สาขามัลติมีเดีย มี ที่ไหน บ้าง

  1. หน้าหลัก
  2. คณะวิศวกรรมศาสตร์
  3. ปริญญาตรี
  4. สาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์

สาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์

ภาควิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์  [Multimedia and Entertainment Engineering]


นักศึกษาที่เลือกเรียนสาขานี้จะได้ศึกษาถึงการนำองค์ความรู้ของการผลิตสื่อมัลติมีเดียและบริการผ่านเทคโนโลยีสื่อสาร และคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ ศึกษาทักษะการออกแบบสื่อตามจุดมุ่งหมาย การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อรวมสื่อ มัลติมีเดียกับอุปกรณ์สื่อสาร การผลิตภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว การพัฒนาเนื้อหาและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การพัฒนาเกม ประเภทต่างๆ การผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสื่อ อาทิ การบันทึกสื่อ การลดขนาดสื่อมัลติมีเดีย เครือข่ายอินเทอร์เน็ต หลักการและการทำงานของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และโครงข่ายสื่อสารความเร็วสูง ฝึกฝนการผลิตและนำเสนอสื่อมัลติมีเดีย เช่น การควบคุมการผลิตภาพและเสียงใน สตูดิโอ การสร้างสรรค์เนื้อหาและบริการใหม่ๆ บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ การผลิตและทดสอบเกมคอมพิวเตอร์ และการประยุกต์อุปกรณ์สมัยใหม่ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย

จุดเด่น ตลาดงานมีความต้องการงานทางด้าน Multimedia Engineer & Developer เป็นอย่างมาก ซึ่งภาควิชาฯ เน้นให้นักศึกษาได้รับการฝึกฝนทักษะในการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียโดยใช้โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ เช่น Macromedia flash, Adobe Premiere และ Adobe After Effect เป็นต้น โดยนักศึกษาสามารถเพิ่มพูนทักษะให้สูงขึ้น ในรายวิชาปฏิบัติการและการจัดทำโครงงานย่อยในรายวิชาบรรยายต่างๆ เช่น Creative Multimedia Skill, Multimedia Production, Multimedia Programming และ Multimedia Special Effect เป็นต้น สายวิชาอีกด้านหนึ่งที่ตลาดมีความต้องการคือ ด้านของ Computer Graphics & Art Designers ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้การสร้างผลงานจากรายวิชา Computer Graphic and Animation และ Advanced Computer Graphics and Animation ซึ่งทั้งสองวิชานี้จะมีโครงงานประจำวิชาให้นักศึกษาได้ฝึกฝนเพื่อเสริมทักษะปฏิบัติ โดยการสร้างผลงานทางด้านนี้ จะเน้นให้สร้างสรรค์ผลงานบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งอาศัยความรู้ที่ได้จากวิชาฟิสิกส์ทำให้ผลงานที่ออกมานั้นมาความสมจริงและเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น 

จำนวนหน่วยกิต ที่เรียนตลอดหลักสูตร 134 หน่วยกิต

หลักสูตรที่เน้นการเรียนการสอนเพื่อสร้างนวัตกรรมและมัลติมีเดียสำหรับ Event & Exhibition & Concert เน้นพัฒนาสื่อมัลติมีเดียขั้นสูง ที่ต้องใช้องค์ความรู้ทางวิศวกรรมและการเขียนโปรแกรม นำเอาเทคโนโลยีทางด้าน CG & Animation ร่วมกับแสง สี เสียง มาสร้างเรื่องในงานแสดงและอีเว้นท์งานแสง สี เสียง ครบวงจร

เทอมแรก   25,380

ตลอดหลักสูตร 4 ปี   355,880
ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร (ยังไม่รวมส่วนลด ทุน BU Bright)

ค่าเล่าเรียนปีการศึกษา 2566
ทุนการศึกษานี้มีจำนวนจำกัด โดยมีเงื่อนไขเป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์)

Bachelor of Engineering (Multimedia and Entertainment Engineering)

คณะวิศวกรรมศาสตร์

School of Engineering

สาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์

Multimedia and Entertainment Engineering


แผนการศึกษา ปีการศึกษา 2566

ดาวน์โหลด

รายวิชา ปีการศึกษา 2566

ดาวน์โหลด

ทุนการศึกษาที่สามารถขอได้

กยศ. ลักษณะที่ 2

คุณสมบัติ

  • ม.6 หรือเทียบเท่า,
  • ปวช.,
  • ปวส. (เทียบโอนได้)

