หน่วยงานใดมีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า

มีใครสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า “การไฟฟ้า” แต่ละหน่วยงานทั้ง MEA PEA และ EGAT มีหน้าที่ต่างกันอย่างไร?
มีใครสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า “การไฟฟ้า” แต่ละหน่วยงานทั้ง MEA PEA และ EGAT มีหน้าที่ต่างกันอย่างไร? วันนี้ เราจะมาหาคำตอบกันครับ ! 

การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA มีหน้าที่จำหน่ายพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ  

ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA จะจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ยกเว้นพื้นที่ 3 จังหวัดที่ MEA ดูแลอยู่ ซึ่งทั้ง 2 จะทำหน้าที่เหมือนกันคือ การจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้คนไทยทุกคนมีไฟฟ้าใช้ มั่นคง และปลอดภัยในทุก ๆ บ้าน

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ EGAT เป็นผู้จัดหาแหล่งพลังงานไฟฟ้า มีทั้งผลิตเอง และรับซื้อจากโรงไฟฟ้าเอกชนและประเทศเพื่อนบ้าน โดยทำการส่งไปให้แก่ MEA PEA และผู้ใช้บริการรายอื่น ๆ เพื่อนำพลังงานไฟฟ้าเหล่านั้นส่งต่อให้ผู้ให้บริการในพื้นที่ต่อไป

.

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้าหน่วยงานใด เราก็พร้อมส่งต่อพลังงานไฟฟ้า และสิ่งดี ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกคนตลอด 24 ชม.เลยครับ

#พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร

Energy for city life, Energize smart living

https://www.facebook.com/497340003626475/posts/3406859116007868/ 

วันนี้ (5 เมษายน 2564) นายจุมภฎ หิมะเจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA กล่าวว่า MEA ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เป็นผู้นำการขับเคลื่อนการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย มุ่งมั่นขับเคลื่อน วิสัยทัศน์พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร พร้อมส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม MEA มีความห่วงใยผู้ใช้ไฟฟ้าที่จะขอติดตั้ง EV Charger กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าสำหรับ EV มาตรฐานการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้า มาตรฐานการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับสถานีชาร์จเรือไฟฟ้า ข้อกำหนดการเชื่อมต่อและติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับผู้ประกอบการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับ EV และมาตรฐานการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าภายในบ้านที่อยู่อาศัย ทั้งแบบเต้ารับสำหรับสายชาร์จแบบพกพา และเครื่องชาร์จแบบติดผนัง เพื่อความปลอดภัยจะต้องผ่านการตรวจสอบโดยช่างผู้ชำนาญโดยเฉพาะ การขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า การติดตั้งสายเมนวงจร ต้องติดตั้งอุปรณ์ควบคุมไฟฟ้า อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินไฟฟ้า และหลักดินวงชาร์จ EV รวมถึงการติดตั้งเครื่องชาร์จไฟแบบติดผนัง (Wall Mounted Charger) และเต้ารับสำหรับสายชาร์จแบบพกพา (EV Socket-Outlet) ระบบวงจรไฟฟ้าต้องออกแบบเพื่อรองรับกับเครื่องชาร์จไฟยานยนต์ไฟฟ้าตามมาตรฐานและความปลอดภัย ปัจจุบัน MEA ดำเนินการวิจัยและพัฒนาใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าภายในองค์กรอย่างจริงจัง ในโครงการ MEA EV Car Sharing จำนวน 47 คัน และกำลังพัฒนาทดสอบการวิ่งรถบัสโดยสารไฟฟ้า E-bus ของ MEA รวมทั้งมีแผนในการนำรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า (e- Motorbike) และ รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า (E-Tuk Tuk) เพื่อใช้ในกิจการสนองตอบนโยบายขับเคลื่อนการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า ลดการสร้างมลภาวะอันเป็นสาเหตุสำคัญของฝุ่น PM2.5 นอกจากนี้ MEA พัฒนานวัตกรรมต่อยอดให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 14 แห่ง ประกอบด้วย ที่ทำการไฟฟ้านครหลวงเขตต่าง ๆ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ และที่บริเวณ 7-Eleven ทั้ง 2 สาขา ครอบคลุมทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ พร้อมรองรับการใช้งานสถานีชาร์จได้ทั่วประเทศ ผ่าน MEA EV Application เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น ดาวน์โหลดใช้งานฟรี คลิก https://onelink.to/meaev

