หลักการทำงานของบล็อกเชนจะเก็บข้อมูลไว้ที่ใด

Blockchain (บล็อกเชน) คำศัพท์ใหม่ ที่เราเริ่มได้ยินตามสื่อต่างๆ รวมถึงตามงานสัมมนากันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน FinTech บทความนี้ผู้เขียนตั้งใจจะขออธิบาย concept ของมัน โดยเฉพาะเรื่องประโยชน์และการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้

หลักการทำงานของบล็อกเชนจะเก็บข้อมูลไว้ที่ใด

Blockchain (บล็อกเชน) คืออะไร และสำคัญอย่างไร

"Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยนำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง"

โดยปกติแล้วเรามักต้องพึ่งพิงบุคคลที่สาม (centralized trusted party) มาช่วยทำหน้าที่เป็นคนกลางคอยตรวจสอบความน่าเชื่อถือเวลาทำธุรกรรม  ถ้าท่านผู้อ่านเคยทำธุรกรรมออนไลน์ จะสังเกตเห็นว่า มักจะต้องมีคำที่ระบุว่า Secured by หรือ Protected by ตามด้วยชื่อตัวกลางใดๆ

แน่นอนว่า Trust เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่อย่างนั้นเราจะกล้ากรอกข้อมูลบัตรเครดิตได้อย่างไร โดยที่ยังมั่นใจว่ามันจะไม่รั่วไหล หรือถูกทำให้เปลี่ยนแปลง

การมาของบล็อกเชนมีส่วนช่วยอย่างมาก เพราะบล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ประโยชน์ของมันคือมันเป็นเทคโนโลยีที่นำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง ทีนี้ธุรกรรมออนไลน์ใดๆ ก็จะสามารถทำได้อย่างสะดวกมากขึ้น ใส่ความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น creative มากขึ้น innovative มากขึ้น ประหยัดขึ้น รวดเร็วขึ้น มันเรียกได้ว่าเป็น “transfer of trust in a trustless world” เพราะถึงแม้สองบุคคลจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก็สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ด้วยความมั่นใจ พูดถึงคำว่าแลกเปลี่ยนข้อมูล ก็มีการประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางทีเดียว เราจึงตื่นเต้นกันว่าบล็อกเชนนี่แหละ ต่อไปจะเป็น Game changer

การทำงานของ Blockchain

บล็อกเชน เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูล (Data structure) แบบหนึ่ง ที่ทำให้ข้อมูล Digital transaction ของแต่ละคนสามารถแชร์ไปยังทุกๆ คนได้ เป็นเสมือนห่วงโซ่ (Chain) ที่ทำให้ block ของข้อมูลลิ้งก์ต่อไปยังทุกๆ คนเป็น โดยที่ทราบว่าใครที่เป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลนั้นจริงๆ

เมื่อบล็อกของข้อมูลได้ถูกบันทึกไว้ในบล็อกเชน  มันจะเป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลง เวลาที่มีใครต้องการจะเพิ่มข้อมูล ทุกๆ คนในเครือข่ายซึ่งล้วนแต่มีสำเนาของบล็อกเชน สามารถรัน Algorithm เพื่อตรวจสอบ Transaction โดย Transaction ใหม่นี้จะได้รับอนุญาต ต่อเมื่อในเครือข่ายส่วนใหญ่เห็นด้วยว่ามันถูกต้อง

Bitcoin (บิทคอยน์) กับ Blockchain (บล็อกเชน) เกี่ยวข้องกันอย่างไร

บล็อกเชน เป็นเทคโนโลยี ด้านความปลอดภัยของข้อมูล

บิทคอยน์ ว่าด้วยเรื่องสกุลเงินบนโลกดิจิตอล

จะเห็นได้ว่า บล็อกเชน ไม่ใช่ บิทคอยน์ และบิทคอยน์ ก็ไม่ใช่บล็อกเชน แต่โมเดลบิทคอยน์ มีความต้องการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ เพื่อให้การซื้อขายสกุลเงินดิจิตอลนี้ มีความปลอดภัย

