แบบเรียนเล่มแรกของไทย คือเล่มใด

ประเด็นคือ- กรมศิลปากรนำหนังสือจินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี กรุงศรีอยุธยา ที่จัดพิมพ์ใหม่2561 จำหน่ายในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46 เป็นครั้งแรก เพียงชั่วโมงแรกขายหมด400 เล่ม

นางสาวอรสรา สายบัว ผู้อำนวยการสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร เปิดเผยกับทีมข่าวเวิร์คพอยท์ ถึงกระแสความนิยมซื้อหนังสือ “จินดามณี” สมัยอยุธยา เล่ม 1 ที่แต่งโดยพระโหราธิบดี ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยกรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช 2561 ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 ซึ่งจัดขึ้นในวันนี้ (29 มี.ค.61) เป็นวันแรกว่า หนังสือจินดามณีได้รับความนิยมจากนักอ่านและแฟนละครบุพเพสันนิวาสเป็นอย่างมาก ซึ่งเพียงชั่วโมงแรกของการเปิดงานสามารถจำหน่ายได้ถึง 400 เล่ม ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักอ่าน และยอมรับว่าเกินคาดการณ์ของเจ้าหน้าที่ในการเตรียมหนังสือมาจำหน่าย

แบบเรียนเล่มแรกของไทย คือเล่มใด

สำหรับการจัดพิมพ์หนังสือ จินดามณี สมัยอยุธยา เล่ม 1 ที่แต่งโดยพระโหราธิบดี ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช 2561 นี้ เพื่อจำหน่ายในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติปีนี้ มีทั้งหมด 4,500 เล่ม แบ่งเป็นชนิดปกอ่อน 3,500 เล่ม และปกแข็ง 1,000 เล่ม

ส่วนราคาในการจำหน่ายชนิดปกอ่อน เล่มละ 100 บาท, ปกแข็ง เล่มละ 130 บาท ผู้ที่สนใจสามารถซื้อได้ที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 (Bangkok International Book Fair 2018) ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม ถึง 8เมษายน 2561 ณ บูธ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม x18 โซนเมนฟอร์เย่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

แบบเรียนเล่มแรกของไทย คือเล่มใด

ผู้อำนวยการสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ยังกล่าวอีกว่า หนังสือจินดามณีเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทย ในลักษณะแบบเรียนชั้นสูง ผู้ที่เรียนส่วนใหญ่มักเป็นผู้จะเข้ารับราชการ, นักประพันธ์แต่งกวี จึงจะสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย ซึ่งหนังสือจินดามณีนั้นมีหลายสำนวน เชื่อว่าแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง โดยพระโหราธิบดี ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (แต่บางข้อมูลเชื่อว่าอาจจะแต่งก่อนหน้านั้นนับร้อยปี คือ แต่งในรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ) และจากการที่จินดามณีของพระโหราธิบดี เป็นแบบเรียนไทยมาก่อนจนเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของแบบเรียนไทย ทำให้หนังสือแบบเรียนไทยในยุคต่อมาหลายเล่มใช้ชื่อตามว่า “จินดามณี” เช่นเดียวกัน เช่น จินดามณีฉบับความแปลก จินดามณีครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท จินดามณีฉบับพิมพ์ของหมอสมิท และจินดามณีฉบับพิมพ์ของหมอบรัดเล

แบบเรียนเล่มแรกของไทย คือเล่มใด

นอกจากเนื้อหาครอบคลุมเรื่อง การใช้สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ การแจกลูก การผันอักษร อักษรศัพท์ อักษรเลข การสะกดการันต์ การแต่งคำประพันธ์ ชนิดต่าง ๆ และกลบท ปรากฏกลบท อยู่ 60 ชนิดแล้ว ยังประกอบด้วยคุณค่าเชิงวรรณคดีและอักษรศาสตร์ ยังเป็นต้นแบบของหนังสือแบบเรียนไทยที่แต่งขึ้นในชั้นหลังอีกด้วย

สามารถอ่านหนังสือจินดามณี ได้ที่ (ฉบับE-Book) : http://www.digitalcenter.finearts.go.th/book-detail/2476#.WrtZqi5ua00

สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีตัวอักษรไทยเกิดขึ้น แต่ยังไม่มีแบบเรียนไทย ซึ่งสันนิษฐานว่า แบบเรียนไทยสมัยสุโขทัยคงเป็นแบบเรียนภาษาอื่น อาทิ ภาษาบาลี และภาษาเขมร เป็นต้น

ข้อความศิลาจารึกไม่น่าถือว่าเป็นแบบเรียน ควรเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และวรรณคดีมากกว่า

หนังสือ “ประวัติกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2435 – 2507” กล่าวถึงประวัติการศึกษาไทย ดังนี้ :

“การศึกษาได้จัดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี (พ.ศ. 1781 – 1921) แต่เป็นการศึกษาแผนโบราณ ซึ่งเจริญรอยสืบต่อมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยกรุงสุโขทัย รัฐและวัดรวมกันเป็นศูนย์กลางแห่งประชาคม กิจกรรมต่างๆ ของรัฐและวัดย่อมเป็นการสอนประชาคมไปในตัว วิชาที่เรียนคือภาษาบาลี ภาษาไทยและวิชาสามัญขั้นต้น สํานักเรียนมี 2 แห่ง แห่งหนึ่งคือวัด เป็นสํานัก เรียนของบรรดาบุตรหลานขุนนางและราษฎรทั่วไป มีพระที่เชี่ยวชาญภาษาบาลีเป็นครูผู้สอน เพราะสมัยนั้นเรียนภาษาบาลีกันเป็นพื้น ใครรู้พระธรรมวินัยแตกฉานก็นับว่าเป็นปราชญ์ อีกแห่งหนึ่งคือ สํานักราชบัณฑิตซึ่งสอนแต่เฉพาะเจ้านายและบุตรหลานข้าราชการเท่านั้น”

สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยังไม่มีแบบเรียนไทยเป็นแบบแผนแน่นอน การศึกษาทั่วไปตกอยู่กับวัด ราษฎรมักพาบุตรหลานไปฝากพระภิกษุเพื่อเรียนหนังสือไทยและบาลีตามสมควรเพื่อเตรียมตัวไว้เมื่อเติบใหญ่จะได้สะดวกแก่การอุปสมบท

ในสมัยนั้น วัดเป็นโรงเรียน พระภิกษุเป็นครูและที่เรียนคือกุฏิพระ

รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นสมัยที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางการศึกษามาก เพราะมีการติดต่อกับชาวต่างชาติชาวตะวันตก โดยเฉพาะบาทหลวงฝรั่งเศสซึ่งเดินทางเข้ามาสอนศาสนาคริสต์ในกรุงศรีอยุธยาได้ตั้งโรงเรียนสอนหนังสือแก่เด็กไทยด้วย

ดังนั้น ในรัชกาลดังกล่าวจึงมีการเรียนการสอนทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ นั่นคือนอกจากภาษาบาลี สันสกฤตและเขมรแล้ว ยังมีภาษาฝรั่งเศส มอญและจีนอีกด้วย

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระราชดําริว่า ถ้าไม่เอาธุระจัดการศึกษาให้รุ่งเรืองก็จะเสียเปรียบฝรั่งเศสที่เข้ามาตั้งโรงเรียนสอนหนังสือและเผยแพร่ศาสนาคริสต์

พระองค์ทรงเกรงว่าคนไทยจะหันไปเข้ารีตและนิยมแบบฝรั่ง จึงมีรับสั่งให้พระโหราธิบดี แต่งตําราเรียนหนังสือไทยขึ้นมาเล่มหนึ่ง เพื่อคนไทยจะได้มีแบบเรียนของตนเอง นั่นคือ “จินดามณี” ซึ่งเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทย

แบบเรียนเล่มแรก ?

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้เกี่ยวกับหนังสือ “จินดามณี” ดังนี้

“จินดามณี เป็นตําราเรียนหนังสือไทย แต่งไว้พิสดารตั้งแต่หัดอ่านเขียนจนถึงหัดแต่งโคลงฉันทกาพย์กลอนบอกไว้ในตํานานนั้นว่า พระโหราชาวเมืองโอฆบุรี (คือเมืองพิจิตร) เป็นผู้แต่ง…ด้วยปรากฏในเรื่องพงศาวดารรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ว่า เมื่อพวกบาทหลวงฝรั่งเศสเข้ามาตั้งสอนศาสนาคริสตัง ในพระนครศรีอยุธยานั้น มาตั้งโรงเรียนขึ้นสําหรับสอนหนังสือแก่เด็กไทยด้วย อาศัยเหตุนั้นเห็นว่าคง เป็นเพราะสมเด็จพระนารายณ์ทรงพระราชดําริว่า ถ้าฝ่ายไทยเองไม่เอาธุระจัดบํารุงการเล่าเรียนให้รุ่งเรืองก็จะเสียเปรียบฝรั่งเศส พระโหราฯ คงเป็นปราชญ์มีชื่อเสียงว่าเชี่ยวชาญอักขรสมัย อยู่ในครั้งนั้น สมเด็จพระนารายณ์จึงมีรับสั่งให้เป็นผู้แต่งตําราสอนหนังสือไทยขึ้นใหม่”

“จินดามณี” เป็นแบบเรียนไทยสมัยอยุธยาเล่มเดียวเท่านั้นที่เหลือตกทอดปรากฏเป็นหลักฐานมาจนทุกวันนี้

ในหอสมุดแห่งชาติปรากฏว่าหนังสือ “จินดามณี” มีหลายฉบับและมีความแตกต่างไปจากเดิม ทั้งนี้เพราะใช้เป็นตําราแบบเรียนภาษาไทยกันอย่างแพร่หลายมาแต่สมัยอยุธยา ซึ่งยังไม่มีเครื่องพิมพ์จึงได้แต่คัดลอกลายมือกันต่อมา ซึ่งย่อมจะคลาดเคลื่อนจากต้นฉบับเดิม

ธนิต อยู่โพธิ์ ได้ชําระสอบสวนและทําเชิงอรรถข้อความที่แตกต่างกันพร้อมกับแบ่งประเภทของหนังสือ “จินดามณี” ไว้ 4 ประ เภท ดังนี้ :

1. “จินดามณี” ฉบับความแปลก คือ เป็นฉบับที่มีข้อความแปลกไปจาก “จินดามณี” ฉบับอื่น ๆ มีอยู่ 2 ฉบับคือ ฉบับสมเด็จพระ เจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ประทาน 1 เล่ม (หมายเลขที่ ๑) และฉบับที่เป็นสมบัติเดิมของหอสมุดแห่งชาติ 1 เล่ม (หมายเลขที่ 1/ก) ทั้งสองเล่มนี้เป็นสมุดไทยดำเส้นรง

2. “จินดามณี” ฉบับความพ้อง คือ ฉบับที่มีข้อความพ้องกันเป็นส่วนมาก มีหลายเล่มสมุดไทย หอสมุดแห่งชาติซื้อไว้บ้าง มีผู้ให้บ้าง เข้าใจว่าบางเล่มตรงกับที่หมอสมิทเคยได้ไปทำต้นฉบับพิมพ์จำหน่ายที่โรงพิมพ์ครูสมิทบางคอแหลม จ.ศ. 1232 (พ.ศ. 2413)

3. “จินดามณี” ฉบับพระนิพนธ์กรมหลวงวงษาธิราชสนิท คือฉบับที่เป็นบทนิพนธ์ใหม่สมัยรัตนโกสินทร์ เป็นคําโคลง กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงแต่งตามรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้กุลบุตรและกุลธิดาได้เล่าเรียน โดยยึดถือเอา “จินดามณี” ของพระโหราธิบดีเป็นหลักในการแต่ง

4. “จินดามณี” ฉบับหมอบรัดเลย์ รวบรวมพิมพ์จําหน่าย คือฉบับที่มีทั้งประถม ก กา แจกลูก กับประถมมาลาและปทานุกรม พิมพ์รวมอยู่ในเล่มเดียวกัน “จินดามณี” ฉบับหมอบรัดเลย์รวบรวมนี้ ต่อมาโรงพิมพ์พานิชศุภผล ได้เอามาพิมพ์จําหน่ายอีกเมื่อ ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448)

ดังนั้น กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการจึงถือว่า “จินดามณี” เป็นแบบเรียนไทยเล่มแรกและเป็นแม่บทของแบบเรียนสมัยต่อมาอีกหลายเล่มที่แพร่หลายตั้งแต่สมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น

แบบเรียนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ในช่วงตอนต้นสมัยยังคงใช้หนังสือ “จินดามณี” เป็นแม่บท แต่ปรากฏว่ามีแบบเรียนเกิดขึ้นใหม่อีกเล่มหนึ่งนั่นคือ “ประถม ก กา” แจกลูกสำหรับพึ่งหัดเรียน

หนังสือ “ประถม ก กา” พิมพ์ที่โรงพิมพ์ครูสมิท ตำบลบางคอแหลม ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งและไม่รู้ว่าแต่งเมื่อใด

สันนิษฐานว่าแต่งในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อใช้เป็นแบบเรียนเบื้องต้น โดยนำเอาแบบแผนของหนังสือ “จินดามณี” มาปรับปรุงให้ง่ายขึ้น และแต่งคำประพันธ์ประกอบเรื่องสำหรับช่วยให้อ่านแตกฉานและจดจำง่าย

หนังสือ “ประถม ก กา” ต่อมามีผู้แต่งขึ้นเลียนแบบอีก เรียกชื่อเหมือนกันบ้าง เพี้ยนไปบ้าง ลักษณะการแต่งเป็นคำกลอนและกาพย์เริ่มแต่ แม่ ก กา ไปจนถึงแม่เกยมารวมไว้เป็นบทๆ

หนังสือ “ประถม ก กา” รุ่นหลังมีหลายฉบับด้วยกัน อาทิ ฉบับของเจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ (หม่อมราชวงศ์จิต สุทัศน์ ณ อยุธยา) พิมพ์ที่โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ เมื่อ ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2549) ซึ่งรวบรวมขึ้นสำหรับชั้นมูลศึกษา

นอกจาก “ประถม ก กา” จะใช้เป็นแบบเรียนแล้ว ยังมีแบบเรียนอีกเล่มหนึ่งถัดมาคือ “ประถมมาลา” หรือ “ปถมมาลา”

เชื่อกันว่าผู้แต่ง “ประถมมาลา” คือ พระเทพโมลี (ผึ้งหรือพึ่ง) แห่งวัดราชบูรณะ ในสมัยรัชกาลที่ 3

หนังสือ “ประถมมาลา” เป็นหนังสือที่จัดเป็นเบื้องกลาง ผู้เรียนต้องแจกลูกและผันอักษรได้ก่อนแล้วจึงอ่านเป็นทำนอง แบบเรียนเล่มนี้แต่งไว้เป็นคำกาพย์ เริ่มตั้งแต่ แม่ ก กา ถึงแม่เกย มีคำอธิบายวิธีอ่านและเรียนขอมและมีคำอธิษฐานของผู้แต่งซึ่งกล่าวถึงลักษณะแต่งโคลงตอนท้ายเล่มอีกด้วย

นอกจากแบบเรียนดังกล่าวมาแล้วคือ “จินดามณี” “ประถม ก กา” และ “ประถมมาลา” ยังมีแบบเรียนอื่นๆ อีก อาทิ “อักษรนิติ์” ซึ่งแต่งโดยพระอมราภิรักขิต (เกิด อมโร) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อศิษยานุศิษย์ของท่านได้ศึกษาเล่าเรียนแต่ไม่แพร่หลายเท่ากับแบบเรียน 3 เล่มข้างต้น

กฤษณา สินไชย และรัตนา ฦาชาฤทธิ์ กล่าวว่า “หนังสือที่เรียนในเบื้องต้นส่วนมาก ใช้ประถม ก กา ซึ่งเป็นหนังสือที่หาไม่ได้ง่ายๆ เพราะครั้งนั้น ยังไม่มีการพิมพ์ โดยคัดลอกมาจากครูหรือพอจะหาได้จากพวกสมุดข่อย เมื่ออ่านหนังสือแตกแล้วก็อ่าน สุบินฑกุมาร ประถมมาลา จินดามณี แล้วจึงอ่านหนังสือประกอบอื่นๆ ต่อไป มีเสือโค จันทรโครบ สังข์ทอง กากี พระยาฉันททันต์ สวัสดิรักษา ที่สูงขึ้นไปถึงชั้นวรรณคดีก็อ่านอนิรุธคำฉันท์ สมุทรโฆษคำฉันท์”

ร้อยเอกเจมส์ โลว์ ชาวอังกฤษรับราชการอยู่เกาะปีนัง ได้คิดทำตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2371 และได้พิมพ์หนังสือที่เขาแต่งขึ้นเองคือตำราไวยากรณ์สำหรับชาวต่างประเทศเรียนเล่มหนึ่ง

ดร. ดี.บี. บรัดเลย์ หรือหมอบรัดเลย์ ได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นและคิดทำตัวอักษรไทยสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2380 แต่ต้องส่งไปหล่อตัวพิมพ์ที่เมืองนอก

พ.ศ. 2384 หมอบรัดเลย์ สามารถหล่อตัวพิมพ์อักษรไทยได้เองเป็นครั้งแรก หนังสือที่พิมพ์ทั้งหมดล้วนแต่เป็นหนังสือสอนศาสนาคริสต์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงผนวชอยู่วัดบวรนิเวศทรงโปรดฯ ให้สั่งเครื่องพิมพ์มาตั้งที่บวรนิเวศ เพื่อพิมพ์หนังสือทางพระพุทธศาสนา

ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์แล้วทรงโปรดฯ ให้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในพระบรมมหาราชวังเรียกว่า “โรงพิมพ์หลวง” แต่ก็ยังมิได้พิมพ์หนังสือแบบเรียนแม้แต่น้อย

แบบเรียนหลวง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้มีการปฏิรูปการศึกษาโดยตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรก ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2414 โดยมีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก

หลักสูตรที่สอนในโรงเรียนหลวงได้แก่ การอ่าน การเขียน การสะกดตัวลายมือ การคัดสําเนาหนังสือ การเขียนจดหมาย เครื่องหมายวรรคตอนและไวยากรณ์

พระยาศรีสุนทรโวหาร ได้แต่งหนังสือแบบเรียนหลวงขึ้นใช้เป็นหลักสูตรในโรงเรียนหลวง 6 เล่ม คือ

1. มูลบทบรรพกิจ
2. วาหนิติ์นิกร
3. อักษรประโยค
4. สังโยคพิธาน
5. ไวพจน์พิจารณ์
6. พิศาลการันต์

หนังสือ 6 เล่มนี้ เป็นหนังสือชุดเรียกว่า “แบบเรียนหลวง” ดังนั้นคําว่า “แบบเรียน” จึงเพิ่งมีเรียกและใช้กันตั้งแต่ พ.ศ. 2414 เป็นต้นมา

พ.ศ. 2427 มีการสอบไล่หนังสือไทยขึ้นเป็นปีแรกในโรงเรียนพระตําหนักสวนกุหลาบ โดยกําหนดให้เรียนรู้จากหนังสือแบบเรียนหลวงทั้ง 6 เล่มดังกล่าว ดังประกาศการเรียนหนังสือสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งออก ณ วันศุกร์ เดือนสามขึ้นสองค่ำ ปีระกา สัปตศก จุลศักราช 1247 (พ.ศ. 2428) มีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า

“กําหนดวิชาที่จะไล่นั้น ชั้นประโยคต้นจะสอบวิชาตลอดแบบเรียนหลวงทั้งหกเรื่อง คือแต่มูลบทบรรพกิจจนจบพิศาลการันต์ ถ้าผู้ใดไล่ได้ตลอดก็จะได้หนังสือสําหรับตัวใบหนึ่ง ลงชื่อข้าหลวงพร้อมกับรับรองว่าผู้นั้นเป็นคนมีความรู้จริง…”

ต่อมาโรงเรียนพระตําหนักสวนกุหลาบ ได้เพิ่มวิชาที่เรียนขึ้นอีกคือสอนวิชาความรู้ ต่าง ๆ ที่ต้องการใช้สําหรับเสมียนในราชการ พลเรือนตามกระทรวงต่าง ๆ ด้วย

พ.ศ. 2428 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯ ให้จัดการสอนเป็น 2 ชั้น โดยอนุโลมเรียกตามวิธีสอบพระปริยัติธรรมคือเรียกการสอบครั้งแรกซึ่งจัดเป็นชั้นต่ำว่า “ประโยค 1” และเรียกการสอบที่ตั้งขึ้นใหม่ซึ่งจัดเป็น ชั้นสูงว่า “ประโยค 2”

การเรียนสําหรับสอบไล่ประโยค 1 ใช้หนังสือมูลบทบรรพกิจจนถึงพิศาลการันต์ เมื่อสอบไล่ได้ประโยค 1 แล้ว ถ้าไม่ออกทํางานก็เข้าเรียนประโยค 2 ต่อไปได้ วิชาประโยค 2 มี 8 อย่างคือคัดลายมือ เขียนตามคําบอกทานหนังสือแต่งจดหมาย แต่งแก้กระทําความ ย่อความ เลขและบัญชี

“แบบเรียนหลวง” ชุดดังกล่าวมีความสําคัญต่อประวัติการศึกษาของชาติมาก เพราะเป็นแบบเรียนหลวงชุดแรกที่ใช้เป็นแบบหัดอ่านเบื้องต้นของนักเรียนเมื่อ 100 ปีก่อน แทนที่จะสอนกันอย่างไม่มีแบบแผนตั้งแต่สมัยกาลก่อน และเพราะก่อนหน้านั้นขึ้นไปไม่มี “แบบเรียนหลวง” ซึ่งทางราชการจัดพิมพ์ขึ้นเป็นมาตรฐานดังที่กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ดําเนินการจัดทําอยู่ดังทุกวันนี้

นอกจาก “แบบเรียนหลวง” ชุดนี้แล้ว พระยาศรีสุนทรโวหาร ยังได้แต่งหนังสืออีกหลายเล่ม เพื่อใช้ประกอบแบบเรียนหลวง” ชุด 6 เล่ม ได้แก่ ไวพจน์ ประพันธ์ ปกีรณำ-พจนาดถ์ อุไภยพจน์ นิติสารสาธก อนันตวิภาค ต้นรําพรรณนามพฤกษา และสัตวาภิธาน สําหรับใช้เรียน

วิชาที่เรียนรองลงมาจากภาษาไทยได้แก่ เลข หนังสือเลขรุ่นแรก ๆ มักเขียนโดยชาวต่างประเทศ เช่น ตําราคิดเลขของมิสเตอร์ รอบินซอนและตําราเลขอย่างฝรั่งของหมอแวนได เป็นต้น

พ.ศ. 2427 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงสําหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรกคือ โรงเรียนวัดมหรรพาราม และในปีรุ่งขึ้นพระองค์ ทรงโปรดฯ ให้ขยายโรงเรียนหลวงสําหรับ ราษฎรออกไปตามมณฑลต่างๆ ทั่วประเทศทั้งหมด 34 แห่ง

แบบเรียนเร็ว

เมื่อโรงเรียนหลวงจัดตั้งขึ้นแพร่หลายตามวัดต่างๆ ทั่วประเทศแล้ว ปรากฏว่าการศึกษาเล่าเรียนของไทยเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯให้ประกาศตั้ง “กรมศึกษาธิการ” เป็นกรมหนึ่งในราชการฝ่ายพลเรือน โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาคํารงราชานุภาพ ทรงบัญชาการกรมศึกษาธิการ ในพ.ศ. 2430 และทรงโปรดฯให้โอนโรงเรียนต่างๆ ที่มีอยู่มาขึ้นกับกรมศึกษาธิการ ทั้งหมด

“แบบเรียนหลวง” ชุด 6 เล่มของพระยาศรีสุนทรโวหารที่ใช้เป็นแบบเรียนมาตลอด ตั้งแต่ พ.ศ. 2414 ก็ถูกยกเลิกมิให้ใช้เป็นแบบเรียนโดยประกาศของกรมศึกษาธิการเมื่อ พ.ศ. 2431 อีกต่อไป เนื่องจากเหตุผลว่าลูกชาวไร่ชาวนาที่เรียนแบบเรียนหลวง ไม่สามารถอ่านออกและเขียนได้ เพราะมีโอกาสเรียนเพียงปีละ 3 เดือน พอถึงฤดูทํานาก็ต้องกลับไปช่วยพ่อแม่ทํานา เมื่อเสร็จการทํานาก็กลับมาเรียนใหม่ ซึ่งก็ลืมของเก่าที่เคยเรียนมาหมด ต้องตั้งต้นกันใหม่อีก

ทั้งนี้ โดยให้เปลี่ยนมาใช้หนังสือ “แบบเรียนเร็ว” ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ขึ้นใหม่เป็นชุดแทน เพื่อให้อ่านได้ภายใน 3 เดือน จําได้ง่ายและจับใจเด็ก

หนังสือ “แบบเรียนเร็ว” ชุดนี้มี ๓ เล่มคือ “แบบเรียนเร็วเล่ม ๑” “แบบเรียน เร็ว เล่ม ๒” และ“แบบเรียนเร็ว เล่ม ๓” เริ่ม ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๑ แต่ปรากฏว่ายังมี การเรียนการสอนโดยใช้ “แบบเรียนหลวง” ชุด 5 เล่มในโรงเรียนบางแห่ง เพราะไม่มีการ บังคับใช้ “แบบเรียนเร็ว” ทั้งหมด

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ว่า “แบบเรียนเร็วทั้ง 3 เล่มนี้ แม้ข้าพเจ้าเป็นผู้คิดเองแต่งเองและได้ตรวจตราแก้ไขเอง แต่ก็ได้อาศัยเจ้าพนักงานในกรมศึกษาธิการเป็นผู้ช่วยอีกหลาย คนคือ หม่อมเจ้าประภากร และพระยาวิสุทธ์ สุริยศักดิ์แต่งโดยมาก เพราะข้าพเจ้าทําไว้ได้ หน่อยหนึ่งก็ต้องไปราชการประเทศยุโรป ได้มอบ ให้พระยาวิสุทธ์สุริยศักดิ์ทําต่อมาจนสําเร็จใน เวลาข้าพเจ้าไม่อยู่นั้น ในขั้นแรก ได้แนะนําวิธีให้ขุนบัญญัติวรวาท (รัตน์) เป็นผู้สอนในชั้น เมื่อได้ตั้งโรงเรียนเร็วได้ให้ขุนประสารอักษรพรรณ์ (เสงี่ยม) เป็นผู้สอน ต้องอาศัยความฉลาดและความหมั่นของผู้เป็นครูด้วยจึงสอนได้เร็ว”

ส่วนภาษาอังกฤษได้ใช้หนังสือชุดบันได (Ladder of Knowledge Series) หรือที่เรียกว่า “Fifty Steps in English” ของเซอร์ โรเบิร์ต มอแรนต์ เป็นหลัก ซึ่งได้เรียบเรียงขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2433 มีคำอธิบายทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยเป็นหนังสือชุดมี 5 เล่ม เรียกว่าบันไดเล่ม 1 บันไดเล่ม 2 เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังปรากฏว่า ในพ.ศ. 2433 มีการสอนแบบเรียนภาษาไทยในชั้นประโยค 3 ซึ่งกรมศึกษาธิการให้มีการเรียนภาษาไทยเพิ่มขึ้นเป็น 3 ประโยคจากเดิม 2 ประโยคซึ่งก็คือระดับประถมศึกษาในสมัยนั้น ภาษาไทยที่ต้องเรียนในชั้นประโยค 3 ซึ่งก็ระดับมัธยมในสมัยนั้น ภาษาไทยที่ต้องเรียนในชั้นประโยค 3 ซึ่งก็คือระดับมัธยมในสมัยนั้น ได้แก่ อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ และฉันทลักษณ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯให้ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นโดยรวมเอากรมศึกษาธิการกับกรมธรรมการซึ่งมีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาเข้าเป็นกระทรวงเดียวกัน เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 และได้มีการประกาศตั้งโรงเรียนมูลศึกษาขึ้นในวัดทั่วไปทั้งในเมืองหลวงและหัวเมือง

แบบเรียนภาษาไทยยังคงใช้ “แบบเรียนเร็ว เล่ม 1-2-3” และอักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ และฉันทลักษณ์ เช่มเดิมเป็นหลักซึ่งยังประโยชน์ทั้งการอ่าน เขียนลายมือ เขียนตามคำบอกและเรียนรู้เรื่องไวยากรณ์ควบคู่กันไป

แต่ก็ได้มีแบบเรียนภาษาไทยเพิ่มเติมเข้ามาอีกคือ “หนังสือวิชาน่ารู้เรื่องตัวของเราเอง” “พระราชพงศาวดารย่อตอนกรุงเก่า” “พระราชพงศาวดารพิสดารเล่ม 1” และ “พระราชพงศาวดารพิสดาร เล่ม 2”

นอกจากนี้ ยังกำหนดให้เรียนภูมิศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ฟิสิกส์ กลศาสตร์ สรีรวิทยา และ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ อีกด้วยให้ทันกับยุคสมัย มิใช่เรียนแต่วิชาภาษาไทยอย่างเดียวดังแต่กาลก่อน อีกทั้งยังได้มีการปรับปรุงระบบการศึกษาใหม่ตามแบบอย่างต่างประเทศ

แบบเรียนใหม่

คณะราษฎรได้เข้ายึดอํานาจและเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. 2475 รัฐบาลในสมัยนั้นได้ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ อันทําให้แบบเรียนได้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านภาษาไทย

พ.ศ. 2476 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้มอบลิขสิทธิ์หนังสือแบบเรียนภาษาไทย ชื่อว่า “แบบเรียนใหม่” ให้กระทรวงศึกษาธิการ หนังสือ “แบบเรียนใหม่” นี้ แบ่งเป็น 2 ภาค คือ “แบบเรียนใหม่ ภาค 1” และ แบบเรียนใหม่ ภาค 2” มีคําอธิบายวิธีสอนไว้อย่างชัดเจนและแต่ละบทยังมีวิธีสอนกํากับอีกด้วย การสอนมุ่งการฝึกปฏิบัติให้ได้ผลจริงจัง

นอกจากนี้ พระยาธรรมศักดิ์มนตรี ยังได้แต่งแบบสอนอ่านใหม่อีกชุดหนึ่งเพื่อประกอบการเรียนหนังสือชุดนี้มีด้วยกัน 7 เล่ม เนื้อหาในชุดแบบสอนอ่านทั้ง 7 เล่มนี้ มุ่งสร้างเสริมความเป็นพหูสูตรให้เด็กทุกระ ดับชั้น ตลอดจนมุ่งอบรมให้นักเรียนเป็นพล เมืองที่มีสมรรถภาพและเป็นที่ต้องการของ สังคมไทย และกระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้ใช้ในโรงเรียนได้

พระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้แสดงเจตจํานงไว้ว่า “ข้าพเจ้าเชื่อว่าการอบรมพลเมืองควรเป็นไปในทางอบรมให้มีน้ำใจเป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นนักกีฬา และเป็นพลเมืองดี ประการต้นจะให้คนอยู่ในอํานาจแห่งเหตุผล และประการที่ 2 ที่ 3 จะให้คนเป็นที่ไว้ใจได้ ถ้าใครประกอบด้วยคุณธรรมทั้ง 3 ประการนี้แล้ว ผู้นั้น จะเป็นนายเป็นบ่าว เจ้าหรือเป็นข้าก็ควรใช้ได้ทั้งนั้น”

ใน พ.ศ. 2476 แบบเรียนที่ขออนุญาตใช้ในโรงเรียนนั้น กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้แต่เฉพาะในการพิมพ์คราวหนึ่ง ๆ เท่านั้น เมื่อต้องการพิมพ์ใหม่อีกคราวใด เจ้าของแบบเรียนจะต้องขออนุญาตใหม่ทุกคราวไป

การขออนุญาตใช้แบบเรียนในโรงเรียนเมื่อก่อนนี้ ผู้ขออนุญาตต้องเสียค่าตรวจ ต่อมา เมื่อสมัยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ธรรมเนียมเสียค่าตรวจได้ยกเลิก แต่ต้องส่งหนังสือที่พิมพ์แล้วให้แก่กระทรวงศึกษาธิการคราวละ 25 เล่ม

กระทรวงศึกษาธิการได้แก้ไขหลักสูตร และประมวลการสอนขั้นต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ในวิทยาการและปฏิบัติการสูงขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งทําให้แบบเรียนไทยได้รับการปรับปรุงทั้งเนื้อหาและวิชามากขึ้น อีกทั้งทันสมัยขึ้นกว่าแต่ก่อน รู้จักใช้ภาพประกอบที่มีสีสด ตัวหนังสือชัดเจน เช่น แบบสอนอ่านชุด “สุดา คาวี” ของ อภัย จันทวิมล ซึ่งดัดแปลงมาจากหนังสือเรียนชุด Janet and John ซึ่งใช้อยู่ในนิวซีแลนด์ แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ “มาดูอะไร” “ไปเล่นด้วยกัน” “ออกไปข้างนอก” และ “ฉันออกจากบ้าน”

การพิมพ์แบบเรียน

กระทรวงศึกษาธิการได้ออกระเบียบ กระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2493 ว่าด้วยการจัดทําตำราและแบบเรียนขึ้น โดยมีสาระสําคัญดังนี้

“ต่อไปนี้ บรรดาหนังสือที่ใช้ในโรงเรียนได้จะต้องเป็นแบบเรียนที่ชนะการประกวด หรือเป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่เห็นสมควรเรียบเรียงขึ้นเองเท่านั้น กําหนดให้ผู้ทรงคุณวุฒิของกระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่พิจารณาแบบเรียนและกําหนดวิธีการจัดแบบเรียนตามนโยบาย”

ทั้งนี้ ให้โรงพิมพ์คุรุสภาจัดพิมพ์ได้แห่งเดียว ส่วนการพิมพ์ของโรงพิมพ์เอกชนให้ระงับ ครั้นเมื่อตั้งกรมวิชาการเมื่อ พ.ศ. 2495 แล้ว งานนี้ก็ตกเป็นหน้าที่ของกรมวิชาการเรื่อยมา ซึ่งหลังจากใช้หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2503 แล้ว ได้เปิดโอกาสให้ครูเลือกแบบเรียนได้มากขึ้น

วินิจ วรรณถนอม กล่าวว่า “การเรียนจากประสบการณ์ตรงจะช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนจากสิ่งอื่น…แต่บางอย่างเราไม่สามารถจัดหาให้แก่ผู้เรียนได้ เพราะขึ้นอยู่กับประเพณี วัฒนธรรม โอกาส เหตุการณ์ และธรรมชาติไม่อํานวย ยิ่งสภาพสังคมปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วด้วยแล้ว ผู้เรียนยิ่งไม่มีเวลาที่จะใฝ่หาความรู้จากประสบการณ์ตรงของตัวเอง จึงจําเป็นต้องใช้ เครื่องมือคือ “แบบเรียน” เป็นเครื่องช่วยให้เกิดการเรียนรู้ เพราะแบบเรียนเป็นแหล่งรวมประสบการณ์ชีวิตที่ได้รับการกลั่นกรองมาบรรจุไว้เพื่อให้คุณค่าแก่ผู้เรียนมากที่สุด ยิ่งความก้าวหน้าทางวิชาการขยายตัวออกไปเท่าไร แบบเรียนก็ยิ่งมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว”

จะเห็นได้ว่าการศึกษาของไทยในสมัยก่อนเจริญอย่างเชื่องช้า เนื่องจากสาเหตุสำคัญคือความขัดสนในเรื่องแบบเรียน แต่หลังจากที่มีแบบเรียนและโรงเรียนเป็นระบบเดียวกันแล้ว การศึกษาของไทยได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เพราะแบบเรียนเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้สำเร็จหลักสูตร

แบบเรียนที่ดีขึ้นกับยุคสมัยและจุดมุ่งหมายทางการศึกษาของชาติแบบเรียนที่ดีในยุคสมัยหนึ่งอาจกลายเป็นแบบเรียนที่ใช้ไม่ได้ในอีกยุคสมัยหนึ่งก็ได้

การแต่งแบบเรียนสมัยก่อนเป็นหน้าที่ของปราชญ์ทางภาษาผู้อยู่ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์หรือผู้มีบทบาทอยู่ในวงราชการและพระภิกษุเท่านั้น คนธรรมดาสามัญไม่มีโอกาสที่จะสร้างแบบเรียนได้…


หมายเหตุ: เนื้อหานี้คัดส่วนหนึ่งจากบทความในศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม 2528 บทความต้นฉบับปรับปรุงเนื้อหาจาก

แบบเรียนเล่มแรกของไทยคืออะไร

ผู้อำนวยการสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ยังกล่าวอีกว่า หนังสือจินดามณีเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทย ในลักษณะแบบเรียนชั้นสูง ผู้ที่เรียนส่วนใหญ่มักเป็นผู้จะเข้ารับราชการ, นักประพันธ์แต่งกวี จึงจะสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย ซึ่งหนังสือจินดามณีนั้นมีหลายสำนวน เชื่อว่าแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง โดยพระโหราธิบดี ในรัชสมัยของสมเด็จ ...

หนังสือเล่มแรกของไทยเกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด

การที่สำนักหมอสอนศาสนาเริ่มมีบทบาทในการเรียนการสอนหนังสือมากขึ้นจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับปรุงการเรียน การสอนภาษาไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์อยู่ไม่น้อยดังที่พยายามจัดทำแบบเรียนให้เป็นมาตรฐานเพื่อใช้ในการสอนหนังสือแก่เยาวชนไทย พระโหราธิบดีจึงได้แต่งแบบเรียนชื่อ “จินดามณี” นับว่าเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทย

ข้อใดคือตำราเรียนเล่มแรกในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

หนังสือจินดามณีเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทย เชื่อว่าใช้มา ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สืบมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ต้นฉบับตัวเขียนสมุดไทยหนังสือจินดามณีมีอยู่หลายฉบับ แต่ละฉบับมีเนื้อหาลักลั่นแตกต่างกัน หนังสือนี้นอกจากจะประกอบด้วย

ใครแต่งหนังสือจินดามณีเล่ม 2 เพื่อเป็นแบบเรียนภาษาไทย

จินดามณี เล่ม ๒ พระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิทเมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๒ เนื้อหาในหนังสือขยายรายละเอียดจากจินดามณี เล่ม ๑ ตอนท้ายเป็นโคลงสี่สุภาพเรียกว่า โคลงจินดามณี เป็นเนื้อหาที่ทรงนิพนธ์เพิ่มเติมขึ้นสำหรับผู้เรียนในราชตระกูล ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว