อาหารหมู่ใดที่ช่วยในการดำรงประสิทธิภาพระบบกระดูกมากที่สุด

ปัญหาด้านโภชนาการในผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่พบบ่อย และส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างชัดเจน เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรงและลีบ กระดูกบางพรุน โลหิตจาง น้ำหนักลด ความจำเสื่อม อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น พลังงานที่ผู้สูงอายุควรได้รับ ผู้สูงอายุควรได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ คือ วันละ 1,500-2,000 กิโลแคลอรี่ จากการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ วันละ 3 มื้อ พอประมาณ และมีอาหารว่าง 2 มื้อ โดยทุกมื้อควรมีผักผลไม้เพื่อเพิ่มกากอาหาร สารอาหารสำหรับผู้สูงอายุ

  1. โปรตีน ผู้สูงอายุมีความต้องการโปรตีนประมาณ 1 กรัม/น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)/วัน เพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ป้องกันภาวะกล้ามเนื้อลีบ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม ควรได้รับโปรตีนวันละ 60 กรัม โดยเลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพดี เช่น เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไข่ดาว ดื่มนมพร่องมันเนยและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเป็นประจำ
  2. คาร์โบไฮเดรต ควรรับประทานอาหารกลุ่มนี้ให้เพียงพอเพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และควรเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ลูกเดือย
  3. ไขมัน ผู้สูงอายุต้องการพลังงานจากไขมันเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ร่างกายได้รับกรดไขมันจำเป็นและวิตามินที่ละลายในไขมันเพียงพอ ควรลดหรือจำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไขมันจากสัตว์ เนย น้ำมัน กะทิ ครีมเข้มข้น เป็นต้น
  4. แคลเซียม แคลเซียมช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและสร้างมวลกระดูกให้มีความหนาแน่น ผู้สูงอายุต้องการแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 1,000 มิลลิกรัม อาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียม ได้แก่ นมถั่วเหลืองเพิ่มแคลเซียม นมสด ผลิตภัณฑ์จากนม (เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยวไม่หวานจัด) ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง (เช่น ฟองเต้าหู้) ปลาตัวเล็กที่รับประทานได้ทั้งกระดูก (เช่น ปลาข้าวสาร) ผักใบเขียวเข้ม ผักสีส้ม (เช่น คะน้า กวางตุ้ง ตำลึง ใบยอ ฟักทอง แครอท)
  5. ธาตุเหล็ก ธาตุเหล็กจะช่วยป้องกันภาวะซีด โลหิตจาง และอาการเหนื่อยง่าย อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์สีแดง (เช่น สันในหมู เนื้อวัว) ผักใบเขียว กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ถั่วเขียว ถั่วแดง งาดำ
  6. วิตามินซี ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหาร ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และทำให้แผลหายเร็วขึ้น อาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ บร็อคโคลี่ มันฝรั่ง พริกหวาน ผักโขม มะละกอ มะม่วง สตรอเบอร์รี่ ฝรั่ง ส้ม
  7. โพแทสเซียม ทำหน้าที่รักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ช่วยให้ระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รักษาสมดุลของของเหลวในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม แหล่งอาหารที่มีโพแทสเซียม ได้แก่ กล้วย ส้ม ฝรั่ง ผลไม้แห้ง มะเขือเทศ กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ บร็อคโคลี่ ผักโขม ข้าวโอ๊ต ข้าวซ้อมมือ
  8. วิตามีนบี 12 เป็นวิตามินที่มีความสำคัญมากต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงและเซลล์ระบบสมองและเส้นประสาท ถ้าขาดวิตามินบี 12 เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางและมีความเสี่ยงต่อภาวะความจำเสื่อม อาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินบี 12 ได้แก่ เนื้อสัตว์ทุกชนิด (เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อหมู) ไข่ทั้งฟอง ปลา โยเกิร์ต เนยแข็ง นม
  9. แมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อกระบวนการทำงานภายในร่างกายหลายระบบ เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาท กล้ามเนื้อ หัวใจ กระดูก แมกนีเซียมพบมากในเนื้อปลา ผักใบเขียว กล้วย และถั่วต่างๆ
  10. วิตามินเอ ช่วยรักษาสายตาของผู้สูงวัยไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว ช่วยการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แหล่งของวิตามินเอในอาหาร ได้แก่ ผักโขม แครอท มันเทศ ฟักทอง มะละกอ มะม่วงสุก
  11. วิตามินดี ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและป้องกันโรคที่เกี่ยวกับกระดูก โดยปกติร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้เมื่อได้รับแสงแดด สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับแสงแดด ร่างกายอาจสร้างวิตามินดีได้ไม่เพียงพอ ควรรับประทานอาหารประเภทธัญพืช เห็ด และดื่มนมที่เสริมวิตามินดีเป็นประจำ
  12. วิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี ช่วยป้องกันเซลล์ในร่างกายไม่ให้ถูกทำลาย วิตามินอีพบมากในอะโวคาโด ถั่วต่างๆ เมล็ดทานตะวัน เนยถั่ว งา และน้ำมันสำหรับปรุงอาหารทุกชนิด
  13. สังกะสี ช่วยให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดอาการเบื่ออาหาร แหล่งอาหารที่มีสังกะสี ได้แก่ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ไข่
  14. เส้นใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ตามปกติและป้องกันปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ที่อาจเกิดขึ้นได้ การบริโภคเส้นใยอาหารที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันร่างกายจากโรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็งบางชนิด ซึ่งอาหารที่มีเส้นใยสูงมักพบได้ในผัก ผลไม้ และถั่วเปลือกแข็ง
  15. น้ำ ผู้สูงอายุควรดื่มน้ำสะอาดหรือเลือกดื่มน้ำสมุนไพรไม่หวานจัดสลับกับน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว น้ำช่วยนำสารอาหารต่างๆ ไปยังอวัยวะภายในร่างกายและช่วยขับถ่ายของเสีย ทำให้รู้สึกสดชื่น ป้องกันอาการท้องผูก ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ควรดื่มน้ำก่อนที่รู้สึกกระหาย ควรจำกัดปริมาณเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา ไม่เกิน 1 แก้วต่อวัน

เรียบเรียงโดย พญ.ลิลลี่ ชัยสมพงษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คลินิกสุขภาพผู้สูงอายุนิวไลฟ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

  • คลินิกสุขภาพผู้สูงอายุนิวไลฟ์​
    8.00-20.00  (BKK Time)
    Hot line tel. +662 011 3592

    20.00-8.00 (BKK Time)
    เบอร์ Contact center +662 066 8888 และ 1378


บ่อยครั้ง เราสามารถรับรู้ได้ว่าสุขภาพของเราเริ่มแย่ลงก็ตอนที่ร่างกายของเราแสดงอาการอะไรบางอย่าง เช่น อาการเจ็บปวดตามร่างกาย หรือเมื่ออวัยวะระบบรับรู้ต่าง ๆ เช่น หู ตา จมูก ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่เคย และบ่อยครั้งที่เราเผลอปล่อยให้ร่างกายของเราค่อย ๆ เสื่อมโทรมลง เนื่องจากละเลยการดูแลรักษาอย่างใส่ใจ

นอกเหนือจากกล้ามเนื้อและอวัยวะระบบรับรู้ต่าง ๆ กระดูก ก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของร่างกายที่ควรได้รับการดูแลรักษา การเสริมสร้างกระดูกให้มีความแข็งแรงอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ และไม่ได้จำกัดเฉพาะอยู่ที่กลุ่มเด็ก ผู้ใหญ่ หรือวัยชรา โดยวันนี้เราจะมาแนะนำ 4 อาหารหลักบำรุงกระดูก ที่สามารถหาทานได้ง่าย และสามารถประกอบอาหารทานที่บ้านได้พร้อมกับครอบครัวอีกด้วย!

1. ผลิตภัณฑ์จากนม

อาหารหมู่ใดที่ช่วยในการดำรงประสิทธิภาพระบบกระดูกมากที่สุด

เราทุกคนล้วนคุ้นชินกับการดื่มนมมาตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นนมแม่ นมวัว หรือนมตัวเลือกต่าง ๆ ในปัจจุบัน เช่น นมถั่วเหลือง หรือ นมอัลมอนด์ โดยนม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีนมเป็นส่วนประกอบมักอุดมไปด้วยสารอาหารประเภทแคลเซียม รวมถึงมีโปรตีน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการบำรุงสุขภาพกระดูก

2. ไข่

อาหารหมู่ใดที่ช่วยในการดำรงประสิทธิภาพระบบกระดูกมากที่สุด

ไข่เป็นตัวเลือกอาหารที่มีราคาค่อนข้างย่อมเยาแต่มีคุณค่าโภชนาการที่ค่อนข้างสูง ในไข่หนึ่งฟองเต็มไปด้วยคุณค่าของสารอาหารมากมาย ไข่แดงเพียงหนึ่งฟองอุดมไปด้วยวิตามินดีที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายสูงถึงประมาณ 40 IU และในไข่ขาวก็อุดมไปด้วยโปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกาย ดังนั้น การรับประทานไข่วันละหนึ่งฟองร่วมกับอาหารชนิดอื่น เป็นอีกหนึ่งวิธีส่งเสริมสุขภาพกระดูกและร่างกายที่ดีเลยทีเดียว

3. ปลาทะเล

อาหารหมู่ใดที่ช่วยในการดำรงประสิทธิภาพระบบกระดูกมากที่สุด

ปลาเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่ายและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยในปลาทะเลประกอบไปด้วยสารอาหารมากมาย อย่างเช่น กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย โปรตีน รวมถึงมีวิตามินดีที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกอีกด้วย โดยปลาทะเลที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและเป็นที่นิยม ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู และปลาซาร์ดีน เป็นต้น

4. ผักใบเขียว

อาหารหมู่ใดที่ช่วยในการดำรงประสิทธิภาพระบบกระดูกมากที่สุด

นอกจากอาหารประเภทนมและเนื้อสัตว์ต่าง ๆ หลายคนอาจจะยังไม่เคยทราบว่า ผักใบเขียว มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกเช่นกัน โดยผักชนิดต่าง ๆ ที่มีใบเขียวเข้ม อย่างเช่น ผักกะเฉด คะน้า ใบชะพลู หรือบร็อคโคลี่ ล้วนอุดมไปด้วยวิตามินเคและแคลเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ แต่อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรบริโภคผักใบเขียวบางชนิดเช่น ใบยอ หรือ ใบชะพลู มากเกินไป เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไตหรือกระเพาะปัสสาวะได้

การรับประทานอาหารที่กล่าวมาข้างต้น ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีง่าย ๆ ที่เราสามารถทำได้เพื่อดูแลรักษากระดูกของเรา แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อสุขภาพกายโดยรวมที่ดี เราควรรับประทานอาหารอื่น ๆ ให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพกระดูก และเมื่อมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับกระดูก ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม