วัฒนธรรมสมัยธนบุรีมีอะไรบ้าง

�ҹ���������ҹ�� ���稾����ҵҡ�Թ�ô��骹�ء���ͪҵԷ�����������㹡�ا������ ������ǹ����㹡Ԩ�����ء��鹵͹�������������ҹ ����ʴ����� ����餹�ء��������Ѥ���ҹ���Ѥ�աѹ ���鹿٨Ե㨢ͧ��ЪҪ������¤����ء���ҧ �ա����ѧ�繡���׺�ҹ�Ѳ�������������٭�����ա���� (���͡�� �׹§͹ѹ��, 2546 : 188-194)

��ػ����Ҫ�ó�¡Ԩ�ͧ���稾����ҡ�ا�����շ������ǡѺ ��÷ӹغ��ا��Ż��Ѳ�����㹤��駹���Ҩ��������ѧ��� 1. �ç�դ���ʹ��з�¡��ҧ �ç��繤����Ӥѭ�ͧ��Ż��Է�ҡ�÷ء � ��ҹ ��зç��ѹ�ѹ��㹾���Ҫ�ó�¡Ԩ���ç����������������仴��¡����ǧ�Ҥ����آ��ǹ���ͧ�� ���зç��������ҧ��§��硹��¨ҡ����֡ʧ���� ��С���ѡ�Ҥ���ʧ����º���¢ͧ��ҹ���ͧ ��ç����������繻���ª��㹡�÷ӹغ��ا��Ż��Է�ҡ���ҡ����ش

2. �ç��ͧ������Ǻ�Ǻ��ó������� �ѹ�繢ͧ�բͧ�ǧ�������ظ����餧��� ��÷������Ǻ�����ó�����ͧ��ҷ��������ʹ�ҡ��ö١��������ҧ�������������§�� ���繵�ͧ��ǧ�ҹ��һеԴ�е�ͷ�駨ҡ�鹩�Ѻ��Шҡ�����ç�� �鹩�Ѻ��ó�����Ҩ��ͧ�׺�ҵ����ҹ���͹��ɮ� �Ѵ ���������ͧ��ҧ � �����Ѵ�͡�ѹ� �ҹ�Ǻ����ѧ����Ǥ����繧ҹ������稾����ҡ�ا�����շç�ô�����Թ������ҧ�պ����繾���� �����ҡ����������蹹ҹ� ��ó������ҧ � �����������������

3. �ç��繤�������㹡�ú��ا��ѭ�ͧ��ЪҪ� ��ҹ���ͧ�����ѧ������ʧ�����Ѻ��Թ ����ҹ�����ͧ�������¢�ѭ�����ҧ�ҡ ������ѧ㨷��л�Ժѵ���áԨ��çҹ�ͧ�� ���������蹴Թ��ͺ��������Ҿ�׹�Ҩ����ҧ��ҹ���ͧ�������ǡ��� ����Ҿ�Ե㨢ͧ�����ͧ������Ѻ�׹��������ҡ��Ъ�ҹҹ���ҡ�����ҧ��ä���Ҿ�ҧ�ѵ�� ���稾����ҡ�ا�����շç���˹ѡ�����ͧ��� �֧�ç����繾���Ҫ�ó�¡Ԩ�Ӥѭ 㹡�ú��ا��ѭ��ɮô��¡��������� ��Ż� ��ó���� ���������ͧ�ѹ�ԧ㨢ͧ��ЪҪ� �͡�ҡ�зç�ô����ա���觺���ó�������� �ѧ�ô��� ��鹿١���Ф� ����ա �ç���Фë����ԭ������ͧ�ͧ���ͧ�����ո����Ҫ��ҽ֡�Ѵ����ѧ ����ѧ�ô����鹿��Фâͧ��ǧ���Ẻ���ҧ���駡�ا�����ظ�Ң���ա���� �������ó������С�ÿ�鹿������������Ф��繡���ź���ѹ�º���㹡�ú��ا��ѭ��ЪҪ�

