คริสต์ศักราชเริ่มนับเมื่อใด

จะเริ่มนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคสมัยต่างๆ จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของศักราชต่างๆ ด้วย เพราะจะช่วยให้ทราบว่าในปีนั้นๆ มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง การนับปีศักราชนับว่าเป็น ภูมิปัญญาของมนุษย์สมัยโบราณ ศักราชมีทั้งแบบสากลและแบบไทย ดังนี้

การนับปีศักราชแบบสากล

1) คริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. โดยใช้เหตุการณ์สำคัญทางคริสต์ศาสนาเป็นจุดเริ่มต้น เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติเป็นปี ค.ศ. 1 สำหรับช่วงเวลาก่อนพระเยซูประสูติให้เรียกเป็น ก่อนคริสต์ศักราช (ก่อน ค.ศ. หรือ B.C = Before Christ)

2) ฮิจเราะห์ศักราช หรือ ฮ.ศ. ฮิจเราะห์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การอพยพ   เป็นการนับศักราชในประเทศที่มีการนับถือศาสนาอิสลามโดยเริ่มนับ ฮ.ศ. 1 เมื่อท่านนบีมูฮัมหมัดนำเหล่าสาวกอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา ตรงกับพุทธศักราช 1165 หากจะเทียบ ปีฮิจเราะห์ศักราชเป็นปีพุทธศักราช จะต้องบวกด้วย 1122 เพราะการเทียบรอบปีของฮิจเราะห์ศักราชและพุทธศักราช จะมีความคลาดเคลื่อนทุก ๆ 32 ปีครึ่งของฮิจเราะห์ศักราชจะเพิ่มขึ้นอีก 1 ปี เมื่อเทียบกับพุทธศักราช

การนับศักราชแบบไทย

1) พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชที่นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา มีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และใช้กันอย่างเป็นทางการของประเทศไทย ครั้งแรกใน พ.ศ. 2455 แทนรัตนโกสินทร์ศก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยประเทศไทยเริ่มนับ พ.ศ. 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วครบ 1 ปี เป็น พ.ศ. 1

2) มหาศักราช (ม.ศ.) นิยมใช้มากในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทศิลาจารึกและพงศาวดารต่าง ๆ ทั้งสมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยาตอนต้น มหาศักราชถูกตั้งขึ้นโดยพระเจ้า กนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ กษัตริย์ผู้ครองอินเดีย โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 622 (มหาศักราชตรงกับ พ.ศ. 622)

3) จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นศักราชที่ได้รับอิทธิพลจากพม่า โดยพระมหากษัตริย์ของพุกาม เริ่มใช้นับครั้งแรกในพม่า พ.ศ. 1182 และใช้แพร่หลายเข้าสู่อาณาจักรล้านนา โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 1181 ปี ไทยนิยมใช้จุลศักราชในการคำนวณทางโหราศาสตร์ ใช้บอกปีในจารึก ตำนาน จดหมายเหตุ พงศาวดาร จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกาศยกเลิก และมีการใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) แทน

4) รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงกำหนดใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2325 โดยเริ่มนับปีที่ได้มีการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใน พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1 และได้ประกาศยกเลิกใช้ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

การเทียบศักราช

การนับศักราชที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยและสากล ดังนั้น การเทียบศักราชให้เป็นแบบเดียวกัน จะช่วยให้สามารถศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้เข้าใจมากขึ้น ตลอดจนทำให้ทราบถึงช่วงศักราชหรือช่วงเวลาเดียวกัน ในแต่ละภูมิภาคของโลกเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ศึกษาอย่างแท้จริง  จึงต้องมีการเทียบศักราช จากศักราชหนึ่งไปยังอีกศักราชหนึ่ง โดยคำนวณจากศักราชทั้งสองมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันอยู่กี่ปี  แล้วนำไปบวกหรือลบแล้แต่กรณีหลักเกณฑ์การเทียบศักราช โดยคำนวณหาเกณฑ์บวกลบเฉพาะพุทธศักราช (พ.ศ.) มีดังนี้ 

การกำหนดเวลาขึ้นมาโดยนับเป็นปี ซึ่งเริ่มนับปีแรกจากเหตุการณ์สำคัญ โดยเฉพาะเหตุการณ์สำคัญทางศาสนาและการขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์ การนับศักราชจะช่วยให้เรารู้ว่าเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเกิดในช่วงเวลาใด 

นอกจากปี พ.ศ. และปี ค.ศ. ที่เราคุ้นเคยกันแล้ว ยังมีวิธีการนับศักราชอีกหลายรูปแบบตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แถมแต่ละประเทศก็ใช้ไม่เหมือนกันอีกต่างหาก วันนี้เราเลยจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับวิธีนับศักราชรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการใช้ทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ ว่าเริ่มนับจากตอนไหนและแตกต่างกันยังไงบ้าง

ส่วนใครที่อยากเรียนเรื่องนี้ในรูปแบบแอนิเมชัน คลิกดาวน์โหลดแอป StartDee เลย

คริสต์ศักราชเริ่มนับเมื่อใด

 

การนับศักราชที่ใช้ในประวัติศาสตร์ไทย

  • พุทธศักราช (พ.ศ.) 

