ธนาคารใดที่ให้ทุนแก่

ขอเชิญพนักงานหรือบุคคลภายนอกที่สนใจสมัครขอรับทุนการศึกษาจากธนาคาร เพื่อเข้ารับการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ณ สถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และในประเทศ

  • Digital & Technology จำนวน 17 ทุน (ทั้งพนักงาน/ บุคคลภายนอก)
  • MBA จำนวน 5 ทุน (ทั้งพนักงาน/ บุคคลภายนอก)
  • Finance และอื่นๆ ได้แก่ Economics, Digital Marketing และ Law จำนวน 3 ทุน (เฉพาะพนักงานเท่านั้น)
รายละเอียดดังนี้:

1. ทุนปริญญาโทต่างประเทศ 

ประเทศสหรัฐอเมริกา

สาขา Computer Science, IT, MIS, Computer Engineering, Software Engineering, Innovation, Artificial Intelligence, Machine Learning, Data Science, Data Analytics, Business Analytics, Big Data, Engineering, Blockchain, Fintech

เป็นเรื่องธรรมดาของการทำธุรกิจ เมื่อทำมาสักระยะหากกิจการไปได้ดีก็ต้องมีการเพิ่มทุน ซึ่งแต่ละกิจการย่อมจะต้องใช้เงินทุนแตกต่างกันไปตามสภาพ ที่ผ่านมาปัญหาหนึ่งของเอสเอ็มอีไทย คือ การเข้าถึงแหล่งทุน (Finance) เนื่องจากสถาบันการเงินทั้งหลายล้วนระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อกับผู้ประกอบการกลุ่มนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากตัวเอสเอ็มอีเองที่ส่วนใหญ่ดำเนินการธุรกิจแบบไม่มีระบบบัญชี มักใช้เงินสด ไม่มีแผนธุรกิจชัดเจน ทำให้ธนาคารไม่มีข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อปล่อยกู้ จึงทำให้เอสเอ็มอีไม่สามารถกู้สินเชื่อจากธนาคารได้ ดังนั้นหากผู้ประกอบการรายใดคิดจะกู้เงินมาขยายธุรกิจก็จะต้องดำเนินการในเรื่องเหล่านี้เสียก่อน

อย่างไรก็ตามเป็นที่น่ายินดีว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันมีนโยบายชัดเจนในการส่งเสริมและสนับสนุนเอสเอ็มอีทั้งในเรื่องแหล่งทุน นวัตกรรม และการตลาด เพราะมองว่าเอสเอ็มอีในบ้านเราเกือบ 3 ล้านรายนั้นเป็นฐานธุรกิจที่จะสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

ก่อนอื่นเอสเอ็มอีควรจะต้องรู้ว่ามีสถาบันการเงินของรัฐ-เอกชน และหน่วยงานใดของรัฐที่สามารถให้การสนับสนุนเรื่องเงินทุนได้บ้าง ซึ่งตอนนี้มีหน่วยงานรัฐอย่างน้อย 9 แห่งที่ทำหน้าที่สนับสนุนด้านเงินทุนแก่เอสเอ็มอี ได้แก่

  • สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
  • สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
  • ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank)
  • กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
  • โครงการตั้งตัวได้ของกระทรวงศึกษาธิการ
  • บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.)

นอกจากธนาคารภาครัฐแล้ว ยังมีธนาคารพาณิชย์อีกหลายแห่งเปิดให้บริการสินเชื่อ และสนับสนุนเงินทุนแก่ SME ด้วยเช่นกัน และเป็นที่รับรู้กันว่าธนาคารพาณิชย์เหล่านี้ปล่อยสินเชื่อได้อย่างมีศักยภาพ เนื่องจากมีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านธุรกิจเป็นอย่างดี สามารถให้คำปรึกษาได้ตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจจนถึงการทำตลาด และการสร้างแบรนด์ ฯลฯ บางแห่งมีคอร์สจัดอบรมเรื่องธุรกิจโดยเฉพาะ

ทั้งนี้การจะไปขอสินเชื่อจากธนาคารนั้น ประการแรกต้องมีหลักฐานข้อมูลทางบัญชีทางการเงินชัดเจนว่าภายในระยะเวลาปีสองปีที่ผ่านมากิจการไปได้ด้วยดี และจะต้องทำแผนธุรกิจด้วยว่าจะก้าวอย่างไรต่อไป ธุรกิจที่ทำอยู่มีโอกาสเติบโตได้ขนาดไหน รวมถึงการทำแผนการใช้จ่ายหนี้ธนาคารด้วย ซึ่งหากมีแผนธุรกิจชัดเจนย่อมจะได้รับการพิจารณาแน่นอน เพราะปัจจุบันธนาคารทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็มองว่าเอสเอ็มอีเป็นกลุ่มลูกค้าใหญ่ที่สำคัญ (อ่านแผนธุรกิจ เกื้อหนุนกิจการเติบโตยั่งยืน)

สรุปง่าย ๆ คือ การที่จะไปขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน เอสเอ็มอีจะต้องแต่งตัวให้สวยสง่าน่าเชื่อถือเพื่อให้ผู้กู้แน่ใจว่าจะเป็นลูกค้าที่ดี

