เห็ด เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทใด

เชื้อรา

เมื่อ :

วันอังคาร, 21 กรกฎาคม 2563

Kingdom Fungi

    เราอาจเรียกอีกอย่างว่า อาณาจักรเห็ดรา สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในอาณาจักรฟังไจ ประกอบด้วย รา เห็ด และยีสต์
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจ

        1. เซลล์เป็นแบบ Eucaryotic cell มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส

        2. ไม่มีคลอโรฟิลล์ ดำรงชีวิตเป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อย 

         3. ผนังเซลล์เป็นสารไคตินกับเซลลูโลส 

         4. มีทั้งเซลล์เดียวและเป็นเส้นใยเล็ก เรียกว่าไฮฟา (Hypha) รวมกลุ่ม เรียกว่าขยุ้มรา (mycelium) ลักษณะของเส้นใยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด 

                4.1 เส้นใยมีผนังกั้น (Septate hypha)

                4.2 เส้นใยที่ไม่มีผนังกั้น (Nonseptate hypha or coencytic hypha)

เห็ด เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทใด

ภาพประกอบบทเรียนเรื่องเชื้อรา 
ที่มา ดัดแปลงจาก https://pixabay.com/th/ , OpenClipart-Vectors

การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจ

  1. Fragmentation เกิดจากเส้นใยหักเป็นส่วน ๆแต่ละส่วนเรียก oidia สามารถเจริญเป็นเส้นใยใหม่ได้

  2. Budding การแตกหน่อ เป็นการที่เซลล์แบ่งออกเป็นหน่อขนาดเล็กและนิวเคลียสของเซลล์แม่แบ่งออกเป็นสองนิวเคลียส นิวเคลียสอันหนึ่งจะเคลื่อนย้ายไปเป็นนิวเคลียสของหน่อ เมื่อหน่อเจริญเต็มที่จะคอดเว้าขาดจากกัน หน่อที่หลุดออกมาจะเจริญต่อไปได้ เรียกหน่อที่ได้นี้ว่า Blastospore พบการสืบพันธุ์แบบนี้ในยีสต์ทั่วไป

  3. Fission การแบ่งตัวออกเป็น 2 ส่วน แต่ละเซลล์จะคอดเว้าตรงกลางและหลุดออกจากกันเป็น 2 เซลล์พบในยีสต์บางชนิดเท่านั้น

  4. การสร้างสปอร์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศที่พบมากที่สุด สปอร์แต่ละชนิดจะมีชื่อและวิธีสร้างที่แตกต่างกันไป เช่น

         - condiospore หรือ conidia เป็นสปอร์ที่ไม่มีสิ่งหุ้ม เกิดที่ปลายเส้นใยที่ทำหน้าที่ช ูสปอร์ (conidiophore) ที่ปลายของเส้นใยจะมีเซลล์ที่เรียกว่า sterigma ทำหน้าที่สร้าง conidiaเช่น Aspergillus sp. และ Penicillium sp.

         - sporangiospore เป็นสปอร์ที่เกิดจากปลายเส้นใยพองออกเป็นกระเปาะ แล้วต่อมามีผนังกั้นเกิดขึ้นภายใน กระเปาะจะมีผนังหนาและเจริญเป็นอับสปอร์ (sporangium) นิวเคลียสภายในอับสปอร์จะมีการแบ่งตัวหลาย ๆ ครั้งโดยมีส่วนของโปรโตพลาสซึมและผนังหนามาหุ้มกลายเป็นสปอร์ที่เรียกว่า sporangiospore จำนวนมากมาย

  5. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีการผสมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์และมีการรวมตัวของนิวเคลียส ซึ่งรวมแล้วเป็น diploid (2n) และมีการแบ่งตัวในขั้นตอนสุดท้ายแบบ meiosis เพื่อลดจำนวนโครโมโซมลงเป็น haploid (n) ตามเดิม มี 3 ระยะ ดังนี้

                5.1 plasmogamy เป็นระยะที่ไซโตพลาสซึมของทั้งสองเซลล์มารวมกันทำให้นิวเคลียสในแต่ละเซลล์มาอยู่รวมกันด้วย นิวเคลียสในระยะนี้มีโครโมโซมเป็น n

