สุนทรภู่แต่งวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนในตอนใด

ใครเป็นคนแต่งขุนช้างขุนแผนคะ ?

ตั้งกระทู้ใหม่

ตั้งกระทู้ใหม่

ใครรู้ช่วยบอกหน่อยนะคะ หาในกูเกิลแล้วไม่เจออ่ะ T^T

สุนทรภู่แต่งวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนในตอนใด

KuQuuS*

15 ม.ค. 52 เวลา 19:02 น.

0

like

1,011

views

Facebook Twitter

รายชื่อผู้ถูกใจกระทู้นี้ คน

ยกเลิก

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีนิทาน  แต่งเป็นกลอน  สันนิษฐานว่าน่าจะได้ใช้ขับเล่าเรื่องด้วยทำนองร้องต่าง ๆ โดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา  ในกฎหมายตราสามดวงมีข้อความระบุถึงพระราชานุกิจว่า “หกทุ่มเบิกเสภาดนตรี” แสดงว่าการเล่าเรื่องด้วยการขับร้องมีมานานแล้ว และกรับที่ใช้ประกอบการขับนั้น ก็น่าจะเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ดั้งเดิมที่แพร่มาแต่อินเดียหรือตะวันออกกลางพร้อม ๆ กับการเล่านิทานเรื่องรามเกียรติ์

เนื้อเรื่องขุนช้างขุนแผนแปลกกว่านิทานพื้นบ้านทั่วไป  เนื่องจากเป็นเรื่องรักสามเส้าแบบสมจริงของคนธรรมดา  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ทรงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรื่องของคนที่มีชีวิตอยู่จริงในราวสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แต่มีผู้นำมาเล่าสืบกันมาอย่างนิยายและเป็นที่นิยมกันแพร่หลายจนกระทั่งถึงกรุงรัตนโกสินทร์  สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  โปรดเกล้าฯ ให้กวีหลายท่านช่วยกันแต่งต่อเติมขึ้นเป็นฉบับหลวง  และทรงพระราชนิพนธ์เองบางตอน  เช่น  ตอนพลายแก้วเป็นชู้กับนางพิมถึงตอนแต่งงาน  ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างถึงเข้าห้องนางแก้วกิริยา  นางวันทองทะเลาะกับลาวทอง  และเท่าที่รู้จากตำนานหรือสันนิษฐานได้จากสำนวน บางตอนโปรดเกล้าฯ ให้ผู้อื่นแต่ง เช่น  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระราชนิพนธ์ตอนขุนช้างขอนางพิม  และขุนแผนพานางวันทองหนี  ส่วนสุนทรภู่แต่งตอนกำเนิดพลายงาม  เป็นต้น  ในระยะเดียวกันนั้นกวีเชลยศักดิ์ก็แต่งและขับเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นมหรสพชาวบ้านกันทั่วไป  แต่มักมิได้จดฉบับลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างฉบับหลวง  

ศิลปากร, กรม. ขุนช้างขุนแผน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของครุสภา, 2532.

   ��������§�Թ��� ����â�Ҵ �繾���ѧ��Ҫ���͵ͺ᷹�����դ����ͺ���ҹҧ����¿�ҷ���Ѻ��ҹ���ͧ�����ҧ��ʹ��� ���â�Ҵ�ѧ�鹾��ª���� �֧�Թ�ҧ�ҷ���ا�����ظ�� �ŧ�繨���������Ҵ��Ҥ�����ѵ������§��ҡ��� ���ª���Ũ֧�����͡��Һ����騹����� �����â�Ҵ�һ����ê��Ե ���ª�������ô��ѡ�������ǧ���ķ��� �Ѻ�ҡ����繵��ҷء��������ѹ���ҧ�դ����آ

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้ชำระเสภาขุนช้างขุนแผน ได้ทรงประชุม กวีเอก สมัยนั้น ช่วยกันแต่งคนละตอนสองตอน สุนทรภู่ก็ได้รับมอบหมายให้ร่วมแต่งด้วย และท่านคงต้องแต่งอย่างสุดฝีมือ เพราะถือเป็นการประกวด ประขันฝีปากกันอย่างเต็มความสามารถ เรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ ถือว่าเป็นเพชรเม็ดงาม เม็ดหนึ่งของวรรณกรรมไทย ด้วยอุดมไปด้วย คุณค่าทางวรรณศิลป์อย่างครบถ้วน ทั้งความประณีตบรรจงในการแต่ง กระบวนกลอนเล่นสัมผัสอย่างไพเราะและมีเนื้อความดีตลอดเรื่อง สอดแทรกแง่คิดเกี่ยวกับชีวิตและ สามารถสร้าง อารมณ ์สะเทือนใจแก่ผู้อ่านให้เห็นภาพและซาบซึ้งไปกับตัวละครได้อย่างดีเยี่ยม

กำเนิดพลายงาม

เมื่ออยู่กับขุนช้าง นางวันทองไม่เคยเป็นสุข จนท้องแก่ได้สิบเดือนก็คลอดบุตรเป็นชาย  หน้าตาเหมือนขุนแผน  และนางวันทองตั้งชื่อว่าพลายงาม  ส่วนขุนช้างเห็นบุตรหน้าเหมือนขุนแผนก็ยิ่งแค้น  แล้วก็ยิ่งโมโหที่นางวันทองนั้นเป็นคนสองใจ ทั้งยังตั้งชื่อลูกเหมือนขุนแผนซึ่งเป็นพ่อแท้ ๆ อีกด้วย จึงคิดจะฆ่าพลายงามเสีย
ขุนช้างพาพลายงามไปฆ่า                                    
สุนทรภู่แต่งวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนในตอนใด

วันหนึ่งนางวันทองล้มป่วยลง  ขุนช้างจึงแกล้งชวนพลายงามไปดูสัตว์ในป่า พอถึงที่เปลี่ยวก็จะฆ่า  ได้ทำร้ายจนพลายงามสลบไป  ผีพรายลูกน้องขุนแผนเข้าปกป้องไว้  ขุนช้างเข้าใจว่าตายแล้ว  ทำเป็นชมป่า จนกระทั่งกลับมาถึงเรือน

ฝ่ายผีพรายช่วยกันพยาบาลจนหาย เมื่อพลายงามฟื้นขึ้น นางพรายก็บอกว่าพวกตนเป็นบ่าวของขุนแผน  แล้วจะไปบอกนางวันทองให้มารับ

นางวันทองนั้น เกิดลางโดยเขม่นคิ้วตั้งแต่กลางวัน  พอนอนหลับก็ฝันเห็นพลายงามถูกขุนช้างเอาขอนทับ ก็ตกใจตื่นเห็นแมงมุมอุ้มไข่ตีอก ก็ห่วงลูกลุกออกจากห้องหาลูกไม่พบ  รู้ว่าตามขุนช้างไปเที่ยวป่า  จึงได้ร้องไห้เดินตามหาไปถึงในป่า เห็นพลายงามยืนร้องไห้อยู่ พลายงามก็เล่าให้นางวันทองฟัง  นางวันทองจึงบอกว่า พ่อของพลายงามชื่อขุนแผน  เป็นศัตรูคู่แค้นกับขุนช้าง  แต่ตอนนี้พ่อถูกขังคุกอยู่  หากลูกอยู่ที่นี่ต่อไปก็จะอันตราย ควรจะไปอยู่กับย่าทองประศรีที่กาญจนบุรี  แต่ทางทุรกันดารคงจะลำบากมาก

สุนทรภู่แต่งวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนในตอนใด

เรื่องขุนช้างขุนแผน มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ และเล่ากันต่อ ๆมาจนกลายเป็นนิยายพื้นเมืองของเมืองสุพรรณบุรี ต่อมาได้มีผู้นำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนเสภเพื่อใช้ในการขับเสภา จึงทำให้เรื่องนี้เป็นที่นิยมและแพร่หลายมากขึ้น ครั้นเสียกรุงแล้วบางตอนก็สูญหายไป บางตอนยังมีต้นฉบับเหลืออยู่ เรื่องไม่ติดต่อกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้กวีหลายคนช่วยกันรวบรวมและแต่งขึ้นเรียกว่า เสภาหลวง การชุมนุมกวีครั้งนั้นจึงเป็นการประกวดฝีปากเชิงกลอนอย่างเต็มที่ ทำให้เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน
มีความไพเราะเพราะพริ้งมากอย่างไรก็ตามได้มีนักขับเสภาระยะหลังได้แต่งเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน
ขึ้นอีกหลายสำนวนเพื่อใช้ขับเสภาเป็นตอน ๆ ใน พ.ศ. ๒๔๖๐ หอพระสมุดวชิรญาณได้ชำระหนังสือเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนขึ้นเพราะมีเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนหลายฉบับ
ทั้งฉบับหลวงและฉบับราษฎรโดยมีสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพและกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา
ทรงเป็นประธานการชำระได้คัดเลือกเอาสำนวนที่ดีที่สุดมารวมกันจนครบทุกตอน บางตอนก็ไม่สามารถทราบนามผู้แต่ง จากการชำระเรื่องนี้ได้พบสำนวนที่พอทราบนามผู้แต่งได้ดังนี้
1. บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ที่ 2 มี 4 ตอน คือ
- พลายแก้วได้นางพิม
- พลายแก้วได้เป็นขุนแผนและขุนช้างได้นางวันทอง
- ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างและได้นางแก้วกิริยา
- ขุนแผนพานางวันทองหนี
2. บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 3 มี 2 ตอน คือ
- ขุนช้างขอนางพิม
- ขุนช้างตามนางวันทอง
3. สำนวนของสุนทรภู่ มี 1 ตอน คือ
- กำเนิดพลายงาม
4. สำนวนของครูแจ้งมี 5 ตอน คือ
- กำเนิดกุมารทอง
- ขุนแผนแก้พระท้ายน้ำ
- ขุนแผนและพลายงามจับพระเจ้าเชียงใหม่
- ขุนแผนและพลายงามยกทัพกลับ
- จระเข้เถรขวาด
ลักษณะการแต่ง เป็นกลอนสุภาพ
เนื้อเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน และนางพิมพิลาไล ต่างก็เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่เล็ก ขุนแผน เดิมชื่อพลายแก้วรักอยู่กับนางพิมพิลาไลย แต่ขุนช้างก็หลงรักนางพิมพิลาไลยด้วยเช่นกัน จึงขอร้องให้เทพทองผู้เป็นมารดาไปสู่ขอนางพิมพิลาไลย แต่นางพิมพิลาไลยไม่ยินยอม ต่อมาพลายแก้วแต่งงานกับนางพิมพิลาไลย หลังจากแต่งงานได้สองวันก็เกิดศึกเมืองเชียงทอง พลายแก้วต้องไปราชการสงคราม ระหว่างนี้นางพิมพิลาไลยป่วยจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง ฝ่ายขุนช้างได้ออกอุบายว่าพลายแก้วตายในสงคราม นางศรีประจันมารดาของนางวันทองรับปากจะยกนางวันทองให้ขุนช้าง ส่วนพลายแก้วกลับจากราชการสงครามได้เป็นขุนแผนแสนสะท้าน และได้นางลาวทองเป็นภรรยา นางวันทองและนางลาวทองเกิดหึงหวงกัน ขุนแผนจึงพานางลาวทองไปอยู่กาญจนบุรี ขุนช้างได้นางวันทองเป็นภรรยา ต่อมาขุนช้างกล่าวโทษขุนแผนว่าละทิ้งหน้าที่ราชการอยู่เวร ขุนแผนจึงได้รับโทษไปเป็นนายด่านตระเวนชายแดน ระหว่างนี้ขุนแผนได้ดาบฟ้าฟื้น ม้าสีหมอก และกุมารทอง ขุนแผนจึงขึ้นเรือนขุนช้าง ได้นางแก้วกิริยาและพานางวันทองหนี ต่อมาเมื่อวันทองตั้งท้อง จึงพากันไปหาพระพิจิตรเพื่อให้พาเข้าสู้คดีที่กรุงศรีอยุธยา ขุนแผนชนะคดีได้นางวันทองกลับคืน ขุนแผนทูลขอนางลาวทองซึ่งถูกกักขังอยู่ในวัง สมเด็จพระพันวษากริ้วจึงให้จำคุกขุนแผนไว้ ขุนช้างพาพรรคพวกมาขุนนางวันทอง ต่อมาวันทองคลอดพลายงามบุตรขุนแผน ขุนช้างลวงพลายงามไปฆ่าแต่ไม่ตาย เมื่อพลายงามโตขึ้นได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กและได้อาสาทำศึกเมืองเชียงใหม่ พร้อมขอตัวขุนแผนไปช่วยสงคราม และพลายงามได้นางศรีมาลาลูกสาวเจ้าเมืองพิจิตรเป็นภรรยา
ครั้นเสด็จศึกเมืองเชียงใหม่แล้ว พลายงามได้เป็นจมื่นไวยวรนาถพร้อมกับได้รับพระราชทานนางสร้อยฟ้า ธิดาพระเจ้าเชียงใหม่เป็นภรรยา ในวันประกอบพิธีแต่งงานจมื่นไวยวรนาถกับนางศรีมาลา นางวันทองกับขุนช้างมาในงานด้วย ขุนช้างดื่มเหล้าเมาจึงมีเรื่องกับจมื่นไวยวรนาถ ขุนช้างถูกทำร้ายจึงถวายฎีกากล่าวโทษจมื่นไวยวรนาถ มีการพิสูจน์ดำน้ำ ขุนช้างถูกตัดสินประหารชีวิต แต่จมื่นไวยวรนาถขอชีวิตไว้ตามที่นางวันทองขอร้อง และลักพานางวันทองไปอยู่กับขุนแผน ขุนช้างถวายฎีกา สมเด็จพระพันวษาทรงให้นางวันทองเลือกจะอยู่กับใครนางวันทองตัดสินใจไม่ได้ จึงกริ้ว ให้นำตัวนางวันทองไปประหารชีวิต
ต่อมานางสร้อยฟ้ากับนางศรีมาลาเกิดวิวาทกันด้วยความหึงหวง นางสร้อยฟ้าจึงให้เถรวาททำเสน่ห์ให้หมื่นจไวยวรนาถหลงรักตน กลายชุมพลซึ่งเป็นลูกขุนแผนกับนางแก้วกิริยามาช่วยแก้เสน่ห์ แต่ไม่สำเร็จ ขุนแผนมาช่วยก็ไม่สำเร็จ ทำให้ขุนแผนโกรธ คบคิดกับพลายชุมพลปลอมตัวเป็นมอญยกทัพมาล้อมกรุง เพราะหวังจะฆ่าหมื่นจไวยวรนาถ ความทรงทราบ ถึงพระพันวษาจึงทรงตัดสินคดี นางสร้อยฟ้าพิสูจน์ด้วยการลุยไฟแต่เป็นฝ่ายแพ้ จึงถูกส่งตัวกลับไปอยู่เมืองเชียงใหม่ ส่วนเถรขวาดแปลงตัวเป็นจระเข้มาอาละวาดที่กรุงศรีอยุธยา พลายชุมพลอาสาปราบจระเข้เถรขวาดและจับเถรขวาดได้ จึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิต ส่วนพลายชุมพลได้เป็นหลวงนายฤทธิ์

สุนทรภู่แต่งวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนในตอนใด

http://oknation.nationtv.tv/blog/Duplex/2008/03/06/entry-13

สุนทรภู่แต่งวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนในตอนใด