การดําเนินนโยบายต่างประเทศของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเน้นเรื่องใดเป็นสําคัญ เฉลย

การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2311 - พ.ศ. 2324) และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 3 ระหว่างพ.ศ. 2325-พ.ศ. 2394)

การดําเนินนโยบายต่างประเทศของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเน้นเรื่องใดเป็นสําคัญ เฉลย

การจัดเก็บส่วยสาอากรทั้ง 4 ประเภท ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้ถูกกำหนดเป็นรูปแบบการจัดเก็บต่อเนื่องมาจนถึงสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และตอนต้นรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบามสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ รัฐบาลมีความจำเป็นที่ต้องการใช้เงินในราชการมากกว่าแต่ก่อนพระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเป็นผลให้เกิดการจัดเก็บภาษีขึ้นใหม่ 38 ประเภท ทั้งนี้โดยเป็นภาษีที่เก็บจากการพนัน และจากผลผลิตประเภทต่างๆ จำแนกได้ดังนี้

  • บ่อนเบี้ย หวย ก.ข. ภาษีเบ็ดเสร็จ (เก็บของลงสำเภา)
  • ภาษีของต้องห้ามหกอย่าง (ได้แก่ อากรรังนก, ไม้กฤษณา, นอแรด, งาช้าง, ไม้จันทร์, ไม้หอม)
  • ภาษีพริกไทย (เก็บจากผู้ซื้อลงสำเภา)
  • ภาษีพริกไทย (เก็บจากชาวไร่ที่ปลูกพริกไทย)
  • ภาษีฝาง
  • ภาษีไม้แดง (เก็บจากผู้ซื้อลงสำเภา)
  • ภาษีไม้แดง (เก็บจากผู้ขาย)
  • ภาษีเกลือ
  • ภาษีน้ำมันมะพร้าว
  • ภาษีน้ำมันต่างๆ
  • ภาษีกะทะ
  • ภาษีต้นยาง
  • ภาษีไต้ชัน
  • ภาษีฟืน
  • ภาษีจาก
  • ภาษีกระแซง
  • ภาษีไม้ไผ่ป่า
  • ภาษีไม้รวก
  • ภาษีไม้สีสุก
  • ภาษีไม้ค้างพลู
  • ภาษีไม้ต่อเรือ
  • ภาษีไม้ซุง
  • ภาษีฝ้าย
  • ภาษียาสูบ
  • ภาษีปอ
  • ภาษีคราม
  • ภาษีเนื้อแห้ง
  • ปลาแห้ง
  • ภาษีเยื่อเคย
  • ภาษีน้ำตาลทราย
  • ภาษีน้ำตาลหม้อ
  • ภาษีน้ำตาลอ้อย
  • ภาษีสำรวจ
  • ภาษีเตาตาล
  • ภาษีจันอับ ไพ่ เทียนไขเนื้อ และขนมต่างๆ
  • ภาษีปูน
  • ภาษีเกวียน โคต่าง
  • เรือจ้างทางโยง

การดําเนินนโยบายต่างประเทศของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเน้นเรื่องใดเป็นสําคัญ เฉลย

และในสมัยรัชกาลที่ 3 นี้ พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกอากรซึ่งเคยมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา 2 ชนิดคือ อากรรักษาเกาะ และอากรค่าน้ำ นอกจากการกำหนดให้มีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษี โดยการเพิ่มประเภทภาษีอากรที่จัดเก็บ 38 ประเภทข้างต้น พระองค์ยังได้กำหนดให้มีการปรับปรุงรูปแบบการจัดเก็บโดยการนำระบบเจ้าภาษีนายอากรมาใช้กล่าวคือ ให้มีการจัดเก็บภาษีเป็นการผูกขาดโดยเอกชน ทั้งนี้เอกชนผู้ใดประสงค์จะรับเหมาผูกขาดการจัดเก็บภาษีประเภทใด ก็จะเข้ามาร่วมประมูล ผู้ให้ราคาสูงสุดจะเป็นผู้ผูกขาดจัดเก็บ ซึ่งจะเรียกว่า เจ้าภาษีนายอากรรัฐบาลจะมอบอำนาจสิทธิขาดในการจัดเก็บภาษีอากรชนิดนั้นให้ไปดำเนินการ เมื่อถึงเวลากำหนด ผู้ประมูลจะต้องนำเงินภาษีอากรที่จัดเก็บมาส่งให้ครบจำนวนตามที่ประมูลไว้

