รอยเลื่อนใดในประเทศไทยที่อยู่ทางภาคใต้

รอยเลื่อนมีพลังบริเวณประเทศไทย

1. รอยเลื่อนเชียงแสน
รอยเลื่อนนี้วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนสุดของประเทศ มีความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากแนวร่องน้ำแม่จันไปทางทิศตะวันออกผ่านอำเภอแม่จัน แล้วตัดข้ามด้านใต้ของอำเภอเชียงแสนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวลำน้ำเงิน ทางด้านเหนือของอำเภอเชียงของ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดที่วัดได้ตามแนวรอยเลื่อนนี้ เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2521 มี ขนาด 4.9 ริคเตอร์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2521 มีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่า 3 ริคเตอร์ เกิดตามแนว รอยเลื่อนนี้ 10 ครั้ง และ 3 ครั้งมีขนาดใหญ่กว่า 4.5 ริคเตอร์ แผ่นดินไหวทั้งหมดเป็นแผ่นดินไหวที่เกิดในระดับตื้นกว่า 10 กิโลเมตร

2. รอยเลื่อนแพร่
รอยเลื่อนนี้อยู่ทางด้านตะวันออกของแอ่งแพร่ และวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือโดยเริ่มต้นจากด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอ เด่นชัย ผ่านไปทางด้านตะวันออกของอำเภอสูงเม่นและจังหวัดแพร่ ไปจนถึงด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอร้องกวาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 115 กิโลเมตร มีแผ่นดินไหวขนาด 3-4 ริคเตอร์ เกิดตามแนวรอยเลื่อนนี้กว่า 20 ครั้ง ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ส่วนแผ่น ดินไหวขนาด 3 ริคเตอร์ ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2533 ที่ผ่านมา เกิดตามแนวรอยเลื่อน ซึ่งแยกจากรอยเลื่อนแพร่ไปทางทิศเหนือ

3. รอยเลื่อนแม่ทา
รอยเลื่อนนี้มีแนวเป็นรูปโค้งตามแนวลำน้ำแม่วอง และแนวลำน้ำแม่ทาในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 55 กิโลเมตร จากการศึกษาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (2523) พบว่า ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนของการศึกษาในปี พ.ศ. 2521 มีแผ่นดินไหวขนาดเล็กเกิด ในระดับตื้นอยู่มากมายในบริเวณรอยเลื่อนนี้

4. รอยเลื่อนเถิน
รอยเลื่อนเถินอยู่ทางทิศตะตกของรอยเลื่อนแพร่ โดยตั้งต้นจากด้านตะวันตกของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือขนานกับรอยเลื่อนแพร่ไปทางด้านเหนือ ของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือขนานกับรอยเลื่อนแพร่ไปทางด้านเหนือของอำเภอวังชื้น และอำเภอลอง รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 90 กิโลเมตร เคยมีรายงานการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.7 ริคเตอร์ บนรอยเลื่อนนี้ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2521

5. รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี
รอยเลื่อนนี้วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ตั้งต้นจากลำน้ำเมยชายเขตแดนพม่ามาต่อกับห้วยแม่ท้อและลำน้ำปิงใต้จังหวัดตาก ต่อลงมาผ่านจังหวัดกำแพงเพชร และนครสวรรค์จนถึงเขตจังหวัดอุทัยธานี รวมความยาวทั้งสิ้นกว่า 250 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวเกิดตามรอยเลื่อนนี้ 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2476 ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2518 ที่ อำเภอ ท่าสองยาง จังหวัดตาก แผ่นดินไหวครั้งหลังนี้มีขนาด 5.6 ริคเตอร์

6. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์
รอยเลื่อนนี้อยู่ทางด้านตะวันตก ของรอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี โดยมีทิศทางเกือบขนานกับแนวของรอยเลื่อน อยู่ในร่องน้ำแม่กลองและแควใหญ่ ตลอดขึ้นไปจนถึงเขตแดนพม่า รวมความยาวทั้งหมดกว่า 500 กิโลเมตร ในช่วงระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมามีรายงานแผ่นดินไหวขนาดเล็กหลายร้อยครั้ง ตามแนวรอยเลื่อนนี้ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดที่วัดได้ในระหว่างนี้ เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 มีขนาด 5.9 ริคเตอร์

7. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์
รอยเลื่อนนี้อยู่ในลำน้ำแควน้อยตลอดสาย และต่อไปจนถึงรอยเลื่อนสะแกง (Sakaing Fault) ในประเทศพม่า ความยาวของรอยเลื่อนช่วงที่อยู่ในประเทศไทยยาวกว่า 250 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนนี้มากมายหลายพันครั้ง

8. รอยเลื่อนระนอง
รอยเลื่อนระนองวางตัวตามแนวร่องน้ำของแม่น้ำกระบุรี มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 270 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2521 มีขนาด 5.6 ริคเตอร์

9. รอยเลื่อนคลองมะรุย
รอยเลื่อนนี้ตัดผ่านด้านตะวันออกของเกาะภูเก็ต เข้าไปในอ่าวพังงา และตามแนวคลองมะรุย คลองชะอุน และคลองพุมดวงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนกระทั่งไปออกอ่าวบ้านดอน ระหว่างอำเภอพุนพินกับอำเภอท่าฉาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 150 กิโลเมตร แผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนนี้ มีรายงาน เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2476 ที่จังหวัดพังงา และทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ นอกฝั่งภูเก็ต เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2519, วันที่ 17 สิงหาคม 2542 และวันที่ 29 สิงหาคม 2542

ช่วงนี้มีข่าวแผ่นดินไหวเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะเมืองไทย ก็มีข่าวแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นอยู่เป็นระยะ แม้จะไม่ทำให้เกิดความเสียหายเท่าในต่างประเทศ แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องระวังและป้องกันเอาไว้ เราลองมาทำความรู้จัก 14 รอยเลื่อนทรงพลังของไทย ที่อาจเกิดแผ่นดินไหว มาดูกันว่าจะมีที่ไหนบ้าง

รอยเลื่อนใดในประเทศไทยที่อยู่ทางภาคใต้

1. รอยเลื่อนแม่จัน พาดผ่าน อ.ฝาง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ อ.แม่จัน อ.เชียงแสน และอ.เชียงของ จ.เชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 101 กม.

