รูปแบบการปกครองตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือแบบใด

ลักษณะการปกครองสมัยอยุธยา

รูปแบบการปกครองตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือแบบใด

สถาบันพระมหากษัตริย์

การปกครองของไทยในสมัยอยุธยา   เปลี่ยนแปลงต่างไปจากสุโขทัยเพราะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากเขมร (ขอม)  เข้ามามาก  โดยเฉพาะลัทธิเทวราช  ซึ่งเขมรรับมาจากอินเดียอีกทอดหนึ่ง  ลัทธินี้องค์พระมหากษัตริยืทรงเป็นสมมุติเทพอยู่เหนือบุคคลสามัญ  ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุด  ทรงไว้ซึ่งอาญาสิทธิ์เหนือผู้อื่นทั้งปวงในอาณาจักร คือ นอกจากจะทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินแล้ว  ยังทรงเป็นเจ้าของชีวิตราษฎรอีกด้วย

                            พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา  จึงมีฐานะแตกต่างนจากพระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยอย่างมาก  เช่น  การเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ต้องหมอบคลานแสดงความอ่อนน้อม  การพูดกับพระมหากษัตริย์ต้องใช้ราชาศัพท์  เมื่อเสด็จออกนอกพระราชวังราษฎรต้องหมอบกราบและก้มหน้า  มีกฎมณเฑียรบาลห้ามมองพระพักตร์ของพระมหากษัตริย์  เนื่องจากพระองค์เป็นสมมุติเทพและเพื่อการป้องกันการทำร้ายพระองค์  สิ่งเหล่านี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างองค์พระมหากษัตริย์กั้บประชาชนห่างเหินกัน  ความใกล้ชิดแบบบิดาปกครองบุตรแบบสุโขทัยจึงน้อยลงทุกขณะ

นอกจากนี้ยังมีระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับความปลอดภัยของพระมหากษัตริย์และราชบัลลังก์อีก  เช่น  ให้ถือเขตพระบรมมหาราชวังเป็นเขตหวงห้ามสำหรับประชาชนสามัญ  มีการรักาความปลอดภัยเข้มงวด  มีนายประตูดูแลตลอดเวลา  มีมาตราป้อนกันมิให้เจ้าเมือง  ลูกขุน  ราชบุตร  ราชนัดดาติดต่อกัน ต้องการให้แต่ละบุคคลแยกกันอยู่  เป็นการแยกกันเพื่อปกครอง  มิให้มีการรวมกันได้ง่าย  เพราะอาจคบคิดกันนำภัยมาสู่บ้านเมืองหรือราชบัลลังก์ได้

การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น  พ.ศ. 1893 – 1991

                            การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น  ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1  (พระเจ้าอู่ทอง)  ถึงรัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ 2  (เจ้าสามพระยา)  เป็นรูปแบบการปกครองที่ได้รับอิทิพลจากเขมรและสุโขทัยในลักษณะต่อไปนี้

  1. 1.               การปกครองส่วนกลาง      จัดการบริหารแบบจตุสดมภ์  หมายถึง  การที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองโดยตรง  ได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นกรมสำคัญ  4  กรม

ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้

                                               กรมเวียง    หรือ  กรมเมือง    มีขุนเวียงเป็นหัวหน้า  ทำหน้าที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วราชอาณาจักร

                กรมวัง    มีขุนวังเป็นหัวหน้าดูแลรักษาพระราชวัง  จัดงานพระราชพิธีต่างๆ และพิจารณาพิพากษาคดี

กรมคลัง     มีขุนคลังเป็นหัวหน้า   รับผิดชอบด้านการเงินและการต่างประเทศทั่วราชอาณาจักร  ด้านการเงินทำหน้าที่เก็บภาษีอากร  ใช้จ่ายพระราชทรัพย์  จัดแต่งสำเภาหลวงออกค้าขาย  ในด้านต่างประเทศทำสัญญาการค้าและติดต่อทางการทูตกับต่างประเทศ

กรมนา     มีขุนนาเป็นหัวหน้า  ทำหน้าที่ดูแลเรือกสวนไร่นาทั่วราชอาณาจักร  และจัดเตรียมเสบียงอาหารให้เพียงพอในยามบ้านเมืองมีศึกสงคราม

  1. 2.               การปกครองส่วนภูมิภาค     การจัดการปกครองส่วนภูมิภาค  จัดตามแบบอาณาจักรสุโขทัย  เพราะเมืองต่างๆ  ส่วนใหญ่เคยอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรสุโขทัยมาก่อน

มีการแบ่งเมืองเป็นระดับชั้น  มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง  เมืองต่างๆ จัดแบ่งออกดังนี้

                                               เมืองหน้าด่าน  หรือ  เมืองป้อมปราการ    เป็นเมืองที่มีความสำคัญในการป้องกันราชธานี  ระยะทางไปมาระหว่างเมองหน้าด่านกับราชธานีใช้เวลาเดินทางภายใน  2  วัน  มักเป็นเมืองใหญ่หรือเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศสตร์  พระมหากษัตริย์จะแต่งตั้งพระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครอง บางที่จึงเรียกว่า  เมืองลูกหลวง

หัวเมืองชั้นใน     คือ  เมืองที่อยู่ถัดจากเมืองหน้าด่านออกไป  พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งเจ้านายหรือขุนนางไปปกครอง  ขึ้นตรงต่อเมืองหลวง

หัวเมืองชั้นนอก  หรือ   เมืองพระยามหานคร     เป็นเมืองขนาดใหญ่  ที่มีประชาชนคนไทยอาศัย  อยู่ห่างจากราชธานี  ต้องใช้เวลาหลายวันในการติดต่อ  มีเจ้าเมืองปกครอง  อาจเป็นผู้สืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองเดิม  หรือเป็นผู้ที่ทางเมอืงหลวงต่างตั้งไปปกครอง

เมืองประเทศราช     เป็นเมืองทีอ่ยู่ชายแดนของอาณาจักร   ชาวเมืองเป็นคนต่างชาติต่างภาษา  มีเจ้าเมืองเป็นคนท้องถิ่น  จัดการปหกครองภายในของตนเอง  แต้องส่งเครื่องบรรณาการมาถวายตามกำหนด  ได้แก่  ยะโฮร์   เขมร  และเชียงใหม่ (ล้านนา)

การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง  พ.ศ. 1991 – 2072

เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์ (พ.ศ. 1991 – 2031)    พระองค์ทรงปรับปรุงระเบียบการปกครองใหม่  เพราะเห็นว่าการปกครองแบบเก่ายังหละหลวม  กรุงศรีอยุธยาควบคุมดูแลเมืองในส่วนภูมิภาคได้ไม่ทั่วถึง  บรรดาเมืองต่างๆ  เบียดบังรายได้จากภาษีอากรไว้  ทำให้ราชธานีได้รับผลประโยชน์ไม่เต็มที่  นอกจากนั้นในระยะที่มีการผลัดแผ่นดิน  หากกษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงเข้มแข็ง  มีอำนาจ  ก็จะไม่มีปัญหาทางการปกครอง  แต่หากกษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงอ่อนแอไม่เด็ดขาดหรือยังทรงพระเยาว์อยู่  บรรดาเมืองประเทศราชและเมืองพระยามหานคร  มักฉวยโอกาสแยกตนเป็นอิสระอยู่เสมอ  นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน  เจ้าเมืองมีอำนาจมากและมักจะยกกำลังทหารทหารเข้ามาแย่งชิงราชสมบัติอยู่เนืองๆ และอาณาจักรอยุธยาในสมัยนี้มีอาณาเขตกว้างขวางมากกว่าเดิม  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงต้องปรรับปรุงการปกครองใหม่  มีลักษณะสำคัญสองประการ  คือ  จัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง  ทำให้ราชธานีมีอำนาจและมีการควบคุมเข้มงวดขึ้น  และแยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกัน (เป็นครั้งแรก)  สาระสำคัญที่เปลี่ยนไปมีดังนี้

  1. 1.               การปกครองส่วนกลาง       สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้มีตำแหน่งสมุหกลาโหมและสมุหนายก   สมุหกลาโหม  รับผิดชอบด้านการทหาร  มีหน้าที่บังคับบัญชา

ตรวจตราการทหาร  เกณฑ์ไพร่พลในยามมีศึก   ยามสงบรวบรวมผู้คน  อาวุธ    เตรียมพร้อม  สมุหนายก  ทำหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ยพลเรือนทั่วราชอาณาจักรและดูแลจดุสดมภ์  พระองค์ได้ทรงกำหนดหน่วยงานระดับกรม  (เทียบได้กับกระทรวงในปัจจุบัน)  ขึ้นอีก  2  กรม  จึงมีหน่วยงานทางการปกครอง  6  กรม  กรมใหม่ที่จัดตั้งขึ้นมีเสนาบดีรับผิดชอบในหน้าที่  ดังนี้