ทั้งนี้ ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถศึกษามาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าสำหรับ EV ได้ที่ https://www.mea.or.th/profile/3361/3440 และขอใช้บริการออกแบบและติดตั้งเครื่องชาร์จไฟยานยนต์ไฟฟ้าภายในที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยของ MEA ได้ที่ ฝ่ายธุรกิจบริการและคุณภาพไฟฟ้า โทร. 0 2476 5666-7 ระหว่างเวลา 07.30-15.30 น. ในวันเวลาทำการ หรือ MEA Call Center 1130 รวมถึงแจ้งผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ได้แก่ Facebook : การไฟฟ้านครหลวง MEA, Line : MEA Connect, Twitter: @mea_news, และศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวง MEA Call Center 1130 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 

#พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร 

Energy for city life, Energize smart living

เผยแพร่เมื่อ:  12/11/2564....,
เขียนโดย คุณวุฒิพงศ์ ปัทมวิสุทธิ์
               ที่ปรึกษาและวิทยากรอิสระ...,

เรื่อง มาตรฐานทางไฟฟ้าและมาตรฐานระบบไฟฟ้า
ในสถานประกอบกิจการ

          ในการดูแลและด้านความปลอดภัยของระบบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย จะต้องรู้ในข้อกำหนดของกฎหมายต่างๆและต้องนำมาอย่างปฏิบัติอย่างเคร่งครัดครบถ้วน โดยในข้อกฎหมายยังมีการกำหนดอ้างอิงกับมาตรฐานต่างๆทางไฟฟ้า ซึ่งใช้สำหรับ การจัดซื้อจัดจ้าง ออกแบบ ตรวจสอบ ทดสอบ ซ่อมและบำรุงรักษา ระบบและบริภัณฑ์ไฟฟ้าในสถานประกอบกิจการ

          สำหรับมาตรฐานต่างๆที่ได้เรียบเรียงไว้ จะสามารถนำมาใช้ในการทำงาน เป็นข้อกำหนดขั้นต่ำที่เป็นข้อกำหนดบังคับใช้และแนวทางในการนำมาใช้โดยสามารถปรับปรุงพัฒนาให้ไม่ด้อยกว่าที่กำหนด สำหรับมาตรฐานต่างๆได้เรียบเรียงเพื่อได้ศึกษาได้ดังนี้

          มาตรฐานเกี่ยวกันงานไฟฟ้า แบ่งตามประเภทแต่ละอุปกรณ์ และมาตรฐานการออกแบบ ติดตั้งระบบและอุปกรณ์ ได้ดังนี้
                    
1)       มาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้า
                              
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในระบบไฟฟ้ามีอยู่มากมายหลายชนิดส่วนมากจะมีมาตรฐานควบคุมคุณภาพอยู่แล้วโดยมาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้าที่นิยมใช้กันมาก คือ IEC จะสังเกตได้จาก  คู่มือของอุปกรณ์ไฟฟ้าจะอ้างอิงถึงมาตรฐานนี้อยู่เสมอ เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ไฟฟ้าแรงสูง จะอ้างอิงมาตรฐาน IEC- 60694 “ Common specifications for high-voltage switchgear and control gear standards Applies ” เป็นต้น
                              
ดังนั้นในการออกแบบระบบรวมถึงข้อกำหนดของอุปกรณ์ไฟฟ้านั้น ในประเทศไทย รายละเอียดที่กำหนดในแบบโดยมากจะอ้างอิงมาจาก มอก. และมาตรฐาน IEC เป็นหลัก หรือบ้างครั้งก็ใช้มาตรฐานอื่นประกอบหากอุปกรณ์ดังกล่าวไม่มีอยู่ในมาตรฐานไทยหรือมาตรฐาน IEC

                    2) มาตรฐานการออกแบบและติดตั้งระบบและอุปกรณ์
                              
2.1) มาตรฐาน NEC (National Electrical Code) เป็นมาตรฐานการออกแบบและติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกา
                              
2.2) มาตรฐานสากล IEC เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการติดตั้งระบบ อุปกรณ์ไฟฟ้า คือ IEC-60364 “Electrical Installation of  Buildings” ในมาตรฐาน IEC 60364 คณะกรรมการ ฝ่ายเทคนิคผู้ร่างได้ใช้มาตรฐานการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าของหลายประเทศเป็นตัวอย่างรวมทั้ง NEC ด้วยเพื่อให้มาตรฐานที่ได้เป็นสากล
                              
2.3) มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย
                                       
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ร่วมมือกับสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) จัดทำ “มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย” ขึ้น มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยฉบับใหม่นี้ เนื้อหาส่วนมากจะแปลและเรียบเรียงมาจาก NEC และ IEC

หน่วยงานใดมีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า

          หมายมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง มีการกำหนดเครื่องหมายมาตรฐานตามข้อกำหนดของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ไว้ดังนี้
                    
1)        เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไปเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ โดยสมัครใจ (มาตรฐานทั่วไป) เช่น วัสดุก่อสร้าง วัสดุสำนักงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า เบรกเกอร์
                    
2)        เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไป ตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) เช่น สายไฟฟ้า บัลลาสต์ ท่อพีวีซี ถังดับเพลิง 
                    
3)        เครื่องหมายมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) การรับรอง จะมีเงื่อนไขการรับรอง ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และต่างจากการให้การรับรองเครื่องหมาย มอก.

หน่วยงานใดมีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า

          มาตรฐานสายไฟฟ้า
                    
มาตรฐานสายไฟฟ้าแรงต่ำที่ใช้อย่างแพร่หลาย ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย (มอก.) ได้แก่ มอก. 11-2531 ซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับ ซึ่งปัจจุบันได้ทดแทนด้วยมาตรฐานใหม่ คือ มอก. 11-2553 และ มอก.11-2559       

การปรับปรุงมาตรฐานของสายไฟฟ้า เป็นมาตรฐาน มอก. 11-2553 ได้อ้างอิงตามมาตรฐาน IEC 60227 แต่ก็ยังคงสายตามมาตรฐานเดิมอยู่บ้างเนื่องจากยังเป็นที่นิยมใช้งานอยู่ ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ได้ดังต่อไปนี้

          มาตรฐานสายไฟฟ้าใหม่ มอก. 11-2553 มีอะไรเปลี่ยนแปลงจาก มอก. 11-2531 บ้าง
          
แรงดันไฟฟ้า สายไฟฟ้าตามมาตรฐานใหม่กำหนดแรงดันไฟฟ้าใช้งานเป็นค่า U0/U ไว้ไม่เกิน 450/750 โวลต์แรงดัน U0 หมายถึงแรงดันไฟฟ้าวัดเทียบ กับดิน เป็นค่ารากของกำลังสองเฉลี่ย (r.m.s.) และ U หมายถึงแรงดันไฟฟ้าระหว่างตัวนำ เป็น ค่ารากของกำลังสองเฉลี่ย เช่นกัน
          
อุณหภูมิ สายไฟฟ้าตามมาตรฐานเดิมกำหนด อุณหภูมิใช้งานไว้ที่ 70°C ค่าเดียว แต่สายตาม มาตรฐานใหม่นี้กำหนดอุณหภูมิใช้งานของสาย ไว้สองค่าคือ 70°C และ 90°C ชนิดของฉนวนยังคงเป็นพีวีซี ฉนวนของสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก. 11-2553 เป็นพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ทั้งชนิดที่มีอุณหภูมิใช้งาน 70 °C และ 90 °C แต่ในรายละเอียด ของฉนวนจะต่างกัน ฉนวนแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ
                    o 
PVC/C สำหรับสายไฟฟ้าใช้งานติดตั้งยึดกับที่
                    o 
PVC/D สำหรับสายไฟฟ้าอ่อน (flexible cable)
                    o 
PVC/E สำหรับสายทนความร้อนที่ใช้ภายในอาคาร
          
สีของสายไฟฟ้า มาตรฐานฉบับใหม่กำหนดให้สายดินเป็นสี เขียวแถบเหลือง สายนิวทรัลเป็นสีฟ้า สำหรับ สายเส้นไฟจะใช้สีน้ำตาล สีดำ และสีเทา ตาม ลำ ดับ การทำ สีจะทำที่ฉนวนของสาย ดังนั้นสี ของสายไฟฟ้าจะเป็นดังนี้
                    o 
สายแกนเดี่ยว ไม่กำหนดสี
                    o 
สาย 2 แกน สีฟ้า และน้ำตาล
                    o 
สาย 3 แกน สีเขียวแถบเหลือง ฟ้า น้ำตาล หรือ น้ำตาล ดำ เทา
                    o 
สาย 4 แกน สีเขียวแถบเหลือง น้ำตาล ดำ เทา หรือ ฟ้า น้ำตาล ดำ เทา
                    o 
สาย 5 แกน สีเขียวแถบเหลือง ฟ้า น้ำตาล ดำ เทา

