พลังงานหมุนเวียน ประเภท ใด ควร มีการพัฒนา ใน ชนบท เพื่อ แก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน

พลังงานหมุนเวียน ประเภท ใด ควร มีการพัฒนา ใน ชนบท เพื่อ แก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน
เทคโนโลยีพลังงานทดแทนในชุมชนยอดนิยม 5 อันดับ
เทคโนโลยีพลังงานชุมชนยอดนิยม ชีวภาพ ชีวมวล โซล่าเซล
เทคโนโลยีพลังงานทดแทนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ทำได้ ใช้จริง ยั่งยืน ลดโลกร้อน

ปัจจุบันพลังงานทดแทนไม่ว่าจะเป็น ชีวมวล ชีวภาพ โซล่าเซล ล้วนมีความสำคัญในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาสให้กับเกษตรกรไทย โดยหลักสำคัญในการพิจารณาเลือกเทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่เหมาะสมมีหลักการพิจารณาดังนี้ 
1.พอดีกับความต้องการ พอเพียงในทรัพยากร 
2.ทดแทนใหม่ได้ทั้งเชื้อเพลิงและวัตถุดิบ 
3.มีประสิทธิภาพประหยัดทรัพยากร ค่าใช้จ่าย 
4.ดูแลสิ่งแวดล้อม 
เป็นเวลากว่า 10 ปีที่กระทรวงพลังงานดำเนินโครงการบริหารจัดการพลังงานทดแทนครบวงจรระดับท้องถิ่น ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เกิดผลลัพธ์ที่ดีในชุมชน อาทิ 1. เกิดการจัดตั้งคณะทำงานด้านการวางแผนพลังงานระดับท้องถิ่นที่สามารถผลักดันแผนพลังงานเข้าสู่แผนพัฒนาตำบล สู่แผนพัฒนาระดับจังหวัด 2.อาสาสมัครพลังงานชุมชนสามารถใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพเกิดการประหยัดลดต้นทุน 3.เกิดเครือข่ายวิทยากรในการจัดทำแผนพลังงานด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม 4.เกิดช่างชุมชนที่สามารถก่อสร้าง ติดตั้ง ซ่อมบำรุงระบบ ให้เกิดความยั่งยืน 5.เกิดชุมชนต้นแบบพลังงานยั่งยืน เป็นแหล่งศึกษาดูงาน ขยายผลให้กับชุมชนข้างเคียง 6.ชุมชนสามารถยกระดับไปสู่การพัฒนาโครงการขอทุนสนับสนุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สิ่งเหล่านี้เกิดจากความมุ่งมั่นตั้งใจ ความร่วมมือกันระหว่าง สำนักงานพลังงานจังหวัดทั่วประเทศ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครพลังงานชุมชน ที่ได้เสียสละร่วมลงทุน แรงกาย แรงใจ พลังความคิด ทำให้งานพลังงานชุมชนเติบโตขยายฐานรากแผ่กิ่งก้านสาขา ผลิตดอกออกผล อย่างมั่นคง และยั่งยืน เป็นการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาดำเนินให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม
ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายสามารถลดค่าใช้จ่ายพลังงานสิ้นเปลืองที่ต้องซื้อหาจากภายนอก ดังนี้

พลังงานหมุนเวียน ประเภท ใด ควร มีการพัฒนา ใน ชนบท เพื่อ แก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน
1. การเผาเผาถ่านด้วยเตา 200 ลิตร ควบคู่กับการใช้เตาซุปเปอร์อั่งโล่ ผู้ใช้จะประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงานเมื่อเทียบกับเตาอั่งโล่ปกติได้กว่า 30% หรือปีละกว่า 10,95 บาท *คิดที่ถ่านกิโลละ 5 บาท แต่ถ้าหากเผาถ่านใช้เองจากหัวไร่ปลายนานอกจากจะไม่เสียค่าใช้จ่ายซื้อถ่านแล้ว ยังสามารถเพิ่มรายได้จากการขายน้ำส้มควันไม้ราคาปัจจุบันลิตรละกว่า 50 บาท หรือหากมีฝีมือสามารถปั้นเตาซุปเปอร์อั่งโล่เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้อีกต่างหาก

พลังงานหมุนเวียน ประเภท ใด ควร มีการพัฒนา ใน ชนบท เพื่อ แก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน
2. เตาเศรษฐกิจประยุกต์แบบมีปล่อง ที่สามารถใช้กับเชื้อเพลิงได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เหง้ามันสำปะหลัง ซังข้าวโพด เศษกิ่งไม้จากการตัดแต่ง หากผู้ใช้เป็นร้านขายก๋วยเตี๋ยวในชุมชนที่ต้องใช้เตาชนิดนี้จะทดแทนแก๊ส LPG ในการอุ่นน้ำซุปนานกว่า 10 ชม./วัน หากเปลี่ยนมาใช้เตาเศรษฐกิจแบบมีปล่องจะสามารถลดค่าใชจ่ายแก๊ส LPG ที่ต้องใช้ในร้านตกเดือนละ 3 ถัง หรือ 1,260 บาท/เดือน 15,120 บาท/ปี เรียกได้ว่าสามารถทดแทนได้ 100% เลยทีเดียว *คิดที่ LPG ถัง 15 kg.ราคา 420 บาท

พลังงานหมุนเวียน ประเภท ใด ควร มีการพัฒนา ใน ชนบท เพื่อ แก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน
3. แก๊สชีวภาพชุมชน ปัจจุบันมีชุมชนใช้กันอย่างแพร่หลาย ในที่นี้จะยกตัวอย่างระดับครัวเรือน หากหันมาใช้แก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ผสมเศษอาหาร ขนาดบ่อตั้งแต่ 4 ลบ.ม. ขึ้นไปจะสามารถทดแทน LPG 100% เดือนละครึ่งถังเท่ากับ 210 บาท หรือ 2,520 บาท/ปี *คิดที่ LPG ถัง 15 kg.ราคา 420 บาท ยังไม่นับผลพลอยได้จากบ่อแก๊สชีวภาพ ที่ให้ปุ๋ยอินทรีย์สามารถนำไปใช้ปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชได้อีกด้วยไม่ต้องเสียเงินซื้อ 

พลังงานหมุนเวียน ประเภท ใด ควร มีการพัฒนา ใน ชนบท เพื่อ แก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน
4. การผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซล ในพื้นที่ห่างไกลไฟฟ้าสายส่งเข้าไม่ถึง เราสามารถนำโซล่าเซลมาผลิตไฟฟ้าให้แสงสว่าง พัดลม โทรทัศน์ ปั๊มน้ำ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เป็นการเก็บไฟฟ้าจากดวงตะวันมาใช้ฟรีๆ หรือเกษตรกรที่ต้องเสียค่าน้ำมันในการเดินเครื่องสูบน้ำ หากเปลี่ยนมาใช้โซล่าเซลสูบน้ำอย่างน้อยจะสามารถลดค่าน้ำมันสูบน้ำได้กว่าวันละ 104 บาท เดือนละ 1,560 บาท หรือปีละกว่า 18,720 บาท *คิดที่น้ำมันดีเซลลิตรละ 26 บาท ใช้วันละ 4 ลิตร เดือนละ 15 วัน

พลังงานหมุนเวียน ประเภท ใด ควร มีการพัฒนา ใน ชนบท เพื่อ แก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน
5. ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ใช้ ” หลักการไหลเวียนอากาศร้อน เพื่อระบายความชื้นด้วยวิธีธรรมชาติ ” เมื่อแสงอาทิตย์ส่องผ่านกระจก พื้นสีดำและแผ่นโพลีคาร์บอเนต ซึ่งอยู่ภายในตู้จะทำหน้าที่ดูดกลืนความร้อนสะสมไว้ ทำให้อุณหภูมิภายในตู้อบแห้งสูงขึ้น ประมาณ 60 องศาเซลเซียส อากาศร้อนในตู้อบจะถ่ายเทความชื้น ทีมีอยู่ในอาหารให้ระเหยออกมา เกิดการลอยตัวสูงขึ้นออกไปทางช่องลมด้านบนของตู้อบแห้ง อากาศเย็นที่อยู่ภายนอกจะไหลเข้าทางช่องลมที่อยู่ส่วนล่างทางด้านหน้าของตู้ อบแห้งแทนที่อากาศร้อน เป็นการถ่ายเทความชื้นให้กับอาหารแบบธรรมชาติตลอดเวลา

พลังงานทดแทน ทดแทนได้จริง นอกจากจะประหยัดเงินในกระเป๋าแล้ว เกษตรกรที่ใช้พลังงานทดแทนยังมีความภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของการน้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ เมื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ก็เท่ากับชุมชนมีส่วนร่วมในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน ประโยชน์มากมายเมื่อหันมาใช้พลังงานทดแทน

***ค่าการปล่อย CO2 จากพลังงานแต่ละประเภท
1.การผลิตไฟฟ้าแต่ละหน่วยของไทยจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยเฉลี่ยประมาณ 0.5610 กก.CO2/หน่วยไฟฟ้า 
2.การเผาไหม้น้ำมันดีเซล แต่ลิตรจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 3.0 กก.CO2/ลิตร
3.การเผาไหม้น้ำมันเบนซิน แต่ลิตรจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.6
กก.CO2/ลิตร
4.การเผาไหม้ NGV แต่ละลิตรจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 0.24 กก.CO2/ลิตร
5.การเผาไหม้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 แต่ลิตรจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1.9706 กก.CO2/
6.การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้ก๊าซหุงต้ม (หรือ LPG) การเผาไหม้ก๊าซหุงต้มแต่ละกิโลกรัมจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 3.113 กก.CO2/กก.LPG และ 1.681 กก.CO2/ลิตร.LPG
7.การใช้น้ำประปา ซึ่งการผลิตน้ำประปาแต่ละหน่วยก็จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไปประมาณ 0.0264 กก. CO2/ลูกบาศก์
8.การปลูกต้นไม้หนึ่งต้น สามารถช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 9 กิโลกรัมต่อปี 
9. ปลูกต้นไม้ประมาณ 1 ไร่ (ไร่ละ 3.02 ตัน CO2/ปี
10. ประมาณการณ์จากข้อมูลโดยเฉลี่ยของคนไทยที่ จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการบริโภคอาหารประมาณ 867.52 กก.CO2/ปี 
ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เราปล่อยส่วนใหญ่ หรือประมาณ 2 ใน 3 (หรือร้อยละ 66) จะมาจากการใช้รถยนต์ ส่วนอีกประมาณร้อยละ 31 จะมาจากการใช้ไฟฟ้า
แหล่งอ้างอิงhttp://thaicarbonlabel.tgo.or.th/do…/Emission_Factor_CFO.pdf
http://healthypublicpolicy.com/site/index.php…
http://www.jica.go.jp/…/offi…/topics/pdf/events100929_01.pdf

    

พลังงานหมุนเวียน ประเภท ใด ควร มีการพัฒนา ใน ชนบท เพื่อ แก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน
 

พลังงานหมุนเวียนประเภทใด ที่รัฐควรสนับสนุนให้มีการพัฒนาในชนบทเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน

พลังงานทดแทนแสงอาทิตย์ลอยน้ำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ เชื้อเพลิงสาหร่าย Biogas Digestion.

พลังงานที่ใช้ในชนบท มีอะไรบ้าง

ในชนบท พลังงานส่วนใหญ่ถูกใช้ไปในกิจกรรมระบบแสงสว่าง และระบบทำความร้อนสำหรับ ระบบทำความร้อนนั้น การหุงต้มจะมีส่วนใช้พลังงานมากที่สุด และกว่าร้อยละ 70 ของประชากรในประเทศ อาศัยอยู่ในชนบท และยังใช้เตาหุงต้มแบบเตาอั้งโล่ ซึ่งพลังงานเหล่านี้จะได้จาก ฟัน และถ่านไม้เป็นหลัก (กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน, 2539 : 55)

พลังงานทดแทนที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในชนบทคือข้อใด

เทคโนโลยีพลังงานทดแทนในชุมชนยอดนิยม 5 อันดับ เทคโนโลยีพลังงานชุมชนยอดนิยม ชีวภาพ ชีวมวล โซล่าเซล เทคโนโลยีพลังงานทดแทนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำได้ ใช้จริง ยั่งยืน ลดโลกร้อน

นโยบายพลังงานในข้อใดช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานได้อย่างยั่งยืน

นโยบายพลังงานข้อใดช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานได้อย่างยั่งยืน ใช้พลังงานหมุนเวียน