และเพราะว่า บล็อกเชน ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องได้กับทุกอุตสาหกรรม ไม่เจาะจงเฉพาะบิทคอยน์ หรือ FinTech เพียงแต่เทคโนโลยีนี้เรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อวงการ FinTech ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน และการบูมของเทคโนโลยีตัวนี้ มาจากความพยายามในการทำบิทคอยน์

ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้

เช่น วงการอสังหาริมทรัพย์ สามารถประยุกต์ใช้ทำ Smart contract โดยถ้าสัญญาอยู่ในบล็อกเชน ทุกคนจะเห็นข้อมูลตรงกัน เราจึงสามารถไว้ใจให้ระบบ Automate ปฏิบัติงานใดๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาได้ นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้ได้อีกมากมาย ดังที่มีการสรุปไว้ในแผนภาพนี้

ทิ้งท้าย

ขอแนะนำให้นำคีย์เวิร์ดต่างๆ บนภาพข้างต้นนี้ ไปลองศึกษาเพิ่มเติมนะคะ ความจริงเรื่องของบล็อกเชน มีข้อมูลอีกมากมายที่รอให้ท่านศึกษา ทั้งนี้ท่านสามารถเซิร์จอ่านได้ทั้ง Financial blockchain และ Non-financial blockchain จะพบกับตัวอย่างการประยุกต์ใช้มากมาย หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจคอนเซปต์ของเทคโนโลยีบล็อกเชนมากขึ้น ไว้มีโอกาสจะนำเสนอคำศัพท์อื่นๆ เพิ่มเติมอีกค่ะ

บทความที่คุณอาจสนใจ

DeFi 101 เริ่มต้นเรียนรู้โลก DeFi ฉบับมือใหม่ โอกาสทางการเงินแห่งอนาคต

รู้จักกับ Unicorn ในวงการสตาร์ทอัพ พร้อมทิศทางการเกิด Unicorn ในไทย

ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก letstalkpayments.com, cryptocoinsnews.com

ซึ่งเรามีบทความที่แนะนำให้อ่านต่อ เป็นสรุปการบรรยายจาก Chris Skinner ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับบล็อกเชน อ่านได้ที่นี่

อีกทั้งสามารถอ่านเกี่ยวกับบล็อกเชนเพิ่มเติมใน Techsauce คลิกเลือก Tag Blockchain หรือ คลิกที่นี่ ได้เลยค่ะ

ผู้ใช้ (Node) ทุกคนต้องมีกุญแจสองอัน อันแรกคือ Private key ที่ถือเป็นการแสดงความเป็นเจ้าของของสมุดบัญชีพร้อมกับ Password ซึ่งถูกจากสร้างลายเซ็นต์และชุดตัวเลขที่ใช้อัลกอริทึมสร้างขึ้นมาทำให้ไม่มีทางซ้ำกับเลขอื่นๆ และใช้สิ่งเหล่านี้มายืนยันการทำธุรกรรม ส่วนกุญแจอีกอันที่ต้องใช้คือ Public Key เปรียบเสมือนที่อยู่ที่ข้อมูลส่งไปถึง ทั้ง Private Key และ Public Key จะใช้งานคู่กันแต่ต่างหน้าที่กันคือ อันนึงใช้เข้ารหัส และอีกอันนึงใช้ในการถอดรหัส สำคัญที่สุดสำหรับผู้ใช้ทุกคนคือ Private Key และ Password ต้องเก็บเป็นความลับของเจ้าของเท่านั้น เพราะหากมีเงินอยู่ในนั้น 10-100 ล้านแล้ว แต่ Private Key และ Password ดันหายไป ผู้ใช้จะไม่สามารถเรียกคืนหรือทวงคืนมาได้จากโลกเสมือน หรือแม้แต่ใครหวังฮุบเงินก้อนนั้นไปก็ทำไม่ได้เช่นกัน

*โดยหลักแล้วข้อมูล หรือ Data ที่ต้องการส่งจะเป็นอะไรก็ได้ จำนวนเงิน สัญญา คะแนน ฯลฯ

 

2. เก็บ Transaction ไว้ใน Public Ledger :

ข้อมูลการเดินบัญชี (Transaction) ถูกเริ่มต้นสร้างขึ้น รายการจะแจ้งว่าตัวเลขทั้งหมดที่เกิดขึ้นตั้งแต่จำนวนเงินที่ถูกต้องที่มีอยู่ในบัญชีของ A ถูกส่งไปให้บัญชีของ B ที่แสดงจำนวนเงินที่มีอยู่เช่นกัน โอนเท่าไหร่ ตัวเลขขึ้นตามนั้น ตรงนี้ทำให้เราเห็นรายการทั้งหมดที่เป็นยอดบวกลบที่ถูกต้อง ทำให้เราสามารถตรวจสอบย้อนกลับเรื่องที่มาของเงินได้ตลอด โดยทั้งหมดในรายการนี้จะถูกเก็บไว้ใน สมุดจดบัญชี (Public Ledger) แล้วส่งข้อมูลแบบที่ยังไม่ได้ยืนยันความถูกต้อง (Unconfirmed Transaction) ให้ผู้ใช้ทุกคน

 

3. ยืนยันความถูกต้องโดย Miner และต้องไม่ถูกคัดค้านจากผู้ใช้ :

หลังจากที่ได้รับข้อมูล (Data) แล้วจะมีผู้ตรวจสอบมายืนยันความถูกต้อง เราเรียกคนคนนี้ว่า Miner มาจากผู้ใช้ที่เสนอตัวเข้ามา กติกาคือใครจะเสนอตัวก็ได้ ขอให้มีหลายคนเสนอ จากนั้น Miner ทั้งหลายจะเกิดการแข่งขันกันเป็นผู้ตรวจสอบ (โดยใช้วิธีการคำนวณค่า Hash หรือสมมุติเป็นการแก้สมการนับล้านๆครั้ง เพื่อให้ได้ค่ายืนยันกล่อง ตัวอย่างการใช้เวลาในการหาค่าสมการ ปกติ Bitcoin ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที จริงๆแล้วอาจเร็วหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับสกุลเงินดิจิทัล)

ใครเสร็จก่อนและไม่ได้รับการคัดค้านความถูกต้องจากผู้ใช้ทั้งหมด จะได้รับค่าตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูปแบบของรางวัล (Reward ) ของความพยายาม หรือรับเป็น Transaction fee ตามจำนวนที่กำหนดไว้ โดยช่วงแรกจะกำหนดไว้ 50BTC และจะลดลงเรื่อยๆทุก 4 ปี (เรียกการลดตามระยะเวลาที่กำหนดนี้ว่า Halving) แต่ด้วยจำนวนบล็อคที่มากขึ้น ทำให้ตอนนี้เหลือแค่ครั้งละ 25 BTC เท่านั้น (ในบาง transaction อาจไม่มีรางวัล) ตรงนี้สร้างโอกาสให้แก่ผู้ที่ยังไม่มีเงินในโลกดิจิทัลได้สร้างฐานะขึ้นมาจากความว่างเปล่าได้ เราเลยเรียกกันว่านักขุดทอง

ส่วนความยากที่ต้องเป็นที่หนึ่งนี้เราเรียกว่า Proof of Work หรือตัวพิสูจน์การทำงาน ถูกนำมาใช้ยืนยัน Transaction นั่นเอง โดยยืนยันชิ้นที่เสร็จก่อน เพื่อป้องกันการยืนยันซ้ำซ้อนจาก Miner อื่นๆ (Double Spending) เพราะหากมีการยืนยันซ้ำซ้อน Transaction นั้นจะถูกตีกลับ (Reverse) ต้องทำการแก้สมการใหม่เพื่อยืนยันอีกครั้ง ตรงนี้ค่อนข้างใช้เวลา เมื่อเสร็จแล้วจึงจะรวบเก็บทุกอย่างที่เกิดขึ้นของรายการนั้นไว้ใน กล่อง (Block) เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงให้แก่กล่องถัดไป (เรียกเลขหลักฐานนั้นว่า Previous Hash) ที่จะเกิดขึ้น

* หลังจากนี้หากมีอีกกล่องที่ซ้ำกัน ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นคือถูกตีกลับ แต่อันไหนได้รับการยืนยันก่อนจะถูกส่งต่อร้อยเรียง และอ้างอิงสายที่ยาวกว่าถือเป็นข้อมูลที่จะถูกนำไปใช้ต่อๆไป

 

4. เพิ่ม Block นั้นเข้าไปยัง Chain:

จากนั้น Block หรือข้อมูลการเดินบัญชีที่ได้รับการตรวจสอบแล้วและมีข้อมูลที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเป็นสิ่งที่อ้างอิงสู่กล่องถัดไป จะถูกส่งมาต่อเพื่อร้อยเรียงกันและกันไปเรื่อยๆ สภาพการเรียงตัวกันแบบ –กล่องนี้มาก่อนและกล่องนี้มาหลัง- ไม่สามารถสลับสับเปลี่ยนได้ และข้อมูลที่อยู่ในกล่องจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เป็นการอัพเดทข้อมูลให้กับผู้ใช้ทุกคนต่อไป ตรงนี้เองคือความปลอดภัยที่ใครก็ไม่สามารถเข้าไปทำอะไรได้ เพราะหากกล่อง C มีข้อมูลที่ผิดพลาดเข้ามา หรือมีข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับกล่อง B ทุกอย่างในกล่องจะถือเป็นโมฆะ (Invalid) กล่องนั้นจะไม่สามารถเกิดเป็นธุรกรรมที่สมบูรณ์ได้เลย และรายการที่เป็นกล่องถัดๆไปก็จะ Invalid ไปด้วย จนกว่าจะมีกล่องถัดไปที่ถูกต้องมาต่อท้าย

 

5. เงินถูกถ่ายโอนและอัพเดทข้อมูลแก่ผู้ใช้

เมื่อทุกอย่างสำเร็จตามขั้นตอน เงินจะถูกถ่ายโอนและอัพเดทข้อมูลแก่ผู้ใช้ทุกคนพร้อมกัน การส่งต่อข้อมูลจากเครื่องถึงเครื่อง เรียกว่า  Peer-to-peer ส่วนเงินที่ว่านี้เป็นเพียงแค่จำนวนที่ถูกระบุขึ้น ไม่มีเป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เป็นสินทรัพย์แบบนึงในโลกดิจิทัลที่ถูกบันทึกด้วยเทคโนโลยีเท่านั้น นอกจากนั้นข้อมูลที่อัพเดทแก่ผู้ใช้มีความเป็น Original หมด แม้ว่าจะเป็นสำเนาก็ตาม เพราะถือเป็นข้อมูลเดียวกันที่ได้รับรองความถูกต้องแล้ว และอยู่ในมือ อยู่ในเครื่องของแต่ละคน ต่อให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น หายนะต่างๆ ทั้งระเบิด ไฟไหม้ อุทกภัย ในที่ไหนซักที่ Blockchain แทบจะไม่ได้รับผลกระทบเลย เพราะข้อมูลถูกกระจายไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้งานอย่างเท่าเทียมกันนั่นเอง

 

สรุปได้ว่า Blockchain คือ ระบบฐานข้อมูล (Database) หรือรูปแบบการเก็บข้อมูลแบบหนึ่งที่ไม่มีตัวกลาง แต่มีการปกป้องข้อมูลอย่างดีเยี่ยม บรรจุด้วยข้อมูลที่เราไว้ใจได้ประกอบด้วย Data , Hash และ Previous Hash สำหรับผู้ไม่หวังดีแล้ว ไม่สามารถโขมยไปใช้ให้เกิดประโยชน์อะไรได้ หรือคิดปลอมแปลงข้อมูลผิดๆเข้าไปก็แทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะข้อมูลที่ว่านั้นจะถูกเก็บเป็นสำเนาไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เมื่อไหร่ที่เอกสารมีการอัพเดท ทุกสำเนาในมือจะถูกอัพเดทไปด้วยเช่นกัน ในแง่ของเครดิตหรือความน่าเชื่อถือมีสูงมาก ขึ้นชื่อในเรื่องความปลอดภัย มิหนำซ้ำยังมีราคาประหยัด ในแง่ที่ลูกค้าไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ในแง่ธุรกิจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในการดูแลระบบ เพราะไม่ต้องมีตัวกลางหรือระบบศูนย์กลางใดๆ อีกต่อไป แถมยังไม่มีระบบล่มเพราะข้อมูลที่ผิดใช้กับระบบนี้ไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้นไม่มีภัยพิบัติใดๆที่สามารถทำลายอุปกรณ์ทุกตัวในระบบได้พร้อมๆกัน และเช่นเดียวกัน หากมันถูกแฮ็ก นั้นหมายความว่ามันต้องแฮ็กทุกๆเครื่องพร้อมๆกัน หรืออย่างน้อยที่สุดต้องแฮ็กเครื่องให้ได้มากกว่า 51% ของเครื่องที่ถือสำเนาจึงจะพอสำเร็จได้ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมระบบ  Blockchain ถึงได้เจ๋งสุดๆ และตอบโจทย์ได้ดีมากๆ

 

ในบทความถัดไป เราจะพูดเรื่องของ Bitcoin ว่าเกี่ยวข้องกับ Blockchain อย่างไร นอกจากนั้นยังมีเรื่องของ Cryptocurrency อีกด้วย และเงินในโลกเสมือนจริงจะถูกใช้งานได้จริงหรือไม่

บล็อกเชนจะเก็บข้อมูลไว้ที่ใด

Blockchain ตั้งอยู่บน “บัญชีธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์” หรือที่เรียกกันว่า Ledger และถูกเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ ที่เรียกว่า Node อีกที และแต่ละ Node จะมีสำเนาบัญชีธุรกรรมของตัวเอง และบัญชีนี้จะถูก “กระจายศูนย์” ภาษาอังกฤษ คือ Distributed คือถูกก๊อปปี้ไปอยู่ในทุกๆ Node ในเครือข่าย ข้อมูลเหล่านี้จะได้รับการ ...

ในแต่ละ block ของ Blockchain จะเก็บข้อมูลอะไรบ้าง

แล้ว Block เก็บข้อมูลอะไรได้บ้าง คำตอบคือ ทุกอย่างตราบเท่าที่ developer คิดออก ส่วนจะเหมาะหรือไม่เหมาะอันนี้ต้องดูกันอีกทีเพราะมันก็มีข้อจำจัดเหมือนกัน แต่ความรู้สึกมันเหมือน database อีกชนิดหนึ่งเลย คุณจะเก็บอะไรก็ได้ ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆคือ Cryptocurrencies เช่น Bitcoin, Ethereum , …

บล็อกเชน มีหลักการทำงานอย่างไรและนำไปใช้กับงานแบบไหน

หลักการทำงานของเทคโนโลยี Blockchain คือ ฐานข้อมูลจะแชร์ให้กับทุก Node ที่อยู่ในเครือข่ายและการทำงานของเทคโนโลยี Blockchain จะไม่มีเครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางหรือเครื่องแม่ข่าย ซึ่งการทำงานแบบกระจายศูนย์นี้จะไม่ถูกควบคุมโดยคนเพียงคนเดียว แต่ทุก Node จะได้รับสำเนาฐานข้อมูลเก็บไว้และจะมีการอัปเดตฐานข้อมูลแบบ ...

หลักการทำงานของเทคโนโลยีบล็อกเชนมีกี่ขั้นตอน

บล็อกเชนทำงานอย่างไร.
ขั้นตอนที่ 1 – บันทึกธุรกรรม ธุรกรรมในบล็อกเชนจะแสดงการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ที่จับต้องได้หรือดิจิทัลจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งในเครือข่ายบล็อกเชน โดยจะบันทึกเป็นบล็อกข้อมูลและอาจมีรายละเอียดต่างๆ เช่น ... .
ขั้นตอนที่ 2 – รับฉันทามติ ... .
ขั้นตอนที่ 3 – เชื่อมโยงบล็อก ... .
ขั้นตอนที่ 4 – แบ่งปันบัญชีแยกประเภท.