เป็นศักราชที่เราคุ้นเคยมากที่สุด ประเทศไทยเริ่มนับ พ.ศ. 1 หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว 1 ปี แต่มีหลายประเทศเริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน เช่น ประเทศเมียนมา ส่งผลให้ปี พ.ศ. ในไทยกับเมียนมาไม่ตรงกัน เช่น ถ้าไทยตรงกับปี พ.ศ. 2563 เมียนมาจะเป็นปี พ.ศ. 2564 เพราะนับเร็วกว่าไทย 1 ปี  การนับศักราชแบบพุทธศักราชในไทยเริ่มต้นครั้งแรกในสมัยอยุธยา และใช้อย่างเป็นทางการในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน

  • มหาศักราช (ม.ศ.) 

สำหรับมหาศักราชนี้มีที่มาจากพระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะในประเทศอินเดีย ก่อนจะเผยแพร่มายังประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในศิลาจารึกยุคก่อนสุโขทัยและสมัยสุโขทัย มหาศักราชที่ 1 ตรงกับ พ.ศ. 622

  • จุลศักราช (จ.ศ.) 

จุลศักราชเริ่มนับครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 1182 ซึ่งที่มาของจุลศักราชนั้น ยังไม่แน่ชัด บ้างก็กล่าวว่ามาจากพม่า โดยเริ่มจากวันที่พระเถระนามว่าบุพโสระหันสึกจากการเป็นพระออกมาชิงราชบัลลังก์ ในสมัยพุกาม บ้างก็กล่าวว่ามาจากล้านนา โดยพระยากาฬวรรณดิศ ได้ตั้งจุลศักราชขึ้นมาใช้แทนมหาศักราช หรือบางแหล่งกล่าวว่า จุลศักราชมีพัฒนาการมาจากศักราชโบราณของอินเดียเช่นเดียวกับมหาศักราช โดยนิยมใช้จุลศักราช สำหรับคำนวณเกี่ยวกับโหราศาสตร์ จารึก ตำนาน จดหมายเหตุ พงศาวดารต่าง ๆ ก่อนจะถูกยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะเปลี่ยนมาใช้รัตนโกสินทรศก (ร.ศ.) 

  • รัตนโกสินทรศก (ร.ศ.) 

หลังจากยกเลิกจุลศักราชแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ริเริ่มการใช้รัตนโกสินทรศก (ร.ศ.) ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ. 2325 ก่อนจะถูกยกเลิกการใช้ในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

การนับศักราชแบบอื่น ๆ

  • คริสต์ศักราช (ค.ศ.) : เริ่มนับ ค.ศ. 1 ตั้งแต่ พ.ศ. 544 ดังนั้น ค.ศ. =  พ.ศ. - 543

เป็นการนับศักราชของศาสนาคริสต์ซึ่งนิยมใช้ในประเทศทางตะวันตก และเผยแพร่ไปทั่วโลก โดยเริ่มนับคริสต์ศักราชที่ 1 ตั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ตรงกับ พ.ศ. 544

  • ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) : เริ่มนับ ฮ.ศ. 1 ตั้งแต่ พ.ศ. 1665 (แต่จะเพิ่มขึ้น 1 ปี ทุก ๆ 32 ปีครึ่ง เมื่อเทียบกับพุทธศักราช) ปัจจุบัน ฮ.ศ. = พ.ศ - 1122 

เป็นการนับศักราชของศาสนาอิสลาม ซึ่งคำว่าฮิจเราะห์ แปลว่า การอพยพ โดยเริ่มนับจากเหตุการณ์ที่นบีมูฮัมหมัดนำเหล่าสาวกอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา ในช่วงพุทธศักราช 1165 ปัจจุบันเราสามารถคำนวณปีฮิจเราะห์ศักราชได้โดยการนำปี พ.ศ. มาลบกับเลข 1122 อย่างไรก็ดี เนื่องจากการนับปีตามปฏิทินจันทรคติของศาสนาอิสลาม ทำให้ทุก ๆ 32 ปีครึ่งระยะห่างระหว่างปี ฮ.ศ. กับ พ.ศ. จะเพิ่มขึ้น 1 ปี หมายความว่าปัจจุบันเราใช้ 1122 ไปลบกับปี พ.ศ. แต่อนาคตเราจะเปลี่ยนไปใช้เลข 1123 มาลบกับปี พ.ศ. เพื่อคำนวณปี ฮ.ศ. 

 

การเทียบศักราช

ถ้าเพื่อน ๆ อยากรู้ว่าปีพุทธศักราชนั้น ตรงกับปีไหนในศักราชอื่น ๆ ก็สามารถนำตัวเลขพุทธศักราช หรือ พ.ศ. มาคำนวณได้ ดังนี้

  • มหาศักราช (ม.ศ.) 

คำนวณโดยการนำพุทธศักราช (พ.ศ.) มาลบด้วย 621 (ม.ศ. = พ.ศ. - 621)

  • จุลศักราช (จ.ศ.) 

คำนวณโดยการนำพุทธศักราช (พ.ศ.) มาลบด้วย 1181 (จ.ศ. = พ.ศ. - 1181)

  • รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)

คำนวณโดยการนำพุทธศักราช (พ.ศ.) มาลบด้วย 2325 (ร.ศ. = พ.ศ. - 2324)

  • คริสต์ศักราช (ค.ศ.) 

คำนวณโดยการนำพุทธศักราช (พ.ศ.) มาลบด้วย 543 (ค.ศ. =  พ.ศ. - 543)

  • ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) 

คำนวณโดยการนำพุทธศักราช (พ.ศ.) มาลบด้วย 1122 (ฮ.ศ. = พ.ศ - 1122)

 

ทศวรรษ ศตวรรษ สหัสวรรษ

  • ทศวรรษ

‘ทศ’ แปลว่า สิบ ส่วน ‘วรรษ’ แปลว่า ปี ดังนั้น ทศวรรษจึงใช้เพื่อนับเวลาในรอบ 10 ปี โดยเริ่มนับจากศักราชที่ลงท้ายด้วย 0 ไปจนถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 9 เช่น

ทศวรรษ 1990 หรือ 1990’s หมายถึง ค.ศ. 1990 - ค.ศ. 1999 

  • ศตวรรษ

‘ศต’ แปลว่า หนึ่งร้อย ส่วน ‘วรรษ’ แปลว่า ปี ดังนั้น ศตวรรษจึงใช้เพื่อนับเวลาในรอบ 100 ปี โดยเริ่มนับจากศักราชที่ลงท้ายด้วย 01 ไปจนถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 00 เช่น

คริสต์ศตวรรษที่ 21 หมายถึง ค.ศ. 2001- ค.ศ. 2100

  • สหัสวรรษ

‘สหัส’ แปลว่า หนึ่งพัน ส่วน ‘วรรษ’ แปลว่า ปี ดังนั้น สหัสวรรษจึงใช้เพื่อนับเวลาในรอบ 1000 ปี โดยเริ่มนับจากศักราชที่ลงท้ายด้วย 001 ไปจนถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 000 เช่น

สหัสวรรษที่ 2 ตามคริสต์ศักราช หมายถึง ค.ศ. 1001 - ค.ศ. 2000

นอกจากการใช้ ทศวรรษ ศตวรรษและสหัสววรษ เพื่อบอกปีแล้ว เพื่อน ๆ ยังสามารถใช้สำหรับบอกระยะเวลาในอดีตและอนาคตได้ด้วยนะ เช่น “3 ทศวรรษผ่านไป เขาก็ได้พบกับเธออีกครั้ง” หมายถึง “30 ปี ผ่านไป เขาก็ได้พบกับเธออีกครั้ง” เป็นต้น

ถ้าเพื่อน ๆ สงสัยตรงไหน แล้วอยากทบทวนบทเรียนเพิ่มเติม อย่าลืมโหลดแอปฯ StartDee มาทบทวนกันอีกครั้ง หรือถ้าอยากอ่านต่อ ก็สามารถเสริมความรู้ภาษาไทยไปกับเรื่องนิราศภูเขาทอง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสอบของชั้นม.1 ให้คะแนนปัง กันทั้งสังคมและภาษากันไปเลย!

การนับศักราชเริ่มนับเมื่อใด

ศักราช เป็นช่วงเวลาที่จัดขึ้นตามการอ้างอิงของช่วงเวลานั้น โดยแบ่งได้ตามการอ้างอิงหรือการเรียก พุทธศักราช (พ.ศ.) - เริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อวันเพ็ญ เดือน 6 ปีจอ นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนา โดยเฉพาะไทย และศรีลังกา

ผู้ที่เริ่มนับคริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. คนแรก คือใคร

เรื่องเล่า จากอดีต การนับคริสต์ศักราชเป็นที่ยอมรับของสันตะปาปาที่กรุงโรมในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ ส่วนการนับเวลาก่อนปีถือก าเนิดของพระเยซู ผู้เริ่มนับ คือ บีด (Bede) นักประวัติศาสตร์ และนักเทววิทยาชาวอังกฤษในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๘ จากนั้นก็เริ่มแพร่หลายออกไปทั่วโลก เมื่อมีการเผยแผ่คริสต์ศาสนาไปยังดินแดนส่วน ...

รศ นับยังไง

รัตนโกสินทร์ศก (..) คำนวณโดยการนำพุทธศักราช (พ..) มาลบด้วย 2325 (.. = พ.. - 2324)

คริสต์ศักราช มีที่มาจากเหตุการณ์ใด

ปีของพระเยซูคริสต์โดยเริ่มนับจากปีที่เชื่อว่าพระเยซูทรงประสูติเป็น ค.ศ. ๑ ซึ่งตรงกับปีพุทธศักราช ๕๔๔ และมีระยะเวลาห่างจากพุทธศักราช ๕๔๓ ปีใช้วันที่๑ มกราคม ของทุกปีเป็นวันเปลี่ยนศักราช และเป็นปี ที่ใช้อ้างอิงสากล