 

2. รอยเลื่อนแม่อิง พาดผ่าน อ.เทิง อ.ขุนตาล และอ.เชียงของ จ.เชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 57 กม.

 

3. รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่าน อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 29 กม.

 

4. รอยเลื่อนเมย วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ พาดผ่านตั้งต้นจากลำน้ำเมย ชายแดนพม่า ต่อไปยังห้วยแม่ท้อ ลำน้ำปิง จ.ตาก ไปถึง จ.กำแพงเพชร นครสวรรค์ และสิ้นสุดที่ จ.อุทัยธานี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 250 กม.

 

5. รอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่าน อ.แม่ทา จ.ลำพูน และ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ในแนวโค้งไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 61 กม.

 

6. รอยเลื่อนเถิน พาดผ่าน อ.แม่พริก อ.เถิน จ.ลำปาง และอ.วังชิ้น จ.แพร่ ในแนวโค้งในไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 103 กม.

 

7. รอยเลื่อนพะเยา พาดผ่าน อ.งาว จ.ลำปาง และอ.เมือง จ.พะเยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ทางด้านทิศเหนือของรอยเลื่อนท่าสี มีความยาวประมาณ 23 กม.

 

8. รอยเลื่อนปัว พาดผ่านพื้นที่ อ.สันติสุข อ.ท่าวังผา อ.ปัว อ.เชียงกลาง และอ.ทุ่งช้าง จ.น่านในแนวเหนือ-ใต้ ด้วยความยาวประมาณ 130 กม.

 

9. รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่าน อ.เมือง อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ อ.นาหมื่น อ.นาน้อย อ.เวียงสา และอ.แม่จริม จ.น่าน ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 150 กม.

 

10. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ พาดผ่าน อ.ทองผาภูมิ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 60 กม.

 

11. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พาดผ่าน อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี อ.ศรีสวัสดิ์ และอ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กม.

 

12. รอยเลื่อนเพชรบูรณ์ พาดผ่าน อ.หนองไผ่ อ.เมือง อ.หล่มสัก อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 110 กม.

 

13. รอยเลื่อนระนอง พาดผ่านพื้นที่ตั้งแต่ จ.ระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ พังงา มีความยาวประมาณ 270 กม.

 

14. รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย พาดผ่าน อ.บ้านตาขุน อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี อ.ทับปุด อ.เมือง จ.พังงา พาดผ่านไปตามทะเลอันดามัน ระหว่าง อ.เมือง จ.ภูเก็ต กับ อ.เกาะยาว จ.พังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 148 กม

รอยเลื่อนใดในประเทศไทยที่อยู่ในภาคใต้

ส่วนทางภาคตะวันตกของประเทศ พบรอยเลื่อนมีพลัง 2 รอยเลื่อน คือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ และทางภาคใต้ พบรอยเลื่อนมีพลัง 2 รอยเลื่อน เช่นกัน คือ รอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย โดยในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพื้นที่ที่ไม่มีรอยเลื่อนมีพลังพาดผ่าน

รอยเลื่อนในประเทศไทยส่วนมากอยู่ภาคอะไร

แนวรอยเลื่อนภายในประเทศซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ และภาคตะวันตก แสดงดังรูป ที่น่าสังเกต คือ แนวรอยเลื่อนบางแห่งเท่านั้นมีความสัมพันธ์กับเกิดแผ่นดินไหว เช่น รอยเลื่อนแพร่ รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และ รอยเลื่อนระนอง เป็นต้น รอยเลื่อนมีพลังบริเวณประเทศไทย

แนวรอยเลื่อนในประเทศไทยวางตัวอยู่ในแนวใดเขตพื้นที่ใด

เป็นรอยเลื่อนที่วางตัวในทิศตะวันตกของประเทศไทย มีความยาวประมาณ 220 กิโลเมตร เริ่มต้นพาดผ่านพื้นที่ของสหภาพพม่าต่อเนื่องเข้าเขตประเทศไทยในพื้นที่อําเภออุ้มผาง ของจังหวัด ตาก อําเภอทองผาภูมิของจังหวัดกาญจนบุรีผ่านอุทยานแห่งชาติห้วยขาแข้ง อําเภอบ้านไร่จังหวัด อุทัยธานี ต่อเนื่องมาอําเภอศรีสวัสดิ์ อําเภอหนองปรือ และอําเภอ ...

รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ อยู่ที่ใด

สำหรับกลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ แนวของรอยเลื่อนอยู่ในร่องน้ำแม่กลอง และแควใหญ่ไปจนถึงเขตแดนเมียนมา มีความยาวประมาณ 500 กิโลเมตร เป็นรอยเลื่อนที่เกิดแผ่นดินไหวทั้งใหญ่และเล็กหลายครั้ง แต่ที่รุนแรงที่สุดเกิดเมื่อวันที่ 22 เม.ย.2526 มีขนาด 5.9.