สาขามัลติมีเดีย มี ที่ไหน บ้าง

เทคโนโลยีดิจิตอลและเทคโนโลยีมัลติมีเดีย กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในการติดต่อสื่อสาร มัลติมีเดียคือการนำองค์ประกอบของสื่อชนิดต่าง ๆ มาผสมผสานรวมกัน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานด้านความคิดสร้างสรรค์และงานเชิงพาณิชย์ ซึ่งสามารถปรับใช้กับงานได้หลายหลายวัตถุประสงค์ไม่ว่าจะเป็น การให้ข้อมูล ให้ความบันเทิง ชักชวนจูงใจ หรือให้คำแนะนำ

คำว่ามัลติมีเดียถูกใช้เป็นครั้งแรกในยุค 1960 เมื่อ Bob Goldstein นักร้องและศิลปินคนหนึ่ง ใช้คำนี้ในการเปิดตัวโชว์ของเขาที่ชื่อว่า Lightworks & L’Ouisin และทุกวันนี้ผลจากความนิยมในการใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้งานศิลปะสาขามัลติมีเดียได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

อาชีพและโอกาสงานในอนาคต

ศิษย์เก่าสาขาวิชามัลติมีเดีย มีทางเลือกอาชีพที่ค่อนข้างหลากหลาย โดยสามารถทำงานได้ทั้งในแวดวงการศึกษา การอนุรักษ์วัฒนธรรม พาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ หรืออุตสาหกรรมสื่อ บัณฑิตส่วนใหญ่มักทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างเช่นเป็นผู้พัฒนาเกมส์ หรือ เป็นโปรแกรมเมอร์

ทุกวันนี้ธุรกิจทุกชนิดต่างต้องการเพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารออนไลน์เพื่อความอยู่รอด ดังนั้น บุคลากรที่มีทักษะทางด้านมัลติมีเดียจึงเป็นที่ต้องการตัวอย่างมาก ผู้เรียนจำนวนมากจึงจบไปทำงานเป็น นักออกแบบเว็บไซต์ หรือ นักออกแบบกราฟิก เพื่อการสร้างแบรนด์ให้กับองค์กรต่างๆ

งานด้านโฆษณาก็เป็นงานยอดนิยมของผู้ที่จบมัลติมีเดียเช่นกัน อุตสาหกรรมการโฆษณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโฆษณาผ่านทางออนไลน์กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงทำให้สายงานนี้เป็นงานที่ได้ค่าตอบแทนสูงพอสมควร

การสมัครเรียนสาขามัลติมีเดีย

บางหลักสูตรกำหนดไว้ว่า ผู้สมัครไม่จำเป็นต้องสอบผ่านระดับ A-level ด้านมัลติมีเดียมาก่อน แต่หากมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีมาบ้าง ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจบทเรียนในปีแรกๆ ของการศึกษามากขึ้น แต่ละมหาวิทยาลัยจะกำหนดเงื่อนไขในการรับสมัครนักศึกษาที่ต่างกัน ซึ่งมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะกำหนดเกณฑ์ไว้ว่า ผู้สมัครต้องมีผลการเรียนระดับ 3 A-levels ขึ้นไป หรือเทียบเท่าสำหรับนักเรียนจากประเทศที่ใช้ระบบการศึกษาต่างจากประเทศอังกฤษ และผู้มาจากประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก จะต้องสอบ IELTS ได้อย่างน้อย 6.0 คะแนนขึ้นไป

หลักสูตรส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลาเรียนอย่างน้อย 3 ปี เนื้อหาวิชาที่เรียนจะครอบคลุมถึงสื่อหลากหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้เพื่อการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางหลักสูตรกำหนดให้นักศึกษาต้องฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงอาจจะต้องขยายระยะเวลาในการศึกษาออกไปอีก 1 ปี

เรียนที่ไหนดี

สภาพแวดล้อมและสังคมเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกสถานศึกษา คุณอาจมีนิสัยเข้ากับคนอื่นได้ง่ายและรักการถูกห้อมล้อมไปด้วยผู้คน หรืออาจรู้สึกกังวลใจเล็กน้อยเมื่อต้องเผชิญหน้ากับคนแปลกหน้าจำนวนมาก ซึ่งก็ไม่ได้มีแบบไหนถูกหรือผิด แต่สิ่งที่สำคัญคือ คุณต้องเลือกสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับบุคลิกภาพและอุปนิสัยของตัวเอง บางคนอาจจะเหมาะกับเมืองใหญ่ที่คึกคักมีสีสัน ในขณะที่บางคนอาจค้นพบตัวเองมากขึ้น เมื่อได้เรียนอยู่ในเมืองเล็กๆ ที่เงียบสงบ

สาขาวิชามัลติมีเดีย มีสถาบันการศึกษาให้เลือกมากมาย ซึ่งแต่ละที่ก็มีโครงสร้างหลักๆ ในการเรียนการสอนใกล้เคียงกัน แต่ก็มีรายละเอียดบางส่วนที่แตกต่างกัน บางมหาวิทยาลัยอาจมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ หรือโดดเด่นในเนื้อหาเฉพาะทางบางอย่างมากกว่ามหาวิทยาลัยอื่น คุณควรเลือกมหาวิทยาลัยที่มีเนื้อหาหลักสูตร เอื้อประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคตมากที่สุด และอย่าลืมพิจารณาคุณสมบัติของตัวเอง ให้ผ่านเกณฑ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดด้วย

จุดประสงค์ของการเรียนมหาวิทยาลัยไม่ใช่แค่เพื่อรับวุฒิการศึกษาเท่านั้น แต่มันยังช่วยเพิ่มโอกาสในการมีหน้าที่การงานที่ดี ดังนั้น จึงควรถามตัวเองก่อนยื่นใบสมัครว่า คุณอยากจบไปประกอบอาชีพอะไร ทำงานอยู่ส่วนไหนของสายงานด้านมัลติมีเดีย ถ้ารู้แน่ชัดแล้วว่าตัวเองต้องการทำอะไรหลังเรียนจบ คุณควรเลือกมหาวิทยาลัยที่มีคอนเนคชั่นกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง บริษัทส่วนใหญ่มีเปอร์เซ็นต์สูงที่จะจ้างงานบัณฑิต ที่จบจากมหาวิทยาลัยที่พวกเขามีสายสัมพันธ์อันดีด้วย

ค่าธรรมเนียมการศึกษา เป็นอีกปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง หากคุณมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ก็ควรมองหามหาวิทยาลัยที่มีทุนสำหรับนักศึกษาขาดแคลนไว้เป็นทางเลือกหนึ่งด้วย หลังจากเลือกสถาบันการศึกษาได้แล้ว คุณควรลองประเมินค่าใช้จ่าย ทั้งค่าเทอม ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ ออกมาคร่าวๆ เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจเลือกสถานที่เรียน

อนิเมชั่น มีที่ไหนบ้าง

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน.

คณะมัลติมีเดียเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

นักศึกษาที่เลือกเรียนสาขานี้จะได้ศึกษาถึงการนำองค์ความรู้ของการผลิตสื่อมัลติมีเดียและบริการผ่านเทคโนโลยีสื่อสาร และคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ ศึกษาทักษะการออกแบบสื่อตามจุดมุ่งหมาย การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อรวมสื่อ มัลติมีเดียกับอุปกรณ์สื่อสาร การผลิตภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว การพัฒนาเนื้อหาและบริการผ่านเครือข่าย ...

มัลติมีเดีย ทํางานอะไรได้บ้าง

น้องๆ บัณฑิตสาขานี้ สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น องค์กรที่ให้บริการด้านเครือข่าย สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีโทรทัศน์ องค์กรด้านการออกแบบและผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในตำแหน่ง นักออกแบบกราฟิก สิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ นักทำแอนิเมชัน นักไอทีและมัลติมีเดีย นักตัดต่อ นักออกแบบ ...

สาขากราฟิกดีไซน์ มีที่ไหนบ้าง

กราฟิกดีไซน์เนอร์.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะการสื่อสารมวลชน.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนิเทศศาสตร์.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์.
มหาวิทยาลัยบูรพา ... .
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ... .
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ... .
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.