อีกแนวทางหนึ่งในการเพิ่มทุน คือ การหาพันธมิตรร่วม ซึ่งอาจจะเป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจในส่วนที่อยู่ต้นน้ำ กลางน้ำ หรือปลายน้ำก็ได้ หรือแม้กระทั่งคนที่อยู่วงนอก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องคุยกันให้ดีว่าจะสามารถทำธุรกิจร่วมกันได้อย่างราบรื่นไม่มีปัญหาใด ๆ

 

ดังนั้นการเพิ่มทุนจึงไม่ใช่เรื่องยากหากธุรกิจนั้น ๆ มีโอกาสเติบโต และสามารถแข่งขันได้ อยู่ที่ว่าผู้ประกอบการจะเลือกแนวทางไหนเพื่อให้เหมาะสมกับกิจการที่ทำอยู่

    สถาบันการเงินสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท  ได้แก่  ธนาคาร  และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร

     1.  ธนาคาร
          1.1  ธนาคารกลาง  หมายถึง  สถาบันทางการเงินของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ควบคุมปริมาณเงินและเครดิตของประเทศ  ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าและเสถียรภาพต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ  แต่ต้องอยู่ภายใต้นโยบายของรัฐบาล  ไม่ได้แสวงหาผลกำไรเป็นผลตอบแทนเหมือนกับธนาคารพาณิชย์  ได้แก่  ธนาคารแห่งประเทศไทย
          1.2  ธนาคารพาณิชย์  หมายถึง  ธนาคารที่ประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายเงินคืนเมื่อต้องทวงถาม  หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้  รวมทั้งให้กู้ยืมหรือสินเชื่อแก่ประชาชน  ให้บริการซื้อขายตั๋วแลกเงิน  หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
          1.3  ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เป็นพิเศษ  ได้แก่
               1)  ธนาคารออมสิน  เป็นธนาคารของรัฐบาล  มีหน้าที่รับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป  โดยเฉพาะผู้มีเงินออมรายย่อย  ออกพันธบัตร  สลากออมสิน  รับฝากเงินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสงเคราะห์ชีวิตและการศึกษาโดยเฉพาะเยาวชนของชาติ  และกิจกรรมอื่น ๆ เช่น  ปล่อยเงินกู้ให้ผู้มีรายได้น้อยในวงเงินต่ำ  คนทั่วไปจึงเรียกว่า  ธนาคารคนจน
               2)  ธนาคารอาคารสงเคราะห์  เป็นธนาคารของรัฐบาล  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความอนุเคราะห์แก่ประชาชนเกี่ยวกับการกู้ยืม  เพื่อนำไปซื้อที่ดินหรืออาคารสิ่งปลูกสร้าง  หรือซ่อมแซมต่อเติม  ไถ่ถอนการจำนองที่ดินและอาคาร  หรือเพื่อการลงทุนในกิจการการเคหะ  พร้อมกับรับฝากเงินของประชาชนทั่วไปด้วย
               3)  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)  สังกัดกระทรวงการคลัง  ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือด้านการเงินแก่เกษตรกร  กลุ่มเกษตรกร  หรือสหกรณ์การเกษตร  ในรูปของการกู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ  เพื่อนำไปลงทุนด้านการเกษตร

     2.  สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร
          2.1  บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จำกัด  มีวัตถุประสงค์คล้ายกับธนาคารพาณิชย์มากที่สุด  คือ  ระดมาเงินออมโดยออกตราสารเครดิตหรือตั๋วแลกเงินเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้เงินจากประชาชน
          2.2  บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่กิจการอุตสาหกรรมเอกชน
          2.3  บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่อุตสาหกรรมขนาดย่อมและอุตสาหกรรมครัวเรือน
          2.4  บริษัทเครดิตฟองซิเอร์  มีวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินเพื่อการซื้อที่ดิน  สร้างบ้านหรือผ่อนส่ง
          2.5  บริษัทประกันภัยและบริษัทประกันชีวิต  เป็นสถาบันทางการเงินที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้ผ่อนหนักเป็นเบาได้  สถาบันนี้ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเพราะขาดการประชาสัมพันธ์  และประชาชนไม่เห็นผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการนำเงินไปลงทุน  ทำให้หลายบริษัทล้มเหลวและในที่สุดขาดความมั่นคงให้กับผู้ประกันภัย
          2.6  สหกรณ์ออมทรัพย์  เป็นสถาบันการเงินที่ประชาชนเริ่มเห็นคุณค่าและเห็นประโยชน์ของการร่วมมือเพื่อช่วยเหลือชุมชน  หรือกลุ่มบุคคลที่มีความคิดในแนวเดียวกัน  จัดทำขึ้นเพื่อออมทรัพย์และจัดทำหน่วยธุรกิจของกลุ่มตนเอง  หรือชุมชน
          2.7  โรงรับจำนำ  เป็นสถาบันการเงินขนาดย่อม  มี 3 ประเภท  คือ  โรงรับจำนำเอกชน  โรงรับจำนำของกรมประชาสงคราะห์  โรงรับจำนำของเทศบาล  ซึ่งได้ให้บริการกู้ยืมเงินแก่บุคคลทั่วไป  โดยรับจำนำสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ

ที่มา : http://together1711.wordpress.com/ประเภทของสถาบันการเงิน/

         http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/1918-00/