หน่วยงานใดมีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า

          การกำหนด รหัสชนิด ขนาด และแรงดันของสาย มอก. 11-2553 
                    
การแบ่งชนิดของสายไฟฟ้าจะเป็นไปตามมาตรฐาน IEC 60227 เรียกว่ารหัสชนิดการกำหนดรหัสชนิดจะใช้หมาย เลข 2 ตัว ตามหลังมาตรฐานอ้างอิง IEC หมายเลขแรก เป็นการระบุชั้นพื้นฐานของสายไฟฟ้า และหมายเลขที่สองเป็นการระบุแบบเฉพาะที่ อยู่ในชั้นพื้นฐานของสายไฟฟ้านั้น สำหรับแรงดันใช้งานนั้น แม้ในมาตรฐานจะกำหนดพิกัดแรงดันของสาย ไฟฟ้าไว้ไม่เกิน 450/750 โวลต์ ก็ตาม แต่ในรายละเอียดของสายไฟฟ้าแต่ละชนิดอาจมีแรงดันใช้งานต่ำกว่าได้รหัสชนิดของสายเป็นดังนี้

          หมายเลขแรกเป็น 0 หมายถึง สายไฟฟ้าไม่มีเปลือก สำหรับงานติดตั้งยึดกับที่ แบ่งย่อย คือ
                    
01 หมายถึง สายไฟฟ้าแกนเดี่ยว ไม่มีเปลือก แบบตัวนำ สายแข็ง (rigid) อุณหภูมิตัวนำ 70°C แรงดันใช้งาน 450/750 โวลต์ (IEC-01/THW)
                    
02 หมายถึง สายไฟฟ้าแกนเดี่ยว ไม่มีเปลือก แบบตัวนำ สายอ่อน (flexible conductor) อุณหภูมิตัวนำ 70°C แรงดันใช้งาน 450/750 โวลต์ (IEC 02)
                    
05 หมายถึง สายไฟฟ้าแกนเดี่ยว ไม่มีเปลือก แบบตัวนำ เส้นเดี่ยว สำหรับงานเดินสายไฟฟ้าภายใน อุณหภูมิตัวนำ 70°C มีใช้งานเพียง 3 ขนาดคือ 0.5, 0.75 และ 1.0 ตร.มม. แรงดันใช้งาน 300/500 โวลต์ (IEC 05)
                    
06 หมายถึง สายไฟฟ้าแกนเดี่ยว ไม่มีเปลือก แบบตัวนำสายอ่อน สำหรับงานเดินสายไฟฟ้าภายใน อุณหภูมิตัวนำ 70°C มี 3 ขนาด คือ 0.5, 0.75 และ 1.0 ตร.มม. แรงดันใช้งาน 300/500 โวลต์ (IEC 06)
                    
07 หมายถึง สายไฟฟ้าแกนเดี่ยวไม่มี เปลือก แบบตัวนำเส้นเดี่ยว สำหรับงานเดินสายไฟฟ้าภายใน อุณหภูมิตัวนำ 90°C เซลเซียส มี 5 ขนาด คือ 0.5, 0.75, 1.0, 1.5 และ 2.5 ตร.มม. แรงดันใช้งาน 300/500 โวลต์ (IEC 07)
                    
08 หมายถึง สายไฟฟ้าแกนเดี่ยวไม่มี เปลือก แบบตัวนำสายอ่อน สำหรับงานเดินสายไฟฟ้าภายใน อุณหภูมิตัวนำ 90°C มี 5 ขนาด คือ 0.5, 0.75, 1.0, 1.5 และ 2.5 ตร.มม. แรงดันใช้งาน 300/500 โวลต์ (IEC 08)

          หมายเลขแรกเป็น 1 หมายถึง สายไฟฟ้า มีเปลือกสำหรับงานติดตั้งยึดกับที่ มี 1 ชนิด คือ
                    
10 หมายถึง สายไฟฟ้ามีเปลือกพอลิไวนิลคลอไรด์เบา อุณหภูมิตัวนำ 70°C เป็นสายชนิดหลายแกน มีตั้งแต่ 2 ถึง 5 แกน มีขนาด 1.5 ตร.มม. ถึง 35 ตร.มม. แรงดันใช้งาน 300/500 โวลต์ (IEC 10)

          หมายเลขแรกเป็น 4 หมายถึง สายไฟฟ้า อ่อนไม่มีเปลือกสำหรับงานเบา 2 ชนิดคือ
                    
41 หมายถึง สายทินเซลแบน อุณหภูมิตัวนำ 70°C เป็นสายชนิด 2 แกน มีขนาดเดียวคือ 0.8 ตร.มม. แรงดันใช้งาน 300/300 โวลต์ (IEC 41)
                    
43 หมายถึง สายอ่อนสำหรับไฟประดับ ตกแต่งภายใน อุณหภูมิตัวนำ 70°C เป็นสายชนิดแกนเดี่ยว มี 2 ขนาด คือ 0.5 และ 0.75 ตร.มม. แรงดันใช้งาน 300/300 โวลต์ (IEC 43)

          หมายเลขแรกเป็น 5 หมายถึง สายไฟฟ้าอ่อนมีเปลือกสำหรับการใช้งานปกติ 4 ชนิดคือ
                    
52 หมายถึง สายอ่อนมีเปลือกพอลิไวนิลคลอไรด์เบา อุณหภูมิตัวนำ 70°C เป็นสายชนิด2 และ 3 แกน มี2 ขนาด คือ 0.5 และ0.75 ตร.มม. แรงดันใช้งาน300/300 โวลต์ (IEC 52)
                    
53 หมายถึง สายอ่อนมีเปลือกพอลิไวนิล คลอไรด์ธรรมดา อุณหภูมิตัวนำ 70°C เป็นสายชนิดหลายแกน มีตั้งแต่2 ถึง 5 แกน มี 4 ขนาดคือ0.75, 1.0, 1.5 และ 2.5 ตร.มม. แรง ดันใช้งาน 300/500 โวลต์ (IEC 53)
                    
56 หมายถึง สายอ่อนมีเปลือกพอลิไว นิลคลอไรด์เบา ทนความร้อน อุณหภูมิของ ตัวนำ 90°C เป็นสายชนิด2 และ 3 แกน มี2 ขนาด คือ 0.5 และ 0.75 ตร.มม. แรงดันใช้งาน 300/300 โวลต์ (IEC 56)
                    
57 หมายถึง สายอ่อนมีเปลือกพอลิไวนิล คลอไรด์ธรรมดา ทนความร้อน อุณหภูมิของ ตัวนำ 90°C เป็นสายชนิดหลายแกน มีตั้งแต่ 2 ถึง 5 แกน มี4 ขนาดคือ 0.75, 1.0, 1.5 และ 2.5 ตร.มม. แรงดันใช้งาน 300/500 โวลต์ (IEC 57)

          สายไฟฟ้าที่ไม่ได้อยู่ในมาจรฐาน IEC 60227 ที่มีใน มาตรฐาน มอก. 11-2553
                    
สายบางชนิด และบางขนาด ซึ่งมีใช้งานมาตรฐาน มอก.11-2531 แต่ยังคงนิยมใช้อยู่ ก็ยังคงไว้ในมาตรฐานใหม่ แต่ จะลดสายบางขนาดลง พร้อมทั้งสีของสายจะ เปลี่ยนไปตามมาตรฐานใหม่นี้ โดยที่จะ เปลี่ยนมาตรฐานไปเป็นมาตรฐานฉบับใหม่มี ดังนี้
                              - 
สาย VAF เป็นสายไฟฟ้าหุ้มด้วยฉนวนและเปลือก อุณหภูมิตัวนำ 70°C กำหนด รหัสชนิดเป็น VAF ชนิดสายแบน มีทั้งชนิด 2 แกน และ 2 แกนมีสายดิน ขนาดตั้งแต่ 1.0 ตร.มม. ถึง 16 ตร.มม. สายดินมีขนาดเท่ากับ สายเส้นไฟ แรงดันใช้งาน 300/500 โวลต์
                              - 
สาย NYY เป็นสายไฟฟ้าหุ้มด้วยฉนวนและเปลือก อุณหภูมิตัวนำ 70°C กำหนด รหัสชนิดเป็น NYY ชนิดสายกลม มีชนิดแกน เดี่ยว 2 แกน 3 แกน และ 4 แกน และ หลาย แกนมีสายดินด้วย แรงดันใช้งาน 450/750 โวลต์มีหลายขนาดดังนี้
                                        o 
สายแกนเดี่ยว มีขนาดตั้งแต่ 1.0 ถึง 500 ตร.มม.
                                        o 
สายหลายแกน มีขนาดตั้งแต่ 50 ถึง 300 ตร.มม.
                                        o 
สายหลายแกนมีสายดิน มีขนาด25-300 ตร.มม.
                              - 
สาย VCT เป็นสายไฟฟ้าหุ้มด้วยฉนวนและเปลือก อุณหภูมิตัวนำ 70°C กำหนด รหัสชนิดเป็น VCT ชนิดสายกลม มีชนิดแกน เดี่ยว2 แกน3 แกน และ4 แกน และหลายแกน มีสายดินด้วย แรงดันใช้งาน 450/750 โวลต์มี ตั้งแต่ขนาด 4 ตร.มม. ถึง 35 ตร.มม. ทั้งชนิด แกนเดี่ยวและชนิดหลายแกนรวมทั้งหลายแกน ที่มีสายดินด้วย

                    ทั้งนี้สายไฟฟ้าขนาดที่หายไป ได้มีการเพิ่มข้อกำหนดภายหลังโดย ได้กำหนดไว้ใน มอก. 11-2559 ดังนี้

หน่วยงานใดมีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า

          มาตรฐานการต่อลงดิน
                    
มาตรฐานการติดตั้งที่สำคัญเกี่ยวกับการต่อลงดิน เช่น IEC 60364-3Electrical Installations of Buildings – part 3 หรือ NEC Article 250 Grounding and Bonding ส่วนสำหรับประเทศไทยใช้มาตรฐานของ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)
                    
การต่อลงดินแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
                              
1. การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า ( System Grounding ) หมายถึงการต่อส่วนของระบบไฟฟ้า ที่มีกระแสไหลผ่านลงดิน เช่น การต่อนิวทรัล ( Neutral ) ลงดิน            
                              
2. การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ( Equipment Grounding ) หมายถึงการต่อส่วนที่เป็นโลหะ ที่ไม่มีกระแสไหลผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ลงดิน

หน่วยงานใดมีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า

          การต่อลงดิน มาตรฐานสำหรับประเทศไทย ใช้ตามมาตรฐาน IEC 60364-3 โดยใช้การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า โดยใช้แบบ TN-C-S

          การต่อลงดินแบบ TN-C-S เป็นระบบที่ผสมระหว่าง TN-C และ TN-S เข้าด้วยกัน คือ ระหว่างหม้อแปลงถึงตู้ประธานหลัก สายนิวทรอล และสายดิน จะใช้สายตัวนำเส้นเดียวร่วมกัน ตั้งแต่ตู้ประธานหลัก สายนิวทรอล และสายดิน จะแยกตัวนำกันตลอดทั้งระบบ แต่จะมีการต่อถึงกันที่ บัสบาร์ นิวทรอล (N) และ กราวด์ (G) ที่ตู้ประธานของระบบ (MDB)

หน่วยงานใดมีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า

          มาตรฐานทางไฟฟ้าต่างๆที่นำมาใช้มักจะมีการปรับปรุงใหม่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย จะต้องมีการติดตามหรือหาข้อมูลอยู่เสมอ โดยอาจขอสนับสนุนข้อมูลต่างๆจากวิศวกรหรือช่างเทคนิคในสถานประกอบกิจการ

          “สถานประกอบกิจการปลอดภัย ใส่ใจมาตรฐาน สินค้าทนทาน และบริการสากล”   

ข้อมูลอ้างอิง (Reference source)

  • มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย (มอก.)https://www.tisi.go.th
  • มาตรฐาน International Electrotechnical Commission (IEC)  https://www.iec.ch
  • มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556
  • มาตรฐาน NFPA 70 National Electrical Code (NEC)

สามารถติดตาม OHSWA Meet the Professional: Safety Engineer for Jor Por Series เรื่อง “พื้นฐานความปลอดภัยด้านไฟฟ้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยต้องรู้” ในเรื่องต่อไป