สถาปัตยกรรม

แผนผังการสร้างพระราชวังและวัดยังคงมีการรักษาขนบแบบกรุงศรีตอนปลาย รูปแบบสถาปัตยกรรมคือ อาคารขนาดไม่ใหญ่มาก สัดส่วนอาคารแคบยาว หน้าจั่วมีแบบมุขลดและแบบพรมพักตร์ หน้าบันทำเป็น 2 ชั้น ชั้นบนมีลวดลาย ชั้นล่างของหน้าบันมักฉาบเรียบและนิยมเจาะร่องหน้าต่าง 2 ช่อง ซึ่งได้แบบจากสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยรูปแบบนี้ปรากฏต่อเนื่องกระทั่งใสถาปัตยกรรมสมัย รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สื่อถึงความพอดีเรียบง่าย

ศิลปะประยุกต์และประณีตศิลป์

ประณีตศิลป์ประเภทเครื่องเบญจรงค์สมัยกรุงธนบุรียังคงมีลวดลายแบบเดิม เช่น กนก เทพพนม นรสิงห์ นิยมชามทรงบัว การเคลือบภายในนิยมเคลือบขาวแทนสีเขียว ส่วนตู้พระธรรม ลักษณะบานประตูตู้พระธรรม เนื้อหาลวดลายมีการเปลี่ยนแปลง ส่วนการผูกลายนั้นเป็นแบบเดียวกับกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่สะบัดพลิ้วเท่ากับของเดิม รูปแบบลวดลายเริ่มมีการประดิษฐ์ให้ห่างจากความจริง นิยมลวดลายเกลือเถากนกแทรกภาะและนิยมการเขียนลายแบบลดรูป ถือได้ว่าครั้งกรุงธนบุรี กรมช่างสิบหมู่มีความเจริญรุ่งเรือง

ดนตรี นาฏศิลป์ การละเล่นและการแสดง

ดนตรี นาฏศิลป์ การละเล่นและการแสดง ได้รับอิทธพลจากกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมืองนครศรีธรรมราช และชาวต่างชาติหลายชาติพันธุ์ มีระเบียบแบบแผนอย่างอดีตแต่ไม่ตายตัวอย่าสมัยต่อมา มีความกระชับเป็นเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง

วรรณกรรม

วรรณกรรมสมัยกรุงธนบุรีคงรับอิทธิพลสมัยอยุธยาเพียงแต่รูปแบบการแต่งเท่านั้น การใช้ถ้อยคำและความนึกคิดของกวีมีลักษณะเฉพาะตัว สะท้อนความรู้สึกนึกคิด สภาพจิตใจ และบุคลิกลักษณะของชาวธนบุรี มีศิลปะแห่งการร้อยเรียงด้วยคำเรียบง่ายใฝ่สันโดษ “วรรณกรรมเพื่อชีวิต” วรรณกรรมสมัยกรุงธนบุรีส่วนใหญ่แต่งขึ้นตามเค้าเรื่องที่มีมาแต่ก่อน ส่งอิทธิพลถึงการสร้างวรรณกรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นับเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาต่อเนื่องมาอย่างไม่ขาดสาย

สรุปศิลปกรรมกรุงธนบุรี

เนื่องด้วยกรุงธนบุรีเป็นราชธานีอยู่เพียงระยะเวลา 15 ปี และในช่วงนั้นอยู่ระหว่างการสร้างบ้าน แปงเมือง แต่ก็ได้สร้างสรรค์ศิลปกรรมไว้เป็นมรดกของชาติจำนวนหนึ่ง ช่างศิลป์บางส่วนเป็นบุคคลร่วมสมัยกับกรุงศรีอยุธยา ทำให้การกำหนดแบบอย่าง (Style) อย่างชัดเจนนั้นทำได้ยาก พอสรุปได้ว่า ศิลปกรรมกรุงธนบุรีนั้นถือเป็น “ศิลปกรรมเพื่อชีวิตและบ้านเมือง”ที่ยังคงขนบความเป็นไทยมีการพัฒนาต่อยอดให้แตกต่างออกไปก็ด้วยข้อจำกัดของเหตุการณ์บ้านเมือง วัสดุ อุปกรณ์ ทุนทรัพย์ มีอิทธิพลของต่างชาติบ้าง อิทธิพลจากพระพุทธศาสนาบ้าง ทำให้ผลงานมีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ได้รับแบบแผนจากสมัยกรุงศรีอยุธยา นำมาสร้างสรรค์เพื่อสร้างคนสร้างชาติ และส่งผลเชื่อมต่อเป็นฐานให้ศิลปะกรุงรัตนโกสินทร์

Standard / by / ธันวาคม 27, 2016 / No Comments

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับศิลปกรรมสมัยกรุงธนบุรี

วัฒนธรรมสมัยธนบุรีมีอะไรบ้าง

     ธันวาคม..เดือนแห่งเทศกาลและวันสิ้นปี ทั้งยังเป็นเดือนที่มีความสำคัญสำหรับคนไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยถึง ๒ พระองค์ด้วยกัน คือ วันที่ ๕ ธันวาคม เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) ส่วนอีกวันหนึ่งคือ วันที่ ๒๘ ธันวาคมเป็น วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    สมัยที่ฉันยังเด็ก ในบทเรียนวิชาประวัติศาสตร์มักจะกล่าวถึงราชวงศ์ต่าง ๆ ของเชื้อพระวงศ์ไทย ที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีจนถึงปัจจุบัน และกษัตริย์ที่น่าสนใจสำหรับฉันนอกจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้ว ก็ยังมีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอีกพระองค์หนึ่งด้วย เพราะทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยกรุงธนบุรีและที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ทรงเป็นบุรุษผู้กอบกู้เอกราชของประเทศได้เป็นครั้งที่สองต่อจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั่นเอง

     หลาย ๆ คนคงทราบดีอยู่แล้วถึงพระราชประวัติและความเป็นมาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ดังนั้นฉันจึงเขียนในประเด็นอื่นที่ฉันสนใจและมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเหตุการณ์อื่น ๆ

                ศิลปกรรมและวัฒนธรรมที่โยงใยข้ามเวลาจากอดีตสู่ปัจจุบัน

     สำหรับฉันความสนใจต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยังไม่หมดเพียงแค่ท่านเป็นบุรุษผู้กอบกู้เอกราชเท่านั้น แต่ยังสนใจไปถึงวัฒนธรรมและศิลปกรรมในสมัยกรุงธนบุรีอีกด้วย ความสวยงามของศิลปกรรมในสมัยนั้นเป็นการคาบเกี่ยวระหว่างกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดไล่เลี่ยกัน ทั้งหมดนั้นเป็นเสน่ห์และมีมนต์ขลังทำให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น ฉันจึงเริ่มต้นหาข้อมูลที่สนใจทันที

ด้านนาฏดุริยางค์, การละเล่นต่าง ๆ

แม้ว่าบ้านเมืองในสมัยนั้นจะยังอยู่ในภาวะสงครามแต่สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ทรงหาโอกาสเพื่อฟื้นฟูและบำรุงศิลปกรรมของไทยอยู่สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับนาฏดุริยางค์ ทั้งนี้ทรงฟื้นฟูเพื่อสร้างความครื้นเครงให้แก่ประชาชนที่เสียขวัญจากภาวะสงครามและการรบราฆ่าฟัน จึงพระราชทานโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้มีครูมาฝึกสอนนาฏศิลป์ และสามารถนำไปแสดงเพื่อสร้างความครื้นเครง ไม่ว่าจะเป็น โขน หนังตะลุง ละครหุ่น ละครรำ มโหรี ปี่พาทย์ และการละเล่นต่าง ๆ เช่น หกไม้สูงสามต่อ ชกมวย ชนช้าง แข่งม้า ทวนหลังม้า เป็นต้น

ด้านวรรณกรรม

วัฒนธรรมสมัยธนบุรีมีอะไรบ้าง

     ผลงานด้านวรรณกรรมที่เด่นสะดุดตาคือ วรรณกรรมบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ต้องบอกไว้ก่อนว่ารามเกียรติ์นั้นมีมาหลายยุคหลายสมัยนอกจากนี้ยังแบ่งออกเป็นหลายฉบับ ดังนั้นฉันจะกล่าวถึงเพียงตอนที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงประพันธ์เอาไว้เท่านั้น

     ถึงแม้ว่ารามเกียรติ์ฉบับนี้จะประพันธ์ขึ้นเพียง ๔ ตอน แต่ก็เป็น ๔ ตอนที่มีคุณค่าทางภาษาและเห็นได้ชัดว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินนั้นมีอัจฉริยภาพในด้านการประพันธ์ด้วยเช่นกัน ชื่อตอนที่ทรงประพันธ์ขึ้น ได้แก่ ตอนที่ ๑   ตอนพระมงกุฎ ตอนที่ ๒ ตอนหนุมานเกี้ยววานริน จนท้าวมาลีวราชมา ตอนที่ ๓ ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษา จนทศกัณฐ์    เข้าเมือง ตอนที่ ๔ ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด, พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัท จนผูกผมทศกัณฐ์กับนางมณโฑ ซึ่งทั้ง ๔ ตอนนี้ได้รับคำชื่นชมและยกย่องมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งยังได้บรรจุอยู่ในหนังสือเรียนอีกด้วย

ผลงานวรรณกรรมในยุคสมัยกรุงธนบุรีที่ประพันธ์ขึ้นโดยนักประพันธ์ท่านอื่น

     สมัยกรุงธนบุรียังมีวรรณกรรมอีกหลายเรื่องถูกประพันธ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นลิลิตเพชรมงกุฎ และอิเหนาคำฉันท์ ประพันธ์ขึ้นโดย หลวงสรวิชิต (หน), กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ประพันธ์โดยเจ้าพระยาราชสุภาวดีและพระภิกษุอินท์,  โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี ประพันธ์โดยนายสวนมหาดเล็ก และนิราศกวางตุ้งหรือนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีนครั้งกรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๒๔ ประพันธ์โดยพระยามหานุภาพ

 ด้านจิตรกรรม

วัฒนธรรมสมัยธนบุรีมีอะไรบ้าง

     จิตรกรรมในสมัยกรุงธนบุรีที่หลงเหลือมายังปัจจุบันก็คือ ตำราภาพไตรภูมิ (ฉบับหลวง) ซึ่งถูกเก็บรักษาเอาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ หากมีโอกาสฉันก็อยากเข้าไปชมของจริงดูสักครั้งเพราะอย่างน้อยสิ่งนี้ก็เป็นหลักฐานว่าจิตรกรในสมัยกรุงธนบุรีเป็นผู้มีฝีมือและควรค่าแก่การยกย่องเป็นอย่างยิ่ง

     ตามที่ศึกษาข้อมูลนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีส่วนข้องเกี่ยวกับตำราภาพนี้โดยพระองค์ได้ศึกษาตำราเกี่ยวกับไตรภูมิอย่างถ่องแท้ จึงต้องการเผยแพร่ความรู้นี้ให้แก่ประชาชนทั้งหลาย เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องภพภูมิทั้งสาม นั่นก็คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิอย่างถ่องแท้ ดังนั้นพระองค์จึงรับสั่งให้อัครเสนาบดีส่วนพระองค์ไปรวบรวมสมุดหนังสือต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องไตรภูมิ จากนั้นได้ส่งไปยังช่างเขียนเพื่อเขียนตำรานี้ขึ้น ต่อมาให้สมเด็จพระสังฆราชเป็นผู้ตรวจสอบเนื้อหาที่ปรากฏในคัมภีร์อย่างถูกต้องและตรงกับต้นฉบับที่มีมาแต่เดิม หากใครได้ไปหอสมุดแห่งชาติก็อย่าลืมเข้าชมตำราภาพไตรภูมิ จิตรกรรมที่เชื่อมโยงยุคสมัยของกรุงธนบุรีมาถึงปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้เป็นมรดกของคนรุ่นก่อน เป็นสิ่งที่เราต้องเก็บรักษาเอาไว้ตราบนานเท่านาน

ด้านสถาปัตยกรรม 

วัฒนธรรมสมัยธนบุรีมีอะไรบ้าง
       

     ตามความคิดและจินตนาการบวกกับข้อมูลที่ค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต พบว่าสถาปัตยกรรมในสมัยกรุงธนบุรีนั้น     สมเด็จพระเจ้าตากสินรับสั่งให้มีการก่อสร้างจำนวนไม่น้อย เพราะต้องฟื้นฟูบ้านเมืองในช่วงสงครามให้กลับมาโดยเร็ว และเพื่อเป็นการเสริมสร้างบารมีและเป็นหน้าประวัติศาสตร์ด้านสถาปัตยกรรมในยุคสมัยของพระองค์   ด้วยเหตุนี้จึงมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมเป็นจำนวนมาก เช่น กำแพงพระนคร ป้อมปราการ  พระราชวัง พระอารามต่าง ๆ สถาปัตยกรรมส่วนมากที่กล่าวมานี้ล้วนสืบทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาทั้งสิ้น เพราะเป็นช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกัน ดังนั้นส่วนต่าง ๆ เช่น ฐานอาคารและรูปทรงอาคารจะไม่แตกต่างจากกรุงศรีอยุธยามากนัก

     แต่ก็น่าเสียดายเหลือเกินตามที่เล่ากันมาว่าสถาปัตยกรรมสมัยกรุงธนบุรีมักจะมีการบูรณะซ่อมแซมอยู่เสมอ   ไม่ว่าจะเป็นในยุคสมัยของพระเจ้าตากสินเอง หรือยุคสมัยต่อ ๆ มา หากคนรุ่นหลังต้องการซึมซับความงดงามนั้นก็คงเป็น     การยาก เพราะรูปทรงของสถาปัตยกรรมจะเปลี่ยนแปลงไปเสมอ ไม่ค่อยเหลือเค้าโครงเดิมให้ได้ชม แต่ก็ยังมีสถาปัตยกรรมบางแห่งที่บูรณะแล้วยังปรากฏเค้าโครงเดิมนั่นคือ ป้อมวิชัยประสิทธิ์ กำแพงพระราชวังเดิม พระตำหนักท้องพระโรงและพระตำหนักเก๋งคู่ในท้องพระโรงเดิม ส่วนสถาปัตยกรรมที่เป็นพระอารามและถูกบูรณะแต่ยังมีเค้าโครงเดิม ได้แก่ พระอุโบสถและพระวิหารน้อย วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) พระอุโบสถและพระวิหารเดิมวัดราชคฤห์ พระอุโบสถเดิมวัดอินทาราม ตำหนักแดงวัดระฆังโฆสิตาราม และพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม

     สถาปัตยกรรมในยุคสมัยกรุงธนบุรีที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ในปัจจุบันล้วนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และอนุรักษ์ทั้งสิ้น เพื่อเชื่อมต่อสิ่งที่คนรุ่นก่อน ๆ ได้สร้างเอาไว้ให้คนรุ่นหลังดู และคงอยู่สืบไปในกาลข้างหน้า

ด้านประณีตศิลป์

วัฒนธรรมสมัยธนบุรีมีอะไรบ้าง

     ว่ากันว่างานศิลป์ในแต่ละแขนงจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นช่างแกะสลัก   ช่างประดับ ช่างลงรัก-ปิดทองพระ ช่างปั้น ช่างเขียน และสมัยกรุงธนบุรีก็มีช่างที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนี้อย่างพร้อมมูล ดังนั้นจึงมีงานประณีตศิลป์ออกมามากมายไม่ว่าจะเป็น ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ ๔ ตู้ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในหอวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร และทราบมาว่าตู้ลายรดน้ำเหล่านี้ได้มาจากวัดราชบูรณะ วัดจันทาราม และ   วัดระฆังโฆสิตาราม นั่นแสดงว่างานช่างฝีมือทำลายทองรดน้ำก็เป็นศิลปกรรมอีกแขนงหนึ่ง ซึ่งได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่ในสมัยพระเจ้าตากสิน และยังมีงานแกะสลัก ได้แก่ พระแท่นบรรทมในพระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม ในพระวิหารของวัดอินทารามอีกด้วย

     ในปัจจุบันผู้คนออกท่องเที่ยวกันเป็นจำนวนมาก บ้างก็เที่ยวเพราะสบายใจ บ้างก็เพื่อหลีกหนีปัญหาต่าง ๆ   บ้างก็เพื่อพักผ่อน บางคนก็ออกเที่ยวเพราะ “สนใจ” ในความงดงามของสถานที่ท่องเที่ยวนั้น ๆ เช่นเดียวกับตัวฉันที่สนใจและมีความต้องการที่จะท่องเที่ยวในสถานที่ที่เป็นประวัติศาสตร์ของไทย ด้วยความหลงใหลในศิลปกรรมและวัฒนธรรมดั้งเดิมของผู้คนในอดีตจนถึงปัจจุบัน นึกดูแล้วก็อยากไปชมของจริงเร็ว ๆ เพราะต่อให้เราค้นหาข้อมูลไว้มากมายแค่ไหนก็ไม่เท่ากับการได้ไปเห็นด้วยตาและประสบพบเจอกับตนเอง ฉันหวังว่าในอนาคตอันใกล้ ตัวฉันจะได้ไปชมศิลปกรรมเหล่านี้ดังที่ใจหวัง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ศิลปกรรมจากอดีตจะยังคงงดงามมิเสื่อมคลาย

“บางสถานที่โยงใยกันข้ามเวลา เชื่อมโยงถึงกันด้วยเสียงเพรียกเก่าแก่ผ่านยุคสมัยจากอดีตมายังปัจจุบัน”

เสาวลักษณ์ ภู่พงษ์
นักศึกษาฝึกงานสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๙

ขอขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก
//baanjomyut.com

//saruta088.blogspot.com
//www.classpublishing.com
//irrigation.rid.go.th
//pralanna.com
//www.sookjai.com

สภาพสังคมในสมัยธนบุรีตอนต้นมีลักษณะอย่างไร

1. พระมหากษัตริย์ มีศักดินา 100000 ไร่ 2. พระบรมวงศานุวงศ์มีศักดินา 10000 ไร่ 3. ขุนนาง มีศักดินา 1000 ไร่ 4. ไพร่เป็นชนชั้นที่มีมากที่สุดในสังคม มีศักดินา 25ไร่ 5. ทาส มีศักดินา 5 ไร่ สภาพสังคมสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา คือ มีการแบ่งชนชั้นศักดินาออกเป็น - ผู้คนในกรุงธนบุรีถูกควบคุมโดยการสักเลก

เพราะเหตุใดศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นภูมิปัญญาในสมัยธนบุรีจึงมีจํานวนน้อย

ขาดแคลนกำลังทรัพย์ในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา พระเจ้าตากชำนาญในการรบมากกว่างานด้าน ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ต้องทำสงครามเป็นส่วนใหญ่จึงไม่มีเวลาฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา

สภาพทางสังคมและวิถีชีวิตสมัยธนบุรีเป็นอย่างไร

ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในสมัยธนบุรี กล่าวได้ว่า มีการควบคุมกันอย่างเข้มงวด เพราะบ้านเมืองตกอยู่ในภาวะสงคราม ต้องสู้รบกับพม่าข้าศึกอยู่ตลอดเวลา การเกณฑ์พลเรือนเข้ารับราชการไพร่โดย การสักเลก อันเป็นธรรมเนียมมาแต่โบราณนั้น ได้มีการกวดขันเป็นพิเศษในสมัยนี้ โดยเฉพาะการลงทะเบียนชายฉกรรจ์เป็น ไพร่หลวง ทั้งนี้เพื่อป้องกัน ...

สถาปัตยกรรมในสมัยธนบุรีส่วนใหญ่เป็นอย่างไร

ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นยุคของการสร้างบ้านแปลงเมือง จึงมีการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก อาทิ พระราชวัง ป้อมปราการ กำแพงพระนคร พระอาราม ต่างๆ ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยนี้ ล้วนสืบทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ฐานอาคารจะมีลักษณะอ่อนโค้งดุจรูปเรือสำเภา ทรงอาคารจะสอบชลูดขึ้นทางเบื้องบน ส่วนประกอบอื่นๆ ของอาคารก็ไม่ ...