เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

คมนาคมกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN)

สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN) หรืออาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ปัจจุบัน ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ (พม่า) ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

อาเซียนก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง สีแดงหมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัต สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงินหมายถึงสันติภาพและความมั่นคง

อาเซียนมีเป้าหมายจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 โดยวิสัยทัศน์รวมของ ผู้นําอาเซียน คือการสร้างประชาคมอาเซียนที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง มีกฎกติกาที่ชัดเจน และ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเมื่อปี 2551 อาเซียนได้จัดทํากฎบัตรอาเซียน ซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญอาเซียนเพื่อวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร

ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลัก

ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยประสานงานหลัก) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยประสานงานหลัก) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วยประสานงานหลัก) โดยอาเซียนได้จัดทําแผนงาน (Blueprint) สําหรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในแต่ละเสา ซึ่งผู้นําอาเซียนได้รับรองเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ในปี 2552 ไทยได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Connectivity) เพื่อ เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นของประชาคมอาเซียน และนําไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 อีกทั้งเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีโลก และผู้นําอาเซียนได้รับรองแผนแม่บท ว่าด้วยความเชื่อมโยงในอาเซียนในการประชุมสุดยอดครั้งที่ 17 ณ กรุงฮานอย ในปี 2553 ซึ่งระบุ ความเชื่อมโยงใน 3 รูปแบบ ได้แก่ ความเชื่อมโยงด้านกายภาพ อาทิการพัฒนาเครือข่ายด้านคมนาคม ความเชื่อมโยงด้านสถาบัน อาทิ การทําให้กฎระเบียบด้านการข้ามแดนต่าง ๆ มีความสอดคล้องกัน และ ความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน เพื่อให้ประชาชนในอาเซียนรู้จักกันและเข้าใจกันมากขึ้น

การเตรียมพร้อมรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของกระทรวงคมนาคม

ในส่วนของภาคการขนส่ง รัฐมนตรีขนส่งอาเซียนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง และการอำนวยความสะดวกต่างๆ ด้านการขนส่ง ในการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2553 ณ กรุงบันดาเสรีเบกาวัน บรูไนดารุสซาลาม ที่ประชุมได้ให้การรับรองแผนปฏิบัติการบรูไน 2555-2558 (Brunei Action Plan 2011-2015) ซึ่งเป็นแผนการดำเนินงานด้านการขนส่งของอาเซียนระยะ 5 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทาง มาตรการ และระยะเวลาดำเนินการสำหรับการรวมกลุ่มด้านการขนส่ง เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ/ศักยภาพการแข่งขันด้านการขนส่งของประเทศสมาชิกอาเซียน และรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่มีการเชื่อมโยงกันทั้งด้านการค้า การบริการ และการไปมาหาสู่กันของประชาชนในภูมิภาค

กระทรวงคมนาคมได้เตรียมพร้อมรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยจัดทำแผนงานด้านการขนส่งเพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 มีเป้าหมายเพื่อบูรณาการเครือข่ายการขนส่งของไทยเข้ากับเครือข่ายของอาเซียน และใช้ระบบการขนส่งเป็นตัวชี้นำและกระตุ้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาค

เป้าหมายของกระทรวงคมนาคมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมต่อภูมิภาครองรับ AEC

การเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน ให้มีการสัญจรระหว่างกันสะดวกมากขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในการลดต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์


ข้อมูลโดย สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม

เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

Asean Economic Community History

เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน

จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่  9 ที่อินโดนีเซีย เมื่อ 7 ต.ค.  2546  ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย3 เสาหลัก คือ

1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC)
2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)
3.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)

คำขวัญของอาเซียน คือ “ One Vision, One Identity, One Community.” หนึ่งวิสัยทัศน์   หนึ่งอัตลักษณ์   หนึ่งประชาคม

เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนกำหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 และก้าวสำคัญต่อมาคือการจัดทำปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการดำเนินการเข้าสู่ เป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2558

ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน รวม 10 ประเทศได้แก่  ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน

สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้า

ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และต่อไปก็จะมีการเจรจา อาเซียน+6 จะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดียต่อไป

รายละเอียดเพิ่มเติม

แหล่งที่มา: http://www.thai-aec.com