กรมมหาดไทย      มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก   มีฐานะเป็นอัตรมหาเสนาบดี  มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประแทศ

กรมกลาโหม         มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม   มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี  มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ

พร้อมกันนี้ได้ปรับปรุงกรมจตุสดมภ์เสียใหม   ให้มีเสนาบดีรับผิดชอบงานในหน้าที่ของแต่ละกรม คือ

กรมเมือง              มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี

กรมวัง                  มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี

กรมคลัง               มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี

กรมนา                 มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี

  1. 2.               การปกครองส่วนภูมิภาค        สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ  ให้ยกเลิกเมืองหน้าด่านหรือเมืองลูกหลวง  ให้จัดการปกครองหัวเมืองในส่วนภูมิภาค  ดังนี้

           หัวเมืองชั้นใน    จัดเป็นเมืองชั้นจัตวา  ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า  “ผู้รั้ง”   ไม่มีอำนาจอย่างเจ้าเมือง  ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของราชธานี  เป็นเมืองที่ตั้งอยู่โดยรอบราช

ธานี  เช่น  ชัยนาท  นครสวรรค์  สุพรรณบุรี  ปราจีนบุรี  ฉะเชิงเทรา  และชลบุรี  เป็นต้น   พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยาไปทำหน้าที่ผู้รั้งเมือง

                                       หัวเมืองชั้นนอก      ได้แก่  เมืองที่อยู่ถัดจากหัวเมืองชั้นในออกไป  (ซึ่งเป็นเมืองพระยามหานครในสมัยก่อน)   จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี  โท  เอก  ตามขนาดและความสำคัญของเมืองนั้นๆ  อาจมีเมืองเล็กขึ้นด้วยพระมหากษัตริย์ทารงแต่งตั้งเจ้านายในพระราชวงศ์หรือขุนนางผู้ใหญ่ออกไปปกครองเป็นเจ้าเมือง  มีอำนาจเต้มในการบริหารราชการภายในเมือง

เมืองประเทศราช    โปรดฯ  ให้มีการจัดการปกครองเหมือนเดิม  คือ  ให้มีเจ้านายในท้องถิ่น  เป็นเจ้าเมือง  หรือกษัตริย์  มีแบบแผนขนบ๔รรมเนียมเป็นของตนเอง  พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเป็นผู้ทรงแต่งตั้ง  เมืองประเทศราชมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา

การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย  พ.ศ. 2072 – 2310

                                การจัดการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางตามที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางรากฐานไว้คงใช้มาตลอด  แต่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะกับสภาพบ้านเมืองยิ่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์  (พ.ศ. 2199 – 2231)    ทรงให้ยกเลิกการแยกความรับผิดชอบของอัครมหาเสนาบดีเกี่ยวกับงานด้านพลเรือนของสมุหนายก  และงานด้านทหารของสมุหกลาโหม โดยให้สมุหกลาโหมรับผิดชอบทั้งด้านทหารและพลเรือน  ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือและหัวเมืองอีสาน  ส่วนหัวเมืองตอนกลาง  และหัวเมืองชายทะเลตะวันออก  ให้อยู่ในอำนาจของเมืองหลวงโดยตรง  ทั้งนี้ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่าการแยกกิจการฝ่ายทหารและฝ่ายทหารและฝ่ยพลเรือนจากกันอย่างเด็ดขาด  ไม่อาจทำได้อย่างได้ผลดี  โดยเฉพาะในยามสงคราม  บ้านเมืองต้องการกำลังพลในการสู้รบจำนวนมาก  ชายฉกรรจ์ต้องออกรบเพื่อชาติบ้านเมืองทุกคน  จึงเป็นการยากในทางปฏิบัติ  อีกประการหนึ่ง  มีบทเรียนที่แสดงให้เห็นว่า  เมื่อให้สมุหกลาโหมคุมกำลังทหารไว้มาก  ทำให้สามารถล้มราชวงศ์กษัตริย์ลงได้

เศรษฐกิจ

เกษตรกรรม        อยุธยาตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำและดินดีอุดมสมบูรณ์  จึงมีการปลูกข้ามกันทั่วไป  รองลงมาก็เป็นไม้ยืนต้น  เช่น  มะม่วง  มะพร้าว  หมาก  และพืชผักผลไม้  เช่น  ฝ้าย  พริกไทย  พริก  หอม  กระเทียม  เป็นต้น

การทำนาทำสวนในสมัยอยุธยาให้ผลผลิตที่ดีและมีรายได้สูง  ราษฎรเสีย อากรด่านและอากรสวน ได้โดยไม่เดือดร้อน  มีข้าว  พืชผัก  ผลไม้เป็นอาหารเพียงพอแก่การบริโภคในแต่ละครัวเรือน  ผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคนำไปเป็นสินค้าส่งออก  เช่น  ข้าว  เป็นที่ต้องการของต่างปรแทศทั่วไป  หมาก  ขายให้จีน อินเดีย  และโปรตุเกสที่มาเก๊า  ฝ้าย  มะพร้าว  ขายให้ญี่ปุ่น  มะละกา  ฮอลันดา  ฝรี่งเศส  ญวน  เขมร  จีน

อุตสาหกรรม     การอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มุ่งเพื่อการบริโภคในประเทศ  ได้แก่  เครื่องใช้ในครัวเรือนมี  เสื้อผ้า  เครื่องนุ่งห่ม  เครื่องจักสาน  เครื่องเหล็ก  เพื่อการเกษตรมี  ผาล  จอบ  เสียม  มีด  ฯลฯ    ทั้งที่ใช้เป็นอุปกรณ์การงานและอาวุธ   (หมู่บ้านอรัญญิก)    เครื่องปั้นดินเผา   เครื่องเคลือบดินเผา  การต่อเรือเพื่อการคมนาคม  การประมง  และการบรรทุกสินค้า  อุตสาหกรรมส่งออกมีจำนวนน้อย  ที่พบคือน้ำตาล

พานิชยกรรม     ทำเลที่ตั้งของอยุธยาสะดวกแก่การคมนาคมทางน้ำ  เพราะมีแม่น้ำหลายสายและไม่ห่างจากปากน้ำเกินไป  การนำสินค้าเข้าและออกทางทะเลทำได้สะดวก  อาณาจักรที่อยู่เหนือขึ้นไป  คือ  สุโขทัย และล้านนา  ก็จำเป็นต้องใช้อยุธยาเป็นทางผ่านสู่ทะเล  ทำให้อยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้า  อยุธยาจึงมีการขายเป็นอาชีพหลักอีกอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการเกษตร

ในสมัยอยุธยาตอนต้น  มีการค้าขายกับจีน  ญี่ปุ่น  อาหรับ  มลายู  อินเดีย  ชวา  และฟิลิปปินส์  การค้ากับต่างประเทศในสมัยแรกมีลักษณะค่อนข้างจะเสรี  ยังไม่มีการผูกขาดมากดังเช่นในสมัยหลัง  การค้าสำเภาส่วนใหญ่เป็นของพระมหากษัตริย์  เจ้านาย  ขุนนาง  และพ่อค้าชาวจีน

ครั้นถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงปฏิรูปการปกครองอาณาจักร  สามารถควบคุมหัวเมืองต่างๆ  ได้รัดกุม  เก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย  ไม่รั่วไหล  ล่าช้า  สินค้าจากหัวเมืองเป็นสิ่งที่พ่อค้าต่างชาติต้องการจึงส่งเป็นสินค้าออก  การค้าขายต่างประเทศขยายตัวออกไปกว้างขวางกว่าสมัยก่อน  จนมีพ่อค้าชาวตะวันตกเข้ามาค้าขาย  คือ  โปรตุเกส เป็นชาติแรก  หลังจากนั้นก็มีชาติตะวันตกอื่นๆ เข้ามาอีก  ได้แก่ สเปน  ฮอลันดา  อังกฤษ  และฝรั่งเศส

ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเป็นต้นมา  เริ่มมีการจัดระบบผูกขาดทางการค้า  โดยกำหนดให้สินค้าบางอย่างเป็นสินค้าบางอย่างเป็นสินค้าต้องห้าม  ซึ่งการซื้อขายต้องผ่านพระคลังสินค้า  ในระยะต่อมาการผูกขาดยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น  มีการเพิ่มรายการสินค้าต้องห้ามให้มากขึ้น  ทำให้รายได้จากการค้าขายเป็นรายได้สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาสมัยหลัง

สังคมและศิลปวัฒนธรรม

                     สภาพสังคมทั่วไป

                      กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มมีแม่น้ำล้อมรอบ  ราษฎรตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง  เป็นครอบครัวขนาดใหญ่  มักจะมีปู่ย่าหรือตายายและหลานรวมอยู่ด้วย  มีความเป็นอยู่ง่ายๆ  ใฝ่ธรรมเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา  วัดเป็นศูนย์กลางของสังคม  เป็นที่เล่าเรียนของเด็กชายที่จะศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาต่างๆ  และเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของชุมชนในงานพิธีทางศาสนา  และเทศกาลงานประเพณีต่างๆ

ระบบศักดินา

สังคมอยุธยาเป็นสังคมของชนชั้น  คือ  มีการแบ่งชั้นว่าใครชั้นสูงกว่าใคร  การแบ่งชนชั้นนี้คงจะได้รับอิทธิพลมาจากขอมในสมัยสุโขทัย  และเมื่อตอนก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1  (พระเจ้าอู่ทอง)  แล้ว  เพียงแต่ยังไม่ชัดเจน  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงบัญญัติกฎหมายกำหนดให้บุคคลมีชั้นสูงต่ำกว่ากันตามศักดินา

ศักดินา   คือ  ศักดิ์ของบุคคลที่มีสิทธิที่จะถือครองกรรมสิทธิ์ในที่นาได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ หรือ  กล่าวสั้นๆ ว่า  ศักดินา คือ ศักดิ์ที่จะมีนา    เช่น  กฎหมายกำหนดว่าพระภิกษุผู้รู้ธรรมมีศักดินา  600  หมายความว่า  พระภิกษุผู้รู้ธรรมแต่ละรูปมีศักดิ์ที่จะถือครองกรรมสิทธิ์ที่นาได้  600  ไร่  หรือ  ไพร่มีศักดินา 10  หมายความว่า  ไพร่ทุกคนมีศักดิ์ที่จะมีที่นาได้คนละ  10  ไร่  เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม  ศักดินา  นี้คงเป็นเพียง  ศักดิ์  หรือ  สิทธิ์  ที่จะมีที่นาเท่านั้น  ไม่จำเป็นต้องมีที่นาตามจำนวนที่กำหนดไว้จริงๆ  เช่น  กำหนดว่า  สมุหนายกมีศักดินา  10,000  ก็มิได้หมายความว่าผู้ที่ดำรงตำแหน่งสมุหนายกจะต้องมีทีนาครบ  10,000  ไร่จริงๆ

องค์ประกอบของสังคมอยุธยา

เนื่องจากอยุธยาได้รับอิทธิพลจากเขมรในด้านต่างๆ เช่น  ศิลปวิทยา  ระบอบการปกครอง  และความเชื่อในเทพเจ้าและพิธีกรรมต่างๆ  ของศาสนาพราหมณ์  ทำให้ฐานะของพระมหากษัตริย์ไทยเปลี่ยนแปลงจากพ่อขุนหรือปิตุราช  ไปในทางเป็นสมมุติเทพหรือเทวราชตามคตินิยมของพราหมณ์  เมื่อฐานะของพระมหากษัตริย์ได้รับการเทิดทูนเทียบเท่าเทพเจ้า  ฐานะของพระราชองค์  และข้าราชการผู้ใหญ่อื่นๆ  รองลงไปก็เพิ่มความสำคัญและมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะระบบศักดินาที่ได้รับอิทธิพลจากเขมรช่วยให้ผู้มีตำแหน่งหน้าที่ราชการมีอภิสิทธิ์เหนือราษฎรสามัญ  เกิดระบบเจ้าขุนมูลนาย  มีบ่าวมีทาสทำให้ประชาชนนิยมยกย่องระบบราชการ  มุ่งให้ลูกหลานเอาดีทางรับราชการมากกว่าจะสนใจทำการค้าหรืออาชีพอื่นซึ่งเป็นค่านิยมที่ฝังแน่นต่อมาช้านาน

สังคมอยุธยามีสถาบันต่างๆ  เป็นองค์ประกอบดังนี้

  1. 1.               พระมหากษัตริย์     ทรงดำรงฐานะเป็น  เจ้าแผ่นดิน และ  เจ้าชีวิต   ทรงเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจและทรงมีตำแหน่งสูงสุดในสังคม  ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดในการ

ปกครองบริหารบ้านเมือง  ให้มีความสงบร่มเย็น  และป้องกันอาณาจักรให้ปลอดภัยจากการรุกราน

  1. 2.               เจ้านาย      คำว่า  เจ้านาย   หมายถึง  เชื้อพระวงศ์ของพระมหากษัตริย์  เจ้านายเป็นชนชั้นที่ได้รับเกียรติยศ  อภิสิทธิ์   มาแต่กำเนิด  ส่วนจะมีอำนาจมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่

กับตำแหน่งหน้าที่ทางราชการ  กำลังคนในความควบคุม  และการได้รับการโปรดปรานจากพระมหากษัตริย์

  1. 3.               ขุนนาง  หรือ  ข้าราชการ     ข้าราชการเป็นชนชั้นที่มีอำนาจและอภิสิทธิ์   เป็นจักรกลในการบริหารการปกครองของพระมหากษัตริย์  ทำหน้าที่ควบคุมดูแลทุกข์สุขของ

ราษฎรแทนพระมหากษัตริย์  โดยได้รับสิ่งตอบแทนในการทำงานเป็นยศ  ตำแหน่ง  อำนาจ  และทรัพย์สมบัติ

  1. 4.               พระสงฆ์      เป็นชนชั้นที่มีฐานะทางสังคม  ไม่เกี่ยวข้องกับการปกครองบ้านเมืองโดยตรงสมาชิกของสังคมสงฆ์มาจากชนชั้น  และเข้ามาอยู่ร่วมกันด้วยวิธีการบวช

เท่านั้น  ฐานะของพระสงห์ได้รับการยอมรับนับถือเคารพกราบไหว้จากบุคคลทุกชั้นในสังคม  ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ลงมา

  1. 5.               ไพร่        คำว่า  ไพร่    หมายถึง  ราษฎรสามัญทั่วไป  ไพร่ที่เป็นชายจะต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนายตามกฎหมายที่กำหนด  มูลนายของไพร่ คือ เจ้านาย  ขุนนาง  ที่เป็น

ผู้บังคับบัญชาควบคุมไพร่  หรือเจ้าสังกัดของไพร่  ไพร่ในสมัยอยุธยาเป็นกลุ่มคนที่เป็นกำลังของบ้านเมือง   เป็นชนชั้นที่อยู่ใต้อำนาจการปกครองหรือถูกปกครอง  มีอิสรเสรีภาพตามข้อกำหนดของกฎหมาย  มีหน้าที่รับผิดชอบต่อบ้านเมือง    คือ  ต้องเป็นทหารออกสู้รบในยามสงคราม  ในยามปกติจะต้องถูกเกณฑ์มาเข้าเวรช่วยราชการ   สร้างสิ่งสาธารณะประโยชน์พัฒนาบ้านเมืองโดยไม่มีค่าตอบแทนหรือค่าแรง  เมื่อพ้นกำหนดการเข้าเวรแล้วจะกลับไปอยู่กับครอบครัว  ประเกอบอาชีพของตนโดยอิสระ

  1. 6.               ทาส     ทาสเป็นกลุ่มชนชั้นต่ำสุดของสังคม  มีจำนวนน้อย  ทาสเป็นผู้ขาดอิสรภาพ  การตกเป็นทาสอาจเนื่องมาจากการเป็นเชลยหรือการขายตัวเป็นทาส  ทาสมีหน้าที่รับใช้นายทาสตามแต่นายจะมีประสงค์  นายทาสหรือเจ้าของทาสเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในตัวทาส  เสมือนหนึ่งว่าทาสเป็นทรัพย์สิ่งของธรรมดาอย่างหนึ่ง  จะเอาไปขายต่อหรือให้เช่าแรงงานก็ได้  จะลงโทษเฆียนตี  ใส่ขื่อคาอย่างไรก็ได้  ยกเว้นการลงโทษทาสจนถึงแก่ความตายนายทาสจึงจะมีความผิด  ทาสเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้บ้าง  มีศักดินา  5 ไร่  มีสิทธิได้รับมรดกหรือทำสัญญาได้  ตลอดจนมีสิทธิไถ่ถอนตนเองเป็นอิสระได้  ด้วยเหตุนี้การเป็นทาสในสังคมไทยจึงมิได้เป็นไปอย่งถาวร  นอกจากทาสเชลยเท่านั้นที่ไม่มีโอกาสเป็นอิสระ

อ้างอิง : http://www.kwc.ac.th/0e-book%20ThaiKingdom/10AUTaYa4.htm