พระแท่น ม นั ง ค ศิลา อาสน์ อยู่ ที่ไหน

"พระแท่นมนังคศิลาบาตร" แผ่นหินที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพบคู่กันกับศิลาจารึกเมื่อครั้งยังทรงผนวช พระแท่นนี้มีความหมายทางด้านการเมืองการปกครองในแผ่นดินสยามอย่างไร
_____________
รายการไทยศึกษา
อ.วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรม ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

��͢ع������˧ �ç���签��ͧ�������˹��ͺ����ҹ�¢���Ҫ���  ��ʹ���ҳһ�Ъ���ɮ�����դ������ 㹡�û���ͧ��ҹ���ͧ��е���������Ÿ��� ���鹶֧�ѹ�����ǹо��ͧ��ç��������ʧ�� ��觷ç�س�ز�㹾�оط���ʹҢ�鹹�觺��������ѧ����� �����ʴ���������ɮ���ѹ��蹾��ͧ���ͧ�ʴ稢�鹻�зѺ �����᷹��������Ҫ��ú�ҹ���ͧ

��кҷ���稾�Ш������ � ����ͤ��駷ç��Ǫ�繾���ԡ�� ���ͧ��ç������蹹������ͻվ.�.2376 ����ô � ��������������Ѵ�ҪҸ���� �������;��ͧ�������稢�鹤�ͧ�Ҫ�����ǡ��ô � ���Ӿ���蹹��������Ѵ�������ѵ���ʴ����

“1214 ศกปีมะโรงพ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัยนี้ปลูกไม้ตาลนี้ได้สิบสี่เข้าจึงให้ช่างฟันขดานหินตั้งหว่างกลางไม้ตาลนี้”

“1214 ศก” เป็นมหาศักราช ประมาณว่าตรงกับ พ.ศ. 1835 หรือ ค.ศ. 1292

เป็นที่ยอมรับกันอย่าวกว้างขวางมาช้านานแล้วว่า ข้อความตอนนี้ระบุปีที่สร้าง “ขดานหิน” พระแท่นมนังคสิลาบาตรเมื่อ พ.ศ. 1835 และอาจคำนวณย้อนกลับไปได้อีกว่าปีที่ปลูกต้นตาลคือ พ.ศ. 1821-1822 ซึ่งเชื่อถือกันว่าเป็นปีที่พ่อขุนรามคำแหงครองราชย์

แต่การอ่านและตีความข้อความในจารึกมักมีปัญหาขัดแย้งกันเสมอ

ข้อความในจารึกที่ยกมานั้นอาจเข้าใจเป็นอย่างอื่นได้อีกว่า พ.ศ. 1835 พ่อขุนรามคำแหงปลูกไม้ตาล ต่อมาอีก 14 ปี คือราว พ.ศ. 1849 จึงสร้าง “ขดานหิน”

“ขดานหิน” คืออะไร? ใช้ทำอะไร?

ในจารึกบอกว่า “ขดานหินนี้ชื่อมนังคศิลาบาตร”

ถ้าเป็นวันพระก็ใช้เป็นอาสนะพระสงฆ์เทศนา “สูดธรรม” แก่อุบาสก

ถ้าไม่ใช่วันพระ “พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัยขึ้นนั่งเหนือขดานหินให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุนฝูงท่วยถือบ้านถือเมือง” ซึ่งน่าจะหมายถึงใช้เป็นบัลลังก์

ในโลกนี้มีบัลลังก์อย่าง “ขดานหิน” อยู่ที่ไหนบ้าง?

เห็นจะมีอยู่บ้างทั้งในเทพนิยายและในประวัติศาสตร์ แต่น่าจะมีน้อยเพราะพระมหากษัตริย์ย่อมโปรดประทับบนพระที่นั่งที่สง่าและหรูหรา

แต่พระราชบัลลังก์ราชาภิเษก (The Coronation Throne) ของอังกฤษในมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ (Westminster Abbey) มีแท่งหินศักดิ์สิทธ์ประกอบอยู่ใต้แผ่นที่นั่ง

พระราชบัลลังก์องค์นี้ยังใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้ พระนางเจ้าเอลิซาเบ็ธเคยประทับในวันราชาภิเษก

ส่วนหินศักดิ์สิทธิ์นั้นชื่อ 2 อย่างคือ The Stone of Destiny และ The Stone of Scone (Scone เป็นชื่อเมืองใน Scotland ซึ่งเป็นที่มาของหินแท่งนี้)