                5.2 karyogamy เป็นระยะที่นิวเคลียสทั้งสองมารวมกัน ในฟังไจชั้นต่ำจะเกิดการรวมตัวของนิวเคลียสอย่างรวดเร็วในทันทีที่มีนิวเคลียสทั้งสองทั้งสองอันอยู่ในเซลล์เดียวกัน ส่วนในฟังไจชั้นสูงจะเกิดการรวมตัวของนิวเคลียสช้ามาก ทำให้เซลล์ระยะนี้มีสองนิวเคลียส เรียกว่า dikaryon

                5.3 haploidization หรือไมโอซิส เป็นระยะที่นิวเคลียสซึ่งมีโครโมโซมเป็น 2n จะแบ่งตัวแบบไมโอซิส เพื่อลดจำนวนโครโมโซมเป็น n

         การสืบพันธุ์แบบมีเพศในฟังไจแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างที่เรียกว่า gametangium ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียที่เรียกว่า gamete เข้าผสมกัน นอกจากนี้ยังพบว่าฟังไจที่มี gametangium สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียอยู่ในไมซิเลียมเดียวกันและสามารถผสมพันธุ์กันได้เรียกว่า monoecious แต่ฟังไจที่มี gametangium สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างไมซีเลียมกัน แต่ละไมซีเลียมเรียกว่า dioecious ในการสืบพันธุ์แบบมีเพศของฟังไจต่าง ๆ นี้ จะมีการสร้างสปอร์เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน สปอร์ที่ได้จากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศมีขนาดเล็กและจำนวนน้อยกว่า เช่น ascospore basidiospore zygospore และ oospore

แบ่งตามไฟลัมได้ 4 ไฟลัมคือ

          Chytridiomycota หรือไคทริด เป็นพวกที่มี แฟลกเจลล่า เป็นราที่มีการสร้างสปอร์ที่มีแฟลกเจลเลต มักอยู่ร่วมกัน กับ สาหร่าย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำ จัดเป็นราที่โบราณที่สุด พบตามพืชน้ำที่ตายแล้ว หรือตามเศษหินเศษทรายในน้ำ เป็นปรสิตในพืชน้ำและสัตว์ เช่น Batrachochytrium เป็นปรสิตในกบ

          Zygomycota หรือไซโกต ฟังไจ เป็นพวกที่อาศัยอยู่บนดิน เช่น ราดำบางชนิดก่อให้เกิดโรคราสนิม บางชนิดใช้ผลิตกรดฟูมาลิก Rhizopus nigricans มีการสร้างไซโกสปอร์จากเซลล์ใหม่ที่เกิดจากการปฏิสนธิ ตัวอย่างเช่น ราขนมปัง เมื่อสายของราที่ต่างกันมาพบกัน จะเกิดการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีการรวมของนิวเคลียสได้เป็น ไซโกสปอร์ (2n) ส่วนที่เป็นไซโกสปอร์นี้จะเป็นระยะพักของรามีผนังหนาเป็นสีดำ เมื่อสภาวะเหมาะสมไซโกสปอร์จะงอก และสร้างส่วนที่เรียกว่าสปอแรงเกีย (sporangia) ซึ่งจะเกิดการแบ่งตัวแบบไมโอซิส สร้างสปอร์ที่เป็น n เมื่อสปอร์นี้งอกจะได้เส้นใยที่มีนิวเคลียสเป็นแฮพลอยด์ต่อไป

          Ascomycota หรือ แซค ฟังไจ เป็นฟังไจที่พบมากที่สุด โดยส่วนใหญ่พวกหลายเซลล์ในกลุ่มนี้ เป็นเห็ดที่มีลักษณะเป็นรูปถ้วย มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในถุง แอสคัส ภายในมี แอสโคสปอร์ เช่น ยีสต์(yeast)

          Basidiomycota หรือคลับ ฟังไจ สร้างเซลล์สืบพันธุ์ บนอวัยวะที่คล้ายกระบอง(Basidium) ภายในมี Basidiospore เป็นราที่ผลิตบาสิดิโอสปอร์ (basidiospore) ซึ่งจะงอกเป็นสายที่เป็นแฮพลอยด์ เรียก primary mycelium จากนั้นผนังของไมซีเลียมจะมารวมกันได้เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียสสองอัน แต่ละอันเป็น n เรียกว่าไดคาริโอต (dikaryote) เส้นใยที่เป็นไดคาริโอตนี้จะรวมกันเป็นโครงสร้างที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์หรือ tertiary mycelium ซึ่งเป็นส่วนที่เรียกว่าดอกเห็ด เมื่อจะมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ นิวเคลียสทั้งสองอันรวมเข้าเป็น 2n จากนั้นจึงแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเพื่อสร้างสปอร์อีก ส่วนใหญ่เป็นเห็ดทั้งที่กินได้และเป็นพิษสามารถกินได้ เช่น เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า เป็นต้น

แหล่งที่มา

อนุสรณ์ ใจมุข และ เอกรินทร์ พรหมพฤกษ์.  สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เรียกว่า เชื้อรา.สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561. จาก https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/webcontest2003/100team/dlns132/index.html

หมอแก้ว (ผศ.น.สพ. สมโภชน์ วีระกุล). โรคเชื้อราในปลาสวยงาม. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561. จาก www.kwuncumpet.com/โรคเชื้อราในปลาสวยงาม/

ชนกันต์ จิตมนัส. คู่มือปฏิบัติการวิชาโรคปลา (Fish disease laboratory manual). มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ชนกันต์ จิตมนัส. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา ชป 352 โรคปลา FB352 (Fish Diseases).  พิมพ์ครั้งที่ 3.  2553.

Return to contents


การจำแนกเชื้อรา

         เชื้อราแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ ราชนิดเซลล์เดียว และราสาย ซึ่งเป็นราหลายเซลล์

               1. ราชนิดเซลล์เดียว เรียกว่า yeast

                2. ราสาย   เรียกว่า mold หรือ mould

        ซึ่งมีทั้งชนิดที่ก่อให้เกิดโรค และชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดโรค ความสามารถในการก่อโรคของเชื้อรา พบได้ทั้งในมนุษย์ โรคของสัตว์ และโรคของพืช การศึกษาเรื่องราวของเชื้อราจึงกระทำได้อย่างกว้างขวางมาก ทั้งนี้ขึ้นกับแง่มุมที่สนใจและแนวทางที่จะนำความรู้มาประยุกต์ใช้

      เนื่องจากเชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสังเคราะห์อาหารเองได้
จำเป็นต้องอาศัยอาหารจากผู้อื่น เชื้อราบางชนิดอาศัยอินทรีย์สารจากซากพืช บางชนิดเจริญเติบโตและก่อโรคในสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่

       เชื้อราก่อโรคในมนุษย์ส่วนใหญ่เป็นทั้งสองแบบ ทั้งก่อให้เกิดโรคและเจริญได้โดยอาศัยอินทรีย์สารจากธรรมชาติ ความต้องการอาหารของเชื้อราแต่ละชนิดแตกต่างกันไป น้ำตาลกลูโคสเป็นแหล่งของคาร์บอนที่เชื้อราชอบ สำหรับแหล่งของไนโตรเจนมักเป็นสารประกอบแอมโมเนีย ราบางจำพวกต้องการธาตุไนโตรเจนจากกรดอะมิโน เคอราติน และพบว่าราส่วนใหญ่ไม่ต้องการวิตามินในการเจริญเติบโต

         อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญของราทั่วไปคืออุณหภูมิห้อง หรือประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส เชื้อราก่อโรคส่วนใหญ่มักจะเจริญได้ดีในช่วงอุณหภูมิห้องจนถึง 37 องศาเซลเซียส ราบางชนิดเจริญได้ดีในที่อุณหภูมิสูง 40-50 องศาเซลเซียส

ลักษณะที่สำคัญของเชื้อรา

          1. ไม่มีคลอโรฟิลล์ จึงไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตหรือซากสิ่งมีชีวิตอื่น

          2. มีรูปร่างแบบ Filament เรียกว่า เส้นใย (hypha) กลุ่มของเส้นใยเรียกว่ามัยซีเลียม (mycelium) และมัยซีเลียมไม่มีการเจริญวิวัฒนาการไปเป็นเนื้อเยื่อ (tissue)

          3. มีนิวเคลียสแบบ eukaryotic nucleus คือ  นิวเคลียสมีเยื่อหุ้มนิวเคลียสห่อหุ้ม

          4. มีผนังเซล

          5. สร้างสปอร์เพื่อการสืบพันธุ์ Somatic Structure

          ภายในส่วนของ filament หรือเส้นใย มีโปรตีนปลาสซึม เส้นใยมีความยาวไม่จำกัดแต่ความกว้างประมาณ 0.5 ไมครอน ถึง 1 มิลลิเมตร ราโดยทั่วไปมีผนังกั้นตามขวางเป็นระยะเรียกผนังกั้นตามขวางว่า septum แต่บางชนิดเส้นใยเป็นท่อยาวต่อกันไป ไม่มีผนังกั้น เรียกเส้นใยแบบนี้ว่า coenocytic หรือ nonseptate hypha ผนังกั้นแบ่งเส้นใยของเชื้อออกเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนเรียก เซกเม้นท์ (segment) หรือแต่ละเชลล์มีนิวเคลียสได้มากมาย

ชนิดของ Septum

          1. closed diaphragm พบในพวก Phycomycetes (ราน้ำ)   เชื้อจะสร้างผนังกั้นเพื่อตัดหรือแบ่งส่วนที่ได้รับอันตรายออกจากส่วนของเส้นกำลังเจริญเติบโต

          2. แผ่นกั้นตามขวาง มีรูอยู่ตรงกลาง (simple plate with a hole in center) พบในรา พวก Ascomycetes เกิดโดยมีสารที่ต้องใช้ในการสร้างมาสะสม รอบเส้นใยนั้นแล้วค่อย ๆ    แผ่เข้าจนเหลือรูตรงกลาง

          3. dolipore septum เป็นผนังกั้นที่มีรูตรงกลางเช่นกัน พบเฉพาะเชื้อราใclass    Basidiomycetes เท่านั้น ลักษณะที่ต่างไปคือ ตรงขอบ มีลักษณะพองหนาขึ้นรอบๆ    ส่วนที่เป็นรูตรงกลางสามารถยืด หดได้ เชื้อราทั่วไปจะมีลักษณะที่ เส้นใยอาจจะเรียงตัวอัดกันเป็นเนื้อเยื่อขึ้นได้ เรียกว่า plectenchyma โดยการที่เส้นใยมาเกาะชิดกันและสอดประสานพันกันไปมา

    plectenchyma แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ

           1. โปรเซนไคมา (prosenchyma)เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเส้นใยอัดตัวกันอย่างหลวม ๆ ตามยาว ยังมองเห็นเป็นส้นใยแต่ละเส้นอยู่

           2. ซูโดพาเรนไคมา (pseudoparechyma) เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเส้นใยอัดตัวกันอย่างหนาแน่น แยกออกแต่ละเส้นไม่ได้ เมื่อตัดตามขวางจะมีลักษณะคล้ายเนื้อเยื่อพาเรนไคมา (parechyma) ในพืชชั้นสูง

                โปรเซนไคมา และซูโดพาเรนไคมา มีอยู่ในระบบโครงสร้างและระบบสืบพันธุ์ของเชื้อราหลายชนิดที่รู้จักกันดีคือ เป็นโครงสร้างที่เรียกว่าสโตรมา (stroma)   และสเคอโรเดียม (sclerotium)

                 สโตรมา เป็นส่วนหนึ่งของเส้นใยที่อัดแน่น มีลักษณะคล้ายเป็นเบาะสำหรับรองรับส่วนของเนื้อเยื่อ ที่จะสร้างสปอร์

                 สเคอโรเดียม เป็นโครงสร้างที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี มีลักษณะแข็งใช้สำหรับอยู่ข้ามฤดูเมื่อถึงฤดูที่เหมาะสมต่อการเจริญ มีสเคอโรเยมจะงอกเป็นเส้นใยขึ้นมาใหม่

โครงสร้างของรา

               ได้มีการศึกษากันน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับแบคทีเรียและไวรัส  จากการศึกษาโครงสร้างที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของราด้วยวิธีการต่าง ๆ พบว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ หลายชนิด ดังนี้
               1. ผนังเซลล์  ผนังเซลของราเมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาจะมีลักษณะเป็นชั้นเดียว แต่เมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กโทนตรอน จะมีลักษณ หนาเป็นชั้น ๆ แยกออกจากกันได้ชัดเจน ผนังเซล นอกจากจะห่อหุ้มป้องกันเซลล์แล้วยังทำให้เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้

               2. เซลเมมเบรนเซลเมมเบรนทำหน้าที่ห่อหุ้มส่วนของโปรโตปลาสซึม จะมีสองชั้น (lipid bilayer) แต่ละชั้นประกอบด้วย ส่วนหัว (head) และหาง (tail) โดยหันส่วนหางซึ่งเป็น hydrophilic จะอยู่ด้านนอก มีโปรตีนและไกลโคโปรตีน แทรกอยู่ในระหว่างชั้น โดยเซลเมมเบรนจะมีลักษณะโป่งยื่นเข้ามาในเซล จนแบ่งออกเป็นผนังเซลของแอสโคสปอร์

               3. เอนโดพลาสมิค เรติคูลัมมีลักษณะเหมือนกับเอนโดพลาสมิค เรดิคูลัม ในพืชชั้นสูงแต่ไม่ได้มีอยู่ในทุกเซลของเชื้อรา จะมีอยู่ในบางเซ็กเม้นท์เท่านั้น

               4. ไมโตคอนเดรียทำหน้าที่สร้างพลังงานให้แก่เซล มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันออกไป ในเชื้อรา ไมโตคอนเดรียรูปร่างเป็น  filamentous คือ ยาว ผอม แต่ในยีสต์ ไมโตคอนเดรีย มีรูปร่างค่อนข้างกลม

               5. ไรโบโซมไรโบโซมที่พบในเชื้อรามีสองชนิดคือ ไรโบโซมในไซโตปลาสซึม มีขนาด 80 s ประกอบด้วยสองหน่วยย่อย ได้แก่ หน่วยย่อย 60 s และ 40 s ส่วนไรโบโซมที่พบในไมโคคอนเดรีย มีขนาด 70 s ประกอบด้วยสองหน่วยย่อย ได้แก่ หน่วยย่อย 50s และ 30 s

               6. แวคคูโอล แวคคูโอลมีผนังเป็นเมมเบรนชั้นเดียว เรียกว่า tonoplast ภายในมีเม็ดสี (pigment) ต่าง ๆ ในแวคคูโอล มักประกอบด้วยไกลโคเจนซึ่งเป็นอาหารสะสม ในขณะที่มีการแบ่งเซล แวคคูโอลจะแบ่งตัว จึงมีขนาดเล็ก ที่จะลอดผ่าน septal pore โดยไปพร้อมกับการไหลของ cytoplasmic streaming

               7. นิวเคลียส มีขนาดเล็กประมาณ 0.5 % เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดไซโตปลาสซึม ถ้าดูด้วยกล้อง phase contrast จะเห็นตรงกลางเข้มบริเวณรอบนอกสีจาง ส่วนเซนโตรโซมหรือเซนตริโอลจะพบได้น้อยมากในเซลธรรมดา แต่จะพบมากในสปอร์แรนเจียม หรือในแอสคัส

แหล่งที่มา

อนุสรณ์ ใจมุข และ เอกรินทร์ พรหมพฤกษ์.  สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เรียกว่า เชื้อรา.สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561. จาก https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/webcontest2003/100team/dlns132/index.html

หมอแก้ว (ผศ.น.สพ. สมโภชน์ วีระกุล). โรคเชื้อราในปลาสวยงาม. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561. จาก www.kwuncumpet.com/โรคเชื้อราในปลาสวยงาม/

ชนกันต์ จิตมนัส. คู่มือปฏิบัติการวิชาโรคปลา (Fish disease laboratory manual). มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ชนกันต์ จิตมนัส. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา ชป 352 โรคปลา FB352 (Fish Diseases).  พิมพ์ครั้งที่ 3.  2553.

Return to contents


เชื้อรากับสิ่งมีชีวิต

         เชื้อราไม่มีคลอโรฟิลจึงต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตอื่น หรือซากสิ่งมีชีวิต ในการดำรงชีพ จึงจัดแบ่งการดำรงชีวิตได้หลายแบบ เช่น

         - พวกที่อาศัยซากสิ่งมีชีวิตเรียกว่า saprobe 

         - พวกที่อาศัยสิ่งมีชีวิตอื่นเรียกว่าเป็น ปาราสิต (parasite)

         - พวกที่อาศัยได้ทั้งในสิ่งมีชีวิตและซากสิ่งมีชีวิตเรียกว่า facultative parasite 

         - พวกที่เจริญได้เฉพาะบนซากพืชซากสัตว์เรียกว่า obligate saprobe 

         - พวกที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการเป็นปาราสิตของพืชและสัตว์ เรียกว่า pbligate parasite

        เชื้อราต่างจากพืชชั้นสูงทั่วไป ตรงที่ต้องการอาหารที่นำไปใช้ได้ทันที เพราะสังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ราส่วนใหญ่ สร้างโปรตีนจากสารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์ของไนโตรเจนใช้กลูโคสเป็นแหล่งของคาร์บอนที่ดีที่สุด ส่วนแหล่งของไนโตรเจนที่ดีที่สุดได้แก่สารประกอบอินทรีย์ของไนโตรเจนแอมโมเนียไนเตรด และสร้างวิตามินสำหรับใช้ในการเจริญ   และสืบพันธุ์ด้วย อาหารสะสมจะเก็บไว้ในรูปของ  glycogen และ oil

        ราแต่ละชนิดต้องการอาหารไม่เหมือนกัน ราเขียว (Penicillium)และราดำ (Aspergillus) ใช้อาหารได้หลายชนิด แต่ราบางชนิดต้องการอาหารที่จำเพาะมาก เช่น พวก obligate parastite นอกจากต้องการสารอาหารจาก เซลล์ที่มีชีวิตแล้ว ยังเลือกสปีซี่ของ host ที่มันอาศัยด้วย

        เชื้อราส่วนใหญ่มีชีวิตได้ตั้งแต่ 0 องศา จนถึง 35 C แต่อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญ (optimum temperature) คือ 20 -30? C
          - อุณหภูมิ 50? C เชื้อราจะเจริญน้อยลง
          - อุณหภูมิ 60? C ราทุกชนิดถูกฆ่าตายหมด
            (ใช้วิธีนี้ในการหยุดการ fermentation ของเชื้อรา)
          - อุณหภูมิ 100 ? C สปอร์ต่าง ๆ และสเคอโรเดียมถูกฆ่าตายหมด  

        การเจริญของเส้นใยของเชื้อราเจริญมาจากส่วนปลาย  (hyphal tip) ซึ่งเป็นส่วนที่ active ที่สุดของเส้นใย บริเวณที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต เรียก apical growth region มีขอบเขตประมาณ 100 ไมครอน จากส่วนปลายเข้าไป
         ในบริเวณนี้ ไม่มีแวคคูโอล ไซโตปลาสซึมส่วนใหญ่เป็น RNA  และโปรตีนที่ประกอบด้วยกรดอมิโน พวกอาร์จีนินไทโรซีนและฮิสติตัน ไม่พบอาหารสะสมพวกไกลโคเจน หรือพบเล็กน้อยเท่านั้น

        ในปี ค.ศ. 1968 Mc. Clure และคณะ ได้ศึกษา somatic hypha ของเชื้อราที่มี ผนังกั้นโดยศึกษาทาง cytology  และสรุปได้ว่า apical growth region มีไมโตคอนเดรียอยู่เป็นจำนวนมากตรงบริเวณ 3.0 - 7.5 ไมครอน จากส่วนปลายเข้าไป และบริเวณนี้ไม่พบนิวเคลียส แต่จะพบต่ำลงมาประมาณ 400 ไมครอน

         นอกจากนี้  ยังพบ vesicle ด้วยให้ชื่อว่า spitzenkorper  จากการศึกษาต่อมาพบว่า vesicle เกี่ยวข้องกับการสร้าง เซลเมมเบรนและผนังเซลล์ของเชื้อรา vesicle จะไปรวมตัวกับ เซลเมมเบรน บริเวณปลายของมัยซีเลียมสำหรับต้นกำเนิดของ vesicle ยังไม่ทราบชัด แต่สันนิษฐานว่ามีกำเนิดโดยการ budding มาจาก golgi apparatus ในเซลล์

       เชื้อรามีรูปร่างได้หลายแบบ มีทั้งเป็น แบบเซลเดียว (unicellular) หลายเซล (multicellular)  พวกเซลเดียว คือ พวกยีสต์ สืบพันธุ์โดยการ แตกหน่อ (budding) ส่วนพวกหลายเซลล์ คือ พวกรา รูปร่างเป็น filamentous  มีทั้งแบบเส้นใย หรือไม่มีผนังกั้น  ราบางชนิดมีรูปร่างได้ 2 แบบ เรียกว่า dimorphic fungi ถ้าเจริญเติบโต ตามพื้นดินมีรูปร่างเป็นแบบ  filamentous fungi แต่ถ้าไปเจริญเป็นปาราสิตของคนหรือสัตว์ จะเปลี่ยนรูปร่างเป็นแบบยีสต์  เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดกลาก เกลื้อน เชื้อโรคผิวหนังหลายชนิด

        การจัดหมวดหมู่ของราในปัจจุบัน นักไมคอลโลยีแต่ละคนได้จัดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ที่จะใช้ศึกษา เช่น  Bessey ได้ศึกษาเกี่ยวกับสัณฐานวิทยาของราจึงแบ่งเชื้อราออกเป็น 3 class คือ Phycomycetes, Ascomycetes, Basidiomycetes และ  form-class Imperfect fungi

เชื้อราที่พบในปลา

       เชื้อราที่มักพบในปลาน้ำจืดได้แก่ Saprolegnia spp., Aphanomyces spp. และ Achlya spp. เป็นต้น ส่วนใหญ่จะเกิดเฉพาะบริเวณผิวด้านนอก ยกเว้นตัว Aphanomyces สามารถแทรกเส้นใยเชื้อราเข้าไปในกล้ามเนื้อ และก่อให้เกิดความรุนแรงได้จะพบเป็นแผลหลุมมักเกิดร่วมกับเชื้อแบคทีเรียและสามารถติดเชื้อราได้ง่าย ทั้งจากเส้นใยของมัน และสปอร์ที่ลอยในน้ำ มันจะลอยหาแหล่งอาหาร นั่นก็คือบาดแผลของปลา อันตรายขึ้นอยู่กับปริมาณการติดเชื้อหากเป็นบริเวณกว้างจะทำปลาเสียอิเลกโตรไลต์ และตายได้

การรักษา

      การรักษาเชื้อรานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย หากปล่อยให้ลุกลามไปมากแล้ว ยาที่ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจคือ มาลาไคท์กรีน แต่ห้ามใช้ในปลาที่ใช้เป็นอาหาร เพราะเป็นสารก่อมะเร็งในคน หากจะใช้เกลือก็ได้ แต่ความเข้มข้นจะสูงมากกว่าการรักษาแบคทีเรีย มักใช้รักษาในบ่อปลา แต่ก็เพียงแค่ยับยั้งเชื้อราได้ ฟอร์มาลีนก็ใช้ได้ แต่จะไม่ค่อยได้ผลกับเชื้อราบางชนิด ซึ่งนิยมใช้ในบ่อเช่นกัน

    ปัจจุบันก็มียาตัวใหม่ออกมาเพื่อใช้กับกลุ่มนี้โดยเฉพาะ เช่น Bronopol ยูจีนอล และไทโมควิโนน เป็นต้น

  ขนาดที่ใช้

          มาลาไคท์กรีน เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด มีหลายขนาดให้เลือก แต่ที่แนะนำคือความเข้มข้นต่ำ ขนาด 0.1 ml/L แช่ทั้งวัน ทำทุก 3 วัน ทั้งหมด 3 ครั้ง (ใช้สำหรับแช่ไข่ปลาที่ติดเชื้อราได้ เปลี่ยนความเข้มข้นเป็น 1 ml/L ชานานหนึ่งชั่วโมง) จะเป็นพิษได้ในน้ำอ่อนและอุณหภูมิสูง เป็นพิษต่อพืชน้ำ หากบาดแผลไม่ใหญ่สามารถป้ายโดยตรงที่รอยแผลนั้นเลย จะดีที่สุด เตรียมยาในขนาด 100 ml/L โดยใช้ก้านสำลีชุบยาและป้ายลงที่แผล ทำทุกวัน อย่างน้อย 5 วันก็จะเริ่มเห็นผล

          เกลือ ต้องใช้มากกว่า 3 ml/L แช่ตลอดวัน เปลี่ยนน้ำบางส่วน แล้วลงเกลือใหม่ทุกวัน จนแผลเริ่มดี

          ฟอร์มาลีน ส่วนใหญ่ใช่สำหรับแช่ไข่ปลาที่ติดเชื้อ เมื่อฟักเป็นตัวแล้ว จะทำให้ลูกปลาตายได้ จะเป็นพิษเมื่อผสมกับน้ำอ่อน หรืออุณหภูมิน้ำสูง ปลาที่ไวต่อการเกิดพิษ จะผิวเริ่มซีด และอัตราหายใจผิดปกติ หากจะใช้ใช้ได้ในขนาด 1 ml/38 L แช่ 12-24 ชั่วโมง และต้องเปลี่ยนน้ำออก 30-70% แล้วเตรียมยาลงใหม่อีกครั้ง ทุกวัน จนอาการดีขึ้น

          โบรโนพอล ขนาด 15-50 ml/L แช่นาน 30-60 นาที หากแช่ไข่ปลาต้องใช้ความเข้มข้นสูง

 การรักษาเชื้อรา ต้องทำร่วมกับการรักษาโรคจากแบคทีเรีย หรือไวรัสที่เป็นสาเหตุเริ่มต้น

      การป้องกันดีกว่ารักษา เมื่อพบว่าปลามีบาดแผล ให้ผสมเกลือลงในน้ำ (อ่านเรื่องเกลือ) นอกจากจะช่วยป้องกันเรื่องอิเลกโตรไลต์ ลดความเครียดได้แล้ว ยังป้องกันเชื้อราได้ และหมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำให้สะอาด ก็จะไม่ค่อยพบปัญหาเชื้อรา

 แหล่งที่มา

อนุสรณ์ ใจมุข และ เอกรินทร์ พรหมพฤกษ์.  สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เรียกว่า เชื้อรา.สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561. จาก https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/webcontest2003/100team/dlns132/index.html

หมอแก้ว (ผศ.น.สพ. สมโภชน์ วีระกุล). โรคเชื้อราในปลาสวยงาม. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561. จาก www.kwuncumpet.com/โรคเชื้อราในปลาสวยงาม/

ชนกันต์ จิตมนัส. คู่มือปฏิบัติการวิชาโรคปลา (Fish disease laboratory manual). มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ชนกันต์ จิตมนัส. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา ชป 352 โรคปลา FB352 (Fish Diseases).  พิมพ์ครั้งที่ 3.  2553.

Return to contents

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

รา,เชื้อรา

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันอาทิตย์, 23 ธันวาคม 2561

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

ชีววิทยา

กลุ่มเป้าหมาย

ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม

เห็ดเป็นประเภทใด

เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในอาณาจักรเห็ดรา (Kingdom Fungi) มี โครงสร้างประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ แต่ละเซลล์มองไม่เห็น ด้วยตาเปล่า เซลล์จะเรียงตัวติดต่อกันเป็นสายยาว เรียกว่า ใยรา (hypha) เส้นใยจะอยู่เป็นกลุ่ม เรียกว่า ไมซีเลียม (mycelium) จัด เห็ดราอยู่ใน ดิวิชันยูไมโคไฟตา (Eumycophyta) การจัดจ าแนก หมวดหมู่ ( ...

เห็ด เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทใด ป

เห็ด รา (fungi) เป็นสิ่งมีชีวิตจำาพวกย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต เมื่อพืช และสัตว์ตายลง หรือเมื่ออาหารถูกปล่อยทิ้งไว้ในที่ชุ่มชื้น สปอร์ (spore) ของ เห็ด ราที่ล่องลอยอยู่ในอากาศก็จะตกลงบนซากสิ่งมีชีวิตหรือเศษอาหาร เหล่านั้น เกิดการงอกเส้นใย มีการย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตและเศษอาหาร จนได้สารอาหารที่เห็ด ราต้องการใช้ในการเจริญ ...

เพราะเหตุใดจึงไม่จัดเห็ดเป็นพืช

1.เห็ด ที่เราทานกันในรูปแบบผักมาตลอดนั้นจริงๆ แล้ว ไม่ใช่ผักแต่เป็นเชื้อราชั้นสูงที่จัดอยู่ในประเภทของจุลินทรีย์(Microorganisms) 2.เห็ดไม่ใช่พืช จึงไม่มีสารสีเขียวหรือคลอโรฟิลล์(Chlorophyll) ที่จะทำให้เห็ดสามารถสังเคราะห์อาหารได้เองเหมือนพืช ในการเพาะเลี้ยงเห็ด จึงต้องมีการเตรียมอาหารไว้เพื่อให้เห็ดเติบโต