เมื่อออกกําลังกายอย่างหนัก

การออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ดี แต่จะให้โทษแก่ร่างกายเมื่อออกกำลังกายมากเกินไป มีวิธีสังเกตอย่างไร Sanook! Health มีคำตอบค่ะ

Show

7 สัญญาณอันตราย เมื่อคุณออกกำลังกาย “มากเกินไป”

1. รู้สึกอ่อนเพลีย หมดแรง ไม่กระปรี้กระเปร่า

2. ภูมิคุ้มกันลดลง จากการใช้พลังงานในร่างกายมากเกินไป และพักผ่อนไม่เพียงพอ

3. อารมณ์ไม่แจ่มใส ไม่เบิกบาน เพราะมองว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่จำเป็น “ต้องทำ” และกดดันตัวเองให้ทำ มากกว่าจะมองว่าเป็นการผ่อนคลาย

4. นอนไม่หลับ มีเรื่องให้คิด หรือจิตใจไม่สงบ ร่างกายตื่นตัวตลอดเวลา

5. อารมณ์แปรปรวน ไม่มั่นคง หงุดหงิดงุ่นง่านมากขึ้น

6. ปวดเมื่อย ทรมานไปทั้งตัว หรือเฉพาะส่วนที่ออกกำลังกายอย่างหนัก และส่วนที่สึกหรอหรือบาดเจ็บ ไม่ได้รับการเยียวยารักษา หรือซ่อมแซม

7. กระหายน้ำมากผิดปกติ เหนื่อยมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจเป็นลมหมดสติ

โทษของการออกกำลังกายมากเกินไป

1. ร่างกายมีความผิดปกติ เจริญเติบโตไม่เต็มที่ หรือหยุดการเจริญเติบโต

2. รูปร่างภายนอกดูดี แต่ระบบร่างกายภายในกลับรวน เช่น ประจำเดือนขาด มาไม่สม่ำเสมอ อวัยวะภายในร่างกายทำงานมากผิดปกติ

3. ในกรณีที่ทานโปรตีน หรือเวย์โปรตีนควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย หากไม่ควบคุมสารอาหารให้มีความสมดุล อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร รับโปรตีนมากเกินไป ส่งผลให้ตับ และไตทำงานหนัก

4. กล้ามเนื้อบริเวณที่ออกกำลังกายอาจเกิดอาการบาดเจ็บ หากไม่หยุดทำการรักษา อาจถึงขั้นพิการ และใช้งานไม่ได้ตลอดชีวิต เช่น กล้ามเนื้อหัวไหล่ นิ้วมือ เข่า ข้อศอก ข้อเท้า เอ็นร้อยหวาย ฯลฯ

5.  หากไม่ได้ตรวจร่างกายก่อนออกกำลังกาย และเข้าใจว่าตัวเองไม่ได้มีความผิดปกติ หรือโรคภัยอะไรร้ายแรง แล้วหักโหมออกกำลังกายอย่างหนัก อาจเป็นการกระตุ้นให้โรคนั้นๆ กำเริบเร็วขึ้น เช่น โรคหัวใจ เป็นต้น

ดังนั้น เราควรออกกำลังกายแต่พอดี ในระดับที่เหมาะสมกับร่างกายของเรา วัยของเรา นอกจากนี้ยังต้องทานอาหารให้ครบหมู่ อย่าทานแต่อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นเวลานานๆ เพื่อให้ได้สารอาหารที่หลากหลาย

สุดท้าย พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อจะได้มีแรง และพลังงานมาใช้ในการออกกำลังกายต่อไป หากเกิดอาการผิดปกติเมื่อไร ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที เท่านี้คุณก็ออกกำลังกายอย่างมีความสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอย่างแท้จริงแล้วล่ะค่ะ

เมื่อออกกําลังกายอย่างหนัก

บอกต่อ 5 วิธีลดความอ้วน ระยะยาว ไม่กลับมาอ้วนอีก 

“กำลังลดน้ำหนัก” ประโยคสุดฮิตติดปากสาวๆ (และหนุ่มๆ) ยุคนี้ไปแล้ว คนรอบกายเราไม่ว่าจะอวบ อ้วน หรือแม้แต่ดูผอมเพรียว ก็ล้วนแต่ “กำลังลดน้ำหนัก” ด้วยวิธีสารพัดสารพัน จนไม่รู้ว่าอันไหนดี และบางวิธีก็ดูอันตรายซะเหลือเกิน...ซิกน่า เลยอยากคลายความสงสัยด้วยการไปฟังคำแนะนำเกี่ยวกับ วิธีออกกำลังกายลดน้ำหนักที่ถูกต้องและรวดเร็วที่สุด จากคุณหมอตัวจริงเลยดีกว่าจะได้เลิกมโนกันเอง

คุณหมอคนสวยคนนี้ คือ พญ.ธตรฐ วงศ์สามศร หรือ หมออุ๊ก แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและเวชศาสตร์ความงาม มาแนะนำวิธีออกกำลังกายลดน้ำหนัก วิธีลดน้ำหนัก และการออกกำลังกายลดความอ้วนแบบเฮลท์ตี้ แต่ก่อนอื่นมาดูก่อนว่าจริงๆ แล้วใครกันนะที่ต้องลดความอ้วน?

“ในทางทฤษฎีการลดน้ำหนัก อ้วนหรือผอม สามารถวัดได้จากค่าต่างๆ เช่น ค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index, BMI) อัตราส่วนรอบเอวต่อส่วนสูง (Waist height ratio, WHtR) และอัตราส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก (Waist hip ratio, WHR) ซึ่งทางยุโรปกับเอเชียจะมีค่ามาตราฐานต่างกัน แต่ในทางปฏิบัติแล้วจะพบว่าความพึงพอใจในรูปร่างและน้ำหนักนั้นเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล แต่ไม่ว่าจะอย่างไร น้ำหนักตัวที่มากเกินไปทำให้เสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคของหลอดเลือดหัวใจ...” มีโรคร้ายมาเกี่ยวข้องอย่างนี้จะอยู่เฉยได้ยังไง

เมื่อออกกําลังกายอย่างหนัก

เมื่อออกกําลังกายอย่างหนัก

วิธีลดความอ้วนที่ 1 - ทำบันทึกลดน้ำหนัก

“การลดน้ำหนักอย่างแรกหมอให้คนไข้ทุกคนลองทำบันทึกลดน้ำหนัก Food Diary ของตัวเองค่ะ คือจดบันทึกทุกอย่างที่ทานในแต่ละวัน ทั้งประเภทและปริมาณอาหารต้องจดตามจริงนะคะ พอครบสัปดาห์ก็ให้ส่งการบ้านมานั่งดูด้วยกันจะเห็นเลยว่าอาหารส่วนมากที่ทานเป็นอาหารตามใจปากทั้งนั้น ทานเพราะอยากไม่ใช่เพราะหิว แคลอรี่สูง มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายน้อย”

เจออันแรกแอบแทงใจดำเลยค่ะคุณหมอ...แล้วอย่างนี้หลังจากการทำบันทึกลดน้ำหนัก Food Diary แล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรคะว่าต้องกินเท่าไหร่หรือลดความอ้วน ลดน้ำหนักเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าพอดี? “อยากให้ลองนึกภาพว่าร่างกายของเราเป็นตาชั่งดูค่ะ ข้างหนึ่ง คือ input ที่เรารับเข้าสู่ร่างกาย อีกข้างเป็น output ที่ออกจากร่างกาย สภาพที่ตาชั่งสมดุลก็คือทั้ง 2 ข้างมีน้ำหนักเท่ากัน ถ้าเราต้องการลดน้ำหนักก็คือควรจะลด input และเพิ่ม output เพื่อให้ร่างกายดึงstorageที่เก็บไว้ในรูปของไขมันออกมาใช้เป็นพลังงานค่ะ การควบคุมปริมาณอาหารก็ช่วยลด input ได้ เน้นว่าลดนะคะไม่ใช่อดอาหาร”

วิธีลดความอ้วนที่ 2 - ปรับพฤติกรรมการกิน

เข้าใจเลยว่าพุงแฝดสี่ของเรา คงมาจาก Input ที่หนาแน่นมากกว่า Output นี่ล่ะนะ แต่จะไม่กินก็ไม่ได้เพราะเวลาเครียดๆ ก็อยากจะหาอะไรมาเคี้ยวให้รู้สึกดี หรือบางทีเวลาทำงานหนัก ก็อยากจะวิ่งเข้าหากาแฟปั่นดับเบิ้ลวิปราดคาราเมลไรงี้ ทำไงดีคะ หมออุ๊ก..

“หมอเชื่อว่าทุกคนทราบดีค่ะว่าทานอะไรแล้วอ้วนหรือไม่อ้วน เพียงแต่เรายังทานอยู่เหมือนเดิมเท่านั้นเอง ถ้าเป็นคนทานเก่ง ทานจุบจิบทั้งวัน ก็อาจจะเริ่มจากเปลี่ยนจากขนมขบเคี้ยวเป็นหมากฝรั่งปราศจากน้ำตาลหรือผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำก่อน แล้วค่อยๆ ลดปริมาณลง หรือถ้าชอบดื่มชา กาแฟ หรือน้ำอัดลมก็อาจจะลองลดปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่ม หรือ เปลี่ยนเป็นชนิดที่ให้พลังงานน้อยลงก็ช่วยได้ค่ะ”

เมื่อออกกําลังกายอย่างหนัก

วิธีลดความอ้วนที่ 3 - การออกกำลังกายลดความอ้วน

ฟังๆ ดู 2 ข้อแรกการลดน้ำหนักก็ไม่ยากนะ เริ่มมีกำลังใจมากขึ้นแล้ว แต่อย่าชะล่าใจไป คุณหมอคนสวยของเราถามด้วยใบหน้ายิ้มๆ ว่า “ปกติออกกำลังกายมั้ยคะ?” เอ่อ หมอคะ เดินไปเข้าห้องน้ำ แล้วก็เดินไปเรียกแท็กซี่ทุกเช้า เรียกว่าออกกำลังมั้ยคะ?

“หมออยากแนะนำวิธีออกกำลังกายลดน้ำหนัก ลดความอ้วนและกระชับสัดส่วนของเรา ดังนี้ค่ะ

เมื่อออกกําลังกายอย่างหนัก

Basal Metabolic Rate คือ อัตราการเผาผลาญของร่างกายในชีวิตประจำวัน หรือจำนวนแคลอรี่ขั้นต่ำที่ต้องการใช้ในชีวิตแต่ละวัน ดังนั้นการคำนวณ BMR จะช่วยให้ทราบปริมาณแคลอรี่ที่แต่ละคนต้องการต่อวันเพื่อการลดน้ำหนักได้

เมื่อออกกําลังกายอย่างหนัก

การออกกำลังกายลดน้ำหนัก คือ กิจกรรมที่ดึงพลังงานไขมันส่วนเกินออกมาใช้ ในสภาวะที่หัวใจมีอัตราการเต้น 130-150 ครั้งต่อนาที (ขึ้นอยู่กับเพศและวัย) เป็นเวลา 15-45 นาที วิธีออกกำลังกายที่แนะนำ กิจกรรมแนะนำ เช่น วิ่ง เต้นแอโรบิค ปั่นจักรยาน สามารถมีส่วนในการช่วยลดความอ้วนได้

เมื่อออกกําลังกายอย่างหนัก

การออกกำลังกายเพื่อความกระชับ คือ กิจกรรมที่อวัยวะส่วนนั้นๆ ของร่างกายเคลื่อนไหวในท่าหนึ่งๆ หลายๆ ครั้ง หรือ เกร็งอวัยวะส่วนนั้นๆ เป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดอาการล้า และตึงของกล้ามเนื้อ เช่น วิธีออกกำลังกาย ที่เน้นการสร้างความแข็งแรงให้โครงสร้างร่างกาย (Pilates) หรือเวทเทรนนิ่ง การออกกำลังกายที่ใช้แรงต้าน(Weight Training)

เมื่อออกกําลังกายอย่างหนัก

การออกกำลังกายลดน้ำหนัก และเพิ่มความกระชับไปพร้อมกัน เช่น วิธีออกกำลังกาย ที่นำท่าของการชกมวยมาประยุกต์ใช้ (Boxing) โยคะร้อน (Hot Yoga) หรือ การฝึกการทรงตัวและการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (Agility Workout)

อยากให้เลือก วิธีการออกกำลังกายลดน้ำหนัก ลดความอ้วน ให้เหมาะกับร่างกาย อายุ และความต้องการด้วย นอกจากจะช่วยให้น้ำหนักลดลง เสริมสร้างความแข็งแรงของ หัวใจและปอดแล้ว ยังช่วยยกระดับระบบเผาผลาญในร่างกาย (Basal Metabolic Rate, BMR)ให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย ค่อยๆ เริ่มทำช่วงที่ว่างก็ได้ พอทำได้แล้วก็ทำให้นานขึ้น ที่สำคัญคืออยากให้ทำเป็นประจำ 3-5 วันต่อสัปดาห์นะคะ”

เคล็ดลับอีกอย่างก็คือ เลือกวิธีการออกกำลังกายที่ชอบและสนุก จะได้ออกกำลังกายเป็นประจำได้โดยไม่เบื่อซะก่อน เพราะหากทำติดต่อกันจนเป็นนิสัย ควบคู่กับการควบคุมอาหาร ไม่ใช่แค่รูปร่างจะดีขึ้นเท่านั้น แต่สุขภาพภายในก็จะดีขึ้นอีกด้วย ลองวัดผลความพยายามของเราด้วยผลตรวจสุขภาพประจำปีดู แล้วจะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเลยละค่ะ