ตำนานเกี่ยวกับหินแท่งนี้อยู่ว่า แต่เดิมอยู่ตะวันออกกลางและมีความสำคัญเกี่ยวกับรรพบุรุษของชาวยิวในคัมภีร์เก่า เช่นพ่อโมเสสเคยเสกบ้าง พ่อยาค้อบเคยใช่เป็นที่นอนหรือใช้เป็นหมอน แล้วฝันเป็นนิมิตทำนายอนาคตกษัตริย์ ต่อมานักบุญรุ่นแรกๆ ในศาสนาคริสต์ได้นำมาสู่เกาะไอร์แลนด์ กษัตริย์เกาะไอร์แลนด์ได้ใช้เป็นบัลลังก์ราชาภิเษกเป็นเวลานาน

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตำนานเพื่อให้ความสำคัญแก่แท่นหิน

ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 8 (ราวพุทธศตวรรษที่ 13) แท่นหินได้เข้ามาในประวัติศาสตร์ที่พอเชื่อได้กล่าวคือ ชาว Scotland ได้ปล้นเกาะไอร์แลนด์และยึดแท่นหินกลับบ้านใช้เป็นบัลลังก์ราชาภิเษกของกษัตริย์ชาว Scot ที่เมือง Scone

ในที่สุด The Stone of Scone ได้เข้ามาอยู่ในประวัติศาสตร์อังกฤษ เมื่อพระเจ้า Edwad ที่ 1 ยกทัพไปปล้น Scotland และนำ The Stone of Scone กลับมาไว้ที่กรุงลอนดอน และให้ช่างนำไปประกอบไว้ใต้แผ่นที่นั่งในบัลลังก์ราชาภิเษกใหม่ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์

The Stone of Scone เคยใช้เป็นบัลลังก์ราชาภิเษกของกษัตริย์ Scotland เป็นครั้งสุดท้าย (อภิเษกพระเจ้า John de Balliol) เมื่อ ค.ศ. 1292 (พ.ศ. 1835) ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1296-1297 (พ.ศ. 1839-1840) พระเจ้า Edward ที่ 1 ได้ปล้นไปไว้ที่ลอนดอน และได้ใช้เป็นบัลลังก์ราชาภิเษกกษัตริย์อังกฤษเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1308 (พ.ศ. 1851) ในการราชาภิเษกพระเจ้า Edward ที่ 2 ผู้สันตติวงศ์จากพระเจ้า Edward ที่ 1

ช่างน่ามหัศจรรย์ใจเหลือกำลังเพราะ

1. กรุงสุโขทัยและกรุงลอนดอนอยู่ห่างกันครึ่งโลก แต่มี “ขดานหิน” และ The Stone of Scone เหมือนๆ กัน และอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน

2. “ขดานหิน” ได้มาจากบ้านเมืองทางทิศเหนือเช่นเดียวกัน

3. มีศักราชใกล้เคียงกัน เช่น The Stone of Scone ใช้เป็นบัลลังก์ราชาภิเษกกษัตริย์อังกฤษครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 1850-1851 ใกล้เคียงกับปีที่พ่อขุนรามคำแหง “ฟันขดานหิน”

หากศึกษาในรายละเอียดและใช้เกณฑ์คำนวณศักราชให้ถูกต้องกว่าที่เสนอมานี้อาจมีเรื่องราวและศักราชตรงกันอีกหลายๆ อย่าง

ข้อความข้างต้นผมคัดมาจากข้อเขียนที่ชื่อว่า “อภินิหารการประจักษ์” ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้บันทึกถึงเหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ.2376 ที่รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งยังผนวชเป็นวชิรญาณภิกขุ ก่อนครองราชย์ ได้ธุดงค์ไปยังเมืองเก่าสุโขทัย และได้พบ “แท่นศิลา” ที่ต่อมาคนไทยต่างรู้จักกันในชื่อของ “พระแท่นมนังคศิลาบาตร” เอาไว้

แน่นอนว่า การธุดงค์ของรัชกาลที่ 4 ในครั้งนี้ มักจะถูกกล่าวขานกันถึง การนำศิลาจารึกหลักสำคัญของไทยคือ จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง ลงมาไว้ที่กรุงเทพฯ พร้อมกับพระแท่นมนังคศิลาบาตร และจารึกวัดป่ามะม่วง ของพญาลิไท หรือจารึกสุโขทัยหลักที่ 4

อย่างไรก็ตาม ในข้อเขียนที่เก่าที่สุดที่พูดถึงการเดินทางครั้งนั้นของพระองค์อย่าง อภินิหารการประจักษ์ ของกรมพระปวเรศฯ ที่ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือวชิรญาณ ฉบับประจำเดือนกันยายน พ.ศ.2400 ซึ่งก็คือข้อเขียนชิ้นเดียวกับที่ผมยกข้อความมาให้อ่านกันบนย่อหน้าแรกสุดนั้น กลับไม่ได้กล่าวถึงศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเลย

ทั้งๆ ที่ข้อเขียนชิ้นนี้ เล่าถึงเล่าถึงประวัติการค้นพบพระแท่นมนังคศิลาบาตรอย่างละเอียด ในระดับที่ระบุลงไปชัดๆ เลยว่า รัชกาลที่ 4 ตรัสว่าอะไรบ้าง (ถึงแม้จะเป็นที่รู้กันดีว่า เป็นเพียงโวหารที่กรมพระปวเรศฯ แต่งแต้มสีสันขึ้นก็ตาม) ในคราวที่จะนำพระแท่นมนังคศิลาบาตร และจารึกวัดป่ามะม่วงจากสุโขทัยลงมา

 

ต้องอย่าลืมนะครับว่า กรมพระปวเรศฯ นั้น เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารลำดับถัดจากพระวชิรญาณเถระที่ลาสิกขาออกไปครองราชย์ และยังเคยดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะใหญ่ของธรรมยุติกนิกาย (อันเป็นนิกายที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงสถาปนาขึ้น) เป็นพระองค์แรกอีกต่างหาก เรียกได้ว่าเป็นคนสนิทที่รัชกาลที่ 4 ให้ความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นอย่างยิ่ง

แต่ที่น่าสงสัยใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ภายหลังจากเมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เขียนบทความเรื่อง “เทสนาพระราชประวัติพระบาดสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ซึ่งตีพิมพ์อยู่ในหนังสือวิชรญาณ เมื่อปี พ.ศ.2425 (คือ 25 ปีหลังจากอภิหารการประจักษ์ ของกรมพระปวเรศฯ) ซึ่งนับเป็นข้อเขียนชิ้นแรกที่ระบุว่า รัชกาลที่ 4 ได้ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงกลับมาจากสุโขทัยพร้อมพระแท่นมนังคศิลาบาตร และจารึกวัดป่ามะม่วงนั้น กรมพระปวเรศฯ ก็ยังดูค่อนข้างที่จะหลากใจกับศิลาจารึกที่เรียกกันว่า จารึกพ่อขุนรามคำแหง

ดังปรากฏในข้อเขียนเรื่อง “ขอมและไทยโบราณ อักษรจารึกในเสาศิลา ณ เมืองสุโขทัย” ของพระองค์ ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณเมื่อ พ.ศ.2427 ดังความที่ว่า

“เสาศิลาอีกเสา 1 อยู่ใกล้เคียงแท่นแผ่นศิลา (หมายถึงพระแท่นมนังคศิลาบาตร) ที่ว่ามาข้างต้นนั้นแล้ว แต่เสาศิลาต้นนี้มีเปนอักษรไทยโบราณชาวเหนือ รูปอักษรก็ไม่เหมือนอักษรไทยทุกวันนี้ รูปคล้ายหนังสือย่อ แต่ว่าประสมสระข้างหลังทุกสระ สระเบื้องบนลากข้างหามีไม่ ประหลาดนัก ถึงเช่นนั้นก็ยังมีผู้อ่านเอาความได้โดยมาก คนอ่านถูกต้องกันเปนที่เชื่อไว้ใจได้จึงได้แปลความในเสาศิลา อ้างถึงแท่นศิลาที่ว่าไว้ข้างต้นนั้น”

กรมพระปวเรศฯ บอกกับคนอ่านชัดๆ เลยนะครับว่า “คนอ่านถูกต้องกันเปนที่เชื่อไว้ใจได้” จากนั้น “จึงได้แปลความในเสาศิลา” หมายความว่าก่อนหน้าที่จะมีใคร “อ่านถูกต้องกัน” พระองค์คงจะไม่ค่อย “เชื่อไว้ใจได้” เท่าไหร่นักนั่นเอง

 

ประเด็นที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ กรมพระปวเรศฯ ก็เหมือนใครต่อใครอีกหลายคน ที่ “เชื่อไว้ใจได้” จากการที่จารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักนี้ “อ้างถึงแท่นศิลาที่ว่าไว้ข้างต้นนั้น”

พูดง่ายๆ ว่า การที่จารึกพ่อขุนรามคำแหงพูดถึง “แท่นศิลา” โดยเรียกว่า “พระแท่นมนังคศิลาบาตร” ซึ่งกรมพระปวเรศฯ มั่นใจว่า รัชกาลที่ 4 ได้นำลงมาจากเมืองเก่าสุโขทัยนั้น เป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้พระองค์พอจะเป็น “ที่เชื่อไว้ใจ” ในตัวจารึกหลักนี้ได้

แต่มันก็เป็นไปได้ไม่ใช่เหรอครับว่า ถ้าศิลาจารึกหลักนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แล้ว คณะผู้สร้างจารึก (เพื่อเหตุผลอะไรสักอย่างหนึ่ง ซึ่งออกจะยืดยาวเกินไปถ้าจะพูดถึงในที่นี้) ก็ต้องสร้างข้อมูลให้สอดคล้องกับหลักฐานอื่นๆ ให้แนบเนียนด้วยเช่นกัน ดังนั้น ถ้าศิลาจารึกหลักที่เรียกกันว่า จารึกพ่อขุนรามคำแหงนั้นจะพูดถึงพระแท่นมนังคศิลา เพื่อชักชวนให้คนอ่านเชื่อถือมากยิ่งขึ้นเพราะเป็นที่รู้กันดีว่า รัชกาลที่ 4 ได้ไปนำเอาแท่นศิลาหลักหนึ่งมาจากกลางป่าเมืองเก่าสุโขทัย เพื่อให้มา “ฟังเทศน์จำศีล” อยู่ที่เมืองบางกอกด้วยกัน ก็ไม่เห็นจะว่าจะเป็นไปไม่ได้ที่ตรงไหน?

 

ในจารึกพ่อขุนรามคำแหงเรียกอะไรที่ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ “พระแท่นมนังคศิลาบาตร” ว่า “มนังษีลาบาตร” ซึ่งก็คือสิ่งที่ใครต่อใครต่างพากันชี้เป้าว่าคือ “แท่นศิลา” ที่รัชกาลที่ 4 นำลงมาจากเมืองสุโขทัยเก่านี้เอง

แต่ในข้อมูลเก่าก็บอกอยู่โต้งๆ นะครับว่า คนยุคโน้นเค้าเห็นเป็น “แท่นศิลา” ถ้าไม่ไปอ่านจากจารึกพ่อขุนราม ก็ไม่เห็นจะมีใครที่ไหนเห็นว่าแผ่นหินนี้เป็น “บัลลังก์” ของพ่อขุนรามคำแหงเลยเสียหน่อย

ที่สำคัญก็คือ “แท่นศิลา” ที่รัชกาลที่ 4 นำมาจากเมืองเก่าสุโขทัยแต่เดิมก็คงมีรูปลักษณะเป็น “แผ่นหิน” แบนๆ ที่มีเฉพาะลวดลายแถวกลีบบัวหงาย ไม่ใช่ “บัลลังก์”

รูปลักษณะอย่างบัลลังก์ที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันเป็น รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นำกระดานหินนี้ไปเสริมฐานรูปสิงห์แบกขึ้นมา เพื่อใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์

 

อาจารย์พิริยะ ไกรฤกษ์ นักประวัติศาสตร์ศิลปะ ผู้วิจัยในเรื่องจารึกพ่อขุนรามคำแหงอย่างเป็นจริงจัง ได้แสดงความเห็นเอาไว้ในงานวิจัยเรื่อง “จารึกพ่อขุนรามคำแหง วรรณคดีประวัติศาสตร์การเมืองแห่งกรุงสยาม” ว่าคำว่า มนังษีลาบาตร นั้น ผู้แต่งศิลาจารึกหลักที่ 1 คงจะได้ความคิดมาแท่นหิน “มโนศิลาอาสน์” ในหนังสือ “ไตรภูมิโลกยวินิจฉยกถา” ที่รัชกาลที่ 1 โปรดให้รวบรวม และเรียบเรียงเรื่องเกี่ยวกับไตรภูมิทั้งหมดเข้าไว้ในนั้น โดยชำระแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2345 ดังความที่ว่า

“ณ เบื้องบนแผ่นศิลาลาดนั้น มีมโนศิลาอาสน์อันใหญ่ มีประมาณได้ 3 โยชน์ มีพรรณอันแดงงามพิเศษ”

ในจักรวาลของไตรภูมิโลกยวินิจฉยกถานั้น “มโนศิลา” เป็นแร่ธาตุที่มีค่าสูงส่งยิ่งกว่า เงิน, ทอง, แก้วมณี และแก้วผลึก โดยเป็นมีลักษณะเป็นหินสีแดง (คำว่า มโนศิลา ในภาษาบาลีโดยทั่วไปนั้น หมายถึง สารหนูชนิดหนึ่ง ที่มีสีแดง) ดังนั้น “มโนศิลาอาสน์” จึงได้ “มีพรรณอันแดงงามเป็นพิเศษ” ซึ่งก็เป็น “อาสนะ” คือ “ที่นั่ง” ที่เพิ่งจะมีปรากฏในปรัมปราคติเป็นครั้งแรกในหรังสือไตรภูมิสมัยรัชกาลที่ 1 นี้เอง ดังนั้น พ่อขุนรามคำแหง ท่านจะไปมีพระแท่นที่สร้างตามคติในสมัยต้นกรุงเทพฯ ได้อย่างไรกัน?

แน่นอนว่า อะไรที่พวกเราในปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ “พระแท่นมนังคศิลาบาตร” นั้นไม่ได้มีสีแดง แต่จะอย่างไรได้เล่าครับ ในเมื่อไตรภูมิฉบับนี้เขาเรียบเรียงขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ส่วนแท่นศิลานั้นไปได้มาจากสุโขทัยเอาเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 ยังผนวชอยู่

อย่างไรก็ตาม ขอให้สังเกตด้วยว่า “อาสน์” หมายถึง ที่นั่งแบนๆ อย่างอาสนะสงฆ์ ไม่จำเป็นต้องมีขาอย่างเก้าอี้ ซึ่งก็เป็นอย่างเดียวกับลักษณะของแท่นศิลาแบนๆ ที่รัชกาลที่ 4 ได้มาจากสุโขทัย ก่อนจะถูกต่อเติมให้มีขากลายเป็นบัลลังก์ในสมัยรัชกาลที่ 6

แถมในจารึกพ่อขุนรามคำแหงนั้นยังบอกด้วยว่า “มนังษีลาบาตร” นี้ตั้งอยู่กลางสวนตาลของพ่อขุนรามคำแหง ไม่ต่างอะไรกับที่ไตรโลกวินิฉยกถาระบุว่า “มโนศิลาอาสน์” ตั้งอยู่กลางป่าหิมพานต์

เอาเข้าจริงแล้ว การปรากฏขึ้นของ “พระแท่นมนังคศิลาบาตร” ในจารึกพ่อขุนรามคำแหงนั้น จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชวนให้สงสัยในที่มาของจารึกหลักนี้ มากกว่าที่จะชวนให้ “เชื่อไว้ใจได้” อย่างที่กรมพระปวเรศฯ เคยเข้าใจอย่างนั้น

พระแท่นมนังคศิลาอาสน์คืออะไร

พระแท่นศิลาอาสน์เป็นพุทธเจดีย์ เช่นเดียวกับพระแท่นดงรัง เป็นที่เชื่อกันมาแต่โบราณว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งห้าพระองค์ในภัทรกัปนี้ ได้เสด็จและจะได้เสด็จมาประทับนั่งบนพระแท่นแห่งนี้ เพื่อเจริญภาวนา และได้ประทับยับยั้งในเวลาที่ตรัสรู้แล้ว เพื่อโปรดสัตว์ ซึ่งแสดงว่าพระแท่นศิลาอาสน์นี้ มีประวัติความเป็นมาอย่างต่อ ...

พระแท่นมนังคศิลาบาตรปัจจุบันอยู่ที่ใด

พระแท่นมนังคศิลาบาตร” (?) จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ภาพจาก: หนังสือพระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดย หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี)

พระแท่นมนังคศิลามีไว้ทำอะไร

นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชยังทรงใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องช่วยในการปกครอง โดยได้ทรงสร้าง "พระแท่นมนังศิลาบาตร" ขึ้นไว้กลางดงตาล เพื่อให้พระเถรานุเถระแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันพระ ส่วนวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จประทับเป็นประธานให้เจ้านายและข้าราชการปรึกษาราชการร่วมกัน

พระแท่น มนังคศิลาบาตรสร้างขึ้นในรัชสมัยใด

ตำนานพระแท่นมนังคศิลาบาต ปฐมภาค เป็นโคลงลิลิตน * เรื่องเริ่มสร้างขึ้นเป็นพระแท่นทรงอนุศาสน์ ของสมเด็จพระร่วงเจ้า รามคำแหง