ดังนั้น คำว่า ภาษี จึงเข้าใจว่าคงเกิดขึ้น ในรัชกาลที่ 3 นี้เอง โดยคาดคะเนกันว่า น่าจะมาจาก คำในภาษาแต้จิ๋วว่า บู้ซี อันหมายถึง สำนักเจ้าพนักงาน ทำการเก็บผลประโยชน์แผ่นดินซึ่งตั้งขึ้นจากระบบเจ้าภาษีนายอากรนี่เอง คำว่าภาษีนี้ จะใช้กับอากรที่เกิดขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อให้ฟังดู แตกต่างจากอากรเก่าที่เคยจัดเก็บมาแต่โบราณ ดังที่ปรากฎในหนังสือพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอธิบายว่า "...เกิดอากร

การดําเนินนโยบายต่างประเทศของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเน้นเรื่องใดเป็นสําคัญ เฉลย

ขึ้นใหม่ๆ ได้เงินใช้ในราชการแผ่นดิน ดีกว่ากำไรค้าสำเภา อากรเหล่านั้นให้เรียกว่า ภาษี เพราะเป็นของที่เกิดขึ้นใหม่เหมือนหนึ่งเป็นกำไร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะให้เห็นว่าเงินเก่าเท่าใด เกิดขึ้นในรัชกาลของท่านเท่าใด... การบังคับบัญชาอากรเก่าใหม่เหล่านี้ จึงได้แยกออกเป็นสองแผนก อากรเก่าอยู่ในพระคลังมหาสมบัติ อากรใหม่ซึ่งเรียกว่า ภาษี อยู่ในกรมพระคลังสินค้า คงเรียกชื่อว่าอากรอยู่ แต่หวยจีนก.ข. ซึ่งเป็นของเกิดใหม่แต่คล้ายกับอากรบ่อนเบี้ยของเดิม จึงคงเรียกว่าอากร แต่ก็คงยกมาไว้ในพวกภาษีเหมือนกัน"

ที่มา ::หนังสือที่ระลึกในการเปิดอาคารกรมสรรพากร 2 กันยายน 2540

พัฒนาการทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์

สำหรับลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์สามารถแบ่งออกได้เป็นช่วงๆดังนี้

1.               ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ( พ.ศ. 2325 – 2394 )

การดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยระหว่าง พ.ศ. 2325 – 2394 จะมุ่งเน้นไปที่การรักษาความมั่นคงของอาณาจักร และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยแบ่งเป็น

1)        ลักษณะความสัมพันธ์กับรัฐที่อยู่ใกล้เคียงในทวีปเอเชีย  มีทั้งการขยายอิทธิพลเข้าไปครอบครองเพื่อเป็นพันธมิตร การทำสงคราม และแบบรัฐบรรณาการ

1.1)              ความสัมพันธ์กับล้านนา  ในสมัยรัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 3 เป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน เช่น รัชกาลที่ 1 ทรงส่งกองทัพไปช่วยล้านนาขับไล่พม่า ทั้งยังทรงสถาปนาพระยากาวิละที่รบชนะพม่าให้เป็นพระเจ้าเชียงใหม่ โดยปกครองดูแลหัวเมืองเหนือทั้งหมด เป็นต้น

1.2)              ความสัมพันธ์กับพม่า  อยู่ในลักษณะทำสงครามสู้รบกัน โดยไทยทำสงครามกับพม่ารวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง สงครามครั้งที่มีความสำคัญที่สุด คือ สงครามเก้าทัพใน พ.ศ. 2328 แต่เมื่อพม่าเผชิญหน้ากับการคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก คือ อังกฤษ ในเวลาต่อมาก็ไม่ได้ยกทัพมาสู้รบกับไทยอีก

1.3)              ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมอญ  สมัยรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 ความสัมพันธ์จะอยู่ในลักษณะการผูกไมตรีและอุปถัมภ์พวกมอญ เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้ทรงส่งกำลังไปช่วยพระยาทวายรบกับพม่าที่เข้ามายึดครอง หลังจากปิดล้อมเมืองอยู่ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก็โปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพกลับ และพาครอบครัวชาวมอญมายังกรุงเทพฯ ด้วย หรือรัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญไปตั้งชุมชนอยู่ที่เมืองนนทบุรี ปทุมธานี และเมืองนครเขื่อนขันธุ์ (พระประแดง) ผลดีจากความสัมพันธ์ดังกล่าว นอกจากจะได้ผู้คนเพิ่มขึ้นและความจงรักภักดีแล้ว ไทยยังได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมบางประการจากชาวมอญด้วย อย่างไรก็ดี ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อเมืองมะริด ทวาย ตะนาวศรี ตกเป็นของอังกฤษ ไทยก็ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับหัวเมืองมอญอีก

1.4)              ความสัมพันธ์กับเขมร  อยู่ในลักษณะการทำสงครามเพื่อขยายอำนาจเข้าครอบครอง เพราะไทยต้องการให้เขมรเป็นรัฐกันชนระหว่างไทยกับญวน โดยในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้ทรงแต่งตั้งกษัตริย์ปกครองเขมร แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2 เขมรได้เอาใจออกห่างไทยโดยหันไปฝักใฝ่กับญวนแทน จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไปขับไล่ญวนออกจากเขมร แล้วให้ตีลงไปจนถึงไซ่ง่อน ในที่สุดไทยกับญวนก็ได้ร่วมกันแก้ไขข้อพิพาทร่วมกันโดยให้เขมรส่งบรรณาการแก่ไทยและญวนอย่างเท่าเทียมกัน ปัญหาระหว่างไทยกับญวนเรื่องเขมรจึงยุติลง

1.5)              ความสัมพันธ์กับล้านช้าง (ลาว) มีทั้งการขยายอิทธิพลเข้าไปครอบครอง การผูกมิตรไมตรี และบางครั้งก็ทำสงครามต่อกัน โดยในสมัยรัชกาลที่ 1 ล้านช้างเกิดความแตกแยกภายใน ทำให้ไทยขยายอิทธิพลเข้าไปได้ง่ายขึ้นผสมผสานกับการผูกมิตรไมตรีเพื่อให้เกิดความจงรักภักดี ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ได้คิดกบฏ ทางไทยจึงได้ยกกองทัพไปปราบ ลาวจึงตกเป็นประเทศราชของไทยเรื่อยมา จนกระทั่งต้องเสียให้แก่ฝรั่งเศสไปในภายหลังต่อมา

1.6)              ความสัมพันธ์กับญวน  ส่วนใหญ่จะเป็นการทำสงครามต่อกันเพื่อแย่งชิงเขมร โดยที่ไม่มีฝ่ายใดชนะเด็ดขาด ภายหลังเมื่อญวนเกิดข้อพิพาทกับฝรั่งเศส จึงได้เปิดเจรจากับไทย ทำให้ยุติสงครามระหว่างกันได้ และหลังจากญวนได้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสแล้วความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญวนก็ได้ยุติลงอย่างเป็นทางการ

1.7)              ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู   มีทั้งการขยายอิทธิพลเข้าไปครอบครอง การผูกมิตรไมตรี และบางครั้งก็ทำสงครามต่อกันโดยในสมัยรัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 3 ได้มีการก่อกบฏหลายครั้งในหัวเมืองมลายู แต่ไทยก็สามารถปราบได้ทุกครั้ง หลังจากนั้นก็ดำเนินนโยบายลดอำนาจการปกครองของสุลต่านแต่ละเมืองให้น้อยลง พร้อมกันนั้นก็ทำนุบำรุงหัวเมืองไทยตอนบน เช่น สงขลา พัทลุง พังงา และตรังให้เข้มแข็ง เพื่อปราบการก่อกบฏของหัวเมืองมลายู

1.8)              ความสัมพันธ์กับจีน  เป็นไปในลักษณะแบบรัฐบรรณาการ ซึ่งนอกจากไทยจะได้ประโยชน์จากการค้าขายกับจีนแล้ว ยังได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจีนหลายประการด้วย

2)        ลักษณะความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก ในช่วงแรกจะเป็นเรื่องของการติดต่อค้าขาย ในช่วงหลังจะเป็นด้านการเมือง พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาของคณะมิชชันนารี โดยชาติตะวันตกที่มีบทบาทสำคัญ มีดังนี้

2.1)   ความสัมพันธ์กับโปรตุเกส  โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย โดยจะเป็นเรื่องการผูกไมตรีทางการทูตและการติดต่อค้าขาย

2.2)  ความสัมพันธ์กับอังกฤษ  ในช่วงแรกจะเป็นความสัมพันธ์ทางการทูตและการค้า แต่ช่วงหลังจะมีความสัมพันธ์ทางการเมืองด้วย  โดยในสมัยรัชกาลที่ 2 อังกฤษได้ส่งจอห์น  ครอว์เฟิร์ด เป็นทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยเรื่องการค้า แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 อังกฤษได้ส่งร้อยเอกเฮนรี      เบอร์นีย์ เข้ามาทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์กับไทยเมื่อ พ.ศ. 2369 ผลของสนธิสัญญา ทำให้อังกฤษได้รับผลประโยชน์ทางการค้า เพราะไทยยอมเปลี่ยนแปลงระบบจัดเก็บภาษีให้เป็นการเก็บค่าปากเรืออย่างเดียวตามความต้องการของอังกฤษ และในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 3 อังกฤษได้ส่งเซอร์เจมส์ บรูค เข้ามาแก้ไขสนธิสัญญาเบอร์นีย์กับไทย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

2.3)  ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา  จะเป็นความสัมพันธ์ทางการค้าและความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม โดยผ่านคณะมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนา ชาวอเมริกันเริ่มเข้ามาค้าขายกับไทยในสมัยรัชกาลที่ 2 และเพิ่มมากขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ทำให้ไทยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมด้วย เช่น การจัดทำหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ       เป็นต้น

2.              ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยสมัยปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ( พ.ศ. 2394 – 2453 )

นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงที่ไทยต้องเผชิญกับลัทธิล่าอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตก ดังนั้น ไทยจึงต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติมิให้ตกเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตก รวมทั้งเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สำหรับลักษณะความสัมพันธ์มีอยู่หลายลักษณะ เช่น การยอมประนีประนอม การผูกมิตรไมตรี การเผชิญหน้าทางการทหาร การยอมเสียสละประโยชน์บางส่วน เป็นต้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1)        ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 อยู่ในลักษณะการยอมประนีประนอมกับชาติยุโรป โดยเฉพาะอังกฤษกับฝรั่งเศส

1.1)       ความสัมพันธ์กับอังกฤษ  เมื่ออังกฤษส่งเซอร์จอห์น เบาว์ริง เป็นทูตเข้ามาเจรจาการค้ากับไทยใน พ.ศ. 2398 จนทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ร่วมกัน ที่เรียกว่า “สนธิสัญญาเบาว์ริง” แม้ไทยจะรักษาเอกราชไว้ได้ รวมทั้งเศรษฐกิจมีความเจริญรุ่งเรือง แต่ไทยก็ต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้กับอังกฤษ

1.2)       ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศส  ในสมัยรัชกาลที่ 4 ไทยต้องยอมผ่อนปรนกับฝรั่งเศสเกี่ยวกับเขมร เพื่อป้องกันมิให้ฝรั่งเศสใช้ปัญหาเขมรเป็นข้ออ้างในการเข้ามาโจมตีและยึดครองดินแดนไทย ในที่สุดไทยได้เจรจากับฝรั่งเศส ทำให้ไทยต้องเสียดินแดนเขมรส่วนในให้กับฝรั่งเศส และฝรั่งเศสยอมรับว่าไทยมีกรรมสิทธิ์เหนือเมือง    เสียมราฐและเมืองพระตะบอง

2)        ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 มีอยู่หลายลักษณะเพื่อรักษาเอกราชของชาติเอาไว้ เช่น การเผชิญหน้าทางการทหาร ดังเช่น การทำสงครามป้องกันอาณาเขตกับฝรั่งเศส จนเกิดกรณี ร.ศ. 112 การใช้วิธีถ่วงดุลอำนาจ ดังเช่นรัชกาลที่ 5 ทรงเจรจากับอังกฤษเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับฝรั่งเศส การผูกมิตรไมตรีกับชาติอื่นๆ ดังเช่น รัสเซีย รวมทั้งการสร้างเกียรติภูมิให้เป็นที่รู้จักและยอมรับจากนานาชาติ ด้วยการที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง เป็นต้น

3.              ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2

สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเกิดขึ้นในทวีปยุโรปเป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายมหาอำนาจกลางกับฝ่ายสัมพันธมิตร ช่วงแรกไทยวางตัวเป็นกลางแต่ภายหลังก็ได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ไทยได้เรียกร้องกับชาติมหาอำนาจตะวันตกในการขอเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาในเรื่องการศาลและภาษีอาการที่เสียเปรียบ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จด้วยดี

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เช่นเดียวกัน ไทยได้ดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลายลักษณะแล้วแต่สถานการณ์บีบบังคับ เช่น การดำเนินนโยบายเป็นกลาง การถ่วงดุลอำนาจ การผูกมิตรไมตรี การเจรจาประนีประนอม การทำสงคราม เป็นต้น โดยระยะแรก ไทยใช้นโยบายวางตัวเป็นกลาง แต่เมื่อญี่ปุ่นเปิดสงครามทางเอเชียบูรพาและขอยกพลขึ้นบกในประเทศไทยเพื่อจะผ่านไปโจมตีมลายู สิงคโปร์ พม่า และจีน ซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ รัฐบาลไทยต้องยอมให้ญี่ปุ่นยกกองทัพผ่านประเทศไทยได้ และภายหลังไทยได้เข้าร่วมรบกับญี่ปุ่นด้วยการประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ โดยหวังว่าญี่ปุ่นจะช่วยเหลือให้ไทยได้ดินแดนที่เคยเสียไปในสมัยรัชกาลที่ 5 กลับคืนมา

จากการตัดสินใจของรัฐบาลไทยในขณะนั้น ได้ทำให้คนไทยที่รักชาติในหลายแห่งซึ่งมิได้เห็นพ้องกับรัฐบาลได้ร่วมกันจัดตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้นมา เพื่อปลดปล่อยประเทศไทยให้หลุดพ้นจากการครอบงำของญี่ปุ่น แต่เมื่อญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม รัฐบาลไทยได้พยายามสร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในลักษณะของการประนีประนอมและการเจรจาต่อรองทางการทูต ซึ่งทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาเอกราชไว้ได้จนถึงทุกวันนี้

4.              ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยสมัยสงครามเย็นจนถึงปัจจุบัน

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โลกได้ตกอยู่ในสภาวะสงครามเย็น ซึ่งเป็นสงครามอุดมการณ์ทางการเมืองและการปกครองระหว่างกลุ่มประเทศในโลกเสรีประชาธิปไตยและกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ ซึ่งต่างฝ่ายก็แข่งขันกันขยายอิทธิพลไปยังทวีปต่างๆ ดังนั้นลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในช่วงนี้ จึงใช้การผูกมิตรไมตรีกับประเทศโลกเสรีต่างๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ขณะเดียวกันก็ต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างเปิดเผย โดยเฉพาะกับสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐประชาชนจีน และเวียดนาม ดังเช่น การส่งทหารไทยไปเข้าร่วมรบกับสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรในสงครามเวียดนาม แต่ต่อมาเมื่อสหรัฐอเมริกาหวนกลับไปสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ดังนั้น ไทยจึงได้เปลี่ยนแปลงลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเสียใหม่ ด้วยการผูกมิตรไมตรีกับประเทศคอมมิวนิสต์ เช่น การที่ไทยให้การับรองประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนแทนสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) หรือให้การรับรองรัฐบาลคอมมิวนิสต์เขมรแดงของนายเขียว สัมพัน ที่เข้ายึดกรุงพนมเปญใน พ.ศ. 2518 เป็นต้น ขณะเดียวกันก็อาศัยพึ่งพาสหรัฐอเมริกาทั้งทางด้านการทหาร เศรษฐกิจ และวิทยาการเทคโนโลยี

จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามเย็น ไทยได้มุ่งพัฒนาประเทศด้วยการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ดังเช่น ไทยได้ร่วมกับสมาชิกกลุ่มอาเซียนทำข้อตกลงเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา (Asian Free Trade Area – AFTA) เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างกันในกลุ่มเมื่อ พ.ศ. 2535 และใน พ.ศ. 2537 ไทยได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization – WTO) รวมทั้งมีส่วนร่วมในการรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออกและอิรักในนามขององค์การสหประชาชาติร่วมกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ด้วย เป็นต้น

เนินนโยบายต่างประเทศของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเน้นเรื่องใดเป็นสำคัญ

๓.นโยบายด้านการต่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ มีการใช้นโยบายทางการทูตแบบผ่อนปรนเพื่อรักษาผลประโยชน์โดยส่วนรวมเอาไว้ โดย ความสัมพันธ์กับชาวตะวันตกจะผ่อนปรนในเรื่องเกี่ยวกับศาสนาและการยอมเสียดินแดนบางส่วนเพื่อแลก กับการรักษาอำนาจอธิปไตยโดยรวมของประเทศเอาไว้

หลักฐานชั้นต้นในสมัยรัตนโกสินทร์คือข้อใด

หลักฐานทางประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ 1. หลักฐานชั้นต้น เช่น พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ หนังสือประชุมพงศาวดาร ประชุม หมายรับสั่งสมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุ กฎหมายตราสามดวง ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 และราชกิจจา นุเบกษา พระราชหัตถเลขา

ข้อใดเป็นการจัดระเบียบการปกครองของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ลักษณะการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จนถึง รัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยโดยมีมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิด

ข้อใดเป็นบทบาทของกษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์

4. บทบาทของพระมหากษัตริย์ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นอย่างไร บทบาทของพระมหากษัตริย์ในยามบ้านเมืองเป็นปกติสุข ทรงทาหน้าที่พัฒนาบ้านเมืองทั้งด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ให้เจริญก้าวหน้า ในยามศึกสงคราม ทรงตั้งกองทัพออกสู้รบ เพื่อปกป้องบ้านเมือง