พาสเจอไรซ์” เป็นการให้เกียรติแก่นักเคมีและนักจุลชีววิทยาชาวฝรั่งเศส หลุยส์ ปาสเตอร์ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเทคนิคและแสดงให้เห็นถึงอนุภาคในอากาศทั่วไปที่ทำให้อาหารเน่าเสีย ซึ่งแตกต่างจากอากาศบริสุทธิ์ โดยชี้ว่าจุลินทรีย์เป็นสาเหตุของการเน่าเสีย และนำไปสู่ทฤษฎีเชื้อโรค (The Germ Theory of Disease) ในที่สุด

โดยทั่วไปแล้ว การพาสเจอร์ไรซ์จะใช้ความร้อนต่ำกว่าจุดเดือดของน้ำ หรือ 100 องศาเซลเซียส เพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์จากจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่าเสียหรือฆ่าจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ รา เชื้อโรคต่าง ๆ แต่ยังไม่ทำลายสปอร์ของแบคทีเรียได้ ดังนั้น จึงต้องเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ไว้ที่อุณหภูมิต่ำเพื่อยับยั้งการงอกของสปอร์ โดยการพาสเจอไรซ์แบ่งได้เป็น

  • วิธีใช้ความร้อนต่ำ-เวลานาน (Low Temperature, Long Time: LTLT) คือ การให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 62-65 องศาเซลเซียส เป็นเวลามากกว่า 30 นาที
  • วิธีใช้ความร้อนสูง-เวลาสั้น (High Temperature, Short Time: HTST) คือ การให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 72-75 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15-240 วินาที
  • วิธีใช้ความร้อนสูงมาก-เวลาสั้น (High Heat, Short Time: HHST) คือ การให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 85-90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1-25 วินาที

นอกจากผลิตภัณฑ์นมแล้ว เรายังนำการพาสเจอไรซ์ไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารประเภทอื่น ๆ เช่น อาหารกระป๋อง น้ำผลไม้ น้ำเชื่อม ไวน์ ฯลฯ ได้อีกด้วย

คุณสมบัติของนมพาสเจอร์ไรส์

  • ปราศจากจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค
  • ลดจำนวนจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นสาเหตุของโรคลง (มีไม่เกิน 50,000 โคโลนี/มล.)
  • เอนไซม์ไลเปสและเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตสถูกทำลายหมด
  • อายุการเก็บรักษาของนมในตู้เย็นนานขึ้น
  • รสกลิ่นและสีของนมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพียงเล็กน้อย
  • คุณค่าทางอาหารของนมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพียงเล็กน้อย

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้บริโภคที่เลือกดื่มนมพาสเจอร์ไรส์

การถนอมอาหารวิธีใดนิยมใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มประเภทนมมากที่สุด

  • นมพาสเจอร์ไรส์ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นเสมอ

หลายคนเข้าใจว่านมที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว  ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็น แต่ความเป็นจริง ความร้อนที่ใช้เป็นเพียงการฆ่าเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคเท่านั้น แต่จุลชีพที่ไม่เป็นสาเหตุของโรคยังคงมีอยู่ในน้ำนมและจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หากไม่เก็บนมไว้ในตู้เย็น นมอาจจะเสียภายใน 1-7 วันเท่านั้น ดังนั้นพึงระลึกเสมอว่านมพาสเจอร์ไรส์นั้นต้องเก็บไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิประมาณ 5 องศาเซลเซียสเสมอ

  • สังเกตลักษณะของนมก่อนดื่มทุกครั้ง

เพราะนมพาสเจอร์ไรส์จะมีกำหนดอายุ ซึ่งสามารถดูได้จากวันหมดอายุของนมที่ระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์  โดยทั่วไป นมพาสเจอร์ไรซ์จะมีอายุประมาณ 7 วัน โดยที่ต้องเก็บในสภาพเย็นตลอดเวลา แต่ถ้าทิ้งไว้ในอุณหภูมิธรรมดานอกตู้เย็นนาน ๆ โดยเฉพาะหน้าร้อน นมสดอาจจะเสียได้ภายใน 3 วันเท่านั้น ดังนั้น ก่อนดื่มนมพาสเจอร์ไรส์ทุกครั้ง ควรรินใส่แก้ว และสังเกตดูว่ามีตะกอนเป็นเม็ดขาว ๆ เกิดขึ้นหรือไม่ หากมีตะกอนแสดงว่านมนั้นเสีย แต่หากไม่มีตะกอนก็ควรตรวจสอบด้วยการชิมอีกครั้งหนึ่ง ถ้ามีรสเปรี้ยว ไม่ควรดื่มนมนั้น

  • ไม่ควรเก็บนมพาสเจอร์ไรซ์ไว้นานเกินไป

ถึงแม้จะเก็บนมพาสเจอร์ไรส์ไว้ในตู้เย็น แต่นมก็อาจเสียได้ หลายคนประหลาดใจที่พบว่าบ่อยครั้งโดยเฉพาะหน้าร้อน นมสดที่เก็บไว้ในตู้เย็นก็ยังเสียได้ ทั้งนี้ เนื่องจากระหว่างการขนส่ง กว่านมจะถูกนำมาส่งที่บ้านหรือจุดจำหน่าย อาจจะมีอุณหภูมิสูงนานเกินไป จุลชีพจึงเจริญเติบโต จนทำให้นมเกือบจะเสีย แม้เก็บไว้ในตู้เย็นอีก 2 วัน จุลชีพก็ยังสามารถเจริญเติบโตพอที่จะทำให้นมเสียได้ ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรดื่มให้หมดภายใน 1 วัน

การพาสเจอร์ไรซ์เป็นวิธีการที่ช่วยรักษาคุณค่าทางโภชนาการของนม ทั้งยังลดความเสี่ยงของอาหารเป็นพิษและยืดอายุการเก็บรักษาไว้ได้หลายวัน อย่างไรก็ตาม วิตามินบางชนิด เช่น วิตามินบี วิตามินซีที่สลายได้ง่ายเมื่อถูกความร้อนอาจสูญเสียไประหว่างกระบวนการพาสเจอไรซ์ ดังนั้น สัมผัส สี และกลิ่นของนมก็อาจเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย แต่ก็ถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์นมที่มีคุณค่าใกล้เคียงกับนมวัวมากที่สุด

สามารถดูรายละเอียดสินค้าผลิตภัณฑ์นมแปรรูปจาก All Season ได้ที่ลิงค์ด้านนี้

  • ผลิตภัณฑ์นมโคแท้ (ทั้งหมด)
  • โยเกิร์ตเพ้าช์
  • นมเปรี้ยวโยเกิร์ตพร้อมดื่ม
  • นมแลคโตสฟรีพาสเจอร์ไรส์
  • นมปรุงแต่งพาสเจอร์ไรส์

ติดตามข่าวสารจาก All Season ได้จากช่องทางดังต่อไปนี้

Website: allseasondairy.com
Facebook: All Season
Instagram: Allseasondairy
Youtube: All Season Dairy
Line: All Season Dairy
Twitter: allseason_official
Tiktok: AllSeasonDairyOfficial

การถนอมอาหารแบบใดคงสภาพอาหารไว้ได้มากที่สุด

- การแช่เยือกแข็ง (Freezing) ใช้อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งประมาณต่ำกว่า -10 องศาเซลเซียส เพื่อให้น้ำในอาหารกลายเป็นผลึกน้ำแข็ง จุลินทรีย์จะหยุดการเจริญเติบโตโดยสิ้นเชิง ทำให้สามารถเก็บรักษาอาหารไว้ได้นานเป็นปีในห้องเย็น วิธีนี้จึงถือเป็นการถนอมอาหารที่แท้จริง

การถนอมอาหารชนิดใดประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด

การตากแห้ง” ถือได้ว่าเป็นวิธีการถนอมอาหารที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีการที่ไม่ยุ่งยากและยังประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นวิธีถนอมอาหารที่สามารถใช้ได้กับอาหารหลากหลายประเภท ทั้งผัก, ผลไม้, เนื้อสัตว์ ฯลฯ โดยใช้วิธีการดูดความชื้นจากอาหารด้วยแสงแดด เพื่อไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในอาหารเจริญ ...

การถนอมอาหารประเภทนมด้วยวิธีการใดที่จะทำให้นมอยู่นานได้มากที่สุด

การใช้ความร้อนระดับพลาสเจอร์ไรซ์ (Pasteurization) สำหรับวิธีการถนอมอาหารนี้จะเป็นกระบวนการที่ใช้ความร้อนที่ไม่รุนแรง โดยอุณหภูมิที่ใช้จะต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส เพื่อยืดอายุของอาหารให้อยู่ได้นานขึ้นหลายวัน โดยเหมาะสำหรับอาหารประเภท น้ำผลไม้ และนม เป็นต้น

การถนอมอาหารแบบใดใช้ทำเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์

1. การหมักให้เกิดแอลกอฮอล์ (alcoholic fermentation) โดยใช้จุลินทรีย์ เช่น ยีสต์ (yeast) เช่น Saccharomyces cerevisae เป็นการหมักน้ำตาลกลูโคสเพื่อให้ได้เอทิลแอลกอฮอล์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน ในอุตสาหกรรมอาหารใช้เพื่อผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (alcoholic beverage) ได้แก่ เบียร์ (beer) ไวน์ (wine) ...