วิธีลดความอ้วนที่ 4 - ค่อยเป็นค่อยไป

ทีนี้มาถึงเรื่องสำคัญ เพราะเราก็อายุไม่ใช่น้อยๆ ถ้าลดความอ้วนแล้วผิวจะหย่อน หน้ากลมๆ แก้มยุ้ยๆ ของเราจะฟีบ หรือ ขาจะแตกลายงามั้ย

“ตามธรรมชาติถ้าน้ำหนักของร่างกายเราลดลง ผิวหนังของเราจะค่อยๆ หดตัวลง เพราะชั้นไขมันใต้ผิวหนังมีปริมาณน้อยลงค่ะ ถ้าน้ำหนักลดเร็วเกินไปจะเกิดภาวะนั้นอยู่แล้ว เพราะผิวของเราหดตามไม่ทัน ดังนั้นการเร่งออกกำลังกายลดน้ำหนักให้เร็วที่สุด อาจไม่ถูกวิธี แต่ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอในแต่ละวันก็ช่วยให้รู้สึกสดชื่นไม่โทรม และเสริมด้วยการออกกำลังกาย เพื่อช่วยกระตุ้นให้ผิวหนังกระชับค่ะ”

เมื่อออกกําลังกายอย่างหนัก

วิธีลดความอ้วนที่ 5 - สำคัญที่สุดคือใจของเรา

ถึงตอนนี้รู้วิธีออกกำลังกายลดน้ำหนักแบบถูกต้อง รวดเร็ว และเริ่มมั่นใจที่จะลดน้ำหนักมากขึ้นแล้ว เราจะนำคำแนะนำของคุณหมอไปใช้แล้วกลับมาผอมสวยแบบคุณหมอบ้าง พอพูดจบ คุณหมอหัวเราะแล้วเล่าให้ฟังว่า จริงๆ แล้วเคยอ้วนเหมือนกันนะ

เมื่อออกกําลังกายอย่างหนัก

 

“ตั้งแต่เรียนจบมาหมอก็ทำงานทุกวันเพราะคิดว่ายังอดนอนไหว ยังทำงานทั้งวันทั้งคืนได้ ช่วง 5 ปีแรกยังไหวก็จริงค่ะ แต่พออายุที่มากขึ้นเรื่อยๆ การเผาผลาญของร่างกายก็ลดลง มีเวลานอนและออกกำลังกายน้อยลง ไหนจะพฤติกรรมการทานอาหารที่แย่ลงอีก ตรวจสุขภาพประจำปีแล้วผลเลือดผิดปกติเกือบทุกตัว ทั้งเหนื่อยง่าย ทั้งนอนกรน น้ำหนักตัวก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็น 67 กิโลกรัม จนมีคนไข้ทักว่าหมอมีน้องรึเปล่าคะเนี่ย ก็เลยกลับมานั่งคิดว่าร่างกายเราไม่มีอะไหล่แบบรถยนต์นะ หมอเองก็อยากมีอายุยืน ถ้าไม่ดูแลร่างกายตั้งแต่ตอนนี้จะเริ่มตอนไหน คือเป็นจุดเริ่มต้นของการลดน้ำหนักอย่างจริงจัง…”

“…เริ่มจัดตารางชีวิตตัวเองใหม่หมดเลย เปลี่ยนมาตื่นแต่เช้าไปออกกำลังกายก่อนเข้างาน ทำ Food Diary ทานมื้อเช้าเป็นมื้อหลัก และลดปริมาณอาหารมื้อเย็น เครื่องดื่มก็ค่อยๆ ลดกาแฟลง พยายามดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ ทั้งหมดที่กล่าวมาตัวหมอเองใช้เวลาเกือบ 2 ปี กว่าพฤติกรรมจะคงที่ เพราะฉะนั้นก็อยากให้ทุกๆ คนที่กำลังลดน้ำหนักมีกำลังใจนะคะ ช้า หรือเร็วอย่าไปกังวลมาก สำคัญที่ว่าคุณได้เริ่มต้นดูแลสุขภาพตัวเองแล้วค่ะ”

จากการพูดคุยกับคุณหมออุ๊กวันนี้ ทำให้เรารู้ว่า เบื้องหลังความสวยของผู้หญิงทุกคน ต้องผ่านคำว่า พยายามมาแล้วทั้งสิ้น ที่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือใจของเราเอง แค่ดูแลตัวเองให้ดี ทำให้ทุกวันของเราเป็นวันที่มีความสุขและสุขภาพแข็งแรง ก็ดีที่สุดแล้ว Cigna เป็นกำลังใจให้สาวๆ ทุกคนค่ะ

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก..
พญ. ธตรฐ วงศ์สามศร แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและเวชศาสตร์ความงาม
พีรวรรธน์คลีนิก รักษาโรคทั่วไป ดูแลความงามและศูนย์ลดน้ำหนัก